ข้ามไปเนื้อหา

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห่วงอนามัยคุมกำเนิด
ความรู้พื้นฐาน
ประเภทการคุมกำเนิดในมดลูก
เริ่มใช้ครั้งแรกคริสต์ทศวรรษ 1970[1]
อัตราการล้มเหลว (ปีแรก)
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง<1%%
เมื่อใช้แบบทั่วไป<1%%
การใช้
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้...
ข้อดีข้อเสีย
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่
ประจำเดือน...
น้ำหนัก...
ข้อดี...

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือ ไอยูดี (อังกฤษ: Intrauterine device, IUD, intrauterine contraceptive device, IUCD, ICD, coil)[2] เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดขนาดเล็ก มักมีรูปร่างคล้ายตัว T ใช้โดยการใส่เข้าไปในมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การใช้ห่วงอนามัยเป็นหนึ่งในวิธีคุมกำเนิดระยะยาวที่ย้อนกลับได้[3] ผู้ใช้ห่วงอนามัยและยาคุมกำเนิดแบบฝังมีความพึงพอใจสูงสุดเมื่อเทียบกับผู้ใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่น[4] หลักฐานทางงานวิจัยสนับสนุนทั้งประสิทธิผลและความปลอดภัยของห่วงอนามัย เมื่อใช้กับวัยรุ่นและคนที่ไม่เคยมีลูก[5] เมื่อถอดห่วงอนามัยออกความเจริญพันธุ์ของผู้ใช้จะกลับมาอย่างรวดเร็วแม้จะใช้มาเป็นเวลานาน[6] โอกาสล้มเหลวของห่วงอนามัยชนิดเคลือบทองแดงอยู่ที่ประมาณ 0.8% ส่วนแบบหลั่งฮอร์โมนอยู่ที่ประมาณ 0.2% ในการใช้ปีแรก[7]

ห่วงอนามัยหุ้มทองแดงอาจเพิ่มปริมาณของประจำเดือนและอาจทำให้ปวดท้องมากขึ้น ส่วนห่วงอนามัยแบบหลั่งฮอร์โมนอาจทำให้ประจำเดือนมาน้อยลงหรือไม่มาเลย อาการปวดประจำเดือนสามารถบรรเทาด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ผลกระทบที่อาจตามมาได้แก่ expulsion (2–5%) และมดลูกฉีกขาดที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (น้อยกว่า 0.7%)[8] ห่วงอนามัยไม่ส่งผลกรทบต่อการให้นมบุตร และสามารถติดตั้งทันทีหลังคลอดลูก[9] นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทันทีหลังการทำแท้ง[10]

การใช้ห่วงอนามัยเพื่อคุมกำเนิดเริ่มขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18[11] แบบจำลองก่อนหน้านี้ถูกเรียกว่า Dalkon shield ซึ่งถูกพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease) อย่างไรก็ตาม ห่วงอนามัยรุ่นปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงนี้หากผู้ใช้ไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตอนช่วงเวลาติดตั้ง[12]

ประเภท

[แก้]

ประเภทและชื่อของห่วงอนามัยคุมกำเนิดแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ในสหรัฐอเมริกามีอยู่สองประเภท ได้แก่:[13]

  • ห่วงอนามัยทองแดงชนิดไม่เคลือบฮอร์โมน (Nonhormonal copper IUD) ภายใต้ชื่อ ParaGard และอื่น ๆ 
  • ห่วงอนามัยเคลือบฮอร์โมนโพรเจสโตเจน (IUD with progestogen) ภายใต้ชื่อ Mirena และอื่น ๆ

ชนิดเคลือบทองแดง

[แก้]
ห่วงอนามัยรุปตัว T ชนิดเคลือบทองแดงที่มีเส้นสำหรับดึงออก
ห่วงอนามัยเมื่อดูผ่านเอ็กซ์เรย์เชิงกราน

ห่วงอนามัยเคลือบทองแดงทำงานโดยขัดขวางการเคลื่อนไหวและสร้างความเสียหายต่อตัวอสุจิเพื่อหยุดไม่ให้ไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ ทองแดงทำหน้าที่เป็นสารฆ่าเชื้ออสุจิในมดลูก เพิ่มระดับไอออนทองแดง โพรสตาแกลนดิน และเม็ดเลือกขาวในของเหลวทั้งภายในท่อนำไข่และในมดลูก[14] ระดับของไอออนทองแดงที่เพิ่มในมูกช่องคลอดหยุดยั้งการเคลื่อนตัวและฆ่าตัวอสุจิ ทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถเดินทางผ่านมูกช่องคลอด[15] ทองแดงยังสามารถเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูก ทว่างานวิจัยแสดงว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถหยุดการฝังตัวของเซลล์ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วได้ ทว่าไม่สามารถขัดขวางเซลล์ไข่ที่ถูกฝังไปแล้ว[16]

ห่วงอนามัยเคลือบทองแดงมีอัตราการล้มเหลวในปีแรกตั้งแต่ 0.1 ถึง 2.2%[17]

ข้อเสียได้แก่ โอกาสที่ประจำเดือนจะมามากขึ้นและอาจปวดท้องมากขึ้น[18]

ชนิดเคลือบฮอร์โมน

[แก้]
ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมน (Mirena)

ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมน (ภายใต้แบรนด์ Mirena, Skyla, Kyleena และ Liletta) ทำงานโดยการปล่อยฮอร์โมน ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) และ โพรเจนติน (progestin) กลไกหลักคือการทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถมีชีวิตอยู่ข้างในของมดลูก[19][20] ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนยังสามารถใช้เพื่อรักษาอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ (menorrhagia) ด้วยความสามารถในการลดความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกจึงทำให้ประจำเดือนน้อยลงหรือไม่มีเลยได้[21]

โพรเจสตินที่หลั่งออกมาจากห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนมีผลเฉพาะที่[22]

ชนิดไม่เคลือบสารหรือฮอร์โมน

[แก้]

ห่วงอนามัยชนิดไม่เคลือบสารหรือฮอร์โมนเป็นห่วงอนามัยที่ไม่มีส่วนประกอบของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมี เช่น แหวนเหล็กกล้าไร้สนิม หรือ พลาสติก มีประสิทธิผลต่ำกว่าห่วงอนามัยชนิดเคลือบทองแดงหรือฮอร์โมน และมีผลข้างเคียงคล้ายแบบเคลือบทองแดง กลไกหลักคือการทำให้สภาพแวดล้อมภายในมดลูกไม่เหมาะสมสำหรับตัวอสุจิและการฝังตัวของเซลล์ไข่[23] อาจมีอัตราการป้องกันการตั้งครรภ์สูงกว่าหลังการปฏิสนธิ ต่างจากห่วงอนามัยแบบเคลือบทองแดงหรือฮอร์โมนที่มักให้ผลก่อนการปฏิสนธิ[24]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Goodwin, T. Murphy; Montoro, Martin N.; Muderspach, Laila; Paulson, Richard; Roy, Subir (2010). Management of Common Problems in Obstetrics and Gynecology (ภาษาอังกฤษ) (5 ed.). John Wiley & Sons. pp. 494–496. ISBN 978-1-4443-9034-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-05.
  2. "IUD (intrauterine device)". Contraception guide. NHS Choices. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014. the intrauterine device, or IUD (sometimes called a coil)
  3. Winner, B; Peipert, JF; Zhao, Q; Buckel, C; Madden, T; Allsworth, JE; Secura, GM (2012). "Effectiveness of Long-Acting Reversible Contraception". New England Journal of Medicine. 366 (21): 1998–2007. doi:10.1056/NEJMoa1110855. PMID 22621627.
  4. Committee on Adolescent Health Care Long-Acting Reversible Contraception Working Group, The American College of Obstetricians and, Gynecologists (October 2012). "Committee opinion no. 539: adolescents and long-acting reversible contraception: implants and intrauterine devices". Obstetrics and gynecology. 120 (4): 983–8. doi:10.1097/AOG.0b013e3182723b7d. PMID 22996129.
  5. Black, K; Lotke, P.; Buhling, K.J.; Zite, N.B.; และคณะ (Intrauterine contraception for Nulliparous women: Translating Research into Action (INTRA), group) (October 2012). "A review of barriers and myths preventing the more widespread use of intrauterine contraception in nulliparous women". The European Journal of Contraception & Reproductive Health Care. 17 (5): 340–50. doi:10.3109/13625187.2012.700744. PMC 4950459. PMID 22834648.
  6. Tommaso Falcone; William W. Hurd, บ.ก. (2007). Clinical reproductive medicine and surgery. Philadelphia: Mosby. p. 409. ISBN 9780323033091.
  7. Hurt, K. Joseph; และคณะ, บ.ก. (2012-03-28). The Johns Hopkins manual of gynecology and obstetrics (4th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 232. ISBN 978-1-60547-433-5.
  8. Marnach, ML; Long, ME; Casey, PM (March 2013). "Current issues in contraception". Mayo Clinic Proceedings. 88 (3): 295–9. doi:10.1016/j.mayocp.2013.01.007. PMID 23489454.
  9. Gabbe, Steven (2012). Obstetrics: Normal and Problem Pregnancies. Elsevier Health Sciences. p. 527. ISBN 9781455733958.
  10. Steenland, MW; Tepper, NK; Curtis, KM; Kapp, N (November 2011). "Intrauterine contraceptive insertion postabortion: a systematic review". Contraception. 84 (5): 447–64. doi:10.1016/j.contraception.2011.03.007. PMID 22018119.
  11. Callahan, Tamara; Caughey, Aaron B. (2013). Blueprints Obstetrics and Gynecology (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 320. ISBN 9781451117028.
  12. Sonfield, Adam (Fall 2007). "Popularity Disparity: Attitudes About the IUD in Europe and the United States". Guttmacher Policy Review. Guttmacher Institute. สืบค้นเมื่อ 2016-06-04.
  13. Treiman K, Liskin L, Kols A, Rinehart W (1995), "IUDs – an update" (PDF), Popul Rep B (6): 1–35, PMID 8724322, สืบค้นเมื่อ 2006-01-01
  14. "Mechanisms of the Contraceptive Action of Hormonal Methods and Intrauterine Devices (IUDs)". Family Health International. 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-07-05.
  15. Oritz ME, Croxatto HB (2007). "Copper-T intrauterine device and levonorgestrel intrauterine system: biological bases of their mechanism of action". Contraception. 75 (6 Suppl): S16–S30. doi:10.1016/j.contraception.2007.01.020. PMID 17531610.
  16. "Facts are Important: Emergency Contraception (EC) and Intrauterine Devices (IUDs) are Not Abortifacients" (PDF). American Congress of Obstetricians and Gynecologists. June 12, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-06-02. สืบค้นเมื่อ July 14, 2015. Copper ions released from the IUD create an environment that is toxic to sperm, preventing fertilization.14 Copper can also alter the endometrial lining, but studies show that this alteration can prevent implantation, but not disrupt implantation
  17. Kulier R, O'Brien PA, Helmerhorst FM, Usher-Patel M, D'Arcangues C (2007), "Copper containing, framed intra-uterine devices for contraception", Cochrane Database Syst Rev (4): CD005347, doi:10.1002/14651858.CD005347.PUB3, PMID 17943851
  18. Grimes, D.A. (2007). Hatcher, R.A.; Nelson, T.J.; Guest, F.; Kowal, D. (บ.ก.). "Intrauterine Devices (IUDs)". Contraceptive Technology (19th ed.). New York: Ardent Media.
  19. Speroff, Leon; Darney, Philip D. (2011). "Intrauterine contraception". A clinical guide for contraception (5th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. pp. 239–280. ISBN 978-1-60831-610-6.
  20. Hatcher, Robert A. (2011). Contraceptive technology (20th rev. ed.). [New York, N.Y.]: Ardent Media. p. 162. ISBN 978-1-59708-004-0.
  21. Luis Bahamondes; M Valeria Bahamondes; Ilza Monteiro (2008), "Levonorgestrel-releasing intrauterine system: uses and controversies.", Expert Review of Medical Devices, 5: 437–45, doi:10.1586/17434440.5.4.437, PMID 18573044
  22. Malik S (January 2013). "Levonorgestrel-IUS system and endometrial manipulation". J Midlife Health. 4 (1): 6–7. doi:10.4103/0976-7800.109625. PMC 3702070. PMID 23833526.
  23. Ortiz, ME; Croxatto HB (June 2007). "Copper-T intrauterine device and levonorgestrel intrauterine system: biological bases of their mechanism of action". Contraception. 75 (6): S16-30. doi:10.1016/j.contraception.2007.01.020. PMID 17531610.
  24. ESHRE Capri Workshop Group (April 2008). "Intrauterine devices and intrauterine systems". Human Reproduction Update. 14 (3): 197–208. doi:10.1093/humupd/dmn003. PMID 18400840.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]