ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลเบตาร์เยรูซาเลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบตาร์เยรูซาเลม
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเบตาร์เยรูซาเลม
ฉายาเดอะเมโนราห์, ธงแห่งรัฐ, สิงโตแห่งยูดาห์, ทีมของประเทศ
ชื่อย่อเบตาร์
ก่อตั้ง1936; 88 ปีที่แล้ว (1936)
สนามสนามกีฬาเท็ดดี เยรูซาเลม
ความจุ31,733 ที่นั่ง
เจ้าของโมเช โฮเกก
ประธานเอลี โอฮานา
ผู้จัดการรอนนี เลวี
ลีกอิสราเอลพรีเมียร์ลีก
2019/20อันดับที่ 3 ในพรีเมียร์ลีก
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลเบตาร์เยรูซาเลม (ฮีบรู: מועדון כדורגל בית"ר ירושלים; Moadon Kaduregel Beitar Yerushalayim) หรือ เบตาร์เยรูซาเลม หรือ เบตาร์ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอิสราเอลที่ตั้งอยู่ที่เยรูซาเลม ปัจจุบันลงแข่งขันในอิสราเอลพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกฟุตบอลสูงสุดของประเทศอิสราเอล

สโมสรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1936 โดยชมูเอล กีร์ชสไตน์ และดาบิด ฮอร์น สีประจำสโมสรคือสีเหลืองและสีดำ สนามเหย้าของสโมสรคือสนามกีฬาเท็ดดี ตั้งอยู่ที่ย่านมัลฮาในเยรูซาเลม เปิดใช้งานมาตั้งแต่ ค.ศ. 1991 มีความจุ 31,733 ที่นั่ง

แฟนของเบตาร์ถูกวิพากย์วิจารณ์ในวงการฟุตบอลอิสราเอล เนื่องจากเป็นพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการกับกลุ่มเคลื่อนไหวรีวิชันนิสต์ซิโอนิซึม (Revisionist Zionism) และพรรคลีกุด ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝั่งขวา[1] เบตาร์เป็นเพียงสโมสรเดียวในอิสราเอลพรีเมียร์ลีกที่ไม่เคยเซ็นสัญญาผู้เล่นชาวอาหรับ[2] และแฟนสโมสรได้แต่งเพลงเชียร์ 'เดททูอาหรับส์' (Death to Arabs)[3] อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 สโมสรได้ร่วมแสดงความยินดีกับการที่ไม่มีแฟนร้องเพลงเชียร์เหยียดชาติพันธุ์เป็นรอบปีแรก

ในประเทศ เบตาร์ชนะเลิศอิสราเอลพรีเมียร์ลีก 6 สมัย ชนะเลิศอิสราเอลคัพ 7 สมัย และชนะเลิศอิสราเอลซูเปอร์คัพ 2 สมัย

เกียรติประวัติ

[แก้]

ลีก

[แก้]
เกียรติประวัติ จำนวน ปี
อิสราเอลแชมเปียนชิป 6 1986–87,[4] 1992–93,[5] 1996–97,[6] 1997–98,[7] 2006–07,[8] 2007–08[9]
รองชนะเลิศ 6 1971–72, 1975–76, 1977–78, 1978–79, 1983–84, 1984–85

ถ้วย

[แก้]
เกียรติประวัติ จำนวน ปี
สเตตคัพ 8 1975–76,[10] 1978–79,[11] 1984–85,[12] 1985–86,[13] 1988–89,[14] 2007–08,[15] 2008–09,[16] 2022-23
รองชนะเลิศ 3 1974–75, 1998–99, 1999–2000, 2017–18
โตโตคัพ 3 1997–98,[17] 2009–10[18] 2019–20[19]
ซูเปอร์คัพ 2 1976,[20] 1986[21]
Lilian Cup 1 1985–86[22]

มินิฟุตบอล

[แก้]
เกียรติประวัติ จำนวน ปี
มินิฟุตบอล 1 1988[23]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sorek, Tamir. "The right-wing origins of the Jerusalem soccer team that wants to add 'Trump' to its name". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-05-29.
  2. Beitar Jerusalem fans insist on changing name of latest signing Mohamed – The Jewish Post, 23 June 2019
  3. Beitar Jerusalem hails a year free of racist chanting in the stands – Jewish Chronicle, 1 January 2019
  4. 2/5/1987
  5. 1/5/1993
  6. 17/5/1997
  7. 9/5/1998
  8. 7/5/2007
  9. 17/5/2008
  10. 16/6/1976
  11. 6/6/1979
  12. 4/6/1985
  13. 27/5/1986
  14. 14/6/1989
  15. 13/5/2008
  16. 26/5/2009
  17. 23/12/1997
  18. 26/1/2010
  19. 24/9/2019
  20. 11/9/1976
  21. 16/9/1986
  22. 10/9/1985
  23. 24/5/1988

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]