มินิเมโทร (วิดีโอเกม)
มินิเมโทร | |
---|---|
ผู้พัฒนา | ไดโนซอร์โปโลคลับ |
ผู้จัดจำหน่าย | ไดโนซอร์โปโลคลับ, เพลย์ดิเจียส (แอนดรอยด์) |
ออกแบบ |
|
โปรแกรมเมอร์ |
|
ศิลปิน | เจมีย์ เชิร์ชแมน |
แต่งเพลง | ดิซาสเตอร์พีซ |
เอนจิน | ยูนิตี |
เครื่องเล่น | เบราว์เซอร์, ลินุกซ์, แมคโอเอส, วินโดวส์, แอนดรอยด์, ไอโอเอส, นินเท็นโด สวิตช์, เพลย์สเตชัน 4 |
วางจำหน่าย |
|
แนว | ปริศนา, กลยุทธ์ |
รูปแบบ | เดี่ยว, หลายผู้เล่น |
มินิเมโทร (อังกฤษ: Mini Metro) เป็นวิดีโอเกมแนวปริศนาประเภทกลยุทธ์ ที่พัฒนาโดยทีมไดโนซอร์โปโลคลับ (Dinosaur Polo Club) โดยผู้เล่นต้องสร้างเครือข่ายของรางรถไฟที่มีประสิทธิภาพสำหรับเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว สถานีแสดงเป็นรูปทรงต่าง ๆ และผู้เล่นสามารถสร้างรางและเชื่อมมันโดยการลากเส้น ด่านต่าง ๆ ตั้งตามที่อยู่ของเมืองจริง และการปรากฏตัวของสถานีกับผู้โดยสารคือการสร้างขั้นตอน (Procedural generation) ภาพของเกมใช้สีเข้มกับรูปเรขาคณิตแบบง่าย เพื่อทำภาพลักษณ์ให้เหมือนกับแผนที่การขนส่งสมัยใหม่ และจังหวะกับเสียงถูกสร้างให้เหมือนกับผลงานของดนตรีมินิมัล (minimal music)
ตัวเกมได้รับเสียงวิจารณ์ในแง่บวก โดยมีการชื่นชมต่ออินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่าย, วิธีเล่นที่เข้าใจง่าย และมีความคล้ายกับลัทธิจุลนิยม
วิธีเล่น
[แก้]มินิเมโทร เป็นเกมแนวปริศนาประเภทกลยุทธ์ ที่ผู้เล่นต้องทำภารกิจสร้างเครือข่ายของรางรถไฟที่มีประสิทธิภาพสำหรับเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว[2] ในแต่ละด่านเป็นส่วนหนึ่งจากสถานที่จริง และเริ่มต้นที่สามสถานี[3][4] แต่ละสถานีมีรูปร่างโหนดที่แตกต่างกัน[3] ผู้เล่นต้องสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างสถานีโดยลากเส้นระหว่างสถานีทั้งสอง; แต่ละสายมีสีไม่เหมือนกัน[3][5] ผู้โดยสารปรากฏบนสถานีเป็นรูปร่างที่สถานีที่จะลง[3] โดยรถไฟจะนำผู้โดยสารไปยังสถานีที่ต้องการ[5] แม่น้ำ, ทางแยกรางรถไฟ และการปรากฏตัวของสถานีกับผู้โดยสารทำให้แนที่ดูซับซ้อนและจัดการได้ยากขึ้น[3][6] สถานีที่มีรูปร่างปกติอาจเปลี่ยนโหนดเป็นรูปร่างที่ยากขึ้น[3]
ในโหมด "ปกติ" แต่ละสถานีจำกัดความจุของผู้โดยสารที่รออยู่ ถ้าสถานีแน่นเกินไป เกมจะจบลงทันที[3] เมื่อแพ้แล้ว ผู้เล่นสามารถสร้างเครือข่ายต่อในโหมด "ไม่สิ้นสุด" ซึ่งเป็นโหมดที่ไม่จำกัดความจุของสถานี[3] เพื่อบรรเทาการเติบโตของเครือข่าย ผู้เล่นสามารถอัพเกรดได้ในแต่ละสัปดาห์ของเกม[2][3] ในการอัพเกรดแต่ละครั้ง ผู้เล่นจะได้รถไฟคันใหม่และเลือกระหว่างทางเลือกสุ่มสองอัน เช่น เพิ่มรางใหม่ เพิ่มตู้โดยสารใหม่ เพิ่มอุโมงค์ หรือทางสับเปลี่ยน (ซึ่งเพิ่มความจุของสถานีและอนุญาตให้เพิ่ม/ลดผู้โดยสารทันที)[3] และเกมนี้สามารถหยุดเวลาชัวคราวเพิ่อสร้างและจัดการเส้นทางรถไฟใหม่[5] ในโหมด "สุดขีด" เมื่อทำเส้นทางระหว่างสถานีแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้[3][7]
ในปีค.ศ. 2018 ได้มีการเพิ่มโหมด "สร้างสรรค์" ขึ้น ซึ่งให้ผู้เล่นสร้าง, บริหาร และเพิ่มสถานีในเกมได้ โดยที่มีรถไฟ, ตู้โดยสาร, อุโมงค์ หริอทางสับเปลี่ยนได้ไม่จำกัด
การผลิตและเผยแพร่
[แก้]มินิเมโทร ถูกผลิตโดยไดโนซอร์โปโลคลับ (Dinosaur Polo Club) ซึ่งเปนบริษัทิสระของชายสองคนในประเทศนิวซีแลนด์[8] โดยเป็นเกมแรกของสตูดิโอที่ก่อตั้งในปีค.ศ. 2013 โดยพี่น้องปีเตอร์กับโรเบิร์ท เคอร์รี[8][9] พวกเขาเคยทำงานให้กับผู้พัฒนาวิดีโอเกมสิธ (Sidhe) แต่ลาออกในปีค.ศ. 2006 เพื่อพัฒนาเกมอินดี[9]
การพัฒนาเกม มินิเมโทร เริ่มขึ้นในเดือนเษายน ค.ศ. 2013 ภายใต้ชื่อ ไมน์เดอะแก็ป (Mind the Gap)[9][10] โรเบิร์ท เคอร์รีแนะนำให้สร้างเกมแนวระบบขนส่งสาธารณะหลังจากตนเองไปที่ลอนดอนและใช้ระบบรถไฟใต้ดินของเมือง[9] ซึ่งมีคอนเซปให้ผู้เล่นสร้างระบบขนส่งที่ช่วยตัวแทนอัจฉริยะ (intelligent agents) เดินทางไปรอบ ๆ โดยให้โหนดกับเส้นแสดงเป็นสถานีรถไฟกับทางรถไฟ.[9] พวกเขาเลือกที่จะพัฒนาเกมโดยใช้ยูนิตีเกมเอนจิน[10]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 ได้มีการปล่อยรุ่นแอลฟาของ มินิเมโทร ขึ้น[10] พวกเขาตัดสินใจให้เกมรุ่นเว็บไซต์เล่นได้ฟรี จนกว่าจะถึงรุ่นสุดท้าย (รุ่นเผยแพร่)[10] ตอนแรก พวกเขาจะเผยแพร่รุ่นสุดท้ายของเกมในช่วงปลายปีค.ศ. 2013 อยาสงไรก็ตาม เนื่องจากขอบเขตที่จำกัดของตัวเกม ทำให้การพัฒนานานไปกว่าที่คาดคิดเอาไว้[10] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 พวกเขาตัดสินใจเยแพร่รุ่นที่อยู่ในระหว่างพัฒนาผ่านทางSteam Early Access.[10][5] แล้วเผยแพร่รุ่นต่อไปตามคำตอบรับของคอมมิวนิตี[10]
พี่น้องได้จ้ายคนสองคนในการช่วยเหลือสองอย่างคือ: ศิลปะกับดนตรี[10] เจมี เชิร์ชแมน (Jamie Churchman) อดีตผู้ร่วมงานที่สิธได้ช่วยเรื่องการดีไซน์เกม[9][10] พวกเขาได้ให้ทางดิซาสเตอร์พีซ (Disasterpeace) ช่วยทำงานในด้านเสียงดนตรี[10] [11] โดยแต่ละด่านมีจังหวะและเสียง; โครงสร้างฮาร์มอนิกที่เปลี่ยนไปตามขนาดและรูปร่างในระบบสถานีของผู้เล่น[12] เสียงดนตรีได้แรงบันดาลใจจากดนตรีมินิมัล และผลงานของฟิลิป กลาส (Philip Glass) กับสตีฟ ไรช์ (Steve Reich)[12]
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 ได้มีการเผยแพร่ มินิเมโทร รุ่นมินิเอคเซส (early access) สำหรับลินุกซ์, โอเอสเอ็กซ์ และวินโดวส์[13][14] ทางไดโนซอร์โปโลคลับได้ร่วมมือกับเพลย์อิซึม (Playism) กับปลั้กอินดิจิทัล (Plug In Digital) เพื่อเผยแพร่เกมบนร้านค้าดิจิทัล และคอชมีเดีย (Koch Media) สำหรับการขายในยุโรป[15] ส่วนรุ่นของแอนดรอยด์ (เผยแพร่โดยเพลย์ดิเจียส (Playdigious)[16]) และไอโอเอสถูกเผยแพร่ในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2016[17] ส่วนบนนินเทนโดสวิทช์ที่เผยแพร่ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ได้เพิ่มโหมดหลายผู้เล่นขึ้น[18] และเผยแพร่รุ่น เพลย์สเตชัน 4 ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2019.[19]
การตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
มินิเมโทร ได้รับเสียงวิจารณ์ "เป็นที่โปรดปรานโดยทั่วไป" จากเมทาคริติก[20][21] เจนนี ลาดา นักเขียนจาก Technology Tell กล่าวว่าได้รู้สึกผ่อนคลาย ถึงแม้ว่าตัวเกมสร้างแรงกดดันแก่ผู้เล่นก็ตาม[25] GamesTM ได้รีวิวถึงรุ่นพีซีว่า ความลึกในวิธีเล่นของ มินิเมโทร พร้อมกับเส้นระดับความยากทำให้เกมดูน่าสนใจ[2] ร็อบ ริช นักเขียนจาก Gamezebo ได้คอมเมนต์ถึงรูปแบบดีไซน์และปุ่มควบคุมที่ใช้งานง่ายในรุ่นโทรศัพท์ เขาคิดว่าการใช้รูปร่างเรขาคณิตเพื่อแสดงถึงผู้โดยสารกับสถานีช่ายย่อภารกิจที่ซับซ้อน ทำให้เกมเข้าถึงง่าย[7] คริสเตียน วาเลนทิน (Christian Valentin) นักวิจารณ์จาก Pocket Gamer กล่าวว่าในตอนเล่นแรก ๆ อาจสับสน แต่ต่อมารู้สึกเหมือน "มีส่วนร่วมอย่างน่าแปลกใจ"[23]
ในงาน Independent Games Festival ค.ศ. 2016 มินิเมโทร ชนะรางวัล "เสียงดีเด่น"[26] และได้เข้าชิงถึงสามรางวัล คือ: "รูปแบบศิลปะดีเด่น", "ดีไซน์ดีเด่น" และ "Seumas McNally Grand Prize".[27] ตัวเกมได้เข้าชิงสำหรับ "Debut Game" ที่ บริติชอะคาเดมีเกมส์อวอร์ดส์ครั้งที่ 12[28] และได้รับการยกย่องสำหรับ "Best Debut" ในงาน Game Developers Choice Awards ประจำครั้งที่ 16[29] เกมสปอต ได้จัดให้ มินิเมโทร ใน 5 เกมที่ดีที่สุดสำหรับโทรศัพท์ในปีค.ศ. 2016.[30]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Learn the science of the subway in Mini Metro". Kill Screen. Kill Screen. 12 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Mini Metro review". GamesTM. Imagine Publishing. 15 February 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 LeRay, Lena (9 November 2015). "Relax and make your own Mini Metro". IndieGames.com. UBM. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2015. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ 4.0 4.1 Gach, Ethan (24 November 2015). "Mini Metro makes mass transportation sublime". Kill Screen. Kill Screen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Meer, Alec (26 August 2014). "Impressions: Mini Metro". Rock, Paper, Shotgun. Rock, Paper, Shotgun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ Maiberg, Emanuel (18 August 2014). "Mini Metro turns the headache of mass transportation into fun". Kill Screen. Kill Screen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Rich, Rob (20 October 2016). "Mini Metro Review: Mass Transit Brain Teaser". Gamezebo. Gamezebo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2016. สืบค้นเมื่อ 24 December 2016.
- ↑ 8.0 8.1 "Dinosaur Polo Club Presskit()". Dinosaur Polo Club. Dinosaur Polo Club. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 Warwo, Alex (18 January 2016). "Road to the IGF: Dinosaur Polo Club's Mini Metro". Gamasutra. UBM. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 Curry, Peter (15 June 2016). "Postmortem: Dinosaur Polo Club's Mini Metro". Gamasutra. UBM. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ "Disasterpeace on composing music for indie classics". GamesTM. Imagine Publishing. 7 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ 12.0 12.1 Gould, Richard (18 February 2016). "The Programmed Music of "Mini Metro" – Interview with Rich Vreeland (Disasterpeace)". Designing Sound. Designing Sound. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ Smith, Graham (7 October 2015). "Mini Metro Departs Early Access On November 6th". Rock, Paper, Shotgun. Rock, Paper, Shotgun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ O'Connor, Alice (9 November 2015). "Good Service: Mini Metro Launches Out Of Early Access". Rock, Paper, Shotgun. Rock, Paper, Shotgun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ "What we've been up to". Dinosaur Polo Club. Dinosaur Polo Club. 27 May 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ Dinosaur Polo Club on Twitter, "We’re stoked to be working with Playdigious on Mini Metro! They’re working to make sure we have the best possible Android release.", 28 September 2016.
- ↑ Valentin, Christian (11 October 2016). "[Update] Public transportation puzzler Mini Metro will coming to iOS and Android on October 18th". Pocket Gamer. Steel Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2016. สืบค้นเมื่อ 16 October 2016.
- ↑ "Mini Metro launches on Switch with console-exclusive multiplayer". VentureBeat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 30 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
- ↑ "Sublime Subway Simulator Mini Metro Arrives on PS4 September 10". PlayStation Blog. สืบค้นเมื่อ 10 September 2019.
- ↑ 20.0 20.1 "Mini Metro for PC Reviews". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ 21.0 21.1 "Mini Metro for iPhone/iPad Reviews". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2016. สืบค้นเมื่อ 21 September 2018.
- ↑ "Mini Metro for Switch Reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 21 September 2018.
- ↑ 23.0 23.1 Valentin, Christian (18 October 2016). "Mini Metro review - A smart and satisfying transportation puzzler". Pocket Gamer. Steel Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2016. สืบค้นเมื่อ 24 December 2016.
- ↑ Musgrave, Shaun (30 December 2016). "'Mini Metro' Review – Train Braining". TouchArcade. สืบค้นเมื่อ 21 September 2018.
- ↑ Lada, Jenni (13 October 2014). "Mini Metro Preview: Stress-free subway". Technology Tell. GadgeTell. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ Brightman, James (17 March 2016). "Her Story dominates GDC, IGF Awards". Gamesindustry.biz. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ "2016 Independent Games Festival debuts finalists". Gamasutra. UBM. 6 January 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ Kerr, Chris (10 March 2016). "Everybody's Gone to the Rapture leads BAFTA nominations". Gamasutra. UBM. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ "16th Annual Game Developers Choice Awards". Game Developers Choice Awards. UBM. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ "The Best Mobile Games of 2016". GameSpot. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2016. สืบค้นเมื่อ 24 December 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Mini Metro
- วิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2558
- เกมสำหรับแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)
- เกมสำหรับเบราว์เซอร์
- วิดีโอเกมอินดี
- เกมสำหรับไอโอเอส
- เกมสำหรับลินุกซ์
- เกมสำหรับแมคโอเอส
- เกมสำหรับนินเทนโดสวิทช์
- เกมสำหรับเพลย์สเตชัน 4
- วิดีโอเกมผู้เล่นเดี่ยว
- เกมของสตรีมกรีนไลท์
- เกมสำหรับยูนิตี (เกมเอนจิน)
- วิดีโอเกมที่พัฒนาขึ้นในประเทศนิวซีแลนด์
- เกมสำหรับวินโดวส์
- คอชมีเดีย