ข้ามไปเนื้อหา

อาอิชะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาอิชะหฺ)
عائشة
เกิดป. ค.ศ. 613/614
มักกะฮ์ ฮิญาซ อาระเบีย (ปัจจุบันคือประเทศซาอุดีอาระเบีย)
เสียชีวิตป. กรกฎาคม ค.ศ. 678 (63–65 ปี)
มะดีนะฮ์ ฮิญาซ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ (ปัจจุบันคือประเทศซาอุดีอาระเบีย)
สุสานญันนะตุลบะกีอ์ มะดีนะฮ์
คู่สมรสมุฮัมมัด (m. ค.ศ. 620; เสียชีวิต ค.ศ. 632)
บิดามารดาอะบูบักร์ (พ่อ)
อุมมุรูมาน (แม่)
ครอบครัว

อาอิชะฮ์ บินต์ อะบีบักร์ (อาหรับ: عائشة بنت أبي بكر[a]; ป. ค.ศ. 613/614 – กรกฎาคม ค.ศ. 678) เป็นภรรยาคนที่ 3 และภรรยาที่เด็กที่สุดของศาสดามุฮัมมัด[4][5]

ข้อมูลเกี่ยวกับวัยเด้กของเธอมีน้อย แหล่งข้อมูลสมัยคลาสสิกส่วนใหญ่กล่าวครอบคลุมที่อาอิชะฮ์แต่งงานตอนอายุ 6 หรือ 7 ขวบ และทำให้สมบูรณ์ตอนอายุ 9 ขวบ อายุของเธอเป็นที่มาของความขัดแย้งทางอุดมการณ์[6] อาอิชะฮ์มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์อิสลามช่วงต้น ทั้งในตอนที่มุฮัมมัดยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตแล้ว ในธรรมเนียมซุนนี อาอิชะฮ์ดูมีความเป็นนักวิชาการ ฉลาด และอยากรู้อยากเห็น เธอมีส่วนร่วมในการเผยแผ่หลักคำสอนของมุฮัมมัดและบริการสังคมมุสลิมหลังท่านศาสดาเสียชีวิตเป็นเวลา 44 ปี[7] เธอยังเป็นผู้รายงานฮะดีษ 2,210 สายรายงาน[8] ไม่เพียงแต่ชีวิตส่วนตัวกับมุฮัมมัดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหัวข้อต่าง ๆ เช่น มรดก, ฮัจญ์ และอวสานวิทยา[9] สติปัญญาและความรู้ของเธอในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงบทกวีและการแพทย์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิในยุคแรก ๆ เช่น อัซซุฮรี และอุรวะฮ์ อิบน์ อัซซุบัยร์ ลูกศิษย์ของเธอ[9]

อะบูบักร์ (ค. 632 – 634) พ่อของเธอ กลายเป็นเคาะลีฟะฮ์คนแรกต่อจากมุฮัมมัด สองปีต่อมา อุมัร (ค. 634 – 644) สืบทอดหน้าที่ต่อ อาอิชะฮ์มีบทบาทสำคัญในฐานะฝ่ายค้านต่อเคาะลีฟะฮ์ อุษมาน (ค. 644 – 656) แม้ว่าเธอก็ต่อต้านผู้ที่รับผิดชอบต่อการลอบสังหารตัวเขาด้วย[10] เธอไม่ยอมรับอะลี (ค. 656 – 661) เป็นผู้สืบทอดของอุษมาน และเข้าร่วมกับอัซซุบัยร์ อิบน์ อัลเอาวามกับฏ็อลฮะฮ์ อิบน์ อุบัยดุลลอฮ์ เธอพ่ายแพ้ในสงครามอูฐ และหลังจากนั้นจึงเกษียณตนเองในมะดีนะฮ์ คืนดีกับอะลี และไม่ต่อต้านเคาะลีฟะฮ์ มุอาวิยะฮ์ (ค. 661 – 680)[10] เธอเข้าร่วมสงครมด้วยการกล่าวสุนทรพจน์และนำทัพบนหลังอูฐของเธอ ท้ายที่สุดเธอก็พ่ายแพ้ในการต่อสู้ แต่การมีส่วนร่วมและความมุ่งมั่นของเธอทำให้เกิดความประทับใจไม่รู้ลืม[3] เนื่องจากการมีส่วนร่วมในสงคราม ทำให้มุสลิมนิกายชีอะฮ์โดยทั่วไปมองอาอิชะฮ์ในแง่ลบ ส่วนในซุนนี อาอิชะฮ์ถูกมองเป็นนักวิชาการอิสลามชั้นนำและครูของผู้ติดตามและตาบิอีนหลายคน

ชีวิตช่วงต้น

อาอิชะฮ์เกิดที่มักกะฮ์เมื่อ ป. ค.ศ. 613–614[11][12] โดยเป็นลูกสาวของอะบูบักร์กับอะบูบักร์ ผู้ติดตาม 2 คนจากผู้ติดตามที่มุฮัมมัดเชื่อมั่นที่สุด[4] ไม่มีข้อมูลใดกล่าวถึงชีวิตวัยเด็กของเธอไว้มาก[13][14]

แต่งงานกับมุฮัมมัด

แนวคิดการจับคู่อาอิชะฮ์กับมุฮัมมัดได้รับการแนะนำจากเคาละฮ์ บินต์ ฮะกีม หลังเคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด ภรรยาคนแรกของมุฮัมมัด เสียชีวิต[15][16] หลังจากนี้ ข้อตกลงก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการแต่งงานระหว่างอาอิชะฮ์กับญุบัยร์ อิบน์ มุฏอิมจึงยุติชั่วครู่ด้วยความยินยอมร่วมกัน ในตอนแรก อะบูบักร์ไม่แน่ใจ "เนื่องจากเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือแม้แต่ถูกต้องตามกฎหมายในการแต่งงานระหว่างลูกสาวของเขากับ 'พี่ชาย' " มุฮัมมัดจึงตอบว่า พวกเขาเป็นพี่น้องกันในทางศาสนาเท่านั้น[16] ดับเบิลยู. มอนต์โกเมอรี วัตต์ นักบูรพาคดีศึกษา เสนอแนะว่า มุฮัมมัดหวังที่จะกระชับความสัมพันธ์ของเขากับอะบูบักร์[10] การกระชับความสัมพันธ์โดยทั่วไปถือเป็นพื้นฐานในการแต่งงานตามวัฒนธรรมอาหรับ[17]

ฮะดีษที่มีอยู่ทั้งหมดยอมรับว่าอาอิชะฮ์แต่งงานกับมุฮัมมัดที่มักกะฮ์ แต่การแต่งงานทำให้สมบูรณ์ในเดือนเชาวาลหลังการฮิจเราะห์ไปยังมะดีนะฮ์ (เมษายน ค.ศ. 623)[18] ข้อมูลสมัยคลาสสิกบางส่วนระบุให้อาอิชะฮ์พูดถึงการแต่งงานว่าให้จัดขึ้นในมะดีนะฮ์โดยไม่กล่าวถึงความล่าช้าใด ๆ[18]

อายุตอนแต่งงาน

ข้อมูลอิสลามสมัยคลาสสิกระบุอายุอาอิชะฮ์ตอนแต่งงานไว้ที่ 6 หรือ 7 ขวบ และทำให้สมบูรณ์ตอน 9 หรือ 10 ขวบ ในฮะดีษจากเศาะฮีฮ อัลบุคอรีระบุว่าอาอิชะฮ์เล่าถึงการแต่งงานเมื่ออายุได้หกขวบ[19] ชีวประวัติของอิบน์ ซะอด์ถือว่าอายุของเธอตอนแต่งงานอยู่ระหว่าง 6 ถึง 7 ขวบ และระบุช่วงที่การแต่งงานมบูรณ์ที่อายุ 9 ขวบ ส่วนหนังสือชีวประวัติมุฮัมมัดของอิบน์ ฮิชามเสนอแนะว่าตอนที่การแต่งงานสมบูรณ์ เธออาจมีอายุสิบขวบ[20] อัฏเฏาะบะรีระบุว่า หลังแต่งงาน อาอิชะฮ์ยังคงอยู่กับพ่อแม่ และบรรลุความสัมพันธ์เมื่ออายุเก้าขวบ ตั้งแต่เธอยังเยาว์วัยและยังไม่บรรลุนิติภาวะในเวลาแต่งงาน อย่างไรก็ตาม ในบริเวณอื่น อัฏเฏาะบะรีดูเหมือนเสนอแนะว่าเธอเกิดในช่วงญาฮิลียะฮ์ (ก่อน ค.ศ. 610) ซึ่งจะแปลงอายุของเธอตอนแต่งงานไว้ที่ประมาณ 12 ขวบหรือมากกว่านั้น[21][22]

ในวรรณกรรมอิสลาม การแต่งงานของเธอช่วงอายุน้อยไม่ได้ดึงดูดความสำคัญทางวาทกรรมใด ๆ ถึงกระนั้น Spellberg และ Ali พบถึงการระบุอายุของเธอนั้นผิดไปจากนักเขียนชีวประวัติมุสลิมยุคแรก และตั้งสมมติฐานถึงความหมายโดยนัยของความเป็นพรหมจารี และยิ่งกว่านั้นคือความบริสุทธิ์ทางศาสนาของเธอ[20][23][b] นักวิชาการมุสลิมรุ่นหลังไม่สนใจอายุของเธอเช่นกัน และไม่มีใครสนใจแม้แต่นักโต้เถียงชาวคริสต์ในสมัยกลางถึงสมัยใหม่ตอนต้น[24]

ตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อโลกตะวันออกกับการผิดศีลธรรมถูกกล่าวหาว่าเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจมากขึ้น[c] เจ้าอำนาจอาณานิคมพยายามที่จะควบคุมอายุที่รับรู้ยินยอม เนื่องจากความพยายามดังกล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งกับรูปแบบท้องถิ่นของชะรีอะฮ์ ทำให้อายุของอาอิชะฮ์ตอนแต่งงาน — และแบบอย่างที่เกี่ยวข้องของศาสดา — กลายเป็นคำอธิบายที่โดดเด่นถึงความล้าหลังของสังคมมุสลิมและการไม่ปฏิรูปของพวกเขา[26] เพื่อตอบสนองต่อสิ่งนี้ มุสลิมบางคน[d]เลือกที่จะปรับตัวเองให้สอดคล้องกับโครงการในการทำให้ถูกต้องตามสมัย และคำนวณอายุของเธอใหม่ โดยใช้กลยุทธ์ในการละเลยและมอบหมายหน้าที่อันชาญฉลาด เพื่อแก้ไขไปที่ช่วงวัยรุ่นตอนต้น แต่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่ยอมรับการตีความเช่นนี้ เนื่องจากคัดค้านกับอิลมุลฮะดีษ[27]

ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับลัทธิอิสลามหัวรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่สังคมมุสลิมและศาสนาอิสลามเองก็ถูกตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวัยแต่งงานของอาอิชะฮ์เมื่ออายุยังน้อยจึงเริ่มมีมากมาย สิ่งนี้กระตุ้นให้นักวิชาการมุสลิมหลายคน[e]ปรับบริบทอายุของอาอิชะฮ์ที่ยอมรับกันตามประเพณี โดยเน้นไปที่ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ยุคสมัย มิติทางการเมืองของการแต่งงาน ร่างกายที่ไม่ธรรมดาของอาอิชะฮ์ เป็นต้น[29][f] นับตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักโต้เถียงใช้อายุของอาอิชะฮ์ในการกล่าวหามุฮัมมัดถึงการเป็นพวกใคร่เด็กและอธิบายการแต่งงานกับเด็กในสังคมมุสลิมที่มีรายงานพบในความถี่ที่สูงขึ้น[31]

ชีวิตส่วนตัว

ความสัมพันธ์กับมุฮัมมัด

มุฮัมมัดกับอาอิชะฮ์ปลดปล่อยลูกสาวของหัวหน้าเผ่า

ในธรรมเนียมมุสลิมส่วนใหญ่ เคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิดถูกจัดให้เป็นภรรยาที่เป็นที่รักมากที่สุดและเป็นคนโปรดของมุฮัมมัด ธรรมเนียมซุนนีจัดให้อาอิชะฮ์เป็นคนโปรดรองลงมาจากเคาะดีญะฮ์[32][33][34][35][36] มีฮะดีษบางส่วนที่สนับสนุนความเชื่อนี้ โดยมีเรื่องหนึ่งระบุว่า เมื่อผู้ติดตามคนหนึ่งถามมุฮัมมัดว่า "ใครคือบุคคลที่ท่านรักมากที่สุดในโลก?" ท่านตอบว่า "อาอิชะฮ์"[37] ส่วนอีกเรื่องหนึ่งระบุว่า มุฮัมมัดสร้างบ้านอาอิชะฮ์ให้ประตูบ้านของเธอหน้าหน้าไปยังมัสยิดโดยตรง[38][39] และเธอเป็นผู้หญิงคนเดียวที่มุฮัมมัดได้รับโองการด้วย[40][41] ทั้งคู่อาบน้ำในที่เดียวกันและท่านดุอาอ์ขณะที่เธอนอนเหยียดยาวอยู่ตรงหน้า[42]

ธรรมเนียมต่าง ๆ เปิดเผยความรักซึ่งกันและกันระหว่างมุฮัมมัดกับอาอิชะฮ์ ท่านมักจะนั่งดูเธอกับเพื่อน ๆ เล่นตุ๊กตา และในบางครั้ง ท่านอาจร่วมเล่นกับพวกเธอด้วย[43][44][45] นอกจากนี้ มุฮัมมัดกับอาอิชะฮ์มีความสัมพันธ์ทางปัญญาที่แข็งแกร่ง[46] มุฮัมมัดเห็นคุณค่าด้านความทรงจำและความเฉลียวฉลาดของเธอ ท่านจึงแนะนำให้ผู้ติดตามนำเอาแนวทางปฏิบัติทางศาสนาบางส่วนจากเธอ[47][48]

การถูกกล่าวหาว่าทำชู้

มุฮัมมัดเสียชีวิต

เสียชีวิต

อาอิชะฮ์เสียชีวิตในบ้านของเธอที่มะดีนะฮ์ในวันที่ 17 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 58 (16 กรกฎาคม ค.ศ. 678)[g] ด้วยอายุ 67 ปี[50] อะบูฮุร็อยเราะฮ์เป็นผู้นำละหมาดศพหลังละหมาดตะฮัจญุด (กลางคืน และฝังศพเธอที่ญันนะตุลบะเกียะอ์[51]

หมายเหตุ

  1. บางครั้งชื่อของเธอขึ้นต้นด้วยคำนำหน้าว่า "มารดาแห่งศรัทธาชน" (อาหรับ: أمّ المؤمنين, อักษรโรมัน: ʾumm al-muʾminīn) เช่นเดียวกันกับภรรยาท่านอื่น [1][2][3]
  2. Ibn Sa'd notes Aisha to have boasted of her being the only virgin-wife before Muhammad himself.[19]
  3. Scholars note the formation of an unprecedented political consciousness in Europe around the time, that created a moral imperative for the Western elites to rescue the victims of Eastern barbarity. Additionally, these reforms were especially palatable to the colonial governments since they fostered the penetration of bureaucracy into hitherto-private affairs and aided in the construction of a governable nation-state.[25]
  4. อับบาส มะห์มูด อัลอักกอดในอียิปต์ และคนอื่น ๆ
  5. Ali finds an exception in "traditional S. Asian biographers" who maintain outright frankness in noting the "practicalities" of marrying a virgin girl.[28]
  6. Ali notes the polarizing environment to have prompted even scholars and popular authors from the West to incorporate apologetics premised on anachronism and political implications, often at the cost of historical accuracy.[30]
  7. นี่เป็นวันที่ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ถึงแม้ว่ายังไม่มีใครทราบวันที่แท้จริงก็ตาม[49]

อ้างอิง

  1. อัลกุรอาน 33:6
  2. Brockelmann 1947.
  3. 3.0 3.1 Abbott 1942, p. [ต้องการเลขหน้า].
  4. 4.0 4.1 Esposito 2004a.
  5. Spellberg 1994, p. 3.
  6. Spellberg 1996, pp. 39–40.
  7. Aleem 2007, p. 130.
  8. Islamyat: a core text for students.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  9. 9.0 9.1 Sayeed 2013, pp. 27–29.
  10. 10.0 10.1 10.2 Watt 1960.
  11. Abbott 1942, p. 1.
  12. Ibn Sa'd 1995, p. 55
    "อาอิชะฮ์เกิดเมื่อต้นปีที่สี่ของการเป็นศาสดา"
    นั่นคือ ค.ศ. 613–614
  13. Watt 1961, p. 102.
  14. Abbott 1942, p. 7.
  15. Ahmed 1992.
  16. 16.0 16.1 Abbott 1942, p. 3.
  17. Sonbol 2003, pp. 3–9.
  18. 18.0 18.1 Bahramian 2015.
  19. 19.0 19.1 Spellberg 1994, p. 39.
  20. 20.0 20.1 Spellberg 1994, p. 40.
  21. Spellberg 1994, p. 197-198 (Note 4).
  22. Ali 2014, p. 189-190.
  23. Ali 2014, p. 157-158.
  24. Ali 2014, p. 158.
  25. Ali 2014, p. 172.
  26. Ali 2014, p. 167-168, 170-171.
  27. Brown 2014.
  28. Ali 2014, p. 173.
  29. Ali 2014, p. 173, 175-178.
  30. Ali 2014, p. 174, 188-189.
  31. Ali 2014, p. 187, 190-191.
  32. Ahmed 1992, p. 51.
  33. Roded 1994, p. 36.
  34. Roded 2008, p. 23.
  35. Joseph 2007, p. 227.
  36. McAuliffe 2001, p. 55.
  37. Mernissi 1988, p. 65.
  38. Mernissi 1988, p. 107.
  39. Abbott 1942, p. 25.
  40. Roded 1994, p. 28.
  41. Abbott 1942, p. 46.
  42. Shaikh 2003, p. 33.
  43. Abbott 1942, p. 8.
  44. Lings 1983, pp. 133–134.
  45. Haykal 1976, pp. 183–184.
  46. Mernissi 1988, p. 104.
  47. Mernissi 1988, p. 78.
  48. Ramadan 2007, p. 121.
  49. Haylamaz 2013, pp. 192–193.
  50. Nasa'i 1994, p. 108
    "ตอนที่ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เสียชีวิต เธอมีอายุ 18 ปี และยังคงเป็นหม้ายเป็นเวลา 48 ปี จนเธอเสียชีวิตตอนอายุ 67 ปี ในช่วงชีวิตเธอพบเห็นเคาะลีฟะฮ์ปกครองทั้งหมด 4 องค์ เธอเสียชีวิตในเดือนเราะมะฎอน ฮ.ศ. 58 ในรัชสมัยของมุอาวิยะฮ์..."
  51. Ibn Kathir, p. 97.

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม