เตงปิด
เตงปิด (ติง มี่) | |
---|---|
丁謐 | |
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) | |
ดำรงตำแหน่ง ? – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ขุนนางทหารม้ามหาดเล็ก (散騎侍郎 ซ่านฉีชื่อหลาง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 239 – ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
มหาดเล็กกรมรัษฎากร (度支郎中 ตู้จือหลางจง) | |
ดำรงตำแหน่ง ? – ค.ศ. 239 | |
กษัตริย์ | โจยอย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ นครปั๋วโจว มณฑลอานฮุย |
เสียชีวิต | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 249[a] นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน |
บุพการี |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | เยี่ยนจิ้ง (彥靖) |
เตงปิด (เสียชีวิต 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ติง มี่ (จีน: 丁謐; พินอิน: Dīng Mì) ชื่อรอง เยี่ยนจิ้ง (จีน: 彥靖; พินอิน: Yànjìng)[2] เป็นขุนนางชาวจีนของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]เตงปิดเป็นชาวเมืองไพก๊ก (沛国 เพ่ย์กั๋ว)[3] ซึ่งปัจจุบันคือนครปั๋วโจว มณฑลอานฮุย บิดาของเตงปิดคือเต๋งฮุย (丁斐 ติง เฝ่ย์) ผู้มีตำแหน่งเป็นนายพันผู้จัดการทัพ (典軍校尉 เตี่ยนจฺวินเซี่ยวเว่ย์) ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[4] เตงปิดในวัยเยาว์ไม่ชอบคบเพื่อนฝูง แต่ชอบอ่านหนังสืออย่างกว้างขวาง เป็นคนที่มีความคิดลึกซึ่้งและใจเด็ดเดี่ยว มีความสามารถและความรอบรู้อย่างมาก[5]
ในช่วงรัชศกไท่เหอ (ค.ศ. 227-233) จักรพรรดิโจยอยทรงได้ยินว่าเตงปิดมีนิสัยเหมือนเต๋งฮุยผู้บิดาจึงทรงตั้งให้เตงปิดเป็นมหาดเล็กกรมรัษฎากร (度支郎中 ตู้จือหลางจง)[6] เตงปิดได้กลายเป็นคนสนิทของโจซองซึ่งเวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นขุนพลยุทธพิทักษ์ (武衛將軍 อู่เว่ย์เจียงจฺวิน) โจซองทูลยกย่องเตงปิดหลายครั้งต่อพระพักตร์จักรพรรดิโจยอยและทูลเสนอให้ทรงแต่งตั้งเตงปิดในตำแหน่งสำคัญ[7]
ในปี ค.ศ. 239 จักรพรรดิโจยอยสวรรคต โจฮองขึ้นสืบราชบัลลังก์ขณะยังทรงพระเยาว์ โจซองจึงได้ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับสุมาอี้ โจซองเลื่อนตำแหน่งให้เตงปิดเป็นขุนนางทหารม้ามหาดเล็ก (散騎侍郎 ซ่านฉีชื่อหลาง) ต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)[8]
เตงปิดช่วยให้โจซองได้ผูกขาดอำนาจในราชสำนักวุยก๊ก โดยเสนอแผนให้โจซองไปทูลเสนอกับจักรพรรดิโจฮองให้ตั้งสุมาอี้ที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกคนให้มีตำแหน่งเป็นราชครู (太傅 ไท่ฟู่) เพื่อการเป็นลดทอนอำนาจของสุมาอี้[9] เวลานั้นโจซองยังคงไปหาสุมาอี้เพื่อถามความเห็นของสุมาอี้ในเรื่องการเมือง แต่เตงปิดเห็นว่าสุมาอี้มีความทะเยอทะยานอีกทั้งยังได้ใจของราษฎรจึงไม่อาจเชื่อถือได้ เตงปิดแนะนำโจซองว่าหลังจากนี้ไม่ควรถามสุมาอี้ทั้งการใหญ่และการน้อยอีก สุมาอี้ไม่สามารถใช้อำนาจในสถานการณ์นี้ได้อีกต่อไปทั้งยังเกรงว่าจะมีภัยมาถึงตัว ดังนั้นในปี ค.ศ. 247 สุมาอี้จึงเริ่มปลีกตัวออกมาโดยอ้างว่าป่วย[10]
ในช่วงเวลาที่เตงปิดดำรงตำแหน่งราชเลขาธิการ เตงปิดเอาแต่กล่าวโทษเหล่าขุนนางร่วมสำนักราชเลขาธิการ ทำให้ราชการในสำนักราชเลขาธิการไม่สามารถดำเนินการตามปกติ ขณะเดียวกันโจซองซึ่งอยู่ในฐานะที่ควบคุมเตงปิดได้ก็ให้เกียรติเตงปิดอย่างสูงและเชื่อฟังทุกอย่างที่เตงปิดพูด ในเวลานั้นมีผู้เผยแพร่คำให้ร้ายเตงปิดว่า "ในหอมีสุนัขสามตัว สุนัขสองตัวไม่อาจใช้ไม้หน้าผาจัดการได้ สุนัขอีกตัวทำถุงฝีอย่างเงียบงัน" หมายความว่าในหอของสำนักราชเลขาธิการมีสุนัข 3 ตัว (คือเตงปิด โฮอั๋น และเตงเหยียง) ที่ต้องการกัดคน ในทั้งสามคนนี้เตงปิดร้ายกาจที่สุด[11]
ในปี ค.ศ. 249 ระหว่างที่โจซองตามเสด็จจักรพรรดิโจฮองไปยังสุสานโกเบงเหลง สุมาอี้ฉวยโอกาสนี้ก่อรัฐประหารในลกเอี๋ยงและยึดครองกำลังทหารในนครหลวง[12] โจซองยอมจำนนต่อสุมาอี้หลังสุมาอี้ให้คำมั่นว่าตัวโจซองและครอบครัวจะไม่ถูกทำร้ายหากโจซองยอมมอบอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[13] ภายหลังสุมาอี้ผิดคำมั่นโดยให้จับกุมโจซองและพรรคพวก (รวมถึงเตงปิด) ในข้อหากบฏและประหารชีวิตทั้งหมดพร้อมกับครอบครัว[14]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ([嘉平元年春正月]戊戌,有司奏収黃門張當付廷尉,考實其辭,爽與謀不軌。又尚書丁謐、鄧颺、何晏、司隷校尉畢軌、荊州刺史李勝、大司農桓範皆與爽通姦謀,夷三族。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ (丁謐,字彥靖。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (沛國丁謐) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (字彥靖。父斐,字文侯。初,斐隨太祖,太祖以斐鄉里,特饒愛之。斐性好貨,數請求犯法,輒得原宥。爲典軍校尉,總攝內外,每所陳說,多見從之。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (謐少不肯交游,但博觀書傳。爲人沈毅,頗有才略。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (後帝聞其有父風,召拜度支郎中。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (曹爽宿與相親,時爽爲武衞將軍,數爲帝稱其可大用。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (會帝崩,爽輔政,乃拔謐爲散騎常侍,遂轉尚書。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (丁謐畫策,使爽白天子,發詔轉宣王為太傅,外以名號尊之,內欲令尚書奏事,先來由己,得制其輕重也。)จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (初,宣王以爽魏之肺腑,每推先之,爽以宣王名重,亦引身卑下,當時稱焉。丁謐、畢軌等旣進用,數言於爽曰:「宣王有大志而甚得民心,不可以推誠委之。」由是爽恒猜防焉。禮貌雖存,而諸所興造,皆不復由宣王。宣王力不能爭,且懼其禍,故避) อรรถาธิบายของเผย์ ซงจือในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (故於時謗書,謂「臺中有三狗,二狗崖柴不可當,一狗憑默作疽囊。」三狗,謂何、鄧、丁也。默者,爽小字也。其意言三狗皆欲嚙人,而謐尤甚也。) อรรถาธิบายของเผย์ ซงจือในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (十年正月,車駕朝高平陵,爽兄弟皆從。宣王部勒兵馬,先據武庫,遂出屯洛水浮橋。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (侍中許允、尚書陳泰說爽,使早自歸罪。爽於是遣允、泰詣宣王,歸罪請死,乃通宣王奏事。《世語》曰:宣王使許允、陳泰解語爽,蔣濟亦與書達宣王之旨,又使爽所信殿中校尉尹大目謂爽,唯免官而已,以洛水爲誓。爽信之,罷兵。《魏氏春秋》曰:爽旣罷兵,曰:「我不失作富家翁。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (爽以支屬,世蒙殊寵,親受先帝握手遺詔,託以天下,而包藏禍心,蔑棄顧命,乃與晏、颺及當等謀圖神器,範黨同罪人,皆爲大逆不道」。於是收爽、羲、訓、晏、颺、謐、軌、勝、範、當等,皆伏誅,夷三族。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).