อีริก บานา
อีริก บานา | |
---|---|
อีริก บานาในงานเทศกาลภาพยนตร์ไทรเบค่า ปี 2009 | |
เกิด | อีริก บานาดิโนวิช 9 สิงหาคม ค.ศ. 1968 เมลเบิร์น รัฐวิกทอเรีย ออสเตรเลีย |
สัญชาติ | ออสเตรเลีย |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีปฏิบัติงาน | 1993–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | รีเบกกา กลีสัน (สมรส 1997) |
บุตร | 2 |
เว็บไซต์ | e-bana |
อีริก บานาดีโนวิช (อังกฤษ: Eric Banadinovich) หรือรู้จักกันในชื่อ อีริก บานา เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1968 เป็นนักแสดงชายและนักแสดงตลกชายชาวออสเตรเลียที่มีผลงานทางภาพยนตร์และโทรทัศน์ เขาเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นนักแสดงตลกในละครสเก็ตช์คอเมดี้เรื่อง Full Frontal ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในแง่คำวิจารณ์จากภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่อง Chopper (2000) หลังจากที่ได้รับคำชมในเสียงวิจารณ์เป็นเวลาร่วม 10 ปี ในละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ในประเทศออสเตรเลีย บานาเข้าร่วมแสดงภาพยนตร์ฮอลลีวูดในบท สิบเอก 'ฮู้ต' กิ๊บสัน ในทหารหน่วยเดลต้า ในภาพยนตร์เรื่อง Black Hawk Down (2001) และต่อมาได้รับบทนำในบทบาท บรูซ แบนเนอร์ ในภาพยนตร์การกำกับของอั้งลี่ เรื่อง The Hulk (2003)
บานา นักแสดงที่ประสบความสำเร็จในบทบาทการแสดงและการแสดงตลก เขาได้รับรางวัลสูงสุดทางด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์สำหรับการแสดงเรื่อง Chopper และ Full Frontal นอกจากนี้เขายังได้แสดงบทนำในภาพยนตร์ทุนต่ำหลาย ๆ แบบ และแสดงกับสตูดิโอสังกัดใหญ่ ทั้งหนังรัก หนังตลก หนังดราม่า จนถึงนวนิยายวิทยาศาสตร์ หนังเขย่าขวัญ และหนังแอ๊กชัน โดยภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมรวมถึงเรื่อง Black Hawk Down (2001), Hulk (2003), Troy (2004) และ Munich (2005)
ประวัติ
[แก้]ชีวิตช่วงแรกและครอบครัว
[แก้]บานาเกิดที่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย[1] เป็นลูกคนสุดท้องในสองคน พ่อของเขาอีวาน ชาวโครเอเชีย เป็นผู้จัดการงานขนส่งบริษัทเคเทอร์พิลลาร์, อิงค์. และคุณแม่ชาวเยอรมัน อีลีนอร์ เป็นช่างทำผม บานาโตในย่านทูลลามารีน รัฐวิกตอเรีย เขตชานเมืองทางตะวันตกของเมือง ใกล้กับสนามบิน
ความสามารถทางด้านการแสดงในช่วงแรกของชีวิตเขา บานาเริ่มสร้างความประทับใจให้กับสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่อายุราว 6 หรือ 7 ปี โดยการเลียนแบบท่าเดินของปู่เขาเอง รวมถึงเลียนเสียงและกิริยาท่าทาง ที่โรงเรียนเขาเลียนแบบครูเขาเองเพื่อให้รอดพ้นปัญหาต่าง ๆ[2] ในช่วงวัยรุ่น เขาได้ดูการแสดงของเมล กิ๊บสัน ในภาพยนตร์เรื่อง Mad Max (1979) และตัดสินที่จะเป็นนักแสดง[3] อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังไม่ได้ตัดสินใจอย่างจริงจังในการแสดง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1991 เมื่อเขาได้รับการชักชวนให้แสดงในสแตนด์อัพคอเมดี้ขณะที่ทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟเครื่องดื่มในบาร์ ที่โรงแรมเมลเบิร์ลสคาสเซิล งานการแสดงสแตนด์อัพคอเมดี้ที่ผับในเมือง ไม่ทำให้เขาได้รายได้ที่ดีเท่าที่ควร เขาจึงทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟเครื่องดื่ม จัดโต๊ะ ตามเดิม[4][5]
ค.ศ. 1993-1997
[แก้]ในปี ค.ศ. 1993 บานามีผลงานทางโทรทัศน์ครั้งแรกในรายการทอล์คโชว์ช่วงกลางคืนโดย สตีฟ วิซาร์ด ในรายการทูไนท์ ไลฟ์[6] ความสามารถทางด้านการแสดงของเขาเข้าตาโปรดิวเซอร์สเก็ตช์คอเมดี้ Full Frontal ซึ่งเขารับเชิญบานาไปร่วมเขียนบทและแสดง จนกระทั่ง 4 ปีผ่านไป บานาเริ่มเขียนบทจากประสบการณ์ของเขา อุปนิสัยของคนในครอบครัว และการล้อเลียน โคลัมโบ อาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์ ซิลเวสเตอร์ สตาล์โลน และทอม ครูซ ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นมา[7] ความสำเร็จนี้นำไปสู่การผลิตรายการโทรทัศน์ของเขาเองที่ชื่อว่า อีริก ในปี ค.ศ. 1996 เป็นรายการที่รวมมุข บุคลิกของคนในชีวิตทั่วไป และกระตุ้นให้เขาปล่อยรายการสเก็ตช์คอเมดี้ของเขาเองในรายการ ดิ อีริก บานา โชว์ เขียนบทและแสดงโดยบานาเอง ที่เป็นรายการล้อเลียน สแตนด์-อัพโชว์ และเชิญคนดังมาร่วมรายการ แต่ไม่ประสบความสำเร็จและยุติการออกอากาศไป หลังจากออกอากาศไปเพียง 8 ตอน เพราะมีระดับความนิยมไม่ดี[6][8] แต่อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1997 เขาได้รับรางวัลโลจีอวอร์ด ในสาขานักแสดงตลกยอดนิยม
ในปีเดียวกัน บานาได้แสดงภาพยนตร์ในออสเตรเลียเป็นครั้งแรก ในภาพยนตร์เรื่อง The Castle ที่เป็นเรื่องราวของครอบครัวชาวเมลเบิร์นที่ดิ้นรนเพื่อรักษาบ้านของเขาต่อการสร้างสนามบินเมลเบิร์นหลังจากรัฐบาลและองค์กรสนามบินบังคับให้พวกเขาย้ายออกไป ในบทตลกที่ชื่อ คอน เพโทรปูลัส นักบัญชีผู้เคยฝึกคิกบ็อกซิง The Castle ได้รับกระแสตอบรับที่ดีและประสบความสำเร็จทางด้านรายได้ ทำรายได้ไป 10,326,428 เหรียญออสเตรเลีย ในตารางบ็อกซ์ออฟฟิสในประเทศออสเตรเลีย[3][9]
ค.ศ. 1997-2005
[แก้]ในปี ค.ศ. 1997 แม้ว่าจะขาดประสบการณ์ในบทดราม่า ผู้กำกับแอนดรูว์ โดมินิก ติดต่อบานาเพื่อเล่นภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่อง Chopper (2000) โดยเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับช็อปเปอร์ รีด อาชญากรชาวออสเตรเลีย โดมินิกใช้เวลาทั้งสิ้น 5 ปี แต่ไม่สามารถหานักแสดงที่รับบทเป็น รีด ได้ จนกระทั่งช็อปเปอร์ รีด ตัวจริงได้แนะนำ บานา ที่เขาเคยดูการแสดงล้อเลียนทางโทรทัศน์ และโดมินิกก็ได้ตกลงให้บานามีส่วนร่วมในภาพยนตร์เรื่องนี้[10]
บานาในบทบาท อาชญากร ช็อปเปอร์ รีด ในภาพยนตร์สร้างชื่อ Chopper (2000) สำหรับบทบาทนี้ บานาโกนศีรษะและเพิ่มน้ำหนักอีก 30 ปอนด์[11] และใช้เวลา 2 วันอยู่กับ รีด เพื่อให้ลอกเลียนตัวเขาได้เหมือนยิ่งขึ้น และในระหว่างการถ่ายทำ เขามาถึงสถานที่ถ่าย ตี 4 และใช้เวลาอีก 5 ชั่วโมงกับการเขียนรอยสักให้เหมือน รีด[6] และแม้ว่าข้อจำกัดของภาพยนตร์ในการออกฉายนอกประเทศออสเตรเลีย บานาก็ยังได้รับเสียงวิจารณ์ทางบวก โรเจอร์ อีเบิร์ต นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ชมเชยบานาไว้ว่า "นักแสดงตลก อีริกบานา ผู้สร้างภาพยนตร์ได้ค้นพบดาวดวงใหม่แล้ว[12] เขามีคุณลักษณะที่เรียกว่า ไม่มีโรงเรียนไหนที่สอนการแสดงแบบนี้และ ดาราที่เหมาะสมแบบนี้ คุณไม่สามารถละสายตาไปจากเขาได้"[3] ภาพยนตร์เรื่อง Chopper ประสบความสำเร็จทางด้านเสียงวิจารณ์และรายได้ในออสเตรเลียและได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากรางวัลออสเตรเลียนฟิล์มอินสติติวต์ ในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งเขาได้รับรางวัลนักแสดงยอดเยี่ยมจากการประกาศรางวัลครั้งนี้ด้วย[13]
ในปี ค.ศ. 2001 ผู้กำกับ ริดลีย์ สก็อตต์ คัดเลือกบานาในบทบาททหารอเมริกัน แสดงภาพยนตร์เรื่อง Black Hawk Down (2001) สก็อตต์ประทับใจการแสดงของบานาใน Chopper โดยบานาไม่ต้องผ่านการทดสอบตัวนักแสดงเลย[14] ในภาพยนตร์เขารับบทเป็นสิบเอก 'ฮู้ต' กิ๊บสัน ในทหารหน่วยเดลต้า[15] ที่ต่อสู้หาทางออกใน เมืองโมกาดีชู ในประเทศโซมาเลีย หลังปฏิบัติการจับคุมตัวนายทหารสองนายที่ทรยศ แต่เกิดความผิดพลาด ภาพยนตร์เรื่องนี้ บานา ลดน้ำหนักหลังจากที่เพิ่มน้ำหนักใน Chopper และได้ออกกำลังกายอย่างเคร่งครัดก่อนการถ่ายทำ เขายังได้ฝึกกับทหารหน่วยเดลต้าที่ ฟอร์ต แบรกก์ เรียนรู้อาวุธต่าง ๆ[16] ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวกและขึ้นอันดับ 1 บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสของเมริกาเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในการเปิดตัว[17]
งานต่อไปของบานา คือภาพยนตร์ออสเตรเลียทุนต่ำเรื่อง The Nugget (2002) เป็นภาพยนตร์ตลกที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของความมั่งคั่งชั่วคืนของชนชั้นแรงงาน 3 คน ภาพยนตร์ออกฉายด้วยความประสบความสำเร็จพอควร บานาได้อ่านบทหลังจากที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Chopper ในปี ค.ศ. 2000 และรู้สึกสนใจในตัวบทเพราะมันทำให้เขานึกถึงชีวิตวัยเด็กและตัวละครที่มีความสนุกสนานและน่ารัก[18] ขณะที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Nugget บานาได้รับข้อเสนอให้รับบทของ บรูซ แบนเนอร์ ในภาพยนตร์ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนชื่อดังเรื่อง The Incredible Hulk หลังจากที่รู้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ อั้งลี่ ทำให้เขาตัดสินใจรับบทบาทนี้ทันที[16] บานาชื่นชอบอั้งลี่จากภาพยนตร์เรื่อง The Ice Storm และเห็นด้วยกับรูปแบบการทำงานของอั้งลี่ที่ทำการถ่ายทำก่อนบทภาพยนตร์จะสมบูรณ์[19] เขารู้สึกสนใจภาพยนตร์เรื่องนี้เพราะ "บุคลิกของบรูซ แบนเนอร์ มีความสามารถน่าทึ่งอยู่" และ "ไม่ใช่ซูเปอร์ฮีโร่แบบทั่วไป"[19] ภาพยนตร์เรื่อง Hulk (2003) ไม่ได้รับเสียงวิจารณ์และทำรายได้ที่ดีนัก แต่บานาก็ได้รับคำชมจาก แจ็ก แมททิวส์ จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กเดลี่ กับบทบาทบรูซ แบนเนอร์ว่า "เป็นทิฐิที่ดีเยี่ยม"[20] บานาได้รับการเสนอชื่อรางวัลจากสถาบันภาพยนตร์ นวนิยายวิทยาศาสตร์ แฟนตาซีและสยองขวัญ ในสาขา "Cinescape Genre Face of the Future" จากภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่บานาก็ตัดสินใจไม่กลับมาเล่นภาคต่อของภาพยนตร์เรื่อง Hulk ในปี ค.ศ. 2008 อีก ซึ่งเขาเห็นว่าควรมีภาคเดียว แต่ในปี 2008 คนที่มารับบทแทนคือ เอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน[21]
ในปี ค.ศ. 2004 บานาร่วมแสดงกับแบรด พิตต์ในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เรื่อง Troy ในบทบาทเจ้าชายเฮกเตอร์ ผู้นำในม้าโทรจันที่บุกเข้ากรีก เพื่อต่อกรกับอคิลิส กำกับโดยวูล์ฟกัง ปีเตอร์สัน ผู้ชื่นชอบภาพยนตร์เรื่อง Chopper ได้เสนอบทนี้ให้กับเขาหลังจากที่ได้พบแบรด พิตต์[22] ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ ทำรายได้เฉพาะในอเมริกา 364 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอเมริกาเหนือ ทำรายได้ราว 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[23]
ค.ศ. 2005-ปัจจุบัน
[แก้]หลังจากล้มเหลวจากภาพยนตร์เรื่อง Hulk และรายได้ที่น่าผิดหวังของภาพยนตร์เรื่อง Troy นักวิจารณ์ถามคำถามกับบานาเกี่ยวกับเรื่องภาพยนตร์ทุนสูง บานาให้คำตอบไว้ในนิตยสารเอ็มไพร์ว่า "มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ที่ Hulk ล้มเหลว และแน่นอนว่าถ้าการถ่ายทำนาน ก็หมายถึงการลงทุนสูง ถ้าผมไม่รู้สึกสบายใจกับผลที่ได้ ผมจะรู้สึกหงุดหงิดอย่างมาก แต่ที่ผ่านมาผมก็มีความสุข ถึงแม้ถ้า Troy จะทำรายได้แค่ 50 เหรียญ ผมก็ไม่รู้สึกเสียใจเลย"[24]
ต่อมาเขาแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง Munich กำกับโดย สตีเฟน สปีลเบิร์ก เป็นภาพยนตร์ที่สร้างความอื้อฉาว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมสังหารหมู่นักกรีฑาอิสราเอล 11 คน ในบ้านพักนักกีฬาระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกที่มิวนิก ประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1972 บานารับบทเป็นอาวเนอร์สายลับมอสสาด ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับถูกต่อต้านอย่างหนักจากชาวอเมริกันเชื้อสายยิวหลังการถ่ายทำเสร็จ[25]
ในปี ค.ศ. 2006 บานาเป็นสมาชิกของจากสถาบันภาพเคลื่อนไหว ศิลปะและวิทยาศาสตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences หรือ AMPAS) จากการรับเชิญ[26] หลังจากนั้นภาพยนตร์เรื่อง Lucky You หนังรักที่บานาทำงานก่อนถ่ายทำเรื่อง Munich ออกฉายเมื่อต้นปี ค.ศ. 2007 ในภาพยนตร์เรื่อง Lucky You นี้รับบทเป็นฮัก ชีเวอร์ นักเล่นโป๊กเกอร์มืออาชีพที่จะต้องเอาชนะการแข่งขันในลาสเวกัส ภาพยนตร์เรื่องต่อไปสร้างมาจากบันทึกส่วนตัวของ ไรมอน ไกตา ในภาพยนตร์ออสเตรเลียเรื่อง Romulus, My Father ที่ต้องต่อสู้ แบกรับภาระของลูกชายไว้ ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดี และบานาก็ได้รับรางวัลเอเอฟไอ เป็นครั้งที่ 2 ในสาขานักแสดงนำ[27] จนนิตยสารอินไซด์ฟิล์มชมไว้ว่า "เป็นการแสดงที่ดีที่สุดของเขา" [28]
บานาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Other Boleyn Girl เสร็จกลางปี ค.ศ. 2006 เป็น ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ที่เขารับบทเป็น สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ร่วมกับสการ์เล็ตต์ โจฮันส์สัน และ นาตาลี พอร์ตแมน[29] และบานาตกลงที่จะแสดงในภาพยนตร์สร้างโดย ริดลีย์ สก็อตต์ เรื่อง Factor X (2008) ซึ่งจะรับบทบาทเป็นนักสืบที่ตามหาร่องรอยของ เดนนิส เรเดอร์ ฆาตกรฆ่าต่อเนื่อง[30] และเขายังรับบทตัวร้ายชื่อ นีโร ในภาพยนตร์การกำกับของ เจ. เจ. แอบรัมส์ เรื่อง Star Trek[31] และเขาจะเล่นในบทบาท เฮนรี เดอ แทมเบิล ในบทประพันธ์เรื่อง The Time Traveler's Wife ประพันธ์โดย ออเดรย์ นิฟฟีเนกเกอร์ ออกฉายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009[32] บานาแสดงร่วมกับอดัม แซนด์เลอร์และเซธ โรเกน ในผลงานกำกับเรื่องที่ 3 ของจัดด์ อพาโทว์ เรื่อง "Funny People" ถือเป็นเรื่องแรกที่เขาปรากฏตัวสู่วงการตลกเป็นครั้งแรก[33]
ในปี ค.ศ. 2009 บานาออกผลงานภาพยนตร์ที่กำกับและหาทุนเองเองแนวสาคดีที่เรียกว่า Love the Beast มีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของเขากับรถคันแรกและการเป็นคนรักรถ ไปกับการแนะนำและความคิด จากเพื่อนอันยาวนานของเขา เช่นเดียวกับบุคคลมีชื่อเสียงอย่าง เจย์ เลโน, เจเรมี คลาร์กสัน และดร. ฟิล
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ในปี ค.ศ. 1995 ขณะทำงานเป็นนักแสดงในละครโทรทัศน์เรื่อง Full Frontal บานาออกเดทกับ รีเบกกา กลีสัน นักข่าวการเมือง ช่องเซเวนเน็ตเวิร์ก และเป็นลูกสาวของผู้พิพากษาสูงสุด เมอร์เรย์ กลีสัน[8] ทั้งคู่แต่งงานในปี ค.ศ. 1997 หลังจากที่บานาขอเธอแต่งงานระหว่างการท่องเที่ยวไปสหรัฐอเมริกาที่เขาชนะการประกวดจากนิตยสารคลีโอ ในตำแหน่งหนุ่มโสดประจำปี ค.ศ. 1996[34] บานาและกลีสันมีลูกด้วยกัน 2 คน คือ ลูกชายชื่อ คลอส (เกิดเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1998) และลูกสาวชื่อ โซเฟีย (เกิดเดือนเมษายน ค.ศ. 2001) ซึ่งตั้งแต่ได้ให้กำเนิดลูกชายคนแรก บานาจำกัดงานภาพยนตร์อยู่ที่ 1 เรื่องต่อปี เพื่อที่จะได้ดูแลชีวิตครอบครัวของเขาในบ้านเกิดเมลเบิร์นได้[35]
บานาสนใจในการแข่งขันรถแข่ง และได้ร่วมการแข่งขันในประเทศออสเตรเลียอยู่หลายครา เมื่อตอนอายุ 14 ปี บานาต้องการที่จะออกจากโรงเรียนเพื่อหารายได้เต็มเวลาจากการเป็นช่างเครื่องยนต์ แต่พ่อของเขาก็โน้มน้าวจนเรียนจบระดับมัธยม และได้แนะนำให้เขาหลีกเลี่ยงงานอดิเรกเป็นงานจริง[36] บานาซื้อรถยนต์ครั้งแรกเป็นรถฟอร์ดปี 1973 รุ่นฟอร์ดฟอลคอน เมื่ออายุ 15 ปี ด้วยเงิน 1,100 เหรียญออสเตรเลีย[37] และใช้แข่งครั้งแรกในงาน ทาร์กา แทสมาเนีย ตลอดสัปดาห์เต็มที่แทสมาเนีย ในปี ค.ศ. 1996[38] ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 บานาซื้อรถพอร์เช่ 944 เพื่อลงแข่งขันในประเทศออสเตรเลีย ตลอดทั้งปี ค.ศ. 2004 ซึ่งเขาชนะติดใน 10 อันดับแรกในเดือนพฤศจิกายน ได้ที่ 4 ในการแข่งขัน แซนดาวน์ 500 เป็นอันดับที่ดีที่สุดของเขา[39] และในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2007 บานาประสบอุบัติเหตุรถชนในระหว่างการแข่งขันทาร์กาแทสมาเนีย แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ[40]
บานายังเป็นผู้สนับสนุน ออสเตรเลียรูลส์ฟุตบอล เขาชื่นชอบกีฬาประเภทนี้มาตั้งแต่ยังเด็ก ครั้งปู่ของเขาพาเขาไปดูการแข่งขันของเซนต์คิลดาฟุตบอลคลับ ทีมโปรดของเขา[41][42]
งานการกุศล
[แก้]บานาให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไร "เม็นทอล อิลล์เนสส์ เฟลโลว์ชิป" เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับผู้บกพร่องทางจิตในประเทศออสเตรเลีย ในปี ค.ศ. 2004 เขาแสดงในภาพยนตร์โฆษณาหลายชิ้นเพื่อช่วยเหลือกลุ่มองค์กรนี้[43] บานายังได้ร่วมรณรงค์กับ ออสเตรเลียนไชลด์ฮูดฟาวเดชัน และ โบน มาร์โรว์ โดเนอร์ อินสติติวต์ และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เขายังร่วมกับ มอเตอร์ไซเคิลไรเดอร์สแอสโซซิเอชันทอยรัน ในเมลเบิร์น เพื่อหาเงินและของเล่นให้เด็กผู้ยากไร้ในวันคริสต์มาส[44]
ในปี ค.ศ. 2005 บานาให้เสียงบรรยายในสารคดี Terrors of Tasmania เกี่ยวกับแทสมาเนียนเดวิล ภาพยนตร์ได้ติดตามชีวิต แทสมาเนียนเดวิลตัวเมียที่ชื่อ แมงกานินนี[45] เขายังได้ทำงานกับโรแยลโซไซตีฟอร์เดอะพรีเวนชันออฟครูเอลตีทูอะนิมอลส์ โดยบริจาคเงินให้กับสร้างที่อยู่ของสัตว์ในเบอร์ลิน ขณะที่เขาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Troy ในปี ค.ศ. 2004[46]คนอีสานบ้านเฮา
ผลงาน
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]ปี ค.ศ. | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1997 | The Castle | คอน เพโทรปูลัส | |
2000 | Chopper | ช็อปเปอร์ รีด | |
2001 | Black Hawk Down | สิบเอก 'ฮู้ต' กิ๊บสัน | |
2002 | The Nugget | ล็อตโต | |
2003 | Finding Nemo | ผู้ประกาศข่าว | ให้เสียง |
2003 | Hulk | บรูซ แบนเนอร์/ฮัลค์ | |
2004 | Troy | เฮกเตอร์ | |
2005 | Munich | เอวเนอร์ คอฟแมน | |
2007 | Lucky You | ฮัค ชีเวอร์ | |
2007 | Romulus, My Father | โรมุลุส | |
2008 | The Other Boleyn Girl | พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ | |
2009 | Mary and Max | เดเมียน | ให้เสียง |
2009 | Love the Beast | แสดงเป็นตัวเอง | ภาพยนตร์สารคดี; ผู้ผลิตและผู้กำกับ |
2009 | Star Trek | นีโร | |
2009 | The Time Traveler's Wife | เฮนรี เดอแทมเบิล | |
2009 | Funny People | คลาร์ก | |
2011 | Hanna | อีริก เฮลเลอร์ | |
2012 | Deadfall | แอดดิสัน | |
2013 | Closed Circuit | มาร์ติน โรส | |
2013 | Lone Survivor | เอริค เอส. คริสเตนเซน | |
2014 | Deliver Us from Evil | ราล์ฟ ซาไช | |
2016 | The Finest Hours | ดาเนียล เว็บสเตอร์ คลัฟฟ์ | |
2016 | Special Correspondents | แฟรงก์ บอนเนวิลล์ | |
2016 | The Secret Scripture | ดร. วิลเลียม กรีเน | |
2017 | King Arthur: Legend of the Sword | ยูเทอร์ เพนแดรกอน |
โทรทัศน์
[แก้]ปี ค.ศ. | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1993–1996 | Full Frontal | หลายบทบาท | 66 ตอน |
1996–1997 | The Eric Bana Show Live | หลายบทบาท | 17 ตอน |
1999–2000 | All Saints | ร็อบ ไบเลตสกี | 3 ตอน |
2000–2001 | Something in the Air | โจ เซเบตินี | 202 ตอน |
วิดีโอเกม
[แก้]ปี ค.ศ. | เรื่อง | เสียง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2003 | Hulk | บรูซ แบนเนอร์ | โครงเรื่องจากภาพยนตร์ชื่อเดียวกันในปี 2003 |
รางวัลและชื่อเข้าชิง
[แก้]ปี ค.ศ. | รางวัล | ประเถท | ผลงาน | ผล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
1997 | Logie Awards | Most Popular Comedy Personality | Full Frontal | ชนะ | [47] |
2000 | Australian Film Institute | Best Actor in a Leading Role | Chopper | ชนะ | [48] |
2004 | เอ็มทีวีมูวีอะวอดส์ | Best Fight (กับ แบรด พิตต์) | Troy | เสนอชื่อเข้าชิง | [49] |
2007 | Australian Film Institute | Best Actor in a Leading Role | Romulus, My Father | ชนะ | [50] |
2009 | Teen Choice Awards | Choice Movie Villain | Star Trek | เสนอชื่อเข้าชิง | [51] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Eric Bana (อีริค บานา) เว็บไซต์ nangdee.com
- ↑ "Eric Bana". Marie Claire. March 2002. (อังกฤษ)
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Dominic Wills. Eric Bana - Biography เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Tiscali Film & TV เรียกดูเมื่อ 14 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Tony Johnson. "Bana Banks on Banter". Sunday Herald Sun - TV Extra. June 19 1994. (อังกฤษ)
- ↑ Melinda Houston. Eric's Eureka. Sunday Life. September 29 2002. เรียกดูเมื่อ 14 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Biography เก็บถาวร 2007-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Eric Bana Central. เรียกดูเมื่อ 20 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Darren Devlyn. "First Impressions". TV Weekly. February 10 1993 (อังกฤษ)
- ↑ 8.0 8.1 Kate Halfpenny. "Under the Gun". Who Magazine. August 8 2000. (อังกฤษ)
- ↑ Movie Marshall - 1997 Australian Box Office Totals เก็บถาวร 2006-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 20 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Christopher Strickland. "Director's Cut: Andrew Dominik's Chopper". IF: Australia's Independent Film Magazine. July 2000. (อังกฤษ)
- ↑ "Chopping & Changing". Who Weekly. October 22 2001 (อังกฤษ)
- ↑ Roger Ebert. Review of Chopper เก็บถาวร 2016-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. June 1 2001. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Biography For Eric Bana imdb.com (อังกฤษ)
- ↑ Stacey Woods. "First Buzz: The Incredible Hulk". Elle Magazine. February 2002. (อังกฤษ)
- ↑ แบล็ค ฮอล์ค ดาวน์ ยุทธการฝ่ารหัสทมิฬ pantip.com
- ↑ 16.0 16.1 Mark Hopkins. "Eric Hits Hollywood". GQ Magazine (Australian edition). April 2002. (อังกฤษ)
- ↑ Box Office and Rental History for Black Hawk Down เก็บถาวร 2008-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. RottenTomatoes.com. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ The Incredible Rise of Eric Bana เก็บถาวร 2012-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. What's On Weekly. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ 19.0 19.1 James Mootram. "Making it Big". TNT Magazine. July 14 2003. (อังกฤษ)
- ↑ Jack Mathews. Beast for the Eyes เก็บถาวร 2006-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. New York Daily News. June 20 2003. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Adam Weeks (2007-05-20). "Bana talks The Incredible Hulk". Moviehole. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-27. สืบค้นเมื่อ 2008-01-26.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) (อังกฤษ) - ↑ Biography for Eric Bana. IMDB. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Box Office Mojo - Troy. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ David Eimer. "Heroes of Troy: Eric Bana". Empire Magazine. June 2004. (อังกฤษ)
- ↑ การเกต ทิพทวี, อีริค บานา: ผู้กราดเกรี้ยวในโลกเซลลูลอยด์ เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
- ↑ "Academy Invites 120 to Membership". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. July 5, 2006. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ "Romulus, My Father sweeps AFIs". ABC News. 2007-12-06. สืบค้นเมื่อ 2008-1-26.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) (อังกฤษ) - ↑ Reviews. romulusmyfather.com.au. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ "Herald Sun". King with his kid. สืบค้นเมื่อ July 31.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|accessyear=
ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=
) (help)[ลิงก์เสีย] (อังกฤษ) - ↑ "New Zealand Herald". Serial killer flick for Eric Bana. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ November 13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|accessyear=
ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=
) (help) (อังกฤษ) - ↑ "Bana beams up to sci-fi role" เก็บถาวร 2009-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. October 11, 2007. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Flemming, Michael and Dave McNary. "New Line finds its cast on 'Time'". Variety. April 17, 2007. Retrieved February 21, 2008.
- ↑ Fleming, Michael. "Trio joins Judd Apatow film". Variety. June 11, 2008. Retrieved June 13, 2008.
- ↑ "Eric's Secret Love: Going Bananas". The New Post. March 1 1997 (อังกฤษ)
- ↑ Eric Bana – Biography เก็บถาวร 2007-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Lauren Bergman Management Pty Ltd. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Transcript of The Tonight Show with Jay Leno เก็บถาวร 2006-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. June 17 2003. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Hawley, Janet (2007-05-05). "Lucky Eric". The Age Good Weekend. (อังกฤษ)
- ↑ Eric Bana Bloody Brilliant to the Targa in a 351 XB coupe เก็บถาวร 2010-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Street Machine. June 1996. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Eric Bana Achives เก็บถาวร 2012-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Reproducing Australian Porsche Drivers Challenge's "2004 November: Sandown", Matt Naulty, November 2004. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Actor Eric Bana crashes while competing in Australian rally เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The LA Daily News. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Leif Kramp. Eric Bana: "Wo bleiben die leichten Stoffe?". RP Online. January 24 2006. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Donna Freydkin. 'Gentle Giant' Bana. USA Today. January 9 2003. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Mental Illness Fellowship Launches Biggest Ever Campaign with Support of Film Community. Mental Illness Fellowship of Victoria. September 29 2004. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Liam Houlihan. Toy Run 2004: Troy Boy Leads the Pack เก็บถาวร 2010-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. News.com.au. December 12 2004. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Sympathy for the Devil. The Age. January 20 2005. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Monthly Journal: Royal Society for the Prevention of Cruelty to Animals เก็บถาวร 2010-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. May 9 2004. เรียกดูเมื่อ 26 มกราคม 2551 (อังกฤษ)
- ↑ "1997 Logie Awards". Australiantelevision.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2014.
- ↑ "AFI | AACTA | Winners & Nominees | 2000–2010 | 2000". www.aacta.org.
- ↑ "2005 MTV Movie Awards". MTV (MTV Networks). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-05. สืบค้นเมื่อ July 25, 2011. Note: Click on the 'Winners' tab.
- ↑ "AFI | AACTA | Winners & Nominees | 2000–2010 | 2007". www.aacta.org.
- ↑ "Teen Choice Awards 2009 nominees". Los Angeles Times. Tribune Publishing. June 15, 2009. สืบค้นเมื่อ July 21, 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- อีริก บานา ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- LaurenBergman.com.au เก็บถาวร 2007-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Bana's management