ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลหาดใหญ่

พิกัด: 7°01′00″N 100°28′05″E / 7.01667°N 100.46806°E / 7.01667; 100.46806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลหาดใหญ่
Hatyai Hospital
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง182 ถนนรัถการ อำเภอหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา, ประเทศไทย
พิกัด7°01′00″N 100°28′05″E / 7.01667°N 100.46806°E / 7.01667; 100.46806
หน่วยงาน
ประเภทภูมิภาค
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บริการสุขภาพ
มาตรฐานมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ประเทศไทย)
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง640 เตียง
ประวัติ
เปิดให้บริการพ.ศ. 2500
ลิงก์
เว็บไซต์http://www.hatyaihospital.go.th/

โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นโรงพยาบาลในเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย โดยได้รับการจัดเป็นโรงพยาบาลระดับภูมิภาคสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นหนึ่งในสองโรงพยาบาลหลักที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการในจังหวัดสงขลา (อีกแห่งหนึ่งคือโรงพยาบาลสงขลา) โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสงขลา แต่ยังอยู่ในบางส่วนของจังหวัดปัตตานีและจังหวัดสตูล ซึ่งในนามมีความจุ 640 เตียง แต่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลในภูมิภาคส่วนใหญ่มักประสบปัญหาความแออัดยัดเยียด และเกินความจุเกือบตลอดเวลา

โรงพยาบาลนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2500 และค่อย ๆ ขยายตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจจุบันยังทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอนให้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) และได้รับการรับรองสำหรับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์, สูตินรีเวชวิทยา, ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์, กุมารเวชศาสตร์ และศัลยกรรม

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลหาดใหญ่ กระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2549 ในเขตภาคใต้ ณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ประวัติ

[แก้]

โรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เดิมโรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นสถาบันสมทบของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่คณะแพทยศาสตร์เปิดสอนนักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 1 พ.ศ. 2515 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาการขาดแคลนแพทย์จากภาวะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้แพทย์ลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนเป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขและทบวงมหาวิทยาลัย ในสมัย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.กระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย จึงได้มีการตกลงร่วมมือกันผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการนี้ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2537 เป็นระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2538 – 2547 ) ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544 เลื่อนระยะเวลาสิ้นสุดโครงการออกไปอีก 2 ปี ในปี พ.ศ. 2549 โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 โรงพยาบาลศูนย์ให้จัดสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกโดยร่วมมือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทในภาคใต้ร่วมกัน

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ระยะเวลาในการศึกษา

[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผ่านทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในระบบรับตรงประจำปีตามประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • "ข้อมูลโรงพยาบาล". Hatyai Hospital official website. Hatyai Hospital. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 25 August 2011..

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]