ราชวงศ์อไบดอส
ราชวงศ์อไบดอส | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 1600 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||
แผนที่อียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่สิบห้า อไบดอส และราชวงศ์ที่สิบหก | |||||||||||
เมืองหลวง | อไบดอส | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ | ||||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||||
การปกครอง | ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสัมฤทธิ์ | ||||||||||
• ก่อตั้ง | ราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
• สิ้นสุด | ราว 1600 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
|
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
ราชวงศ์อไบดอส ถูกสันนิษฐานว่าเป็นราชวงศ์ท้องถิ่นแห่งอียิปต์โบราณที่ปกครองเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น ซึ่งปกครองในบริเวณพื้นที่ส่วนต่างๆ ของอียิปต์กลางและอียิปต์บนในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง ราชวงศ์อไบดอสน่าจะอยู่ในช่วงเวลาร่วมสมัยกับราชวงศ์ที่สิบห้าและสิบหกแห่งอียิปต์ ตั้งแต่ราวประมาณ 1650 ถึง 1600 ปีก่อนคริสตกาล[1] โดยมีศูนย์การปกครองอยู่บริเวณในหรือรอบๆ เมืองอไบดอส และสุสานหลวงประจำราชวงศ์อาจจะตั้งอยู่ที่เชิงเขาแห่งอานูบิส ซึ่งเป็นเนินเขาที่มีลักษณะคล้ายพีระมิดในทะเลทรายบริเวณอไบดอส ใกล้กับสุสานหินตัดที่สร้างขึ้นสำหรับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3
การถกเถียงกันในเรื่องการมีอยู่ของราชวงศ์
[แก้]หลักฐานสนับสนุนการมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอส
[แก้]การมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอสได้รับการเสนอความคิดครั้งแรกโดยเด็ตเลฟ แฟรงค์[2] และต่อมาได้อธิบายเพิ่มเติมโดยคิม รีฮอล์ต ในปี ค.ศ. 1997 โดยรีฮอล์ตได้ตั้งสังเกตว่า ปรากฏฟาโรห์ที่สามารถยืนยันได้แล้วจำนวนสองพระองค์ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ ฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟ (การคุ้มครองของพระองค์คือเทพเวปวาเวต) และฟาโรห์พันทเจนิ (พระองค์แห่งไทนิส) ซึ่งปรากฏพระนามที่มีเกี่ยวข้องกับเมืองอไบดอส กล่าวคือ เทพเวปวาเวตเป็นเทพเจ้าที่สำคัญของเมืองอไบดอส และไทนิสเป็นเมืองที่สำคัญ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองอไบดอสไปทางเหนือไม่กี่ไมล์ นอกจากนี้ ฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟ, ฟาโรห์พันทเจนิ และฟาโรห์สนาอิบ ซึ่งเป็นฟาโรห์อีกพระองค์หนึ่งในช่วงเวลาดังต่างเป็นที่ทราบมาจากจารึกเพียงชิ้นที่ค้นพบในเมืองอไบดอส ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่สื่อได้ว่าที่นี้คือศูนย์กลางแห่งอำนาจของเหล่าฟาโรห์ดังกล่าว[3] และสุดท้าย รีฮอล์ตก็ได้ให้เหตุผลว่าการมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอสจากการอธิบายในสิบหกรายพระนามของบันทึกพระนามแห่งตูรินในช่วงสิ้นสุดราชวงศ์ที่สิบหก ราชวงศ์อไบดอสอาจจะถูกสถาปนาขึ้นในช่วงเวลาหลังจากนั้นระหว่างการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบสามพร้อมกับการพิชิตเมืองเมมฟิสโดยชาวฮิกซอสและการรุกคืบทางใต้ของพวกฮิกซอสไปยังเมืองธีบส์[3]
การมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอสอาจจะได้รับการพิสูจน์ยืนยันในช่วงเดือนมกราคม ค.ค. 2014 เมื่อมีการค้นพบหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์พระนามว่า เซเนบคาย ซึ่งยังไม่ทราบตัวตนจากหลักฐานใดอื่น ทางตอนใต้ของเมืองอไบดอส พื้นที่ที่เรียกว่า "เนินเขาแห่งอานูบิส" ในสมัยโบราณ ถ้าฟาโรห์เซเนบคายมาจากราชวงศ์อไบดอสจริงๆ หลุมฝังพระบรมศพของพระองค์อาจจะสื่อถึงว่าที่นี้เป็นสุสานหลวงของราชวงศ์นี้ ซึ่งอยู่ติดกับสุสานหลวงของผู้ปกครองในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง[1] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การขุดค้นได้เผยให้เห็นสุสานราชวงศ์ที่ไม่ปรากฏพระนามไม่น้อยกว่าแปดแห่งที่สร้างขึ้นในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สองซึ่งมีรูปแบบและขนาดใกล้เคียงกับที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์เซเนบคาย เช่นเดียวกันกับสุสานอีกสองแห่ง ซึ่งอาจจะเป็นพีระมิดที่สร้างขึ้นในช่วงกลางสมัยราชวงศ์ที่สิบสาม คือ สุสานหมายเลข เอส 9 และเอส 10 ซึ่งอาจจะเป็นสุสานของฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 และฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์[4]
หลักฐานโต้แย้งการมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอส
[แก้]นักวิชาการทุกคนไม่เห็นด้วยกับการมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอส อาทิ มาร์เซล มารี ได้สังเกตว่าสถานที่ผลิตที่ดำเนินการในอไบดอสและผลิตจารึกศิลาของฟาโรห์จำนวนสองพระองค์ที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์อไบดอส ซึ่งก็คือ ฟาโรห์พันทเจนิ และฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟ นั้นมีแนวโน้มที่น่าจะผลิตจารึกศิลาของฟาโรห์ราโฮเทปจากราชวงศ์ที่สิบเจ็ดด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากราชวงศ์อไบดอสมีอยู่จริง สถานที่ผลิตจารึกศิลาแห่งนี้น่าจะสร้างจารึกศิลาให้กับสองราชวงศ์ที่เป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาตัดสินว่าไม่น่าจะเป็นไปได้[5] อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความแน่ชัดว่าทั้งสองราชวงศ์นี้อยู่ร่วมกันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาใหม่ในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สองของคิม รีฮอล์ตนั้น ช่วงที่ราชวงศ์อไบดอสล่มสลายและช่วงที่ราชวงศ์ที่สิบเจ็ดถูกสถาปนาขึ้นอยู่ห่างจากกันราวประมาณ 20 ปี[3]
ในส่วนของหลักฐานสนับสนันการมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอสจากการค้นพบสุสานของฟาโรห์เซเนบคายในอไบดอส อเล็กซานเดอร์ อิลิน-โทมิช ก็ได้โต้แย้งว่า ฟาโรห์จากช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางบางพระองค์ เช่น ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ก็ทรงมีสุสานที่เมืองอไบดอสเช่นกัน แต่ไม่มีใครจัดฟาโรห์ดังกล่าวให้เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ท้องถิ่นอไบดอส ในทางตรงกันข้าม เขาสงสัยว่า ฟาโรห์เซเนบคาย อาจจะเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์สิบหกแห่งอียิปต์ ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ หรือไม่[6]
พระราชอาณาเขต
[แก้]ถ้าหากราชวงศ์อบีดอสมีอยู่จริงนั้น ศูนย์กลางอำนาจการปกครองของราชวงศ์นี้น่าจะเป็นเมืองอไบดอสหรือเมืองไทนิส จารึกที่เป็นไปได้ของฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟที่ถูกค้นพบโดยคาร์ล ริชาร์ด เล็พซิอุสในหลุมฝังศพ บีเฮช 2 ของผู้ปกครองท้องถิ่นเขตที่สิบหกนามว่า อเมนเอมฮัต ในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสองที่บะนีฮะซัน ซึ่งอยู่ไปประมาณ 250 กิโลเมตร ทางเหนือของเมืองอไบดอสในอียิปต์กลาง หากการระบุแหล่งที่มาของจารึกนี้ถูกต้องและหากฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟมาจากราชวงศ์ท้องถิ่นอไบดอสจริง อาณาเขตของราชวงศ์อไบดอสอาจจะขยายออกไปทางเหนือไกลถึงที่นั้น[3] เนื่องจากราชวงศ์นี้อยู่ร่วมสมัยกับราชวงศ์ที่สิบหก ดินแดนภายใต้การควบคุมของราชวงศ์อไบดอสจึงไม่สามารถขยายไปไกลกว่าเมืองฮู ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองอไบดอสไปทางใต้ 50 กิโลเมตร[3]
ผู้ปกครอง
[แก้]รายพระนามจำนวนสิบหกพระนามต่อไปนี้มาจากบันทึกพระนามแห่งตูรินที่อาจจะเกี่ยวข้องกับราชวงส์ที่สิบหกแห่งอียิปต์โดยคิม รีฮอล์ต:[3]
พระนามครองพระราชบัลลังก์ | ลำดับรายพระนามในบันทึกพระนามแห่งตูริน | การถอดเสียงตามพยัญชนะ |
---|---|---|
วอเซอร์[...]เร | คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 16 | Wsr-[...]-Rˁ |
วอเซอร์[...]เร | คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 17 | Wsr-[...]-Rˁ |
พระนามสูญหายจำนวน 8 พระนาม | คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 18-25 | |
[...]เฮบเร | คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 26 | [...]-hb-[Rˁ] |
พระนามสูญหายจำนวน 3 พระนาม | คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 27-29 | |
[...]เฮบเร (ไม่แน่ชัด) | คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 30 | [...]-ḥb-[Rˁ] |
[...]เวบเอนเร | คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 31 | [...]-wbn-[Rˁ] |
ผู้ปกครองบางพระองค์ข้างต้นอาจจะระบุตัวตนกับฟาโรห์ทั้งสี่พระองค์ที่ได้รับการยืนยันแล้ว ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์อไบดอสโดยไม่ได้คำนึงถึงลำดับเวลาที่ไม่ทราบ:
พระนาม | รูปภาพ | คำอธิบาย |
---|---|---|
เซคเอมราเนเฟอร์คาอู เวปวาเวตเอมซาฟ | อาจจะเป็นฟาโรห์ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบหก[7] | |
เซคเอมเรคูทาวี พันทเจนิ | อาจจะเป็นฟาโรห์ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบหก[7] | |
เมนคาอูเร สนาอิบ | อาจจะเป็นฟาโรห์ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบสาม[8][9][10] | |
วอเซอร์อิบเร เซเนบคาย | อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ที่ทรงใช้พระนาม วอเซอร์[...]เร ตามที่ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูริน | |
คูอิเกอร์ | ช่วงเวลาและรัชสมัยแห่งการครองราชย์ยังไม่แน่นอน โดยเด็ตเลฟ แฟรงค์ สันนิษฐานว่า พระองค์มาจากราชวงศ์อไบดอส[11] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Giant Sarcophagus Leads Penn Museum Team in Egypt To the Tomb of a Previously Unknown Pharaoh". Penn Museum. January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ 16 Jan 2014.
- ↑ Detlef Franke: Zur Chronologie des Mittleren Reiches. Teil II: Die sogenannte Zweite Zwischenzeit Altägyptens, In Orientalia 57 (1988), p. 259
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Ryholt, K.S.B. (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. Museum Tusculanum Press. p. 164. ISBN 8772894210.
- ↑ Josef W., Wegner (2015). "A royal necropolis at south Abydos: New Light on Egypt's Second Intermediate Period". Near Eastern Archaeology. 78 (2): 68–78. doi:10.5615/neareastarch.78.2.0068. S2CID 163519900.
- ↑ Marcel Marée: A sculpture workshop at Abydos from the late Sixteenth or early Seventeenth Dynasty, in: Marcel Marée (editor): The Second Intermediate period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects, Leuven, Paris, Walpole, MA. 2010 ISBN 978-90-429-2228-0. p. 247, 268
- ↑ Alexander Ilin-Tomich: The Theban Kingdom of Dynasty 16: Its Rise, Administration and Politics, in: Journal of Egyptian History 7 (2014), 146; Ilin-Tomich, Alexander, 2016, Second Intermediate Period. In Wolfram Grajetzki and Willeke Wendrich (eds.), UCLA Encyclopedia of Egyptology, Los Angeles. http://digital2.library.ucla.edu/viewItem.do?ark=21198/zz002k7jm9 p. 9-10
- ↑ 7.0 7.1 Marcel Marée: A sculpture workshop at Abydos from the late Sixteenth or early Seventeenth Dynasty, in: Marcel Marée (editor): The Second Intermediate period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects, Leuven, Paris, Walpole, MA. 2010 ISBN 978-90-429-2228-0. p. 247, 268
- ↑ Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
- ↑ Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997
- ↑ Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien 49, Mainz 1999.
- ↑ Schneider, T. (2009). "Das Ende der kurzen Chronologie: Eine kritische Bilanz der Debatte zur absoluten Datierung des Mittleren Reiches und der Zweiten Zwischenzeit". Ägypten und Levante. 18: 275–314. doi:10.1553/aeundl18s275. ISSN 1015-5104.