เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ | |
---|---|
ประเภท | เรียลลิตี, การทำอาหาร |
สร้างโดย | กอร์ดอน แรมซีย์ |
เค้าโครงจาก | เฮลล์คิทเช่น (เวอร์ชั่นสหราชอาณาจักร (ต้นฉบับ) เวอร์ชั่นสหรัฐ (รูปแบบหลัก)) |
ผู้กำกับศิลป์ | กฤตพร แย้มสุข |
กรรมการ | |
บรรยายโดย | ปิยะ วิมุกตายน |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 1 |
จำนวนตอน | 15 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์ |
สถานที่ถ่ายทำ | เดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ |
ผู้ลำดับภาพ | กิตติ ภิญโญ |
กล้อง | กล้องหลายตัว |
ความยาวตอน | 110 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7HD |
ออกอากาศ | 4 กุมภาพันธ์ 2567 – 19 พฤษภาคม 2567 |
เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ (อังกฤษ: Hell’s Kitchen Thailand) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีโชว์แข่งขันทำอาหารในครัวจริง เพื่อหาผู้ชนะมาเป็นหัวหน้าแผนกครัวในภัตตาคารจริง โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ซื้อลิขสิทธิ์จากไอทีวีสตูดิโอส์ของสหราชอาณาจักร นำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ดำเนินรายการโดย เชฟป้อม - หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล, เชฟวิลแมน ลีออง, เชฟอ๊อฟ - ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ และเชฟเอียน - พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ทางช่อง 7HD
รูปแบบรายการ
[แก้]เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ เป็นรายการเรียลลิตีโชว์การแข่งขันทำอาหารที่ใช้รูปแบบการคัดออก (Elimination) อย่างต่อเนื่อง เพื่อทดสอบความมุ่งมั่นในการทำอาหารของผู้เข้าแข่งขันตลอดทั้งฤดูกาล จากผู้เข้าแข่งขันจำนวน 16 คน จะคัดออกทุกครั้งจนเหลือผู้ชนะเลิศ 1 คน ที่จะได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกครัว หรือ หัวหน้าเชฟ (Head Chef) ในภัตตาคารจริง โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตรายการแข่งขันทำอาหารในประเทศไทยที่มีชื่อเสียงหลายรายการ เช่น เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย, มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์, ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก, Bid Coin Chef สุดยอดเชฟหักเหลี่ยมโหด และ ท็อปเชฟไทยแลนด์ ได้บรรลุข้อตกลงซื้อลิขสิทธิ์จากไอทีวีสตูดิโอส์ เจ้าของลิขสิทธิ์รายการนี้จากสหราชอาณาจักร รวมถึงกอร์ดอน แรมซีย์ ผู้สร้างรายการนี้ เพื่อนำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565[1]
เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ มีความแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ เนื่องจากมีหัวหน้าเชฟประจำรายการจำนวน 4 คน ที่สลับสับเปลี่ยนกันควบคุมครัวในการบริการอาหารเย็นในแต่ละสัปดาห์[2] ดังนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำและบริการอาหาร 4 ประเภท สลับสับเปลี่ยนกันไปตามโจทย์อาหารของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ ดังนี้
- อาหารตะวันตกดั้งเดิม (Classic Western Cuisine) ดูแลโดย วิลแมน ลีออง (เชฟวิลแมน)
- อาหารไทยร่วมสมัย (Contemporary Thai Cuisine) ดูแลโดย หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม)
- อาหารตะวันตกสมัยใหม่ (Modern Western Cuisine) ดูแลโดย พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
- อาหารเอเชียแนวผสมผสาน (Asian Twist) ดูแลโดย ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ (เชฟอ๊อฟ)
การแข่งขันในรายการ เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ใช้รูปแบบของสหรัฐเป็นส่วนใหญ่ โดยรับสมัครบุคคลจากทุกอาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำอาหาร รวมถึงนักเรียนหลักสูตรการทำอาหาร และเชฟมืออาชีพ[3] โดยแบ่งผู้เข้าแข่งขันออกเป็น 2 ทีม ได้แก่ ทีมสีแดง สำหรับผู้หญิง และ ทีมสีน้ำเงิน สำหรับผู้ชาย ทุกคนจะได้รับเสื้อยูนิฟอร์มเชฟที่มีแผงสีนั้น ๆ บนไหล่ และจะอยู่ในทีมเดิมตลอดการแข่งขันส่วนใหญ่ แต่การย้ายทีมสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อคณะหัวหน้าเชฟเห็นว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขันในสัปดาห์นั้น ๆ ของทั้งสองทีมต่างกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือความสามารถในการทำงานของทั้งสองทีมต่างกันมากเกินไป และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะหัวหน้าเชฟ
ภารกิจย่อย (Challenge)
[แก้]ในภารกิจย่อย ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนหรือแต่ละทีม จะได้รับมอบหมายให้ทำอาหารตามโจทย์การแข่งขันของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 45 นาที หลังจากหมดเวลา หัวหน้าเชฟจะชิมและตัดสินอาหารของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน โดยมีสิทธิ์ให้คะแนนตั้งแต่ 0-3 คะแนน ต่อ 1 จาน ทีมหรือผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคะแนนรวมมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะในรอบนี้ โดยได้รับรางวัล (กิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ นอกภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น และรางวัลอื่น ๆ ที่เป็นไปได้) ส่วนทีมหรือผู้เข้าแข่งขันที่แพ้จะถูกลงโทษ ซึ่งของรางวัลและบทลงโทษจะแตกต่างกันในแต่ละสัปดาห์
บริการอาหารเย็น (Dinner service)
[แก้]ก่อนเริ่มการบริการอาหารเย็น จะให้ผู้เข้าแข่งขันศึกษาเมนูจากตำราอาหารของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ และแบ่งหน้าที่ประจำในแต่ละแผนกครัว (อาหารเรียกน้ำย่อย, เนื้อสัตว์, อาหารทะเล, ซอส, ของตกแต่งหรือเครื่องเคียง และของหวาน) จากนั้น มีเวลา 2 ชั่วโมง ในการเตรียมอาหารในครัวตามแผนกที่แบ่งกันไว้ โดยประสานงานกับเพื่อนร่วมทีม เพื่อให้ทั้งคุณภาพอาหารและการนำเสนอเป็นไปตามมาตรฐานระดับสูงของภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น และพร้อมสำหรับการให้บริการอาหารเย็นให้กับลูกค้า 100 คน ที่จ่ายเงินจองไว้แล้ว โดยคาดหวังว่าจะได้รับประทานอาหารเรียกน้ำย่อย อาหารจานหลัก และของหวาน
เมนูอาหารสำหรับการให้บริการอาหารเย็นนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ ตามโจทย์ของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ นอกจากนี้ ในระหว่างการบริการ ยังอาจมีให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหารตามโจทย์พิเศษ เช่น บริการอาหารให้กับบุคคลสำคัญมาก (VIP) ที่นั่งอยู่ที่โต๊ะเชฟใกล้ครัว, ส่งผู้เข้าแข่งขัน 1 คนมาทำอาหารพิเศษให้ลูกค้าที่ไม่รับประทานโปรตีนบางอย่างในอาหารจานหลัก, ออกไปนำเสนอเมนูให้ลูกค้าระหว่างให้บริการ หรือ ทำอาหาร ตกแต่งจาน และบริการที่โต๊ะลูกค้า เป็นต้น
หลังเปิดภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น (Hell's Kitchen Restaurant) หัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ จะเรียกออเดอร์ทั้งหมดสำหรับแต่ละคอร์สในแต่ละโต๊ะ และต้องนำไปบริการพร้อมกัน แต่หากมีจานใดจานหนึ่งที่ผิดพลาด เช่น ทำเนื้อสัตว์ผิดระดับ หรือปรุงรสไม่ถูกต้อง จะส่งออเดอร์ทั้งหมดกลับไปให้แก้ไขหรือทำใหม่ ในขณะที่ผู้เข้าแข่งขันถูกแบ่งออกเป็นสองทีม หัวหน้าเชฟจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ช่วยเชฟสองคนที่เชื่อถือได้ โดยทั้งสองคนจะดูแลครัวแต่ละฝั่งด้วยมาตรฐานเดียวกัน และแจ้งเตือนหัวหน้าเชฟเมื่อพบปัญหาต่าง ๆ
เป้าหมายของหัวหน้าเชฟคือการบริการอาหารเย็นให้เสร็จทุกครั้ง แต่หากการทำงานของทีมใดทีมหนึ่งหรือทั้งสองทีมเกิดปัญหาใหญ่ และไม่ผ่านมาตรฐานของภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น หัวหน้าเชฟจะสั่งปิดครัวก่อนเวลา และไล่ผู้เข้าแข่งขันออกจากครัวกลับไปยังห้องพักทั้งหมด ซึ่งจะทำให้การบริหารอาหารเย็นของทีมนั้น ๆ สิ้นสุดลงในทันที (ซึ่งในกรณีนี้ ลูกค้าที่ได้รับออเดอร์จากทีมที่ถูกปิดครัวจะได้รับประทานข้าวผัดกะเพราไข่ดาว หรืออาจเป็นเมนูอื่นทดแทน และได้รับเงินจองคืนเต็มจำนวน หรือมีผู้ช่วยเชฟบริการต่อจนเสร็จสมบูรณ์ แล้วแต่กรณี) นอกจากนี้ หากมีผู้เข้าแข่งขันทำอาหารออกมาผิดพลาดหลาย ๆ ครั้ง หัวหน้าเชฟอาจไล่ผู้เข้าแข่งขันคนนั้น ๆ ออกจากครัวเป็นรายบุคคล (โดยทั่วไปคือ 3 ครั้ง แต่จำนวนครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลง หรืออาจไม่มีการไล่ออกจากครัวเป็นรายบุคคลก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหัวหน้าเชฟแต่ละคนในขณะนั้น)
การคัดออก (Elimination)
[แก้]หลังเสร็จสิ้นการบริการอาหารเย็น (หลังปิดภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น) จะแบ่งการตัดสินของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ เป็น 3 กรณี ดังนี้
- หากไม่มีการปิดครัว หัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ จะรวบรวมผู้เข้าแข่งขันจากครัวฝั่งทีมสีนํ้าเงินไปยังครัวฝั่งทีมสีแดง และประกาศทีมที่ชนะและแพ้ในรอบบริการอาหารเย็นในสัปดาห์นั้น ๆ โดยประเมินจากข้อผิดพลาดระหว่างการบริการ ซึ่งในบางสัปดาห์ หากทั้งสองทีมมีข้อผิดพลาดใกล้เคียงหรือเท่า ๆ กัน อาจให้เสมอกันก็ได้
- หากมีการปิดครัวเพียงฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ทีมที่ไม่ถูกปิดครัวจะเป็นทีมที่ชนะในรอบบริการอาหารเย็นในสัปดาห์นั้น ๆ ไปโดยปริยาย
- หากปิดครัวทั้งคู่ ทั้งสองทีมจะแพ้ทั้งคู่ไปโดยปริยาย
ทีมที่แพ้ จะต้องร่วมกันคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันที่คิดว่าควรออกจากการแข่งขันอย่างน้อย 2 คน (กรณีเสมอจะคัดเพียงทีมละ 1 คน) หลังจากประชุมเสร็จ คณะหัวหน้าเชฟจะรวบรวมผู้เข้าแข่งขันทุกคนในห้องรับประทานอาหาร ทีมที่ชนะจะนั่งรวมกันที่ฝั่งซ้ายมือของคณะหัวหน้าเชฟ ส่วนทีมที่แพ้จะยืนหน้าคณะหัวหน้าเชฟ จากนั้น ตัวแทนของทีมที่แพ้จะเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขันที่ควรออกจากการแข่งขันตามที่ประชุมกันไว้ และคณะหัวหน้าเชฟจะเรียกผู้เข้าแข่งขันที่ถูกเสนอชื่อทั้งหมดให้ออกมายืนด้านหน้า (แต่ในบางครั้ง หัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ สามารถยกเลิกการเสนอชื่อ และ/หรือ เลือกผู้เข้าแข่งขันได้ด้วยตนเองได้ตามความเหมาะสม) จากนั้น จะให้แต่ละคนอธิบายเหตุผลที่พวกเขาควรอยู่ในรายการต่อ หรืออธิบายหน้าที่ ความรับผิดชอบ และข้อผิดพลาดของตนในแผนกครัวที่มีปัญหา หรืออาจถามผู้เข้าแข่งขันที่เป็นเพื่อนร่วมทีมเกี่ยวกับผู้ที่ควรถูกคัดออก แล้วแต่กรณี
หลังจากผู้เข้าแข่งขันที่ถูกเสนอชื่อตอบคำถามของหัวหน้าเชฟเสร็จสิ้นแล้ว ในแต่ละสัปดาห์ หัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ จะตัดสินผู้เข้าแข่งขันให้ออกจากการแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกจะต้องถอดเสื้อยูนิฟอร์มของรายการคืนให้หัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ แล้วเดินออกจากภัตตาคารผ่านโถงทางเดิน จากนั้น คณะหัวหน้าเชฟจะส่งผู้เข้าแข่งขันที่เหลือกลับเข้าห้องพัก ก่อนเดินกลับขึ้นไปยังห้องทำงาน เพื่อนำเสื้อยูนิฟอร์มของผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกไปแขวน จากนั้น รูปของผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะถูกเผาทิ้ง ในฉากนี้ จะมีเสียงพากย์ของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ เป็นการอธิบายความคิดเห็นของเขาในการคัดผู้เข้าแข่งขันคนดังกล่าวออก
เมื่อการแข่งขันดำเนินมาจนเหลือผู้เข้าแข่งขันตามจำนวนที่คณะหัวหน้าเชฟเห็นสมควร จะเข้าสู่รอบเสื้อดำ (Black Jacket Round) ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจากทั้งสองทีมจะถูกรวมทีมเป็นทีมเดียว โดยได้รับเสื้อยูนิฟอร์มสีดำ (Black Jacket) แทนเสื้อสีของทีมเดิม เพื่อแสดงว่าเป็นผู้เข้าแข่งขันกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ในเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ของฤดูกาลนั้น ๆ แล้วแข่งขันกันต่อจนกระทั่งเหลือผู้เข้าแข่งขัน 2 คนสุดท้ายที่จะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ หรือ การบริการครั้งสุดท้าย (Final service)
บริการครั้งสุดท้าย (Final service)
[แก้]ในตอนสุดท้ายของแต่ละฤดูกาล ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนสุดท้ายจะได้รับการเลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าเชฟประจำทีมสีแดงและทีมสีน้ำเงิน โดยจะมีอดีตผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกกลับมาอีกครั้ง เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าเชฟเลือกเป็นลูกทีมของตน ซึ่งผู้ที่ได้คะแนนในรอบก่อนหน้ามากกว่าจะได้สิทธิ์เลือกลูกทีมก่อน หัวหน้าเชฟจะมีหน้าที่คิดเมนูทั้งอาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) อาหารจานหลัก (Main Course) และของหวาน (Dessert) รวมทั้งวางแผนและแจกแจงหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละแผนกครัว (Station) ของแต่ละทีมให้กับลูกทีมของตน
ก่อนเริ่มต้นการบริการครั้งสุดท้าย คณะหัวหน้าเชฟจะเข้ามาตรวจสอบให้แน่ใจว่าเมนูทั้งหมดของทั้งสองทีมตรงตามมาตรฐานของภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น จากนั้นจะหันไปดูแลในส่วนการบริการเป็นหลัก เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าเชฟประจำทีมทั้งสองคนจะสามารถรักษามาตรฐานของภัตตาคารเฮลล์คิทเช่นไว้ได้ แต่จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าเชฟสามารถควบคุมครัวของตนอย่างเต็มที่ (ยกเว้นในบางกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันไม่ได้ควบคุมครัวหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับทีมได้อย่างเหมาะสม) และหากมีลูกค้าสั่งซื้ออาหารควบทั้งสองทีม ทั้งสองทีมจะต้องดำเนินการตามออเดอร์ตามจำนวนที่สั่งให้ครบทั้งหมด และต้องนำไปบริการพร้อมกัน
หลังสิ้นสุดการบริการครั้งสุดท้าย ลูกค้าที่เข้าร่วมรับประทานอาหารทั้ง 100 คน จะร่วมลงคะแนนให้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าเชฟทั้ง 2 คน ซึ่งคณะหัวหน้าเชฟจะใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาผลการตัดสิน โดยภายในห้องทำงานของคณะหัวหน้าเชฟจะมีประตู 2 บาน ที่ทอดออกไปสู่ระเบียงเหนือห้องรับประทานอาหารของภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น หลังจากพิจารณาผลเสร็จแล้ว คณะหัวหน้าเชฟจะให้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าเชฟทั้ง 2 คน ยืนหลังประตูคนละบาน โดยมีประตูเพียงบานเดียวที่สามารถเปิดออกได้ หลังจากคณะหัวหน้าเชฟบอกให้ทั้งคู่หมุนลูกบิดประตูพร้อมกันแล้ว ผู้ที่เปิดประตูออกจะเป็นผู้ชนะเลิศประจำฤดูกาล ได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,000,000 บาท และมีโอกาสร่วมงานกับภัตตาคารเครือเฮลล์คิทเช่นในประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้ชนะเลิศจะแขวนภาพของตนร่วมกับผู้ชนะเลิศคนอื่น ๆ ซึ่งจะมองเห็นได้ที่ทางเข้าด้านหน้าภัตตาคาร
หมายเหตุ: ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจะมีแขกกิตติมศักดิ์มาร่วมรับประทานอาหารในภัตตาคารด้วย
- ฤดูกาลที่ 1 : ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ผู้ดำเนินรายการ
[แก้]ผู้ดำเนินรายการ | ฤดูกาลที่ |
---|---|
1 | |
หัวหน้าเชฟ | |
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล | หลัก |
วิลแมน ลีออง | หลัก |
ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ | หลัก |
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย | หลัก |
ผู้ช่วยเชฟ | |
ทีมสีแดง | |
พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร | หลัก |
ทีมสีน้ำเงิน | |
ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ | หลัก |
ภาพรวมในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาลที่ | ช่วงเวลาออกอากาศ | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | จำนวนผู้เข้าแข่งขัน | จำนวนตอน | รางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 4 กุมภาพันธ์ 2567 – 19 พฤษภาคม 2567 | ภูเตโช กาญจนกิตติกูล (บิว) | ณัฐศิมาภรณ์ หลักไชย (เคอร์) | 16 | 15 | เงินรางวัล 1,000,000 บาท และทำงานในภัตตาคารเครือเฮลล์คิทเช่นในประเทศไทย |
ฤดูกาลที่ 1
[แก้]เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ | |
---|---|
ฤดูกาลที่ 1 | |
กรรมการ | |
จำนวนผู้เข้าแข่งขัน | 16 |
ผู้ชนะเลิศ | ภูเตโช กาญจนกิตติกูล |
รองชนะเลิศ | ณัฐศิมาภรณ์ หลักไชย |
สถานที่แข่งขัน | เดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ |
ประเทศ | ประเทศไทย |
จำนวนตอน | 15 |
การออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7HD |
ออกอากาศ | 4 กุมภาพันธ์ 2567 – 19 พฤษภาคม 2567 |
ข้อมูลเพิ่มเติม | |
วันถ่ายทำ | 21 ธันวาคม 2566 – 26 มีนาคม 2567 |
ผู้ดำเนินรายการ
[แก้]- หัวหน้าเชฟ (พิธีกร)
- หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม)
- วิลแมน ลีออง (เชฟวิลแมน)
- ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ (เชฟอ๊อฟ)
- พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
- ผู้ช่วยเชฟ (ประจำทีม)
- พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร (เชฟพฤกษ์) (ประจำทีมสีแดง)
- ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ (เชฟอาร์) (ประจำทีมสีน้ำเงิน)
ผู้เข้าแข่งขัน
[แก้]ในฤดูกาลแรก มีผู้เข้าแข่งขัน 16 คน[2] ซึ่งในตอนแรกถูกแบ่งออกเป็นทีมสีน้ำเงินและสีแดงตามเพศ ดังต่อไปนี้
ชื่อ | อายุ | อาชีพ | ลำดับการแข่งขัน |
---|---|---|---|
ภูเตโช กาญจนกิตติกูล (บิว)[ก] | 37 | Chef Owner | ชนะเลิศ วันที่ 19 พฤษภาคม |
ณัฐศิมาภรณ์ หลักไชย (เคอร์) | 30 | Private Chef | รองชนะเลิศ วันที่ 19 พฤษภาคม |
ชภรภัช ดาภาชุติสรรค์ (จิ๊บ)[ข] | 40 | Executive Chef | ถูกคัดออกในรอบรองชนะเลิศ วันที่ 12 พฤษภาคม |
บุญยวีร์ ภาคย์วิศาล (ลูกจรรย์)[ค] | 22 | Creative Chef | |
นราดล ภู่เกษร (เบียร์) | 44 | Head Chef & Owner | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 12 วันที่ 5 พฤษภาคม |
ราชวัติ วิเชียรรัตน์ (เก่ง)[ง][จ][ฉ] | 42 | Chef Owner & Executive Chef | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 11 วันที่ 28 เมษายน |
อิทธิกร ตั้งวัฒนารัตน์ (มารวย) | 30 | Chef Owner & Executive Chef | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 10 วันที่ 21 เมษายน |
ภัทฐิชา เดชรุ่งเรือง (เฟน) | 33 | Chef Owner | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 8 วันที่ 31 มีนาคม |
กมเลศ ฤทธิ์เดชา (ใบตอง)[ช] | 32 | Chef Owner | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 7 วันที่ 24 มีนาคม |
นรี บุณยเกียรติ (แอ้ม)[ซ][ง] | 40 | Private Chef | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 6 วันที่ 17 มีนาคม |
จัมเปียโร่ ควอตาเรโร่ (เปียโร่) (Giampiero Quartararo) |
35 | Italian Head Chef | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 5 วันที่ 10 มีนาคม |
ปิยศักดิ์ กัติยะ (เจมส์) | 43 | F&B Executive Chef | ถูกคัดออกในรอบ "กำจัดตัวถ่วง" วันที่ 3 มีนาคม |
ฐิติพันธุ์ จงยิ่งเจริญ (พริกเผ็ช) | 28 | Chef & Food Stylist | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 4 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ |
อรัญญา สาไทย (กบ) | 54 | อดีต Chef Owner | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 3 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ |
สุมาลี วิชัยสิทธิ์ (มาลี) | 45 | Sous Chef | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 2 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ |
ซัยยิดซูลกีฟลี ไซห์ฮามิ (ยิส) (Syedzulkiflee Saihami) |
34 | Chef Owner | ถูกคัดออกหลังบริการครั้งแรก วันที่ 4 กุมภาพันธ์ |
- ↑ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (ฤดูกาลที่ 5)
- ↑ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย One-On-One Battle (2023)
- ↑ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ จูเนียร์ มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์
- ↑ 4.0 4.1 เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (ฤดูกาลที่ 8)
- ↑ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 2)
- ↑ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (ฤดูกาลที่ 9)
- ↑ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 9
- ↑ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 1)
ความคืบหน้าของผู้เข้าแข่งขัน
[แก้]ในแต่ละสัปดาห์ สมาชิกในทีมคนหนึ่งของทีมที่แพ้จะถูกขอให้เสนอชื่อเพื่อนร่วมทีมจำนวนอย่างน้อย 2 คน (หรือบางครั้งหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ จะเป็นผู้เสนอชื่อให้เอง) และ 1 ในจำนวนนั้นจะถูกคัดออกโดยหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ
อันดับ | ผู้เข้าแข่งขัน | ทีมเริ่มต้น | สลับทีม ครั้งแรก |
สลับทีม ครั้งที่ 2 |
สลับทีม ครั้งที่ 3 |
สลับทีม ครั้งที่ 4 |
เดี่ยว | รอบรอง ชนะเลิศ |
รอบชิง ชนะเลิศ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตอน 1 | ตอน 2 | ตอน 3 | ตอน 4 | ตอน 5 | ตอน 6 | ตอน 7 | ตอน 8 | ตอน 9 | ตอน 10 | ตอน 11 | ตอน 12 | ตอน 13 | ตอน 14 | ตอน 15 | ||||||
1 | บิว | ปิด | ชนะ | ยึด | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | แพ้ | ปิด | เสมอ | เสนอ | ผ่าน | เสนอ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะเลิศ | ||||
2 | เคอร์ | ปิด | เสนอ | เสนอ | ชนะ | เสนอ[ก] | แพ้ | ชนะ | ชนะ | เสมอ | เสนอ | เสนอ | เสนอ | เสนอ | ผ่าน | รองชนะเลิศ | ||||
3 | จิ๊บ | เสนอ | ปิด | ปิด | ชนะ | เสนอ[ก] | ชนะ | ชนะ | ชนะ | เสมอ | เสมอ | ผ่าน | ปิด | ผ่าน | ออก | |||||
4 | ลูกจรรย์ | ปิด | ปิด | ปิด | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | แพ้ | ปิด | เสมอ | เสมอ | ผ่าน | ปิด | ผ่าน | ออก | |||||
5 | เบียร์ | ปิด | ชนะ | ยึด | ปิด | BoW | เสนอ | ชนะ | ชนะ | เสมอ | เสมอ | ผ่าน | เสนอ | ออก | ||||||
6 | เก่ง | ปิด | ชนะ | ยึด | ปิด | ผ่าน | แพ้ | ชนะ | ชนะ | เสมอ | เสมอ | ผ่าน | ออก | |||||||
7 | มารวย | ปิด | ชนะ | ยึด | เสนอ | ผ่าน | แพ้ | ชนะ | ชนะ | เสนอ | เสมอ | ออก | ||||||||
8 | เฟน | ปิด | ปิด | เสนอ | ชนะ | เสนอ[ก] | ชนะ | แพ้ | เสนอ | ออก | ||||||||||
9 | ใบตอง | ปิด | ปิด | ปิด | ชนะ | เสนอ[ก] | ชนะ | เสนอ | ออก | |||||||||||
10 | แอ้ม | ปิด | ปิด | ปิด | ชนะ | BoB | ชนะ | ออก | ||||||||||||
11 | เปียโร่ | ปิด | ชนะ | ยึด | เสนอ | เสนอ[ก] | ออก | |||||||||||||
12 | เจมส์ | ปิด | ชนะ | ยึด | เสนอ | ออก[ข] | ||||||||||||||
13 | พริกเผ็ช | เสนอ | ชนะ | ยึด | ออก | |||||||||||||||
14 | กบ | ปิด | เสนอ | ออก | ||||||||||||||||
15 | มาลี | เสนอ | ออก | |||||||||||||||||
16 | ยิส | ออก |
|
|
- หมายเหตุ
รายชื่อตอน
[แก้]ตอนที่ 1: เปิดครัวนรกกับ Head Chef ครั้งแรกของเชฟวิลแมน
[แก้]ออกอากาศ 4 กุมภาพันธ์ 2567
ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 16 คน เดินทางด้วยรถตู้ (Mercedes-Benz Sprinter 419 Passenger Van Standard) ที่รายการเตรียมไว้ เมื่อมาถึงหน้าภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น พวกเขาได้รับการต้อนรับด้วยพรมแดงและเครื่องดื่มต้อนรับ จากนั้นผู้ช่วยเชฟทั้ง 2 คน (เชฟพฤกษ์ กับ เชฟอาร์ มาในรถ ปอร์เช่ 911 3.0 CARRERA 4S CABRIO) และหัวหน้าเชฟทั้ง 4 คน (เชฟเอียน มาใน Ferrari 458 Italia, เชฟป้อม มาใน Aston Martin DB9, เชฟอ๊อฟ มาใน Jeep Wrangler Rubicorn และ เชฟวิลแมน มาใน Bentley Flying Spur) ขับรถเข้ามาจอดหน้าภัตตาคารเฮลล์คิทเช่นตามลำดับ แล้วลงมาแนะนำรูปแบบรายการพร้อมแนะนำของรางวัลว่า ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท และได้รับโอกาสให้เข้าปฏิบัติงานจริงในภัตตาคารเครือเฮลล์คิทเช่นที่จะเปิดสาขาแรกในประเทศไทย จากนั้นเชฟอ๊อฟจึงให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าไปในครัว และหยิบผ้ากันเปื้อนของแต่ละคนมาใส่เพื่อเริ่มการแข่งขัน
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
- ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในภารกิจแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนออกมาดวลกันตัวต่อตัวในแต่ละโจทย์อาหาร เพื่อให้หัวหน้าเชฟในแต่ละโจทย์อาหารทั้ง 4 คนตัดสิน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที
- เหตุการณ์ในระหว่างการแข่งขัน: มีผู้เข้าแข่งขัน 2 คนฝ่าฝืนกฎในรอบนี้ คือ เจมส์ และยิส โดยในกรณีของเจมส์ คือ ขณะที่เชฟป้อมเข้ามาดูทีมสีน้ำเงิน พบว่า เขาชิมอาหารในช้อนและนำไปกวนต่อในหม้อ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดหลักสุขอนามัย เชฟป้อมจึงพูดว่า "ใครจะกินขี้ปากคุณ" พร้อมสั่งให้เจมส์ทิ้งอาหารทั้งหมดในที่ล้างมือและให้ทำใหม่ และในกรณีของยิส คือ เมื่อหมดเวลาในการทำอาหารแล้ว ยิสพยายามจะจัดจานของตนให้เสร็จ แต่เชฟเอียนพูดว่า "บอกให้หยุด ยิสผมบอกว่าหยุดทำใช่ไหม เอาจานออกมาเลย"
- ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ | โจทย์ | การแข่งขัน | |||
---|---|---|---|---|---|
ทีมสีแดง | ทีมสีน้ำเงิน | ||||
ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนน | ผู้เข้าแข่งขัน | |||
1 | อาหารตะวันตกดั้งเดิม | กบ | 3 | 1 | เปียโร่ |
2 | อาหารไทยร่วมสมัย | แอ้ม | 2 | 1 | พริกเผ็ช |
3 | อาหารเอเชียแนวผสมผสาน | เฟน | 2 | 3 | เบียร์ |
4 | อาหารตะวันตกสมัยใหม่ | ใบตอง | 1 | 2 | บิว |
5 | อาหารตะวันตกดั้งเดิม | เคอร์ | 2 | 2 | เก่ง |
6 | อาหารไทยร่วมสมัย | มาลี | 1 | 0[ก] | ยิส |
7 | อาหารเอเชียแนวผสมผสาน | จิ๊บ | 2 | 1 | เจมส์ |
8 | อาหารตะวันตกสมัยใหม่ | ลูกจรรย์ | 3 | 2 | มารวย |
รวม | ชนะ | 16 | 12 | แพ้ |
หมายเหตุ:
- ↑ ผู้เข้าแข่งขันเสิร์ฟอาหารลงจานไม่ทัน
- ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีแดง
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ทีมชนะ (ทีมสีแดง): ได้ร่วมดินเนอร์สุดหรูกับเชฟวิลแมน ที่ Octave Rooftop Lounge & Bar at Bangkok Marriott Hotel Sukhumvit รวมถึงได้สอบถามเมนูที่จะบริการให้ลูกค้าในรอบบริการอาหารเย็นทั้งหมด
- ทีมแพ้ (ทีมสีน้ำเงิน): ให้ทำความสะอาดครัวทั้งหมด และต้องศึกษาเมนูที่จะบริการให้ลูกค้าในรอบบริการอาหารเย็นทั้งหมดด้วยตนเองโดยไม่มีผู้สอน
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 1:
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | อาหารทะเล | ||||
ผู้รับผิดชอบ | ทีมสีแดง | แอ้ม, ใบตอง | กบ | ลูกจรรย์ | เฟน | จิ๊บ | เคอร์, มาลี |
ทีมสีน้ำเงิน | พริกเผ็ช, ยิส | เก่ง | บิว, เปียโร่ | เก่ง, บิว, เปียโร่ | เบียร์ | มารวย, เจมส์ | |
เมนู |
|
|
|
|
- แขก VIP ในบริการอาหารเย็น:
- แขก VIP ทีมสีแดง: หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ นักชิมและกรรมการ และ ไดอาน่า จงจินตนาการ นักแสดงและพิธีกร จากรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
- แขก VIP ทีมสีน้ำเงิน: แอนโทเนีย โพซิ้ว รองอันดับ 1 นางงามจักรวาล 2023 และ แอนนา เสืองามเอี่ยม มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2022
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ในการบริการอาหารเย็นครั้งแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ทั้งสองทีมมีปัญหาตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยทีมสีแดง ใบตองทำเห็ดโรยหน้าแซลมอนขม และจิ๊บส่งสแกลลอปดิบไปให้เชฟวิลแมน เชฟวิลแมนจึงเขวี้ยงถาดสแกลลอปลงกลางครัว และมาลีแกะปูผิดพลาดจนเชฟวิลแมนพบก้างปู จึงถูกเรียกไปเตือนถึง 2 ครั้ง ส่วนทีมสีน้ำเงิน ยิสแกะปูผิดพลาดจนพบก้างปู พริกเผ็ชจึงถูกเรียกไปเตือนถึง 2 ครั้งเช่นกัน และบิวทำอาหารจานหลักไปล่วงหน้าโดยที่เชฟวิลแมนยังไม่ได้เรียก ต่อมา เจมส์ทำเค้กทาร์ตไหม้ และเบียร์ทำสแกลลอปดิบ เชฟวิลแมนจึงสั่งให้ทั้งคู่กินของที่ตนทำผิดพลาดทั้งหมด ส่วนอาหารจานหลัก แม้กบจะทำเนื้อได้ความสุกถูกระดับ แต่ทีมสีแดงก็ยังนำไปบริการไม่ได้ เพราะเฟนทำเบอร์เนสซอสเหลวและข้นเกินไป เชฟวิลแมนจึงสั่งให้เฟนกินซอส จากนั้น มาลียังแกะปูผิดพลาดจนพบก้างปูอีก 2 จาน เชฟวิลแมนจึงไล่มาลีออกจากครัวเป็นคนแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ต่อมายังตำหนิกบที่หั่นเนื้อเองโดยพลการ เนื่องจากเป็นหน้าที่ของหัวหน้าเชฟ (ในสัปดาห์ดังกล่าวคือเชฟวิลแมน) เท่านั้น ส่วนทีมสีน้ำเงิน เก่งทำเนื้อวัวผิดระดับ และพริกเผ็ชทำมันฝรั่งดิบ เชฟวิลแมนจึงสั่งให้กินมันฝรั่ง ถือจานดังกล่าวแล้วไล่ออกจากครัวไปอีก 1 คน ในที่สุด เมื่อทั้งสองทีมมีข้อผิดพลาดจำนวนมาก โดยเฉพาะก้างปู เชฟวิลแมนจึงสั่งปิดครัวทั้งสองทีมในทันที
- ผู้ที่ถูกไล่ออกจากครัว: มาลี และ พริกเผ็ช
- แขก VIP ในบริการอาหารเย็น:
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 1: ถูกปิดครัวและแพ้ทั้งสองทีม
- การคัดออก (Elimination): ในห้องพัก ผู้ช่วยเชฟของทั้งสองทีมได้เข้าไปบอกให้แต่ละทีมประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขันทีมละ 2 คนให้เชฟวิลแมนคัดออก หลังจากกลับมาที่ครัว เชฟวิลแมนได้ประกาศให้ทั้งสองทีมแพ้ทั้งคู่ และให้แต่ละทีมเสนอชื่อ 2 คนดังกล่าว โดยทีมสีน้ำเงิน เก่งได้เสนอชื่อยิสและพริกเผ็ช ส่วนทีมสีแดง ในตอนแรกแอ้มตั้งใจเสนอชื่อ 3 คนแต่เชฟวิลแมนไม่อนุญาต จึงประชุมกันใหม่แล้วเสนอชื่อจิ๊บและมาลี จากนั้นคณะหัวหน้าเชฟได้ถามทั้ง 4 คนถึงเหตุผลที่ต้องการอยู่ต่อ รวมถึงข้อผิดพลาดของแต่ละคน โดยฝั่งทีมสีแดง จิ๊บสารภาพว่าส่งสแกลลอปดิบทำให้ทีมช้า ส่วนมาลีกล่าวว่าตนแกะปูผิดพลาด แต่จริง ๆ ตนดูแลของหวาน เชฟวิลแมนจึงถามผู้รับผิดชอบจานเรียกน้ำย่อยคือใบตองและแอ้ม โดยใบตองกล่าวว่าตนเป็น 1 ใน 3 ชื่อที่ทีมโหวตในรอบแรก ส่วนแอ้มกล่าวว่า "ไม่อยากออกค่ะ" ซึ่งทำให้แอ้มถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้รับชมรายการ ขณะที่ทีมสีน้ำเงิน ยิสสารภาพในภายหลังว่าเป็นผู้แกะปู แต่ยังระบุว่าให้พริกเผ็ชทำมันฝรั่ง พริกเผ็ชจึงกล่าวสวนกลับไปทันทีว่าพวกตนทั้งคู่ทำมันฝรั่งด้วยกัน ทำให้เชฟวิลแมนตำหนิยิสว่าไม่ออกมาร่วมยอมรับผิด และปล่อยให้พริกเผ็ชรับผิดชอบเพียงคนเดียว ถือว่าไม่ยุติธรรมกับพริกเผ็ช ดังนั้น จึงให้จิ๊บ มาลี และพริกเผ็ช กลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีมตามลำดับ และตัดสินให้ยิสออกจากการแข่งขัน เนื่องจากรับไม่ได้ที่ให้ผู้อื่นยอมรับผิดแทน
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: ยิส พริกเผ็ช จิ๊บ และ มาลี
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ยิส
- ความคิดเห็นของเชฟวิลแมน: "ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ทุกคน แต่ควรต้องออกมายอมรับความผิดพลาดของตัวเอง ถ้าให้คนอื่นรับหน้าแทน คุณก็ไม่มีวันพัฒนา"
ตอนที่ 2: Head Chef ครั้งแรกของเชฟเอียน
[แก้]ออกอากาศ 11 กุมภาพันธ์ 2567
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
- ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในรอบนี้ ทั้งสองทีมจะต้องทำอาหารตะวันตกสมัยใหม่คนละ 1 จาน และใช้เป็ดเป็นวัตถุดิบหลัก โดยมีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที
- เหตุการณ์ในระหว่างการแข่งขัน: เจมส์ฝ่าฝืนกฎในรอบนี้ โดยเมื่อเชฟอ๊อฟบอกเจมส์ว่าเขาทำอาหารผิดโจทย์ (สลัด) เจมส์พยายามให้เพื่อนร่วมทีมของเขา (เก่ง และพริกเผ็ช) ช่วยจัดจานของเขาออกมาให้กลับมาเป็นอาหารตะวันตกสมัยใหม่ เชฟอ๊อฟจึงถามเจมส์ว่า "เจมส์ คุณทำเองไม่เป็นเหรอ"
- ผลการแข่งขัน: ในสัปดาห์นี้ คณะหัวหน้าเชฟได้ให้ผู้ช่วยเชฟประจำทีมชิมอาหารของทุกคนในทีมนั้น ๆ และเลือกจานที่ดีที่สุดทีมละ 3 จาน ออกมาให้คณะหัวหน้าเชฟชิมและตัดสิน โดย 3 จานที่ดีที่สุดของทั้งสองทีมที่เชฟพฤกษ์และเชฟอาร์เลือก และคะแนนที่ได้จากคณะหัวหน้าเชฟ มีดังนี้
คู่ที่ | การแข่งขัน | |||
---|---|---|---|---|
ทีมสีแดง | ทีมสีน้ำเงิน | |||
ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนน | ผู้เข้าแข่งขัน | ||
1 | ใบตอง | 1 | 2 | บิว |
2 | จิ๊บ | 3 | 3 | เก่ง |
3 | ลูกจรรย์ | 3 | 2 | เปียโร่ |
รวม | เสมอ | 7 | 7 | เสมอ |
เนื่องจากทั้งสองทีมมีคะแนนเท่ากัน เชฟเอียนจึงตัดสินด้วยจานที่แย่ที่สุดของแต่ละทีม โดยเชฟอาร์เลือกจานของเจมส์ ส่วนเชฟพฤกษ์เลือกจานของมาลี และเชฟเอียนได้ตัดสินให้จานที่แย่ที่สุดเป็นของมาลี ส่งผลให้ทีมสีแดงเป็นทีมที่แพ้ในรอบนี้
- ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีน้ำเงิน
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ทีมชนะ (ทีมสีน้ำเงิน): ได้นั่งเครื่องบินส่วนตัวไปพักผ่อนที่ริมชายหาด อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ทีมแพ้ (ทีมสีแดง): ให้ล้างห้องน้ำสกปรกทั้งหมด
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 2: ในตอนนี้ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องสลับตำแหน่งในแผนกครัวจากที่เคยทำในสัปดาห์ที่แล้ว ดังนี้
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) |
ผู้ช่วยเหลือ (Supporter) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | อาหารทะเล | |||||
ผู้รับผิดชอบ | ทีมสีแดง | เคอร์, กบ | มาลี | แอ้ม | จิ๊บ | เฟน | ใบตอง, ลูกจรรย์ | — |
ทีมสีน้ำเงิน | เจมส์, เบียร์ | เปียโร่ | พริกเผ็ช | เปียโร่ | มารวย | บิว | เก่ง | |
เมนู |
|
|
|
— |
- แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีแดงเท่านั้น คือ เชฟมาร์ติน บลูนอส เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย และ เชฟตุ๊กตา - สุพัตรา สารสิทธิ์ ผู้เข้าแข่งขันศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 1)
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทั้งสองทีมมีปัญหาตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยทีมสีแดง เฟนทำล็อบสเตอร์ดิบถึง 2 ครั้ง ส่วนมาลีทำเนื้อเป็ดผิดระดับถึง 3 ครั้ง เชฟเอียนจึงไล่มาลีออกจากครัวเป็นครั้งที่ 2 กบ (ที่ทำงานในแผนกจานเรียกน้ำย่อย) จึงมาทำเนื้อแทน ส่วนทีมสีน้ำเงิน เปียโร่ทำเนื้อเป็ดผิดระดับถึง 3 ครั้ง เชฟเอียนจึงไล่เปียโร่ออกจากครัวเช่นกัน บิว (ที่ทำงานในแผนกของหวาน) จึงมาทำเนื้อแทน ส่วนในอาหารจานหลัก ทั้งสองทีมยังมีปัญหาเหมือนเดิม โดยทีมสีแดง กบทำเนื้อวัวดิบ และสุกเกินไป ส่วนทีมสีน้ำเงิน เชฟเอียนตำหนิบิวที่ใช้เวลาทำเนื้อวัวและเนื้อแกะนานกว่าเวลาที่บอกจริง ต่อมาในทีมสีแดง กบหยิบเนื้อเป็ดที่ดิบสำหรับออเดอร์แขก VIP ให้แก่เชฟเอียน เชฟเอียนจึงไล่กบออกจากครัวไปอีก 1 คน จิ๊บ (ที่ทำงานในแผนกซอส) จึงมาทำเนื้อแทน แต่จิ๊บก็ยังทำเนื้อวัวสุกเกินไป เชฟเอียนจึงต้องเรียกทั้งทีมไปคุยกันเป็นการส่วนตัวภายในห้องเก็บวัตถุดิบ ซึ่งด้านในนั้นเชฟเอียนได้ตำหนิทั้งทีมที่มีปัญหาเนื้อทั้งหมด และตำหนิสถานะเชฟของเฟนเพราะพยายามส่งล็อบสเตอร์ดิบออกบริการหลายครั้ง ต่อมาทีมสีน้ำเงินก็เกิดปัญหาขึ้นอีก โดยบิวหยิบถาดเนื้อวัวที่เย็น (42 องศาเซลเซียส) ให้แก่เชฟเอียน เชฟเอียนจึงไล่บิวออกจากครัวไปอีก 1 คน เก่ง (ที่ทำงานเป็นผู้ช่วยเหลือ) และ มารวย (ที่ทำงานในแผนกอาหารทะเล) จึงมาทำเนื้อแทน แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีปัญหาอย่างอื่น แต่ทีมสีแดง หลังจากคุยกันแล้วสถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น และยังคงมีปัญหากับการบริหารจัดการเวลาและออเดอร์ที่ตกค้าง ในที่สุด เมื่อทั้งทีมผิดพลาดในการสื่อสารเกี่ยวกับระยะเวลาในการทำหอยเชลล์และเนื้อเป็ด เชฟเอียนจึงสั่งปิดครัวทีมสีแดงในทันที และให้ทีมสีแดงไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 3 คนมาให้ตนคัดออก หลังจากทีมสีแดงถูกปิดครัวแล้ว ทีมสีน้ำเงินก็นำออเดอร์ที่เหลือบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ ทำให้เป็นทีมแรกที่ชนะในรอบบริการอาหารเย็นของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์
- ผู้ที่ถูกไล่ออกจากครัว: มาลี เปียโร่ กบ และ บิว
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 2: ทีมสีแดงถูกปิดครัว ทีมสีน้ำเงินชนะ
- การคัดออก (Elimination): เฟนได้เสนอชื่อ กบ มาลี และเคอร์ เพราะกบถูกไล่ออกจากครัว และโหวตตนเองออกแล้ว 2 ครั้ง ส่วนมาลีถูกไล่ออกจากครัวเป็นครั้งที่ 2 และเคอร์สื่อสารในครัวผิดพลาด โดยเพื่อนร่วมทีมหลายคนเห็นด้วย จากนั้นเชฟเอียนได้ถามเคอร์ถึงเหตุผลที่เฟนระบุถึงตน เคอร์ตอบว่าเหตุผลของเฟนไม่มากพอและไม่ถูกต้อง เพราะจานเรียกน้ำย่อยที่ถูกตีกลับทั้งหมดมาจากโปรตีนที่เฟนทำแล้วดิบจากความไม่รอบคอบ แต่ตนออกมายืนเพราะตนรับผิดชอบจานเรียกน้ำย่อย เชฟเอียนจึงถามเฟนว่าส่งโปรตีนที่ยังดิบให้เคอร์ได้อย่างไร เฟนตอบว่าตนใช้อุณหภูมิในการทำล็อบสเตอร์ตามสูตรอาหารของเชฟเอียน (71 องศาเซลเซียส) แล้วไม่เพียงพอ และต้องดัดแปลงสูตรเพราะไม่ได้ทำในอุณหภูมิห้องปกติ แต่เชฟเอียนไม่เห็นด้วย และมองว่าเฟนควรออกมายืนด้านหน้ามากกว่าเคอร์ ดังนั้น จึงให้เคอร์กลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีม จากนั้นคณะหัวหน้าเชฟได้ถามกบและมาลีถึงเหตุผลที่ต้องการอยู่ต่อ แต่เมื่อถามว่าใครควรอยู่ต่อ ทั้งคู่ต้องการให้มาลีอยู่ต่อ เชฟเอียนจึงเรียกสติจากกบ จนในที่สุดกบยอมบอกว่าจะสู้ต่อ ดังนั้น ผู้ที่เชฟเอียนตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ มาลี เนื่องจากทำเนื้อตั้งแต่ต้นแล้วถูกไล่ออก โดยที่กบมาทำเนื้อแทนโดยไม่ใช่หน้าที่โดยตรง จากนั้นเชฟเอียนได้บอกกับกบว่าคณะหัวหน้าเชฟมอบโอกาสทั้งหมดเพื่อให้กบกลับมาแสดงความใจสู้แล้ว และให้กบกลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีม
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: กบ มาลี และ เคอร์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: มาลี
- ความคิดเห็นของเชฟเอียน: "เหตุผลเดียวที่ผมเลือกมาลีออกจากครัว เพราะนี่คือการผิดพลาดซ้ำซาก หากผมเก็บตัวถ่วงอย่างมาลีไว้ ครัวอาจจะต้องถูกปิดอย่างแน่นอน"
ตอนที่ 3: Head Chef ครั้งแรกของเชฟอ๊อฟ
[แก้]ออกอากาศ 18 กุมภาพันธ์ 2567
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: เชฟอ๊อฟ/โจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
- ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในรอบนี้ เป็นการแข่งขันรูปแบบ Fast and Delicious ในโจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน โดยทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนจับคู่ และดวลทำอาหารจากโจทย์ที่กำหนด ซึ่งมีทั้งหมด 4 อย่าง ตามวัตถุดิบที่เตรียมไว้ในกล่อง โดยมีเวลาในการทำอาหารในแต่ละโจทย์เพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น และหากทีมใดวางจานอาหารเสิร์ฟบนโต๊ะของหัวหน้าเชฟก่อน อีกทีมจะมีเวลาเพียงแค่ 10 วินาทีเท่านั้น หากหมดเวลาก่อนถึงโต๊ะ จะถือว่าไม่ทันและไม่ได้คะแนนในโจทย์นั้น ๆ
- ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ | เมนู | การแข่งขัน | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ทีมสีแดง | ทีมสีน้ำเงิน | ||||||
ผู้เข้าแข่งขัน 1 | ผู้เข้าแข่งขัน 2 | คะแนน | ผู้เข้าแข่งขัน 1 | ผู้เข้าแข่งขัน 2 | |||
1 | หอยทอด เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้ม | แอ้ม | เฟน | 0 | 2 | มารวย | เบียร์ |
2 | ราดหน้าเนื้อเต้าซี่ | จิ๊บ | เคอร์ | 0[ก] | 0 | เจมส์ | บิว |
3 | ผักบุ้งไฟแดง | ใบตอง
|
กบ | 1 | 0[ข] | เปียโร่ | พริกเผ็ช |
4 | ยากิโซบะ | ลูกจรรย์
|
— | 1 | 1 | เก่ง | — |
รวม | แพ้ | 2 | 3 | ชนะ |
หมายเหตุ:
- ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีน้ำเงิน
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ทีมชนะ (ทีมสีน้ำเงิน): ได้ขึ้นเรือยอร์ชส่วนตัวที่ท่าเรือโอเชี่ยน มารีน่า รีสอร์ท พัทยา จอมเทียน จังหวัดชลบุรี และพักผ่อนกลางอ่าวไทย
- ทีมแพ้ (ทีมสีแดง): ให้ทำความสะอาดหน้าภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น ทำสวน ตัดหญ้า และเช็ดกระจก
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 3:
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | ||||
ผู้รับผิดชอบ | ทีมสีแดง | จิ๊บ, ลูกจรรย์ | เคอร์, กบ | เฟน | แอ้ม | ใบตอง |
ทีมสีน้ำเงิน | มารวย, เก่ง | บิว | เบียร์, เจมส์ | พริกเผ็ช | เปียโร่ | |
เมนู |
|
|
|
- แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีแดงเท่านั้น คือ เชฟต้น - ธิติฎฐ์ ทัศนาขจร กรรมการตัดสินรายการท็อปเชฟไทยแลนด์ และภรรยา คุณเมย์ - จิรัฐฐา ค้ำพันธุ์
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทีมสีน้ำเงินมีปัญหาเล็กน้อยในจานเรียกน้ำย่อย เพราะมีการสื่อสารที่ไม่ดีในขณะจัดจานแรก จากนั้นเก่งกับพริกเผ็ชบอกเวลาห่างกันจนเชฟอ๊อฟเข้ามาเตือน แต่แก้ไขได้ ส่วนในอาหารจานหลักมีปัญหาทั้งสองทีม โดยทีมสีแดง เคอร์ทำเนื้อสุกเกินไป ส่วนกบถูกตำหนิที่เดินไปเดินมาอย่างไร้จุดหมาย แทนที่จะรับผิดชอบการทำเนื้อ จากนั้นเชฟอ๊อฟพบเศษพลาสติกติดอยู่ใต้ชิ้นปลา ซึ่งทั้งกบและเคอร์ไม่รู้ที่มาของพลาสติกข้างต้น แต่เคอร์ก็ยังทำเนื้อผิดระดับซ้ำ เชฟอ๊อฟจึงไล่เคอร์ออกจากครัว จากนั้นเมื่อออเดอร์ของหวานเข้ามา ก็มีจานที่ถูกตีกลับมายังใบตองเพราะจัดจานของหวานไม่ถูกต้อง และขณะนั้น กบทำเนื้อผิดระดับรวมถึงทำเนื้อหมูสุกเกินไปทั้งหมด เชฟอ๊อฟจึงไล่กบออกจากครัวเป็นครั้งที่ 2 ไปอีก 1 คน เฟน (ที่ทำงานในแผนกเครื่องเคียง) จึงมาทำเนื้อแทน แต่เฟนก็พบว่าเนื้อหมูที่กบทำไว้สุกเกินไปและแห้งทั้งหมด จึงแก้โดยพยายามเลือกเนื้อหมูที่ดีที่สุดที่กบทำไปบริการ แต่แก้ไขไม่สำเร็จ เชฟอ๊อฟจึงไล่เฟนออกจากครัวไปอีก 1 คน ส่วนทีมสีน้ำเงิน บิวบอกเวลาทำเนื้อหมูห่างกับที่ทำจริง และทำดิบ 1 ชิ้น แต่แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว และในจานของหวาน มีจานที่ถูกตีกลับมายังเปียโร่เพราะจัดจานชีสเค้กผิดพลาด แต่เมื่อแก้ไขแล้วก็ไม่มีปัญหาอื่น ทีมสีน้ำเงินได้นำออเดอร์ที่เหลือบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ ทำให้เป็นทีมที่ชนะในรอบนี้อีกครั้ง และเป็นครั้งแรกที่ทีมสีนํ้าเงินไม่มีผู้ที่ถูกไล่ออกจากครัว จากนั้นเชฟอ๊อฟได้สั่งให้พวกเขาเข้าไปยึดครัว (Steal Kitchen) ของทีมสีแดง และไล่ทีมสีแดงออกจากครัวทั้งหมด หลังจากทีมสีน้ำเงินยึดครัวแล้ว บิวก็พบว่าเนื้อหมูสุกเกินไปจนแห้งทั้งหมด เขาและเก่งจึงแจ้งเชฟอ๊อฟ พร้อมระบุเพิ่มว่าเนื้อหมูในครัวของสีน้ำเงินของตนหมดพอดี เชฟอ๊อฟจึงแสดงความรับผิดชอบโดยออกไปขอโทษลูกค้าและขอเปลี่ยนเมนูทั้งหมด หลังจากทีมสีน้ำเงินเปลี่ยนเมนูแล้ว เชฟอ๊อฟจึงนำไปบริการด้วยตนเองเพื่อขอโทษลูกค้าอีกครั้ง จากนั้นทีมสีน้ำเงินก็นำออเดอร์ของหวานบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ โดยในออเดอร์สุดท้าย เชฟอ๊อฟได้พาทีมสีน้ำเงินทั้งทีมนำจานไปบริการและขอบคุณลูกค้าคนสุดท้ายด้วยตนเอง ทำให้เป็นครั้งแรกที่ลูกค้าได้รับประทานอาหารทั้ง 3 คอร์สครบทุกคน
- ผู้ที่ถูกไล่ออกจากครัว: เคอร์ กบ และ เฟน
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 3: ทีมสีแดงถูกปิดครัว ด้วยการถูกทีมสีน้ำเงินที่ชนะเข้ายึดครัวที่ทำไว้เดิมทั้งหมด
- การคัดออก (Elimination): เชฟอ๊อฟได้เรียก เคอร์ กบ และเฟน ซึ่งเป็น 3 คนที่ถูกไล่ออกจากครัวทั้งหมด ให้ออกมายืนด้านหน้า โดยไม่ให้ทีมสีแดงเสนอชื่อ จากนั้นได้ถามทั้ง 3 คนถึงคนที่ควรออก กบและเฟนเห็นว่ากบควรออกเพราะทำเนื้อหมูสุกเกินไปทั้งหมด ส่วนเคอร์เห็นว่าตนควรออกเพราะหลุดโฟกัสหลายจุด เชฟเอียนเห็นว่าเฟนมีข้อผิดพลาดน้อยกว่าเคอร์และกบ จึงให้กลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีม จากนั้นเชฟอ๊อฟได้ถามถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของทั้งคู่ ทั้งคู่อธิบายทั้งหมด จึงถามต่อเรื่องหมู กบกล่าวว่าตนทำ และถามต่อเรื่องพลาสติกบนเนื้อปลา เคอร์กล่าวว่าตนเซียร์ปลา แต่กบเสริมว่าพลาสติกมาจากซอส เพราะมีลักษณะเป็นฉลาก ซึ่งเคอร์ยืนยันแบบเดียวกัน เชฟป้อมจึงถามผู้รับผิดชอบซอสคือแอ้ม แอ้มกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ และขอแสดงความรับผิดชอบ เชฟอ๊อฟจึงสรุปว่าทุกคนควรรับผิดชอบเรื่องพลาสติกร่วมกัน ดังนั้น ผู้ที่เชฟอ๊อฟตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ กบ เนื่องจากทำเนื้อหมูสุกเกินไปจนแข็งทั้งหมด ทำให้เชฟอ๊อฟต้องเปลี่ยนไปบริการเมนูอื่นให้ลูกค้าแทน
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: กบ เคอร์ และ เฟน
- ผู้ที่ถูกคัดออก: กบ
- การย้ายทีม: หลังจากที่กบถูกคัดออกจากการแข่งขันไปแล้ว เชฟวิลแมนเล็งเห็นว่า ผลงานของทีมสีแดงในตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้นไม่เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก หากแข่งต่อไปจะมีโอกาสแพ้ได้สูง เชฟวิลแมนจึงเสนอโอกาสให้ทีมสีแดงสามารถเลือกใครก็ได้ 1 คนจากทีมสีน้ำเงิน ให้มาอยู่ในทีมของตน ซึ่งทีมสีแดงตกลงว่าจะเลือกบิว เชฟเอียนจึงถามความสมัครใจจากทีมสีน้ำเงินว่าจะยินยอมให้บิวไปอยู่ทีมสีแดงหรือไม่ ซึ่งในที่สุด เปียโร่ก็กล่าวว่าทีมสีน้ำเงินยินยอม เพราะให้ความสำคัญกับลูกค้า เชฟเอียนจึงอนุมัติการย้ายทีมในครั้งนี้ ทำให้บิวเป็นสมาชิกของทีมสีแดงในทันที
- ผู้ที่ย้ายทีม: บิว (ทีมสีน้ำเงิน → ทีมสีแดง)
- ความคิดเห็นของเชฟอ๊อฟ: "ที่ผมต้องเลือกกบออกจากครัว เพราะเขาไม่สามารถรักษาโอกาสที่เขาขอไว้ได้ การผิดพลาดซ้ำ ๆ ทำให้ผมรู้ว่า เขาไม่เหมาะสมกับเฮลล์คิทเช่นแห่งนี้"
ตอนที่ 4: Head Chef ครั้งแรกของเชฟป้อม
[แก้]ออกอากาศ 25 กุมภาพันธ์ 2567
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: เชฟป้อม/โจทย์อาหารไทยร่วมสมัย
- ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในรอบนี้ เป็นการทดสอบความรอบรู้ของผู้เข้าแข่งขันในการทำขนมไทย โดยทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนครั้งละ 1 คน ให้ออกมาชิงสิทธิ์เลือกเมนู โดยกดปุ่มเพื่อทายสำนวนภาษาไทยจากรูปภาพภายในเวลา 5 วินาที เหมือนรูปแบบในช่วงภาพปริศนา ซึ่งเป็นเกมยอดนิยมในรายการเวทีทอง แต่แตกต่างที่ทุกรูปภาพใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการวาด และฝ่ายที่ทายถูกจะได้สิทธิ์เลือกเมนูที่กำหนดไว้ และอีกฝ่ายจะได้รับอีกเมนูในทันที จากนั้นผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 45 นาทีในการทำขนมไทยที่ตนได้รับให้ถูกต้อง
- ผลการแข่งขัน: ในรอบนี้ มีการเปลี่ยนแปลงการให้คะแนนเล็กน้อย คือ หัวหน้าเชฟมีสิทธิ์ชิมเมนูละ 2 คน ดังนั้น คะแนนในแต่ละจานที่มีได้สูงสุดจากเดิมจานละ 3 คะแนน จึงเพิ่มขึ้นเป็นจานละ 6 คะแนน โดยผลการจับคู่ และขนมไทยที่แต่ละคนได้ มีดังนี้
คู่ที่ | สำนวน | การแข่งขัน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทีมสีแดง | ทีมสีน้ำเงิน | ||||||||||
เมนูที่ได้ | ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนน | ผู้เข้าแข่งขัน | เมนูที่ได้ | |||||||
เชฟ 1 | เชฟ 2 | รวม | เชฟ 1 | เชฟ 2 | |||||||
1 | สอนจระเข้ว่ายน้ำ | ทองเอก | แอ้ม | 1 | 2 | 3 | 3 | 2 | 1 | พริกเผ็ช | กล้วยบวชชี |
2 | ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด | กะละแม | ใบตอง | 0 | 1 | 1 | 5 | 3 | 2 | เบียร์ | บัวลอยไข่หวาน |
3 | ชาวนากับงูเห่า | ขนมเปียกปูนใบเตย | ลูกจรรย์ | 2 | 2 | 4 | 5 | 3 | 2 | มารวย | ทับทิมกรอบ |
4 | คลุมถุงชน | ฟักทองแกงบวด | เฟน | 3 | 3 | 6 | 0 | 0 | 0 | เจมส์ | ปลากริมไข่เต่า |
5 | ไม่ดูตาม้าตาเรือ | ขนมปังสังขยาใบเตย | เคอร์ | 3 | 3 | 6 | 1 | 0 | 1 | เปียโร่ | ข้าวตู |
6 | สาวไส้ให้กากิน | วุ้นกะทิ | บิว, จิ๊บ | 1 | 3 | 4 | 1 | 1 | 0 | เก่ง | ขนมใส่ไส้ |
รวม | ชนะ | 10 | 14 | 24 | 15 | 9 | 6 | แพ้ |
หมายเหตุ: ตัวเอน คือเมนูและผู้เข้าแข่งขันที่ทายสำนวนถูกต้องในแต่ละคู่ และได้สิทธิ์เลือกเมนูก่อน
- ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีแดง
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ทีมชนะ (ทีมสีแดง): ได้นวดแผนไทยและทำสปาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- ทีมแพ้ (ทีมสีน้ำเงิน): ให้พัฒนาร่างกายภายใต้การควบคุมของครูฝึก
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 4:
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | ||||
ผู้รับผิดชอบ | ทีมสีแดง | ใบตอง, เคอร์ | จิ๊บ | ลูกจรรย์ | บิว | แอ้ม, เฟน |
ทีมสีน้ำเงิน | เปียโร่, มารวย | เบียร์ | พริกเผ็ช, มารวย | เจมส์ | เก่ง | |
เมนู |
|
|
- แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีน้ำเงินเท่านั้น คือ ตั๊ก - นภัสกร มิตรธีรโรจน์ พิธีกรรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย และภรรยา ป๊อก - ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ พิธีกรรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทั้งสองทีมมีปัญหาตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยทีมสีแดง เคอร์บอกเวลาทำยำนานเกินไป และลูกจรรย์ใส่หัวปลีในจานดังกล่าวน้อยเกินไป เชฟป้อมจึงสั่งปรับปริมาณเพิ่ม ต่อมา เฟนและแอ้มทำของหวานไปล่วงหน้า เชฟป้อมจึงต้องเข้ามาเตือนทั้งคู่ให้ไปช่วยทีมบริการจานเรียกน้ำย่อยและอาหารจานหลักให้เสร็จก่อน แต่ทีมสีน้ำเงิน เปียโร่ลืมทอดแป้งพัฟล่วงหน้า และพริกเผ็ชลืมลวกหัวปลี ทำให้ต้องใช้เวลาแก้ไขนานถึง 20 นาทีกว่าจะเริ่มออกบริการจานเรียกน้ำย่อยจานแรกได้ เชฟป้อมจึงต้องเรียกทั้งทีมไปคุยกันเป็นการส่วนตัวภายในห้องเก็บวัตถุดิบ ซึ่งด้านในนั้นเชฟป้อมได้ตำหนิเก่งที่ไม่ช่วยเพื่อนร่วมทีม และว่ากล่าวทั้งทีมถึงตำแหน่งใหญ่และสูงของทุกคน แต่หลังจากคุยกันแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น เพราะมารวยยังลวกหัวปลีดำเกินไป แต่ต่อมาทีมสีแดงก็พบปัญหาในอาหารจานหลัก เพราพจิ๊บทำแกะสุกเกินไป และยังถูกตำหนิจากการให้คนอื่นตรวจระดับความสุกของแกะรวมถึงส่อเจตนาหั่นแกะเองโดยพลการ แต่เมื่อแก้ไขแล้วก็ไม่มีปัญหาอื่น แต่ทีมสีน้ำเงินยังคงมีออเดอร์ตกค้างอีกหลายที่ทั้งจานเรียกน้ำย่อยและอาหารจานหลัก จากความผิดพลาดและล่าช้าในการจัดการอาหาร เพราะพริกเผ็ชและมารวยเตรียมเครื่องเคียงไม่พร้อม และมีปัญหาในการสื่อสาร ในที่สุด หลังจากเรียกอาหารจานหลักไปแล้ว 30 นาที แต่ทีมสีน้ำเงินไม่สามารถนำไปบริการให้ลูกค้าได้เลยแม้แต่จานเดียว เชฟป้อมจึงสั่งปิดครัวทีมสีน้ำเงินในทันที และให้ทีมสีน้ำเงินไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้ตนคัดออก หลังจากทีมสีน้ำเงินถูกปิดครัวแล้ว ทีมสีแดงก็นำออเดอร์ที่เหลือบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ รวมถึงบริการแขก VIP แทนทีมสีน้ำเงินด้วย ทำให้เป็นครั้งแรกที่ทีมสีแดงไม่ถูกปิดครัว และชนะในรอบบริการอาหารเย็นของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ นอกจากนี้ ยังเป็นตอนแรกที่ไม่มีการไล่ผู้เข้าแข่งขันออกจากครัวเป็นรายบุคคล
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 4: ทีมสีแดงชนะ ทีมสีน้ำเงินถูกปิดครัว
- การคัดออก (Elimination): เบียร์ได้เสนอชื่อเปียโร่และเจมส์ แต่เชฟป้อมถามเบียร์ทันทีว่า ทำไมพริกเผ็ชและมารวยไม่ถูกเสนอชื่อแทน เบียร์ตอบว่าทั้งคู่ทำงานได้อย่างเต็มที่และสุดความสามารถแล้ว เชฟป้อมจึงสวนกลับไปทันทีว่าปัญหาเกิดขึ้นจากผู้รับผิดชอบจานเรียกน้ำย่อยและเครื่องเคียง เบียร์และเก่งจึงอธิบายไปในทิศทางเดียวกันว่า เจมส์ไม่มีข้อผิดพลาด เพราะเจมส์ทำพริกแกงไม่สำเร็จ รวมถึงไม่มีความรับผิดชอบโดยตรงในตำแหน่งใดเลย เชฟป้อมจึงถามเปียโร่ว่าตนเองควรจะออกจากการแข่งขันนี้ไหม เปียโร่ตอบทันทีว่าไม่ แต่เจมส์ควรออกเพราะไม่มีข้อผิดพลาดเนื่องจากไม่รับผิดชอบอะไรเลย ซึ่งเจมส์ไม่เห็นด้วย เพราะตนเตรียมอาหารของตนเสร็จสมบูรณ์แล้ว เชฟป้อมจึงสั่งให้ทั้งทีมกลับไปคุยกันใหม่ หลังจากที่ทั้งทีมปรึกษาหารือกันแล้ว เก่งยังยืนยันเสนอชื่อสองคนเดิม แต่ทั้งคู่ไม่ยอมรับ และเปียโร่ได้ให้สิทธิ์หัวหน้าเชฟเลือก แต่แล้ว เจมส์ก็เดินออกมายืนเพียงคนเดียว โดยระบุเหตุผลว่า เมื่อไม่มีใครตัดสินใจ ตนจะโหวตตนออกเอง จากนั้นเชฟเอียนได้เรียกพริกเผ็ชและมารวยให้ออกมาด้วย และคณะหัวหน้าเชฟจึงถามถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ และข้อผิดพลาดของพริกเผ็ชกับมารวย โดยทั้งคู่อธิบายทั้งหมด แต่มารวยกล่าวเพิ่มว่าสาเหตุที่ทำให้ตนเองเตรียมของไม่เรียบร้อย เพราะเจมส์มีปัญหาในการทำซอสและพริกแกง ตนจึงต้องเข้าไปช่วย เชฟป้อมจึงสวนกลับไปว่า ปัญหาส่วนใหญ่อยู่ที่จานเรียกน้ำย่อยทั้งสองจาน ทั้งผักในจานยำทวายที่มีไม่ครบ รวมทั้งการลวกหัวปลีดำ แล้วถามกลับไปยังทีมสีน้ำเงินว่าทำไมทั้งทีมจึงโยนความผิดไปที่เจมส์ หลังจากที่คณะหัวหน้าเชฟปรึกษาหารือกันแล้ว ผู้ที่เชฟป้อมตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ พริกเผ็ช
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก:
- โดยทีม: เปียโร่ และ เจมส์
- โดยหัวหน้าเชฟ: เจมส์ (เดินออกมาเอง) มารวย และพริกเผ็ช
- ผู้ที่ถูกคัดออก: พริกเผ็ช
- ความคิดเห็นของเชฟป้อม: "ที่ต้องเลือกพริกเผ็ชออกจากครัวในวันนี้ เพราะพริกเผ็ชไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองได้ จนทำให้ครัวต้องปิดลงอีกครั้ง"
ตอนที่ 5: การกำจัด "ตัวถ่วง" ออกจากครัวนรก
[แก้]ออกอากาศ 3 มีนาคม 2567
- การย้ายทีม: ก่อนเริ่มการแข่งขัน เชฟเอียนเห็นว่าทีมสีน้ำเงินในขณะนั้นเสียเปรียบอย่างมาก เพราะนอกจากเกิดการย้ายทีมของบิวแล้ว พวกเขายังเหลือสมาชิกเพียง 5 คน ในขณะที่ทีมสีแดงมีสมาชิกถึง 7 คน เพื่อให้จำนวนสมาชิกของทั้งสองทีมเท่ากัน เชฟป้อมจึงถามความประสงค์ในการย้ายทีมของสมาชิกทีมสีแดง ปรากฏว่ามีผู้ที่ยกมือขอย้ายทีม 3 คน คือ จิ๊บ แอ้ม และบิว ตามลำดับ จากนั้นคณะหัวหน้าเชฟได้ถามเหตุผลในการย้ายทีมของทั้ง 3 คน แต่เชฟเอียนเห็นว่าทีมสีแดงมักเลือกเสนอชื่อเคอร์ให้คัดออกอยู่บ่อยครั้ง จึงย้ายเคอร์ไปอยู่ทีมสีน้ำเงิน ทำให้เคอร์เป็นสมาชิกของทีมสีน้ำเงินในทันที
- ผู้ที่ย้ายทีม: เคอร์ (ทีมสีแดง → ทีมสีน้ำเงิน)
- ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในรอบนี้ เป็นการทดสอบความรอบรู้ของผู้เข้าแข่งขันในการทำอาหารจากวัตถุดิบที่ไม่คุ้นเคย โดยทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนครั้งละ 1 คน ให้ออกมาชิงสิทธิ์เลือกวัตถุดิบ ด้วยการทายภาพวัตถุดิบจากการเปิดภาพทีละมุม ฝ่ายที่ทายถูกจะได้สิทธิ์เลือกว่าจะเก็บวัตถุดิบไว้ทำเมนูเอง หรือโยนวัตถุดิบให้อีกฝั่งทำเมนู แต่จะยังไม่ทราบว่าวัตถุดิบถัดไปคืออะไร จากนั้นมีเวลา 45 นาทีในการทำเมนูจากวัตถุดิบที่ตนได้รับ
- ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ | การแข่งขัน | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
ทีมสีแดง | ทีมสีน้ำเงิน | |||||
วัตถุดิบที่ได้ | ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนน | ผู้เข้าแข่งขัน | วัตถุดิบที่ได้ | ||
1 | อัณฑะวัว | ลูกจรรย์ | 3 | 1 | เคอร์ | หัวใจวัว |
2 | สมองวัว | ใบตอง | 0 | 3 | มารวย | กระเพาะหมู |
3 | ผ้าขี้ริ้ววัว | แอ้ม | 3 | 1 | เจมส์ | รกวัว |
4 | ตูดไก่ | เฟน | 3 | 3 | เบียร์ | อุ้งตีนจระเข้ |
5 | ตัวเดียวอันเดียววัว | บิว | 0 | 0 | เก่ง | หนังหมู |
6 | หัวแพะ | จิ๊บ | 2 | 2 | เปียโร่ | อึ่งอ่าง |
รวม | ชนะ | 11 | 10 | แพ้ |
หมายเหตุ: ตัวเอน คือวัตถุดิบที่ใช้ทายภาพ และผู้เข้าแข่งขันที่ทายวัตถุดิบนั้นถูก
- ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีแดง
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ทีมชนะ (ทีมสีแดง): ได้บินไปที่มาเก๊า เข้าพักที่โรงแรม 6 ดาว โรงแรมมอร์เฟียส ซิตี้ ออฟ ดรีมส์ ท่องเที่ยวสถานที่สำคัญในมาเก๊าโดยมีเชฟวิลแมนเป็นผู้นำเที่ยว และรับประทานอาหารที่ภัตตาคาร 3 ดาว เจด ดรากอน รวมระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
- ทีมแพ้ (ทีมสีน้ำเงิน): ให้รับประทานข้าวต้มรวมมิตรที่มีวัตถุดิบทั้ง 12 ชนิดที่ใช้ในการแข่งขันรอบนี้ให้หมด
- ภารกิจคัดคนออก (Elimination challenge): ในสัปดาห์นี้ เชฟเอียนระบุว่าจะไม่มีการเปิดภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น เนื่องจากการบริการอาหารเย็นทั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมา มีข้อผิดพลาดจนถูกสั่งปิดครัวทุกครั้ง ทำให้คณะหัวหน้าเชฟพบว่าทั้งสองทีมมี "ตัวถ่วง" ที่เป็นต้นเหตุของการปิดครัว จึงปรับเป็นการแข่งขัน "กำจัดตัวถ่วง" โดยให้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นจานที่ดีที่สุดของแต่ละทีมจากรอบภารกิจส่วนบุคคล คือ แอ้ม (Best of the Best) และ เบียร์ (Best of the Worst) เลือกผู้เข้าแข่งขันที่ตนมองว่าเป็น "ตัวถ่วง" จำนวนทีมละ 3 คนให้ไปแข่งขันต่อ
- ผู้ที่ถูกเลือกให้เข้าแข่งขัน:
- ทีมสีแดง: ใบตอง เฟน และ จิ๊บ
- ทีมสีน้ำเงิน: เจมส์ เปียโร่ และ เคอร์
ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คน จะต้องทำเมนูคนละ 4 จาน ให้มีรสชาติ ความคิดสร้างสรรค์ และใช้ปลากะพงแช่แข็งเป็นวัตถุดิบหลัก โดยมีเวลาทำอาหาร 45 นาที ซึ่งคณะหัวหน้าเชฟจะสามารถให้คะแนนคนละ 3 คะแนนต่อจานตามเดิม ผู้ที่ได้คะแนนรวมน้อยที่สุดจะถูกคัดออกในทันที
- ผลการแข่งขัน:
คนที่ | ทีม | ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนนจากหัวหน้าเชฟ | ผล | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เชฟป้อม | เชฟวิลแมน | เชฟอ๊อฟ | เชฟเอียน | รวม | ||||
1 | ทีมสีแดง | เฟน | 1 | 1 | 2 | 1 | 5 | เข้ารอบ |
2 | ทีมสีน้ำเงิน | เปียโร่ | 2 | 2 | 2 | 2 | 8 | เข้ารอบ |
3 | ทีมสีแดง | จิ๊บ | 1 | 2 | 2 | 1 | 6 | เข้ารอบ |
4 | ทีมสีน้ำเงิน | เคอร์ | 0 | 0 | 1 | 1 | 2 | เข้ารอบ |
5 | ทีมสีแดง | ใบตอง | 1 | 0 | 0 | 1 | 2 | เข้ารอบ |
6 | ทีมสีน้ำเงิน | เจมส์ | ไม่มีผลคะแนน[ก] | ตกรอบ |
หมายเหตุ:
- ↑ คณะหัวหน้าเชฟไม่ให้คะแนนเนื่องจากไม่สามารถเสิร์ฟวัตถุดิบหลักลงในจานได้ทันเวลา
- การคัดออก (Elimination): เนื่องจากเจมส์ไม่สามารถเสิร์ฟวัตถุดิบหลักลงในจานได้ทันเวลา คณะหัวหน้าเชฟจึงไม่ให้คะแนน และเชฟเอียนได้ตัดสินให้เจมส์ออกจากการแข่งขันไปโดยปริยาย
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เจมส์
- ความคิดเห็นของเชฟเอียน: "จากการแข่งขันในวันนี้ เขายังจัดการเวลาได้ไม่ดี ทำให้ผมรู้ว่าเขายังไม่มีการพัฒนา ดังนั้น เขาไม่ควรได้อยู่ต่อ เพราะจะเป็นตัวถ่วงของทีมต่อไป"
ตอนที่ 6: การแก้มือในครัวของเชฟวิลแมน
[แก้]ออกอากาศ 10 มีนาคม 2567
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
- ภารกิจแบบทีม (Team challenge): ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องผลัดกันทำอาหารภายในทั้งสองทีมจำนวน 4 เมนู ตามที่หัวหน้าเชฟกำหนด ภายในเวลาคนละ 7 นาที ซึ่งในเวลานี้รวมถึงการสื่อสารและถ่ายทอดเมนูให้แก่เพื่อนร่วมทีมคนถัดไป โดยมีเพียงคนที่ทำอาหารคนแรกของแต่ละทีมเท่านั้นที่ทราบเมนูจากหัวหน้าเชฟ และเนื่องจากทีมสีน้ำเงินมีจำนวนสมาชิกน้อยกว่า คนสุดท้ายของทีมสีน้ำเงินจะมีเวลาในการทำอาหารมากกว่าที่ 14 นาที โดยลำดับของการทำอาหารของแต่ละทีม มีดังนี้
ลำดับที่ | ทีมสีแดง | ทีมสีน้ำเงิน |
---|---|---|
1 | บิว | เก่ง |
2 | ใบตอง | มารวย |
3 | จิ๊บ | เปียโร่ |
4 | ลูกจรรย์ | เคอร์ |
5 | แอ้ม | เบียร์ |
6 | เฟน |
- เหตุการณ์ในระหว่างการแข่งขัน: บิวฝ่าฝืนกฎในรอบนี้ เนื่องจากเมื่อถึงเวลาที่คนที่ทำอาหารคนแรกต้องออกจากครัว และคนที่ทำอาหารคนที่ 2 ต้องมาทำอาหารแทน บิวพยายามสื่อสารและถ่ายทอดเมนูให้แก่ใบตองให้ครบทั้ง 4 เมนู เชฟป้อมจึงพยายามสั่งให้บิวกลับขึ้นไปรอที่ห้องพักให้ได้
- ผลการแข่งขัน:
เมนูที่ | หัวหน้าเชฟ | ชื่อเมนู | คะแนน | |
---|---|---|---|---|
ทีมสีแดง | ทีมสีน้ำเงิน | |||
1 | เชฟวิลแมน | โพชเอ้กซอสฮอลันเดสโรสตีโปเตโต | 0 | 1 |
2 | เชฟป้อม | ข้าวสวยราดผัดฉ่าซีฟูดไข่ดาวกรอบไข่แดงเยิ้ม | 0 | 2 |
3 | เชฟอ๊อฟ | อูดงเนื้อไข่ออนเซน | 0 | 1 |
4 | เชฟเอียน | ราวีโอลีไข่แดงลาวาไส้ฟักทองบดรีคอตตาชีส ซอสพาร์เมซานเอสพูมา | 0 | 1 |
รวม (ผล) | 0 (แพ้) | 5 (ชนะ) |
- ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีน้ำเงิน
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ทีมชนะ (ทีมสีน้ำเงิน): ได้ไปรับประทานอาหารบุฟเฟต์ที่ทำโดยเชฟพฤกษ์ เชฟอ๊อฟ และเชฟอาร์ ที่ร้านโออิชิ แกรนด์ สาขาเมกาซิตี้ บางนา
- ทีมแพ้ (ทีมสีแดง): ให้ทำความสะอาดรถอีซูซุ มิวเอ็กซ์ จำนวน 3 คัน ให้พร้อมสำหรับการเดินทางของทีมสีน้ำเงิน
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 5:
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | อาหารทะเล | ||||
ผู้รับผิดชอบ | ทีมสีแดง | บิว | เฟน | จิ๊บ | ใบตอง | แอ้ม (เปลี่ยนตัว) | ลูกจรรย์ |
ทีมสีน้ำเงิน | มารวย | เปียโร่ | เก่ง | มารวย | เบียร์ | เคอร์ | |
เมนู |
|
|
|
|
- แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีแดงเท่านั้น คือ เชฟอาร์ต - ศุภมงคล ศุภพิพัฒน์ กรรมการตัดสินรายการท็อปเชฟไทยแลนด์ และภรรยา คุณปณดา บัณฑิตกฤษดา
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทีมสีน้ำเงินมีปัญหาเล็กน้อยในจานเรียกน้ำย่อย เพราะเบียร์ทำแซลมอนสุกเกินไป ต่อมาในอาหารจานหลัก ทีมสีน้ำเงินได้รับออเดอร์พิเศษที่ลูกค้าสั่งมาว่าไม่รับประทานเนื้อวัว เนื้อแกะ และอาหารทะเล เก่งจึงรับอาสาทำอาหารพิเศษจานนี้ และนำเสนอให้เชฟวิลแมนฟังก่อนนำไปบริการ ส่วนปัญหาเกิดขึ้นทั้งสองทีม โดยทั้งเปียโร่และเฟนทำเนื้อวัวดิบเกินไป ซึ่งเฟนแก้ไขได้ แต่ทีมสีน้ำเงินกลับมีจานถูกตีกลับ เพราะเปียโร่ทำเนื้อหมูห่อเยื่อไขมัน (Crépinette) ดิบ เชฟวิลแมนจึงสั่งให้เปียโร่กินให้หมดแล้วให้ทำใหม่ จากนั้นเชฟวิลแมนจึงนำไปบริการลูกค้าด้วยตนเอง พร้อมเรียกเปียโร่ออกมาขอโทษลูกค้า แต่เรื่องไม่จบ เพราะลูกค้าคนดังกล่าวถือจานเดินออกมาถามเชฟวิลแมนโดยตรงว่าเนื้อวัวที่ทำให้ใหม่นั้นไหม้หรือไม่ เชฟวิลแมนจึงอธิบายลูกค้าว่าเนื้อดังกล่าวมีสีเป็นปกติ ไม่ไหม้ หากไหม้เกรียมจะต้องเป็นสีดำทั้งชิ้น ซึ่งต่อมาลูกค้าคนนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้รับชมรายการ จากนั้น ทีมสีน้ำเงินยังมีปัญหาเพิ่มเติม โดยเบียร์ส่งจานปลาที่เก่งยังไม่ได้ใส่มันบดไปให้เชฟวิลแมน และยังถูกตำหนิจากการรวมเนื้อปลาสุกกับเนื้อปลาดิบไว้ในถาดเดียว ต่อมา เปียโร่ทำเนื้อวัวผิดระดับอีกถึง 2 ครั้ง แต่แก้ไขไม่ทัน เพราะลูกค้ากลับบ้านไปก่อน เชฟวิลแมนจึงรับไม่ได้และเขวี้ยงจานลงพื้นแตกต่อหน้าทีมสีน้ำเงิน และยังมีปัญหาต่อเนื่องในจานของหวาน เพราะเคอร์บีบครีมไม่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทีมได้นำออเดอร์ทั้งหมดบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ ทำให้เป็นครั้งแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ที่ไม่มีทีมใดถูกปิดครัวในระหว่างการบริการ แต่เนื่องจากทีมสีแดงบริการเสร็จก่อนทีมสีน้ำเงินทั้ง 3 คอร์ส เชฟวิลแมนจึงตัดสินให้ทีมสีแดงชนะในรอบนี้ และให้ทีมสีน้ำเงินไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้ตนคัดออก
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 5: ทีมสีแดงชนะ ทีมสีน้ำเงินแพ้
- การคัดออก (Elimination): เคอร์ได้เสนอชื่อเปียโร่และเบียร์ จากนั้นเชฟเอียนได้ให้เก่งระบุเหตุผลในกรณีการเสนอชื่อเปียโร่ โดยเก่งระบุว่า เปียโร่ทำเนื้อผิดระดับความสุก และขาดการสื่อสาร ทำให้ทีมทำงานช้า แต่เมื่อเชฟป้อมถามเปียโร่ เขาตอบว่าไม่เห็นด้วย และอธิบายว่าตนยอมรับเฉพาะข้อผิดพลาดของตนในการทำเนื้อผิดระดับเท่านั้น และขอโทษในกรณี Crépinette ที่ลูกค้าตำหนิ แต่บอกต่อว่า ตนไม่ได้เถียงลูกค้า เพียงแต่อธิบายว่าส่วนนั้นทำจากเนื้อวัว เชฟวิลแมนจึงสวนกลับไปทันทีว่า "คุณบ้าหรือเปล่าครับ" และอธิบายใหม่ซ้ำว่าส่วนนั้นคือเนื้อหมู ซึ่งรับประทานแบบดิบไม่ได้เพราะเป็นอันตราย ส่วนเมื่อเชฟป้อมถามต่อถึงคนที่ควรออก เปียโร่ตอบว่าเบียร์ควรออก เพราะทำแซลมอนและอาหารทะเลช้า เชฟอ๊อฟและเชฟวิลแมนจึงถามเพื่อนร่วมทีมที่เหลือ คือมารวย เบียร์ และเคอร์ ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 คนเห็นตรงกันว่าเปียโร่ควรออก ทำให้เชฟวิลแมนสรุปได้ว่า หากไม่นับเปียโร่ สมาชิกทีมสีน้ำเงินทั้ง 4 คนมีมติเอกฉันท์ให้เปียโร่ออก ดังนั้น จึงตัดสินให้เปียโร่ออกจากการแข่งขัน
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เปียโร่ และ เบียร์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เปียโร่
- การย้ายทีม: หลังจากที่เปียโร่ถูกคัดออกจากการแข่งขันไปแล้ว เชฟเอียนเห็นว่าจำนวนสมาชิกของทั้งสองทีมต่างกันมากกว่า 2 คนอีกครั้ง โดยทีมสีน้ำเงินเหลือสมาชิกเพียง 4 คน แต่ทีมสีแดงมีสมาชิกถึง 6 คน เพื่อให้จำนวนสมาชิกของทั้งสองทีมเท่ากัน จึงให้เวลา 1 นาที เพื่อให้ทีมสีแดงประชุมกันและเลือกสมาชิก 1 คนให้ย้ายไปอยู่ทีมสีน้ำเงิน แต่ถ้าหมดเวลา 1 นาทีแล้วทีมสีแดงยังไม่สามารถตกลงกันได้ คณะหัวหน้าเชฟจะเลือกสมาชิกให้ย้ายไปอยู่สีน้ำเงินเอง ในที่สุด ในช่วง 5 วินาทีสุดท้าย จิ๊บได้ยกมือขอย้ายทีม โดยที่สมาชิกทีมสีแดงคนอื่น ๆ ก็เห็นด้วย เชฟเอียนจึงอนุมัติการย้ายทีมในครั้งนี้ ทำให้จิ๊บเป็นสมาชิกของทีมสีน้ำเงินในทันที
- ผู้ที่ย้ายทีม: จิ๊บ (ทีมสีแดง → ทีมสีน้ำเงิน)
- ความคิดเห็นของเชฟวิลแมน: "โอกาส ไม่ใช่สิ่งที่หาได้ง่าย ๆ ถ้าเราให้โอกาสแล้ว เขายังทำผิดพลาด และไม่รักษาโอกาสนั้นไว้ เขาก็ไม่ควรอยู่ที่นี่"
ตอนที่ 7: การผนึกกำลังกันคุมครัวของเชฟเอียนและเชฟอ๊อฟ
[แก้]ออกอากาศ 17 มีนาคม 2567
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ เป็นครั้งแรกที่มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 2 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 2 โจทย์อาหาร ดังนี้
- เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
- เชฟอ๊อฟ/โจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
- ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): เนื่องจากในครั้งนี้มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 2 คน และมีการผสมผสานระหว่างอาหารตะวันตกสมัยใหม่และอาหารเอเชียแนวผสมผสาน ดังนั้นในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารทั้ง 2 โจทย์ข้างต้นให้ออกมาสอดคล้องกัน โดยใช้เห็ดหอมแห้งเป็นวัตถุดิบหลักในอาหารเอเชียแนวผสมผสาน และมีวงล้อที่ระบุวัตถุดิบและเครื่องมือสำหรับทำอาหารตะวันตกสมัยใหม่ โดยทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนครั้งละ 1 คน ให้ออกมารับวัตถุดิบ และ/หรือ เครื่องมือผ่านการหมุนวงล้อของเชฟเอียน เพื่อใช้ทำเมนูร่วมกับเห็ดหอมแห้งในแต่ละคู่ โดยมีเวลาทำอาหาร 45 นาที
- เหตุการณ์ในระหว่างการแข่งขัน: มีการเดิมพันขึ้นในคู่ของเฟนและเบียร์ โดยเชฟอาร์ได้เข้าไปหาทั้งคู่ และเดิมพันไว้ว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้ จะต้องทำผมสีหรือทรงเดียวกับฝ่ายที่ชนะ (เฟนทำผมทรงเดรดล็อคทุกช่อบนศีรษะ/เบียร์ย้อมสีผมเป็นสีทอง) ซึ่งเฟนยอมรับการเดิมพันในทันที ส่วนเบียร์พยายามปฏิเสธในตอนแรก ก่อนยอมรับการเดิมพันในภายหลัง แต่ในช่วงการตัดสิน เชฟวิลแมนได้วางเดิมพันให้ทั้งคู่เพิ่มว่า หากเสมอ จะต้องเปลี่ยนทรงผมทั้งคู่
- ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ | วัตถุดิบ/เครื่องมือ ที่ได้จากวงล้อ |
การแข่งขัน | |||
---|---|---|---|---|---|
ทีมสีแดง | ทีมสีน้ำเงิน | ||||
ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนน | ผู้เข้าแข่งขัน | |||
1 | เครื่องทำวาฟเฟิล | ใบตอง | 1 | 2 | เคอร์ |
2 | ช็อกโกแลต | ลูกจรรย์ | 1 | 2 | มารวย |
3 | เนยถั่ว | เฟน[ก] | 1 | 1 | เบียร์[ก] |
4 | มาร์ชแมลโลว์ | บิว[ข] | 2 | 2 | เก่ง |
5 | แคนาเดียนล็อบสเตอร์ | แอ้ม | 3 | 2 | จิ๊บ |
รวม | แพ้ | 8 | 9 | ชนะ |
หมายเหตุ:
- ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีน้ำเงิน
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ทีมชนะ (ทีมสีน้ำเงิน): ได้ไปผ่อนคลายและทำสปาที่บันยันทรีสปา ในโรงแรมบันยันทรี กรุงเทพ
- ทีมแพ้ (ทีมสีแดง): ให้ร่วมกันคัดแยกขยะทั้งหมด
- บทลงโทษพิเศษ: จากการเดิมพันในคู่ที่ 3 ส่งผลให้เฟนและเบียร์ต้องเปลี่ยนทรงผมให้เป็นสีและทรงเดียวกับฝั่งตรงข้าม
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 6: ในตอนนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟจำนวน 2 คน จึงแบ่งการคุมครัวคนละฝั่ง โดยเชฟเอียนคุมครัวทีมสีแดงเป็นหลัก ส่วนเชฟอ๊อฟคุมครัวสีน้ำเงินเป็นหลัก
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | อาหารทะเล | ||||
ผู้รับผิดชอบ | ทีมสีแดง | เฟน | ลูกจรรย์ | ใบตอง | แอ้ม | บิว | แอ้ม (เปลี่ยนตัว) |
ทีมสีน้ำเงิน | จิ๊บ | มารวย | เคอร์ | มารวย, เก่ง | เก่ง | เบียร์ | |
เมนู | อาหารตะวันตกสมัยใหม่ |
|
|
| |||
อาหารเอเชียแนวผสมผสาน |
|
|
|
- แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีน้ำเงินเท่านั้น คือ ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม และ พิม - ซอนย่า คูลลิ่ง นางแบบและนักแสดงชื่อดัง
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทีมสีแดงมีปัญหาเล็กน้อยในจานเรียกน้ำย่อย เพราะแอ้มบีบปูว์เรไม่ได้มาตรฐาน ต่อมาทั้งสองทีมมีปัญหาในอาหารจานหลัก โดยลูกจรรย์และมารวยทำเนื้อดิบเกินไป โดยทีมสีน้ำเงินแก้ไขได้ แต่ทีมสีแดง ลูกจรรย์ยังทำเนื้อสุกเกินไปเป็นครั้งที่ 2 เชฟเอียนจึงเขวี้ยงถาดลงพื้นและสั่งให้ทำใหม่ ต่อมาในจานของหวาน ทีมสีแดงมีจานฮาร์เวสต์ที่ถูกตีกลับ เพราะไอศกรีมละลาย แต่พวกเขาแก้ไขถึงสองครั้งไม่สำเร็จ เชฟเอียนจึงต้องเรียกทั้งทีมไปคุยกันเป็นการส่วนตัวภายในห้องเก็บวัตถุดิบ โดยข้างในนั้นเชฟเอียนได้ตำหนิใบตองว่าใช้เวลาทำคาราเมล 2 ชั่วโมงแต่ไม่สำเร็จ ใบตองจึงชี้แจงว่าเป็นการรับงานต่อจากแอ้มจึงต้องแก้ไขหลายส่วน และจะกลับไปแก้ไข แต่หลังจากคุยกันแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น เพราะลูกจรรย์กับใบตองจัดจานฟลาน 2 จานไม่ถูกต้อง เชฟเอียนจึงเขวี้ยงทั้ง 2 จานลงพื้นแตกต่อหน้าทีมสีแดงจนแขก VIP ของทีมสีน้ำเงินตกใจกลัว และสั่งให้ทำใหม่ และที่สำคัญ มีจานฮาร์เวสต์ถูกตีกลับมายังใบตองและแอ้มอีกถึง 2 จาน เพราะพบสิ่งแปลกปลอม โดยครั้งที่ 1 เป็นเส้นผม และครั้งที่ 2 เป็นเศษกระดาษ เชฟเอียนจึงสั่งให้ทำใหม่ จากนั้นจึงพาทั้งคู่นำจานใหม่ไปบริการด้วยตนเองเพื่อขอโทษลูกค้าทั้ง 2 ครั้ง ส่วนทีมสีน้ำเงินมีปัญหาเพียงเบียร์ที่ส่งจานของหวานไปให้เชฟอ๊อฟช้า อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทีมได้นำออเดอร์ทั้งหมดบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ หลังจากหัวหน้าเชฟและผู้ช่วยเชฟประเมินการทำงานแล้ว เชฟเอียนเห็นว่าทั้งสองทีมยังบริการไม่ราบรื่นและสมบูรณ์พอ แต่ทีมสีแดงมีข้อผิดพลาดมากกว่าจึงตัดสินให้แพ้ในรอบนี้ และให้ไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้คัดออก
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 6: ทีมสีแดงแพ้ ทีมสีนํ้าเงินชนะ
- การคัดออก (Elimination): เฟนได้เสนอชื่อแอ้มและใบตอง โดยระบุเหตุผลว่าทั้งคู่ทำของหวานผิดพลาดจนถูกตีกลับเนื่องจากมีเส้นผมและเศษกระดาษในจาน เชฟวิลแมนจึงถามแอ้มถึงข้อผิดพลาดดังกล่าว แอ้มสารภาพว่าผิดพลาดจริง โดยออกไปรับผิดชอบจานที่มีเส้นผมและเศษกระดาษไปแล้ว แต่สรุปไม่ได้ว่าเส้นผมในจานดังกล่าวว่ามาจากไหน เพราะเป็นการทำงานแบบทีม และมองว่าใบตองควรถูกคัดออก เชฟป้อมจึงถามใบตอง ใบตองจึงอธิบายว่า ตอนแรกตนรับผิดชอบเครื่องเคียง แต่หลังจากเชฟเอียนเข้ามาตรวจสอบในช่วง 15 นาทีก่อนเปิดภัตตาคารแล้ว พบว่าแอ้มยังทำคาราเมลไม่สำเร็จ จึงสั่งเปลี่ยนหน้าที่ ตนจึงไปทำแทนเพราะเป็นคนเดียวที่เคยทำของหวานทั้งของเชฟเอียนและเชฟอ๊อฟ เชฟป้อมจึงสรุปว่าของหวานเสียหายตั้งแต่แอ้มทำอยู่ และใบตองต้องมาแก้ไขส่วนนี้แทน ใบตองจึงเสริมว่า ตนคิดว่าเป็นการช่วยเหลือกันในทีม และรู้สึกไม่ดีที่แอ้มบอกว่าตนควรออก เพราะตนช่วยเหลือแอ้มมาตลอด เมื่อเชฟป้อมถามว่าใครผิด ใบตองจึงตอบว่าเป็นแอ้ม เพราะตนไม่ได้ร่วมจัดจานฮาร์เวสต์ เชฟเอียนจึงถามเพื่อนร่วมทีมที่เหลือ ซึ่งบิวและลูกจรรย์เห็นตรงกันว่าแอ้มควรออก ดังนั้น เชฟอ๊อฟจึงให้โอกาสใบตองกลับไปพัฒนาตนเองและกลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีม แล้วเชฟเอียนก็ตัดสินให้แอ้มออกจากการแข่งขัน
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: แอ้ม และ ใบตอง
- ผู้ที่ถูกคัดออก: แอ้ม
- ความคิดเห็นของเชฟเอียน: "แอ้ม คือคนที่ย่ำอยู่กับที่ และไม่สามารถพัฒนาตัวเอง ผมไม่เชื่อว่าเขาจะรับผิดชอบงานที่ยิ่งใหญ่ได้ และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้ผมเลือกเขาออกจากครัว"
ตอนที่ 8: ความโหดคูณ 2 กับการคุมครัวของเชฟป้อมและเชฟวิลแมน
[แก้]ออกอากาศ 24 มีนาคม 2567
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 2 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 2 โจทย์อาหารเช่นเดิม ดังนี้
- เชฟป้อม/โจทย์อาหารไทยร่วมสมัย
- เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
- ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในรอบนี้ มีวัตถุดิบหลักคือ หอยนางรม กระดูกหมู หางล็อบสเตอร์ ปลาเค็ม สันในโคขุน หอยเสียบ ปลาทูสด และขาวัว โดยทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนออกมาครั้งละ 1 คน โดยมีกล่องปริศนาด้านหน้า ภายในบรรจุสิ่งของปริศนา ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้มือเข้าไปคลำเท่านั้น และทายให้ถูกภายใน 30 วินาที ผู้ที่ทายถูกจะได้เลือกวัตถุดิบข้างต้น ส่วนผู้ที่ทายผิด ฝ่ายตรงข้ามในคู่นั้น ๆ จะเป็นผู้เลือกวัตถุดิบข้างต้นให้ แต่หากผิดทั้งคู่ หัวหน้าเชฟจะเป็นผู้เลือกวัตถุดิบให้ จากนั้นมีเวลา 45 นาทีในการทำเมนูจากวัตถุดิบที่ตนได้รับ
- ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ | การแข่งขัน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทีมสีแดง | ทีมสีน้ำเงิน | |||||||
วัตถุดิบที่ได้ | สิ่งของใน กล่องปริศนา |
ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนน | ผู้เข้าแข่งขัน | สิ่งของใน กล่องปริศนา |
วัตถุดิบที่ได้ | ||
1 | หางล็อบสเตอร์ | กบ | บิว | 3 | 3 | มารวย | ทุเรียน | หอยนางรม |
2 | ปลาเค็ม | กบ | ใบตอง | 0 | 0 | เคอร์ | ปลาดุก | ขาวัว |
3 | สันในโคขุน | ลูกจระเข้ | ลูกจรรย์ | 1 | 2 | เก่ง | ปูน้ำจืด | ปลาทูสด |
4 | ปลาทูสด | หัวหมู | เฟน | 2 | 2 | เบียร์, จิ๊บ | เงาะ | หางล็อบสเตอร์ |
รวม | แพ้ | 6 | 7 | ชนะ |
หมายเหตุ: ตัวเอน คือผู้เข้าแข่งขันและสิ่งของในกล่องปริศนาที่ทายถูก รวมถึงวัตถุดิบที่ได้เลือกด้วยตนเอง
- ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีนํ้าเงิน
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ทีมชนะ (ทีมสีน้ำเงิน): ได้ไปเล่นน้ำที่สวนนํ้าโคลัมเบีย พิคเจอร์ส อควาเวิร์ส อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
- ทีมแพ้ (ทีมสีแดง): ให้ทำของกินเล่นเป็นจานพิเศษเพื่อบริการให้ลูกค้าจำนวน 100 คน ก่อนรับประทานอาหารคอร์สหลักในภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 7: ในตอนนี้ เป็นการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟจำนวน 2 คน จึงแบ่งการคุมครัวคนละฝั่ง โดยเชฟป้อมคุมครัวทีมสีแดงเป็นหลัก ส่วนเชฟวิลแมนคุมครัวทีมสีน้ำเงินเป็นหลัก
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | อาหารทะเล | ||||
ผู้รับผิดชอบ | ทีมสีแดง | บิว | ใบตอง | เฟน | ลูกจรรย์ | ||
ทีมสีน้ำเงิน | เคอร์ | เก่ง | เบียร์ | เก่ง | มารวย | จิ๊บ | |
เมนู | อาหารไทยร่วมสมัย |
|
|
| |||
อาหารตะวันตกดั้งเดิม |
|
|
|
หมายเหตุ: ตัวเอน คือ เมนูใหม่
- จานพิเศษก่อนมื้ออาหาร: บาร์ของทอดก่อนอาหารมือหลัก พร้อมเมนูสลัดผัก
- แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีแดงเท่านั้น คือ เชฟป้อม - ธนรักษ์ ชูโต เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย และภรรยา เชฟตูน - สุมลนาถ บัณฑิตรัชต์ ผู้เข้าแข่งขัน ท็อปเชฟไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 2
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทีมสีแดงมีปัญหากับจานเรียกน้ำย่อยเล็กน้อย โดยเฟนทำสแกลลอปดิบ แต่แก้ไขได้ ต่อมาทั้งสองทีมมีปัญหาในอาหารจานหลัก โดยทีมสีน้ำเงิน เบียร์ใส่ข้าวในจานกุ้งน้อยเกินไป เชฟป้อมจึงสั่งแก้ ส่วนทีมสีแดงไม่ได้เตรียมอาหารไว้ มีปัญหาในการจัดการเวลา และเฟนทำไข่เค็มเล็กเกินไป ต่อมาทีมสีน้ำเงินยังพบปัญหาต่อ โดยเบียร์จัดเครื่องเคียงในจานเป็ดไม่ครบ เชฟวิลแมนจึงทุ่มจานลงบนโต๊ะแตกต่อหน้าทีมสีน้ำเงินและสั่งให้ทำใหม่ และเคอร์ซึ่งมาช่วยเบียร์จัดเครื่องเคียงทำกระเทียมต้น (Leek) ไหม้ เชฟวิลแมนจึงสั่งให้เคอร์กิน เมื่อคายออกมาแล้วจึงให้ทำใหม่ แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีปัญหาอย่างอื่น แต่ทีมสีแดงยังมีปัญหาหลายอย่าง จากความผิดพลาดของใบตอง ทั้งทำเนื้อเป็ดสุกเกินไป ทำกุ้งแห้งจนเชฟป้อมพบว่ามันกุ้งหายไป และแกะกุ้งผิดพลาดอีก 2 ตัว เชฟป้อมจึงเตือนใบตองว่าวัตถุดิบทั้งหมดคือต้นทุน พร้อมเรียกสติใบตองให้กลับคืนมา ในที่สุด เมื่อลูกจรรย์นำจานเป็ดออกมาวางเกินมาถึง 3 จาน แต่ไม่มีจานกุ้ง ทำให้เชฟป้อมเห็นว่าทีมสีแดงมีปัญหาในการจัดการเวลาและวัตถุดิบ จนมีออเดอร์ตกค้างเป็นจำนวนมาก จึงสั่งปิดครัวทีมสีแดงในทันที และให้ทีมสีแดงไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้คัดออก หลังจากทีมสีแดงถูกปิดครัวแล้ว ทีมสีน้ำเงินก็นำออเดอร์ที่เหลือบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ รวมถึงบริการแขก VIP แทนทีมสีแดงด้วย ทำให้พวกเขาเป็นทีมที่ชนะในรอบนี้
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 7: ทีมสีแดงถูกปิดครัว ทีมสีน้ำเงินชนะ
- การคัดออก (Elimination): เฟนได้เสนอชื่อตนเองและใบตอง โดยระบุว่า ในความคิดแรก ตนมองว่าใบตองควรออก แต่กลับระบุต่อว่า ปัญหาของทีมเกิดขึ้นตั้งแต่จานเรียกนํ้าย่อยซึ่งบิวรับผิดชอบ ทำให้ทุกคนต้องไปช่วย จึงเปลี่ยนความคิดในภายหลังว่าบิวควรออก เชฟอ๊อฟจึงถามว่าทำไมทีมสีแดงไม่เสนอชื่อบิว บิวจึงชี้แจงว่าตนได้มอบหมายให้เฟนทําเฉพาะอกไก่ที่ตนทำแล้วส่วนหนึ่งซึ่งเป็นโปรตีน และตุอีลซึ่งเป็นขนม ที่เหลือตนทำเองทั้งหมด แต่เชฟวิลแมนเห็นว่าเฟนทำสแกลลอปดิบ และเชฟป้อมเสริมว่ามีปัญหาเครื่องเคียงทำให้ช้าทั้งหมด แต่เมื่อถามอีกครั้งถึงคนที่ควรออก เฟนกลับยังคงยืนยันว่าเป็นบิว ส่วนใบตองมองว่าเฟนควรถูกคัดออก เพราะในการแบ่งงานในตอนแรก เฟนจะทำอาหารทะเล แต่เมื่อถึงช่วงบริการ ใบตองกลับทำเพียงคนเดียว แต่เชฟวิลแมนระบุว่าใบตองทำเป็ดสุกเกินไปจนแห้ง และเชฟป้อมเสริมว่าใบตองย่างกุ้งแล้วเปลือกไหม้ มีเศษสีดำลงไปในจาน แต่เนื้อกุ้งด้านในดิบ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงตัวเดียว ทำให้ภัตตาคารเสียต้นทุน เมื่อเชฟป้อมถามอีกครั้งถึงคนที่ควรออก ใบตองตอบทันทีว่าควรเป็นตน ดังนั้น ผู้ที่เชฟวิลแมนตัดสินให้ออกจากแข่งขัน คือ ใบตอง โดยใบตองได้โบกมือลาเพื่อนร่วมทีมสีแดง กล่าวขอบคุณคณะหัวหน้าเชฟ ก่อนหันไปโบกมือลาทีมสีน้ำเงินที่นั่งอยู่ด้านข้าง แล้วเดินออกจากภัตตาคาร จากนั้นเชฟเอียนได้ให้เฟนกลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีม
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เฟน และ ใบตอง
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ใบตอง
- ความคิดเห็นของเชฟป้อม: "ใบตอง ถ้าเขามีความรอบคอบกว่านี้ ก็คงไม่สร้างปัญหาให้ทีมตลอดการแข่งขันจนต้องปิดครัว และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้เขาต้องออกจากเฮลล์คิทเช่น"
ตอนที่ 9: การร่วมกันคุมครัวของเชฟสายโหดอย่างเชฟวิลแมนและเชฟเอียน
[แก้]ออกอากาศ 31 มีนาคม 2567
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 2 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 2 โจทย์อาหารเช่นเดิม ดังนี้
- เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
- เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
- การย้ายทีม: ก่อนเริ่มการแข่งขัน เชฟเอียนพบว่าทีมสีน้ำเงินมีสมาชิกถึง 5 คน แต่ทีมสีแดงเหลือสมาชิกเพียง 3 คน จึงเห็นว่าสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ทั้งสองทีมแข่งขันกันได้ยาก เพื่อให้จำนวนสมาชิกของทั้งสองทีมเท่ากัน จึงถามความประสงค์ในการย้ายทีมของสมาชิกทีมสีน้ำเงิน ปรากฏว่ามีผู้ที่ยกมือขอย้ายทีม 2 คน คือ มารวย และเบียร์ จากนั้นเชฟเอียนได้ถามเหตุผลในการย้ายทีมของทั้ง 2 คน และหันไปถามทีมสีแดงถึงสมาชิกทีมสีน้ำเงินที่ต้องการ ซึ่งบิวตอบว่าต้องการมารวย แต่หลังจากนั้นเชฟอ๊อฟได้ให้ทุกคนย้ายกลับสู่ทีมเดิมของแต่ละคนในสัปดาห์แรกทั้งหมด ทำให้บิวกลับไปเป็นสมาชิกของทีมสีน้ำเงิน และเคอร์กับจิ๊บกลับไปเป็นสมาชิกของทีมสีแดงในทันที
- ผู้ที่ย้ายทีม:
- ทีมสีแดง → ทีมสีน้ำเงิน: บิว
- ทีมสีน้ำเงิน → ทีมสีแดง: เคอร์ และ จิ๊บ
- ภารกิจแบบทีม (Team challenge): ในรอบนี้ ทั้งสองทีมจะต้องทำอาหารในรูปแบบ "Happy Meal" โดยใช้วัตถุดิบหลักรสขม ได้แก่ มะระ สะเดา และใบขี้เหล็ก เพื่อบริการให้เชฟทั้ง 6 คน และเด็ก ๆ อายุ 8-12 ปี จำนวน 50 คน รวมทั้งหมด 56 จาน ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับภารกิจแบบทีมของมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ในทุกฤดูกาล โดยมีเวลาทำอาหาร 45 นาที
- ผลการแข่งขัน: ในรอบนี้ เชฟทั้ง 6 คน มีคะแนนคนละ 3 คะแนน และเด็ก ๆ มีคะแนนคนละ 1 คะแนน รวมทั้งหมด 68 คะแนน
ทีม | เมนู | คะแนน | ผล |
---|---|---|---|
ทีมสีแดง | ลาซัญญาผักขี้เหล็ก มะระทอดกรอบ และไอศกรีมเกล็ดหิมะสะเดาส้มเสาวรส | 26 | แพ้ |
ทีมสีน้ำเงิน | เครปผลไม้ ซอสน้ำส้มมะระเจลลี กับไอศกรีมมะระ | 42 | ชนะ |
- ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีน้ำเงิน
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ทีมชนะ (ทีมสีน้ำเงิน): ได้ปลดปล่อยและระบายความเครียด โดยการปาจานใส่หุ่นของคณะหัวหน้าเชฟที่หน้าภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น (ต่อมาใช้เป็นเกมในงานเฮลิโคเนีย ฟู้ด เฟสติวัล ตอน Dark Valentine)
- ทีมแพ้ (ทีมสีแดง): ให้ขนวัตถุดิบทั้งหมดรวมมากกว่า 50 กล่องที่ใช้ในการเปิดภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น จากรถที่เข้ามาส่งในครัว แล้วจัดให้เข้าที่ทั้งฝั่งสีแดงและสีน้ำเงิน
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 8: ในตอนนี้ เป็นการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟ 2 คน จึงแบ่งการคุมครัวคนละฝั่ง โดยเชฟวิลแมนคุมครัวทีมสีแดงเป็นหลัก ส่วนเชฟเอียนคุมครัวทีมสีน้ำเงินเป็นหลัก
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | ||||
ผู้รับผิดชอบ | ทีมสีแดง | จิ๊บ | เฟน, ลูกจรรย์ | เคอร์ | ||
ทีมสีน้ำเงิน | เก่ง | เบียร์ | บิว | มารวย | ||
เมนู | อาหารตะวันตกดั้งเดิม |
|
|
| ||
อาหารตะวันตกสมัยใหม่ |
|
|
|
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทั้งสองทีมมีปัญหาตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยทีมสีแดง ลูกจรรย์ทำล็อบสเตอร์ดิบ ส่วนทีมสีน้ำเงินจัดจานล่าช้าจนเกินเวลา ทำให้เบียร์ต้องวิ่งไปช่วย แต่กลับส่งผลให้เนื้อ 4 ชิ้นบนกระทะไหม้ เชฟเอียนจึงสั่งห้ามนำไปบริการ ต่อมา มีจานปูของทีมสีแดงถูกตีกลับผ่านเชฟป้อมเพราะพบก้างปู และเก่งจัดจานปูผิดจากต้นฉบับ รวมถึงพยายามโกหกเชฟวิลแมนว่าผักเน่าจนไม่เหลือ ต่อมาในอาหารจานหลักยังมีปัญหาทั้งสองทีม โดยบิวมีปัญหากับการจดรายการอาหาร เฟนทำเนื้อผิดระดับถึง 2 ครั้ง และมีจานของทีมสีแดงถูกตีกลับอีกครั้ง เพราะลูกจรรย์ทำปลาดิบจนลูกค้าตัดปลาไม่ขาด เชฟวิลแมนจึงเขวี้ยงจานแตกกลางครัวทีมสีแดงและสั่งให้ทำใหม่ เมื่อทำใหม่เสร็จแล้ว และเชฟวิลแมนตรวจสอบแล้วว่าถูกต้อง จึงให้ลูกจรรย์นำจานใหม่ไปบริการด้วยตนเองพร้อมขอโทษลูกค้า แต่ต่อมา ทีมสีน้ำเงินก็มีจานเนื้อวัวถูกตีกลับเช่นกัน เพราะบิวทำเห็ดปูว์เรเย็นเกินไป เมื่อทำใหม่เสร็จแล้ว เชฟเอียนจึงพาบิวและเก่งนำจานใหม่ไปบริการพร้อมขอโทษลูกค้าเช่นกัน ต่อมา เฟนทำเนื้อผิดระดับอีกถึง 3 ครั้ง เชฟเอียนจึงไล่เฟนออกจากครัวเป็นครั้งที่ 2 จิ๊บ (ที่ทำงานในแผนกจานเรียกน้ำย่อย) จึงมาทำเนื้อแทน แต่เนื้อก็ยังดิบเกินไป เชฟวิลแมนจึงรับเนื้อของทีมสีน้ำเงินไปบริการแทน แต่ทีมสีน้ำเงินกลับมีปัญหาในจานของหวานแทน เพราะเชฟเอียนตำหนิมารวยที่บอกเวลาทำทาร์ตผิดจากที่ทำจริง และหลังจากจานดังกล่าวถูกนำไปบริการแล้ว ก็ถูกตีกลับผ่านเชฟอ๊อฟเพราะแป้งดิบ แต่มารวยแก้ไขไม่สำเร็จ เชฟวิลแมนจึงไล่มารวยออกจากครัวไปอีก 1 คน ทีมสีน้ำเงินที่เหลือ ทั้งเก่ง (ที่ทำงานในแผนกจานเรียกน้ำย่อย) บิว (ที่ทำงานในแผนกเครื่องเคียงและซอส) และเบียร์ (ที่ทำงานในแผนกเนื้อสัตว์) จึงมาทำของหวานแทน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทีมได้นำออเดอร์ทั้งหมดบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์พร้อมกัน แต่เนื่องจากทั้งสองทีมมีข้อผิดพลาดเหมือนกัน เชฟเอียนจึงตัดสินให้ทั้งสองทีมเสมอกัน
- ผู้ที่ถูกไล่ออกจากครัว: เฟน และ มารวย
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 8: เสมอกัน
- การคัดออก (Elimination): เนื่องจากเสมอกัน จึงให้ทั้งสองทีมพักร่วมกันในห้องพักรวม จากนั้นเชฟพฤกษ์ได้เดินเข้ามาและบอกให้ทุกคนประชุมร่วมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คน จากทีมใดก็ได้ ไปให้เชฟวิลแมนและเชฟเอียนคัดออก หลังจากกลับมาที่ครัว จิ๊บได้เสนอชื่อเฟนและมารวย ซึ่งเป็น 2 คนที่ถูกไล่ออกจากครัวทั้งคู่ จากนั้นเชฟเอียนได้ให้ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือแสดงความคิดเห็นและร่วมตัดสินเกี่ยวกับข้อผิดพลาดของทั้งคู่ โดย เคอร์ บิว จิ๊บ เก่ง และเบียร์ เห็นว่าเฟนควรออก มีเพียงลูกจรรย์ที่เห็นว่ามารวยควรออก ดังนั้น ผู้ที่เชฟวิลแมนตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ เฟน
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เฟน และ มารวย
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เฟน
- ความคิดเห็นของเชฟวิลแมน: "ครั้งนี้ผมไม่ได้เลือก แต่ผมให้ทุกคนเป็นผู้เลือก เพราะมันเห็นชัดเจนว่า ใครควรจะอยู่ หรือ ใครควรจะออกจากเฮลล์คิทเช่นแห่งนี้"
ตอนที่ 10: เชฟป้อมและเชฟอ๊อฟ จะมาเฆี่ยนทุกคน
[แก้]ออกอากาศ 7 เมษายน 2567
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 2 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 2 โจทย์อาหารเช่นเดิม ดังนี้
- เชฟอ๊อฟ/โจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
- เชฟป้อม/โจทย์อาหารไทยร่วมสมัย
- ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในครั้งนี้ ทางรายการได้เชิญนักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชาติไทยชุดเหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2022 จำนวน 4 คน มาแสดงความสามารถในการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อให้ผู้เข้าแข่งขันรับชม โดยมีนักกีฬาเซปักตะกร้อที่มา ดังนี้
- เรืออากาศเอก ศิริวัฒน์ สาขา
- เรืออากาศโท วิชาญ เต็มโคตร
- มฤคินทร์ พันธ์มกร
- จ่าอากาศเอก วรายุทธ จันทรเสนา
จากนั้นทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนครั้งละ 1 คน ให้ออกมาเตะตะกร้อให้ลงกล่อง โดยให้ทีมสีแดงเตะตะกร้อเพื่อเลือกประเภทอาหารไทย คือ ส้มตำปูปลาร้า ซุปหน่อไม้ ลาบปลาดุก หมกปลาซิว ต้มขมเครื่องในวัว และ แกงอ่อมไก่บ้าน และให้ทีมสีน้ำเงินเตะตะกร้อเพื่อเลือกสัญชาติอาหาร คือ เวียดนาม ฝรั่งเศส กัวเตมาลา อินเดีย ญี่ปุ่น และ อิตาลี จากนั้นให้แต่ละคู่ทำเมนูจากอาหารไทยผสมกับสัญชาติอาหารที่คู่นั้น ๆ เตะตะกร้อลง ภายในเวลา 45 นาที และเนื่องจากสีแดงมีสมาชิกน้อยกว่า ทีมสีแดงจะต้องทำจานสุดท้ายร่วมกันเพิ่มอีก 1 จาน
- ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ | การแข่งขัน | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
ทีมสีแดง | ทีมสีน้ำเงิน | |||||
อาหารไทย | ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนน | ผู้เข้าแข่งขัน | สัญชาติ | ||
1 | ซุบหน่อไม้ | เคอร์ | 2 | 3 | บิว | ญี่ปุ่น |
2 | ลาบปลาดุก | ลูกจรรย์ | 1 | 1 | เบียร์ | อิตาลี |
3 | หมกปลาซิว | จิ๊บ | 3 | 0 | มารวย | อิตาลี |
4 | ต้มขมเครื่องในวัว | จิ๊บ, เคอร์, ลูกจรรย์ | 2 | 3 | เก่ง | กัวเตมาลา |
รวม | ชนะ | 8 | 7 | แพ้ |
- ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีแดง
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ทีมชนะ (ทีมสีแดง): ได้ไปท่องเที่ยวแนวผจญภัยด้วยการโหนสลิงชมวิวทิวทัศน์ท่ามกลางธรรมชาติ (Zip line) ที่ Tree Top Adventure Park จังหวัดกาญจนบุรี
- ทีมแพ้ (ทีมสีน้ำเงิน): ให้ทำ Amuse-Bouche (ของว่างพอดีคำ) เพื่อบริการลูกค้าทั้ง 100 คน โดยใช้โปรตีน 3 อย่าง ได้แก่ หอยเชลล์ กุ้ง และปลาแซลมอน รวมถึงน้ำผลไม้หลากรส และโยเกิร์ตจากประเทศฝรั่งเศส เป็นองค์ประกอบหลัก
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 9: ในตอนนี้ เป็นการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟ 2 คน จึงแบ่งการคุมครัวคนละฝั่ง โดยเชฟอ๊อฟคุมครัวทีมสีแดงเป็นหลัก ส่วนเชฟป้อมคุมครัวทีมสีน้ำเงินเป็นหลัก
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | ||||
ผู้รับผิดชอบ | ทีมสีแดง | ลูกจรรย์ | เคอร์ | จิ๊บ | ||
ทีมสีน้ำเงิน | มารวย | บิว | เก่ง | เบียร์ | ||
เมนู | อาหารเอเชียแนวผสมผสาน |
|
|
| ||
อาหารไทยร่วมสมัย |
|
|
|
- จานพิเศษก่อนมื้ออาหาร: Seafood Amuse-Bouche
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทั้งสองทีมมีปัญหาตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยทีมสีน้ำเงิน มารวยทำจานทาโก้ส่งให้เชฟป้อมช้าเกินไป ทำให้จานยำทวายถูกส่งกลับ ส่วนทีมสีแดง มีไข่นกกระทาไหลเยิ้มในจานทาโก้ เชฟอ๊อฟจึงสั่งให้ลูกจรรย์กลับไปทำใหม่ ต่อมาทั้งสองทีมมีปัญหาในอาหารจานหลัก โดยทั้งบิวและเคอร์ทำเนื้อผิดมาตรฐานหลายครั้ง และเคอร์ยังทำซอสไหม้ด้วย ในที่สุด เนื้อของทั้งสองทีมก็หมดลงจนไม่สามารถบริการลูกค้าได้อีก เชฟป้อมและเชฟอ๊อฟจึงต้องเปลี่ยนเมนูให้ลูกค้าใหม่จากเนื้อเป็นกุ้งแทน จากนั้นทั้งคู่จึงพาบิวและเคอร์นำจานกุ้งไปบริการด้วยตนเองเพื่อขอโทษลูกค้า ส่วนของหวาน แม้ทั้งสองทีมจะไม่มีปัญหา แต่ในทีมสีน้ำเงิน เก่งและเบียร์เกิดความไม่พอใจ เพราะลูกค้าคนสุดท้ายไม่ยอมเรียกจานของหวานจากทีมของตนสักที จนทีมสีแดงนำจานของหวานไปบริการลูกค้าเสร็จก่อนแล้ว จึงเกิดความกังวลว่าพวกเขาจะแพ้ในรอบนี้ แต่ในที่สุด ทีมสีน้ำเงินก็รอจนลูกค้าคนสุดท้ายเรียกจานของหวานและบริการให้จนเสร็จสิ้น จากนั้น เชฟป้อมได้แจ้งว่า ถึงแม้ว่าทีมสีแดงจะบริการลูกค้าเสร็จก่อน แต่ไม่มีผลต่อการตัดสิน เพราะขึ้นอยู่กับลูกค้า ทั้งความพึงพอใจในการเรียกอาหาร และระยะเวลาในการรับประทานอาหาร นอกจากนี้ยังสอนทีมสีน้ำเงินว่า หากลูกค้าคนสุดท้ายยังไม่เดินออกจากภัตตาคาร จะต้องบริการให้เสร็จสมบูรณ์ ไม่ควรบ่นหรือแสดงความไม่พอใจ จากนั้นได้สรุปผลการประเมินการทำงานว่า ทั้งสองทีมมีข้อผิดพลาดใกล้เคียงกัน จึงตัดสินให้ทั้งสองทีมเสมอกัน และให้ทั้งสองทีมไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขันทีมละ 1 คนมาให้คัดออก
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 9: เสมอกัน
- การคัดออก (Elimination): เคอร์และบิวได้เสนอชื่อตนเอง โดยเคอร์อธิบายว่าตนเองทำเนื้อพลาด จนต้องเปลี่ยนเมนูให้ลูกค้าเป็นกุ้งแทน เชฟอ๊อฟเสริมอีกว่าเคอร์มีข้อผิดพลาดเรื่องความล่าช้าในการจัดการเนื้อและกุ้งด้วย ส่งผลให้ลูกค้าต้องรอนาน ส่วนบิวอธิบายว่าตนเองจัดการเนื้อผิดพลาดถึง 4-5 ครั้ง ทำให้เนื้อเสียมากถึง 7 ชิ้น และกล่าวเพิ่มเติมว่า ตนยอมรับในข้อผิดพลาด และมีความเป็นนักสู้ พร้อมแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นโดยจะไม่ผิดพลาดซ้ำอีก จากนั้นเมื่อถูกถามว่าใครควรออก เคอร์มองว่าบิวควรถูกคัดออก เพราะเขาจัดการเนื้อผิดพลาดมากกว่าตนที่ผิดพลาดเพียง 3 ชิ้นสุดท้ายเท่านั้น ส่วนบิวก็มองว่าตนควรถูกคัดออก เพราะตนทำพลาดจนไม่สามารถบริการเนื้อได้ครบทุกออเดอร์ หลังจากที่คณะหัวหน้าเชฟปรึกษาหารือกันแล้ว ในตอนแรก เชฟป้อมได้ตัดสินให้ทั้งเคอร์และบิวออกจากการแข่งขันทั้งคู่ แต่หลังจากนั้น เชฟป้อมได้เสริมว่า ในการบริการอาหารเย็นทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งสองทีมใช้เวลาจัดการภายในครัวมากถึง 2 ชั่วโมง 30 นาที แต่ในครั้งนี้ ทั้งสองทีมใช้เวลาจัดการไม่ถึง 2 ชั่วโมง ดังนั้น เชฟป้อมจึงตัดสินใจใหม่ โดยไม่คัดผู้เข้าแข่งขันออกในครั้งนี้
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เคอร์ และ บิว
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ไม่มี
- ความคิดเห็นของเชฟป้อม: "วันนี้ ถือว่าทั้งสองทีมมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น อยากให้ทั้งสองทีมมีกำลังใจที่จะสู้ต่อ หวังว่าครั้งหน้า เขาจะทำได้ดียิ่งขึ้นไปอีก"
ตอนที่ 11: ประเดิมความโหดครั้งแรกของรอบเสื้อดำ (Black Jacket) ด้วย Head Chef 3 คน
[แก้]ออกอากาศ 21 เมษายน 2567
ก่อนเริ่มการแข่งขัน ได้มีกระดาษสีดำโปรยใส่ผู้เข้าแข่งขัน และมีตู้แสดงจำนวน 7 ตู้ เลื่อนลงมาจากด้านบน ภายในตู้แสดงมีเสื้อยูนิฟอร์มสีดำ (Black Jacket) ซึ่งเชฟเอียนระบุว่า "ผู้ที่ได้ Black Jacket ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ จากทุกโจทย์ ทุกสัปดาห์ จนเป็นกลุ่มคนกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ในเฮลล์คิทเช่น" จากนั้นคณะหัวหน้าเชฟได้ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 7 คนเข้าไปรับเสื้อดำมาใส่
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ เป็นครั้งแรกมีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 3 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 3 โจทย์อาหาร ดังนี้
- เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
- เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
- เชฟป้อม/โจทย์อาหารไทยร่วมสมัย
- ภารกิจ (Challenge): ในภารกิจส่วนบุคคลครั้งแรกของรอบเสื้อดำนี้ เป็นการทดสอบทักษะการสื่อสาร โดยทางรายการได้เชิญนักมวยมืออาชีพจำนวน 7 คน เข้ามาร่วมรายการ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องจับคู่นักมวย และออกมาสุ่มหยิบเซียมซีเพื่อรับเมนูอาหารที่จะต้องทำ โดยใช้เนยเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารแต่ละเมนู จากนั้นผู้เข้าแข่งขันจะต้องฝึกสอนและบอกวิธีการทำอาหารที่แต่ละคู่ได้รับให้นักมวยทำ โดยต้องสวมเข็มขัดห่างกันเพื่อแยกผู้เข้าแข่งขันกับคู่นักมวยของตนออกเป็นระยะไม่ต่ำกว่า 1 เมตร มีเวลาในการแข่งขัน 45 นาที
- เหตุการณ์ในระหว่างการแข่งขัน: มีผู้เข้าแข่งขันส่วนใหญ่ฝ่าฝืนช่วยกันหยิบจับวัตถุดิบโดยไม่ได้รับอนุญาต เชฟวิลแมนจึงสั่งให้ทีมงานมัดมือผู้เข้าแข่งขันไว้ด้านหลัง เพื่อให้ไม่สามารถแตะต้องอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหารใด ๆ ได้ นอกจากนี้ จิ๊บยังพยายามชิมอาหารจากฝีมือนักมวย แต่คณะหัวหน้าเชฟไม่อนุญาต และประกาศกติกาเพิ่มว่า ไม่อนุญาตให้นักมวยป้อนอาหารให้เชฟชิมเด็ดขาด
- ผลการแข่งขัน:
ลำดับที่ | ผู้เข้าแข่งขัน | นักมวย | เมนู | คะแนนจากหัวหน้าเชฟ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เชฟเอียน | เชฟป้อม | เชฟวิลแมน | เชฟอ๊อฟ | รวม | ||||
1 | เคอร์ | แรมโบ้เลือดเดือด ธนญชัย | แลมบ์แร็กซอสมัสมั่น | 2 | 2 | 3 | 2 | 9 |
2 | จิ๊บ | โบวี่ ตี๋อำมหิต | สเต๊กแซลมอนซอสฮอแลนเดสเสิร์ฟพร้อมผักย่าง | 2 | 3 | 3 | 3 | 11 |
3 | ลูกจรรย์ | เอ็ดดี้ เพชรยินดี | ทอร์เทลลินีไส้เห็ดครีมซอส | 1 | 2 | 2 | 2 | 7 |
4 | มารวย | โยเนียร์ จ.เมืองศรี | แฮมเบิร์กซอสมิโซะ | 2 | 3 | 2 | 3 | 10 |
5 | เก่ง | หรั่งขาว ว.สังข์ประไพ | รีซอตโตเขียวหวานเนื้อย่าง | 2 | 1 | 2 | 2 | 7 |
6 | เบียร์ | มหาเวทย์ ก.ทรายหล้า | พาสตาเส้นสดเสิร์ฟพร้อมแซลมอนย่างซอสเพสโต | 3 | 3 | 3 | 2 | 11 |
7 | บิว | โอเค ซ้ายเอทีเอ็ม | พอตพายฮังเลหมูตุ๋น | 2 | 1 | 2 | 2 | 7 |
เนื่องจากมีผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดเท่ากัน 2 คน คือ จิ๊บ และเบียร์ คณะหัวหน้าเชฟจึงปรึกษาหารือกัน ในที่สุด เชฟอ๊อฟได้ตัดสินให้จานที่ดีที่สุดเป็นของจิ๊บ ทำให้จิ๊บเป็นผู้ชนะในรอบนี้ไปโดยปริยาย
- ผู้ชนะรอบภารกิจ: จิ๊บ
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ผู้ชนะ (จิ๊บ): ได้ไปล่องเรือดินเนอร์สุด Exclusive จาก Khana Yacht Charter ดื่มด่ำไปกับวิวพระอาทิตย์ตกแสนงดงาม ในเส้นทางสุดโรแมนติกกลางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจิ๊บได้เลือกเก่งให้ไปร่วมด้วย
- คนที่เหลือ: ให้ใช้แรงงานซักผ้าปูโต๊ะให้สะอาด
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 10: ในตอนนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟ 3 คน จึงแบ่งประเภทอาหาร โดยเชฟวิลแมนเป็นผู้เรียกรายการอาหารและตรวจสอบอาหารเรียกน้ำย่อย เชฟเอียนตรวจสอบอาหารจานหลัก และเชฟป้อมตรวจสอบของหวานทั้งหมด และในครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องออกไปนำเสนอเมนูที่บริการในครั้งนี้ให้ลูกค้าฟังเพื่อแบ่งเบาภาระของเชฟอ๊อฟด้วย โดยลูกจรรย์รับหน้าที่นี้
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
อาหารทะเล | องค์ประกอบ | เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | ||
ผู้รับผิดชอบ | มารวย | จิ๊บ | เคอร์ | เก่ง | บิว | ลูกจรรย์, เบียร์ |
เมนู |
|
|
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ในการบริการอาหารเย็นครั้งแรกของรอบเสื้อดำนี้ ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยมารวยทำสแกลลอปผิดพลาดหลายครั้ง มีทั้งสุกเกินไปและดิบ เชฟวิลแมนจึงเขวี้ยงจานแตกกลางครัว และโยนถาดสแกลลอปทั้ง 2 ถาดลงพื้น อีกทั้งมารวยยังใช้น้ำมันมากเกินไปในการจี่สแกลลอปทำให้ล่าช้า ต่อมาในอาหารจานหลัก เคอร์สับสนกับการจัดการอาหาร จนส่งเนื้อวัวและเนื้อแกะผิดจำนวน ต่อมา ได้รับออเดอร์พิเศษที่ลูกค้าสั่งมาว่าไม่รับประทานเนื้อวัวและเนื้อแกะ (ลักษณะคล้ายกับในตอนที่ 6) เก่งจึงรับอาสาทำอาหารพิเศษจานนี้เช่นเดียวกับในตอนที่ 6 เมื่อทำเสร็จแล้ว และเชฟเอียนที่ดูแลอาหารจานหลักตรวจสอบแล้วว่าถูกต้อง เก่งจึงนำจานอาหารพิเศษดังกล่าวไปบริการและนำเสนอลูกค้าด้วยตนเอง ต่อมา บิวและเคอร์ทำเนื้อผิดระดับถึง 2 ครั้ง แม้ว่าจะช่วยกันแก้ไขได้ แต่เชฟวิลแมนเห็นว่าไม่มีใครจัดเครื่องเคียงบนจานเลย จึงต้องเรียกให้ทุกคนไปรุมช่วย และในจานของหวาน ลูกจรรย์ทำกะทิในจานขนมโคเย็นเกินไป และจัดจานส้มฉุนผิดพลาดถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกลืมใส่เยลลี่ขิง ส่วนครั้งที่สองใส่ส้มไม่ครบ ต่อมา เชฟป้อมได้เรียกทุกคนออกมาดูเศษสีดำในจานส้มฉุนซึ่งไม่ควรนำไปบริการ และให้ทุกคนนำกลับไปแก้ไข ระหว่างนั้น เชฟป้อมเห็นว่าเคอร์กำลังปอกส้ม จึงตำหนิลูกจรรย์ที่ไม่ได้ปอกส้มเตรียมไว้ แต่ลูกจรรย์กลับเถียงว่าส้มหมดพอดี เชฟป้อมจึงสวนกลับไปทันทีว่าเป็นเพราะเตรียมไม่พอ จากนั้น เบียร์ทำขนมโค 5 จานไปล่วงหน้าโดยที่เชฟวิลแมนยังไม่ได้เรียก เชฟป้อมจึงเตือนว่า หากเป็นภัตตาคารปกติ การกระทำนี้ถือเป็นการสิ้นเปลืองต้นทุน อย่างไรก็ตาม ทุกคนได้นำออเดอร์บริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ แต่เชฟวิลแมนเล็งเห็นว่าในการบริการครั้งนี้ยังมีข้อผิดพลาดจำนวนมาก จึงให้ทุกคนไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้คัดออก
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 10: ผ่าน (เสร็จสมบูรณ์)
- การคัดออก (Elimination): มารวยและเคอร์ได้ยกมือเสนอชื่อตนเอง โดยมารวยอธิบายว่าตนส่งสแกลลอปที่มีทั้งสุกเกินไปและดิบเกินไป พร้อมกับทำสแกลลอปช้า ประกอบกับอาหารที่ส่งไปไม่ได้มาตรฐานอย่างที่ตนต้องการ ทำให้การบริการอาหารล่าช้ามากกว่าที่ควรจะเป็น และจากเหตุผลดังกล่าวจึงเห็นว่าตนสมควรออก ส่วนเคอร์อธิบายว่าตนทำเนื้อผิดระดับจากที่เชฟเอียนต้องการคือ Medium Rare เป็นแบบ Rare ถึง 2 ครั้ง และบอกต่อว่า หากคณะหัวหน้าเชฟจะให้ตนออกจากการแข่งขัน ตนก็จะยอมรับผล แต่ผู้ที่เชฟวิลแมนตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ มารวย เนื่องจากเห็นว่ามีทัศนคติที่ไม่ดีพอสำหรับการแข่งขันต่อ เพราะช่วงก่อนเปิดภัตตาคาร เชฟพฤกษ์ได้เข้าไปเตือนมารวยเรื่องแกะปูแล้ว แต่มารวยกลับไม่สนใจปูและต้นทุนทั้งหมดที่สูญเสียไป และในระหว่างบริการ มารวยทำสแกลลอปโดยไม่สนใจว่าเชฟวิลแมนจะเรียกหรือไม่ เพราะกลัวว่าจะทำไม่ทัน ทำให้สแกลลอปทั้งหมดที่ทำนั้นสุกเกินไปจนบริการไม่ได้ อีกทั้งเชฟวิลแมนยังมองว่ามารวยอาจจะไม่สามารถรักษาผลประโยชน์ของภัตตาคารได้หากจ้างมารวยมาเป็นหัวหน้าเชฟ เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายโดยมารวย
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เคอร์ และ มารวย
- ผู้ที่ถูกคัดออก: มารวย
- ความคิดเห็นของเชฟวิลแมน: "นี่คือการแข่งขันเฟ้นหาเชฟที่จะมารันครัวของร้านเฮลล์คิทเช่น แต่วันนี้ มารวยทำให้เรารู้ว่า เขายังไม่เหมาะสมในตำแหน่งนั้น ผมจึงเลือกที่จะให้เขากลับบ้านในวันนี้"
ตอนที่ 12: 3 Head Chef 3 สัญชาติอาหาร กับความท้าทายใหม่
[แก้]ออกอากาศ 28 เมษายน 2567
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 3 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 3 โจทย์อาหารเช่นเดิม ดังนี้
- เชฟป้อม/โจทย์อาหารไทยร่วมสมัย
- เชฟอ๊อฟ/โจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
- เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
- ภารกิจ (Challenge): ในรอบนี้ เป็นการทดสอบการทำอาหารข้างถนน (Street Food) โดยทางรายการได้เชิญผู้ชำนาญการเกี่ยวกับอาหารข้างถนนจำนวน 6 คน เข้ามาร่วมรายการ เพื่อแข่งขันทำอาหารข้างถนนกับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คนแบบตัวต่อตัว โดยมีการหมุนวงล้อเพื่อจับคู่ผู้เข้าแข่งขันกับคู่แข่ง และแต่ละคู่จะต้องออกมาเสี่ยงเซียมซีเพื่อรับเมนูโจทย์สำหรับการทำอาหาร โดยมีเวลาในการแข่งขัน 25 นาทีสำหรับทำอาหาร 4 จาน แต่ทางรายการได้หุงข้าวเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว และคณะหัวหน้าเชฟได้มอบหมายให้ผู้ช่วยเชฟควบคุมการแข่งขันในรอบนี้แทน เนื่องจากคณะหัวหน้าเชฟจะออกไปอยู่ด้านนอกเพื่อรอตัดสินในรูปแบบ Blind Testing คือ คณะหัวหน้าเชฟจะไม่ทราบว่าจานที่ชิมเป็นของผู้เข้าแข่งขันฝ่ายใด
- ผลการแข่งขัน: เมื่อหมดเวลาการทำอาหาร คณะหัวหน้าเชฟได้เดินกลับมาแล้วยืนหันหลังให้ผู้เข้าแข่งขันและชิมอาหาร โดยจาน A เป็นจานของผู้เข้าแข่งขันเฮลล์คิทเช่น และจาน B เป็นจานของผู้ชำนาญการเกี่ยวกับอาหารข้างถนน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันที่จะเป็นผู้ชนะได้ จะต้องชนะคู่ของตน และคะแนนรวมมากที่สุด โดยผลคะแนนออกมาเป็นดังนี้
คู่ที่ | เมนู | ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนนจากหัวหน้าเชฟ | ผู้ชนะใน แต่ละคู่ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รหัสจาน | ตัวแทน | ชื่อ | เชฟวิลแมน | เชฟอ๊อฟ | เชฟป้อม | เชฟเอียน | รวม | |||
1 | หมึกผัดไข่เค็ม เสิร์ฟพร้อมข้าวสวย | A | เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ | เก่ง | 1 | 1 | 2 | 2 | 6 | คุณแนน |
B | ร้านครัวบุญปาก | คุณแนน | 3 | 3 | 3 | 3 | 12 | |||
2 | ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ | A | เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ | บิว | 0 | 0 | 1 | 0 | 1 | คุณปื๊ด |
B | ร้านปื๊ด กุ้งแม่น้ำ | คุณปื๊ด | 2 | 2 | 2 | 2 | 8 | |||
3 | กบทอดกระเทียมราดข้าวไข่ดาวเยิ้ม | A | เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ | เคอร์ | 2 | 2 | 2 | 0 | 6 | เคอร์ |
B | ร้านจิตสดชื่น | คุณแบงค์ | 1 | 1 | 1 | 2 | 5 | |||
4 | ข้าวราดกะเพราไข่เยี่ยวม้าใบกะเพรากรอบ | A | เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ | จิ๊บ | 3 | 3 | 3 | 3 | 12 | จิ๊บ |
B | ร้านเจ๊จิ๋วตะหลิวบิน | คุณจิ๋ว | 0 | 1 | 0 | 1 | 2 | |||
5 | ข้าวราดทะเลผัดฉ่า กุ้ง หอย หมึก | A | เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ | ลูกจรรย์ | 1 | 1 | 1 | 1 | 4 | คุณอาร์ม |
B | ร้านวีรวัฒน์ ข้าวต้มปลาเก๋า | คุณอาร์ม | 0 | 1 | 1 | 3 | 5 | |||
6 | ข้าวราดผัดเผ็ดปลาดุกกรอบ | A | เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ | เบียร์ | 3 | 3 | 3 | 3 | 12 | เบียร์ |
B | ร้านเปี๊ยก ตำสะเด็ด ลั่นทุ่ง | คุณวินิจ | 1 | 1 | 1 | 1 | 4 |
- ผู้ชนะรอบภารกิจ: จิ๊บ และ เบียร์
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ผู้ชนะ (จิ๊บ, เบียร์): ได้ไปท่องเที่ยววิถีธรรมชาติที่ปางช้างไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
- คนที่เหลือ: ให้ทำความสะอาดคอกควายหน้าภัตคาคารเฮลล์คิทเช่นทั้งหมด
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 11: ในตอนนี้ เป็นการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟ 3 คน จึงแบ่งประเภทอาหาร โดยเชฟป้อมเป็นผู้เรียกรายการอาหารและตรวจสอบอาหารเรียกน้ำย่อย เชฟอ๊อฟตรวจสอบอาหารจานหลัก และเชฟเอียนตรวจสอบของหวานทั้งหมด และในครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่รับผิดชอบจานพายบานอฟฟี จะต้องทอด จัดจาน และบริการที่โต๊ะลูกค้า (Table side) ภายใต้การควบคุมของเชฟวิลแมน โดยเก่งรับหน้าที่นี้
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | |
---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | |||
ผู้รับผิดชอบ | เคอร์, เบียร์ | ลูกจรรย์ | จิ๊บ | เก่ง, บิว |
เมนู |
|
|
|
หมายเหตุ: ตัวเอน คือ เมนูพิเศษ
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยเบียร์จัดจานยำทวายล่าช้า ทำให้ทุกคนต้องมารุมช่วย นอกจากนั้นเบียร์ยังทำน้ำยำไม่ได้มาตรฐาน จัดไก่ชิ้นเล็กเกินไปลงในจานถึง 2 ครั้ง และจัดจานเกินจากที่เชฟป้อมสั่ง ส่วนเคอร์มีปัญหาเพียงปิดทองคำเปลวไม่ติดบนพัฟ ต่อมาในอาหารจานหลัก ลูกจรรย์มีปัญหาเพียงเล็กน้อยที่ทำเนื้อดิบเกินไป 1 ชิ้น แต่เมื่อแก้ไขแล้วก็ไม่มีปัญหาอื่น แต่กลับมีข้อผิดพลาดอย่างมากในจานของหวาน โดยเฉพาะการบริการพายบานอฟฟีที่โต๊ะลูกค้า เพราะเก่งทอดแป้งฟิลโลไม่เรียบร้อยตั้งแต่เริ่ม และลืมน้ำตาลไอซิ่งไว้ที่ครัว ส่งผลให้ไอศกรีมในจานฮาร์เวสต์ที่มาด้วยกันเริ่มละลาย ต่อมา เชฟเอียนเข้าไปตรวจสอบ พบว่า บานอฟฟีจานแรกขาด Berry Compote ซึ่งเป็นซอสราดบนเบอร์รี่ จึงเรียกบิวให้นำซอสจากครัวออกไปเติม ต่อมา เมื่อออเดอร์บานอฟฟีเข้ามามากขึ้น เชฟเอียนพบว่าเก่งทำบานอฟฟีต่อหน้าลูกค้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีใครช่วย จึงต้องเรียกอีก 2 คนให้ไปออกช่วยบริการบานอฟฟีที่โต๊ะลูกค้าเพื่อแบ่งเบาภาระของเก่ง จิ๊บกับเบียร์ที่เสร็จหน้าที่ของตนแล้วจึงออกไปช่วย แต่ในตอนแรกเบียร์เข็นรถไปทำผิดโต๊ะ ต่อมา เบียร์ทำน้ำมันไหม้ จึงกลับมาเอาน้ำมันในครัว และถูกเก่งตามมาสบถด่า จากนั้น แป้งฟิลโลไม่พอทอดและบริการลูกค้า จิ๊บและเบียร์จึงต้องกลับมาทำเพิ่ม โดยมีบิวมาช่วย ในที่สุด หลังจากลูกจรรย์เทไนโตรเจนเหลวลงในไอศกรีมที่บิวทำไว้มากเกินไป ทำให้ไอศกรีมแข็งจนตักไม่ออก และเก่งปั้นไอศกรีมด้วยมือ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดหลักสุขอนามัย ประกอบกับมีปัญหาการสื่อสารเป็นอย่างมาก เชฟเอียนจึงสั่งปิดครัวในทันที ทำให้เป็นการปิดครัวในรอบเสื้อดำเป็นครั้งแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ และให้ทุกคนไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 4 คนมาให้คัดออก
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 11: ไม่ผ่าน (ถูกปิดครัว)
- การคัดออก (Elimination): เชฟอ๊อฟได้ให้คนที่ถูกเสนอชื่อยกมือเพื่อเสนอชื่อตนเอง ซึ่งเก่ง เคอร์ บิว และเบียร์ เป็น 4 คนดังกล่าว จากนั้นเชฟวิลแมนได้ถามอีก 2 คนที่ไม่ถูกเสนอชื่อถึงคนที่ผิดพลาดน้อยที่สุดใน 4 คนดังกล่าว ซึ่งลูกจรรย์คิดว่าเคอร์ผิดพลาดน้อยที่สุด ส่วนจิ๊บคิดว่าบิวผิดพลาดน้อยที่สุด เพราะบิวเตรียมขนมทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย และปัญหาที่ทำให้ปิดครัวคือการสื่อสารที่ผิดพลาด เชฟวิลแมนจึงถามจิ๊บต่อว่าการสื่อสารพลาดที่ใคร แต่จิ๊บไม่สามารถตอบได้ เชฟวิลแมนจึงผิดหวังกับจิ๊บอย่างมาก แล้วให้เคอร์กลับไปรวมกับเพื่อนก่อน จากนั้นจึงถามบิวและเก่งถึงข้อผิดพลาดในแผนกของหวาน ซึ่งทั้งคู่ตอบตรงกันว่าเกิดจากการสื่อสาร โดยเก่งคิดว่าทั้งคู่รับผิดชอบของหวานร่วมกัน จึงควรออกพร้อมกัน แต่บิวได้กล่าวว่าตนไม่ได้ผิดพลาดมากพอที่จะถูกคัดออก เชฟเอียนจึงถามถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของทั้งคู่ โดยทั้งคู่ได้อธิบายอย่างละเอียด ทำให้เชฟเอียนสรุปได้ว่า เก่งเสียเวลาดูคนอื่นจนลืมหน้าที่ของตน ในขณะที่บิวรับผิดชอบหน้าที่ของตน และยังช่วยคนอื่น ดังนั้น จึงให้บิวกลับไปรวมกับเพื่อน จากนั้นเชฟป้อมได้ถามเบียร์ถึงข้อผิดพลาด เบียร์อธิบายว่าตนจัดจานยำทวายล่าช้า เชฟป้อมจึงได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เบียร์มีคนอื่นมาช่วยทำ โดยเคอร์ทำน้ำแกง จิ๊บหั่นไก่ และบิวลวกผัก ในขณะที่เบียร์ทำแค่เยลลี่และหั่นผัก และไม่ช่วยเคอร์ทำจานพัฟเลย หลังจากที่คณะหัวหน้าเชฟปรึกษาหารือกันแล้ว ผู้ที่เชฟป้อมตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ เก่ง
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เก่ง, เคอร์, บิว และ เบียร์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เก่ง
- ความคิดเห็นของเชฟป้อม: "คนที่จะเป็นแชมป์เฮลล์คิทเช่นได้ ไม่ใช่เพียงแค่เห็นปัญหาทุกจุดของคนอื่น แต่ลืมที่จะมองปัญหาของตัวเอง"
ตอนที่ 13: การคุมครัวนรกร่วมกันของ 3 Head Chef ระดับตัวพ่อ
[แก้]ออกอากาศ 5 พฤษภาคม 2567
- หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 3 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 3 โจทย์อาหารเช่นเดิม ดังนี้
- เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
- เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
- เชฟอ๊อฟ/โจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
- ภารกิจ (Challenge): ในรอบนี้เป็นบททดสอบแกะสูตรจากต้นฉบับ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องแกะสูตรอาหารจากเมนูพิเศษของหัวหน้าเชฟทั้ง 4 คน และทำออกมาให้เหมือนต้นฉบับ โดยใช้เนื้อสะโพกหมูเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อวัดทักษะของผู้เข้าแข่งขันในการเป็นเชฟ 4 ด้าน คือ การรับรู้รส ความรอบรู้วัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหาร และความจำ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเล่นโอน้อยออกและเป่ายิ้งฉุบ เพื่อเสี่ยงลำดับการเลือกอาหาร จากนั้นมีเวลา 45 นาทีในการชิมและทำเมนูที่ได้รับ และหากผู้เข้าแข่งขันชิมเสร็จแล้ว หัวหน้าเชฟจะเก็บเมนูของตนออก
- ผลการแข่งขัน:
ลำดับที่ | ผู้เข้าแข่งขัน | ลำดับการ เลือกเมนู |
หัวหน้าเชฟ เจ้าของเมนู |
คะแนนจากหัวหน้าเชฟ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เชฟวิลแมน | เชฟอ๊อฟ | เชฟป้อม | เชฟเอียน | รวม | ||||
1 | เบียร์ | 5 | เชฟวิลแมน | 0 | 1 | 0 | 0 | 1 |
2 | บิว | 3 | เชฟอ๊อฟ | 2 | 2 | 2 | 1 | 7 |
3 | เคอร์ | 1 | เชฟเอียน | 2 | 2 | 2 | 3 | 9 |
4 | จิ๊บ | 2 | เชฟป้อม | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
5 | ลูกจรรย์ | 4 | เชฟอ๊อฟ | 0 | 1 | 0 | 1 | 2 |
หมายเหตุ: ตัวเอน คือคะแนนจากหัวหน้าเชฟเจ้าของเมนูที่แกะสูตรโดยผู้เข้าแข่งขัน
- ผู้ชนะรอบภารกิจ: เคอร์
- รางวัล/บทลงโทษ:
- ผู้ชนะ (เคอร์): ได้ไปเล่นเครื่องเล่นทางน้ำผาดโผน Flyboard ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยเคอร์ได้เลือกลูกจรรย์ให้ไปร่วมด้วย
- คนที่เหลือ: ให้อาบน้ำหมูทุกตัว
- บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 12: ในตอนนี้ เป็นการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟ 3 คน จึงมีการแบ่งประเภทอาหาร โดยเชฟเอียนเป็นผู้เรียกรายการอาหารและตรวจสอบอาหารเรียกน้ำย่อย เชฟวิลแมนตรวจสอบอาหารจานหลัก และเชฟอ๊อฟตรวจสอบของหวานทั้งหมด
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | อาหารทะเล | |||
ผู้รับผิดชอบ | ลูกจรรย์ | เบียร์ | เคอร์ | บิว | จิ๊บ | |
เมนู |
|
|
|
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยบิวทำสแกลลอปดิบถึง 2 ครั้ง เบียร์ส่งเป็ดให้เชฟเอียนล่าช้าเกินไป และทั้งคู่มีปัญหาการสื่อสาร แต่แก้ไขได้ ต่อมาในอาหารจานหลัก เบียร์ทำเนื้อวัวจานแรกสุกเกินไปทั้ง 2 ชิ้น แต่แก้ไขได้ แต่ในจานนั้นเคอร์ส่งซอสที่ผิดพลาดให้เชฟวิลแมนถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกทำซอสเปรี้ยวเกินไป ส่วนครั้งที่สองทำเบอร์เนสซอสสุกเกินไป ทำให้อาหารจานหลักชุดแรกจำนวน 5 จานถูกส่งกลับทั้งหมด หลังจากนั้นเบียร์ทำเนื้อวัวผิดระดับอีก 2 ครั้ง โดยครั้งที่สองสุกเกินไปทั้งชุดจำนวน 5 ชิ้น ครั้งที่สามดิบเกินไป และขณะนั้นอาหารจานหลักสองจานแรกถูกตีกลับเนื่องจากเย็นลง เมื่อบิวบอกเวลาทำจานใหม่แล้ว เชฟวิลแมนจึงบอกว่า "ไม่เอาแล้ว" และโยนจานที่เย็นลงแตกกลางครัว และเมื่อทำใหม่เสร็จแล้ว เชฟวิลแมนได้เรียกเบียร์ให้ออกไปขอโทษลูกค้าด้วย แต่ต่อมา เบียร์ทำเนื้อดิบเกินไปอีก 2 ครั้ง รวมแล้วเบียร์ทำผิดระดับอย่างน้อย 5 ครั้ง ส่วนในจานของหวาน มีจานที่ถูกลูกค้าตีกลับมายังจิ๊บเพราะไอศกรีมละลาย อย่างไรก็ตาม ทุกคนได้นำออเดอร์บริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ แต่เชฟเอียนยังเห็นว่าในการบริการครั้งนี้ยังมีข้อผิดพลาด จึงให้ทุกคนไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้คัดออก
- ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 12: ผ่าน (เสร็จสมบูรณ์)
- การคัดออก (Elimination): จิ๊บได้เสนอชื่อเบียร์และเคอร์ หลังจากนั้นเชฟป้อมได้ถามจิ๊บถึงคนที่ควรออก จิ๊บจึงอธิบายข้อผิดพลาดของทั้งคู่ และสรุปว่าเบียร์ควรออก จากนั้น คณะหัวหน้าเชฟได้ถามถึงข้อผิดพลาดของทั้งคู่ โดยทั้งคู่ได้อธิบายอย่างละเอียด จากนั้นเชฟวิลแมนได้เสริมในกรณีของเคอร์ว่าซอสผิดพลาดทำให้อาหารจานหลักถึงมือลูกค้าล่าช้าไปมากกว่า 10 นาที และยังกล่าวว่าในช่วงก่อนเปิดภัตตาคาร ตนเองได้เตือนให้เคอร์ปรับแก้เรื่องความเปรี้ยวของซอสแล้ว แต่เคอร์ทำไม่สำเร็จ จากนั้นจึงถามเคอร์ว่าใครผิดพลาดมากกว่า เคอร์จึงตอบว่าเป็นตนเอง แต่กล่าวต่อว่ายังไม่อยากออกจากการแข่งขัน ส่วนเชฟเอียนได้เสริมในกรณีของเบียร์ว่า ทุกครั้งที่เบียร์ได้รับผิดชอบเนื้อสัตว์ มีความผิดพลาดเกิดขึ้นทุกครั้งและนับครั้งไม่ถ้วน ทั้ง ๆ ที่มีตำแหน่งใหญ่และสูง และยังเปรียบเทียบกับตอนที่แล้วที่ผู้รับผิดชอบเนื้อคือลูกจรรย์ ซึ่งแม้จะเรียนจบเชฟได้ไม่นาน แต่ทำเนื้อได้ดีและมีข้อผิดพลาดน้อยมาก ดังนั้น ผู้ที่เชฟอ๊อฟตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ เบียร์ จากนั้น เชฟป้อมได้ประกาศว่า ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คนที่เหลือ จะผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
- ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เบียร์ และ เคอร์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เบียร์
- ความคิดเห็นของเชฟอ๊อฟ: "สำหรับการแข่งขันในเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ยิ่งคนน้อยลงเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งพลาดไม่ได้ เพราะโอกาสไม่ได้มีไว้สำหรับผู้ที่ทำผิดซ้ำเดิม เหมือนที่เบียร์ จะไม่ได้รับโอกาสในเฮลล์คิทเช่นอีกต่อไป"
ตอนที่ 14: รอบรองชนะเลิศ (Semi-Final) กับ 3 ด่านนรก
[แก้]ออกอากาศ 12 พฤษภาคม 2567
ในรอบรองชนะเลิศ เชฟเอียนได้ประกาศว่าจะไม่มีการเปิดภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น แต่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งขันทั้งหมด 3 ภารกิจ เพื่อสะสมคะแนน โดย 2 คนที่มีคะแนนรวมมากที่สุด จะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
- ภารกิจที่ 1: การควบคุมต้นทุนด้วยการทำสเต็ก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตัดแต่งเนื้อสันนอกให้เป็นสเต็กขนาด 1 นิ้ว และปรุงความสุก 3 ระดับ ได้แก่ Medium Rare, Medium และ Well Done ระดับละ 4 ชิ้น รวม 12 ชิ้น โดยมีเวลา 25 นาที และหากทำเสร็จแล้วจะต้องนำมาให้คณะหัวหน้าเชฟตรวจทันที โดยแต่ละคนจะถูกปล่อยถัดจากคนแรก 10 นาที ตามลำดับของหมายเลขชิ้นเนื้อที่จับสลากได้
- ผลการแข่งขัน: ในรอบนี้ มีการปรับเกณฑ์การให้คะแนน โดยเนื้อที่ถูกต้องตามโจทย์ จะได้รับ 1 คะแนนต่อชิ้น
ลำดับที่ | ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนนที่ได้ | |||
---|---|---|---|---|---|
Medium Rare (มีเดียมแรร์) |
Medium (มีเดียม) |
Well Done (เวลดัน) |
รวม | ||
1 | จิ๊บ | 2 | 0 | 0 | 2 |
2 | เคอร์ | 0 | 0 | 2 | 2 |
3 | บิว | 2 | 2 | 2 | 6 |
4 | ลูกจรรย์ | 0 | 0 | 1 | 1 |
- ภารกิจที่ 2: ความคิดสร้างสรรค์และการยกระดับวัตถุดิบ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำหางหมู ที่มีราคาในท้องตลาดกิโลกรัมละ 55 บาท มาทำอาหารที่มีความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่า จำนวนทั้งหมด 4 จาน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที และมีตัวช่วยเป็น 3 เครื่องเทศพิเศษ ได้แก่ ออริกาโน สโมคปาปริกา และการ์ลิคซอลท์ช
- ผลการแข่งขัน:
ลำดับที่ | ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนนจากหัวหน้าเชฟ | สรุปคะแนน | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เชฟวิลแมน | เชฟอ๊อฟ | เชฟป้อม | เชฟเอียน | รอบที่ 1 | รอบที่ 2 | รวม | ||
1 | จิ๊บ | 0 | 1 | 0 | 0 | 2 | 1 | 3 |
2 | เคอร์ | 0 | 3 | 3 | 3 | 2 | 9 | 11 |
3 | บิว | 2 | 2 | 2 | 1 | 6 | 7 | 13 |
4 | ลูกจรรย์ | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 5 | 6 |
- ภารกิจที่ 3: ความเข้าใจในวัตถุดิบอย่างถ่องแท้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำปูทะเลที่ตายแล้ว มาทำอาหารจานปูระดับเฮลล์คิทเช่น จำนวนทั้งหมด 4 จาน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที
- ผลการแข่งขัน:
ลำดับที่ | ผู้เข้าแข่งขัน | คะแนนจากหัวหน้าเชฟ | สรุปคะแนน | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เชฟวิลแมน | เชฟอ๊อฟ | เชฟป้อม | เชฟเอียน | รอบที่ 1+2 | รอบที่ 3 | รวม | ||
1 | จิ๊บ | 3 | 3 | 3 | 1 | 3 | 10 | 13 |
2 | บิว | 2 | 3 | 2 | 1 | 13 | 8 | 21 |
3 | ลูกจรรย์ | 1 | 1 | 0 | 2 | 6 | 4 | 10 |
4 | เคอร์ | 1 | 1 | 1 | 1 | 11 | 4 | 15 |
- การคัดออก: เนื่องจากบิวและเคอร์เป็น 2 คนที่ได้คะแนนรวมทั้ง 3 รอบมากที่สุดตามลำดับ ทั้ง 2 คนจึงผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศทันที ทำให้จิ๊บและลูกจรรย์ถูกคัดออกในรอบนี้ไปโดยปริยาย จากนั้น คณะหัวหน้าเชฟได้ให้จิ๊บและลูกจรรย์ไปยืนด้านข้างโดยไม่มีการให้ถอดเสื้อดำออก พร้อมกับนำผู้เข้าแข่งขันอีก 8 คนที่ถูกคัดออกในสัปดาห์ก่อนหน้านั้นกลับเข้ามาสู่เฮลล์คิทเช่นอีกครั้ง เพื่อให้บิวและเคอร์เลือกเป็นผู้ช่วยภายในครัวของตนสำหรับการบริการครั้งสุดท้าย ทั้งนี้ คณะหัวหน้าเชฟไม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการคัดออกของลูกจรรย์และจิ๊บ
- ผู้ที่ถูกคัดออก: จิ๊บ และ ลูกจรรย์
- ผู้ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ: บิว และ เคอร์
ตอนที่ 15: การรันครัวนรกในรอบชิงชนะเลิศ (Final) ของเคอร์และบิวในฐานะ Head Chef
[แก้]ออกอากาศ 19 พฤษภาคม 2567
ในรอบชิงชนะเลิศ บิว และ เคอร์ จะได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้าเชฟ และได้เลือกผู้เข้าแข่งขันจำนวน 10 คนที่ถูกคัดออก (จิ๊บ, ลูกจรรย์, มารวย, เบียร์, พริกเผ็ช, เฟน, ใบตอง, เจมส์, เปียโร่ และเก่ง) มาเป็นผู้ช่วยภายในครัวของตนสำหรับการบริการครั้งสุดท้าย ซึ่งบิวได้คะแนนในรอบรองชนะเลิศมากกว่าเคอร์ จึงได้สิทธิ์เลือกสมาชิกทีมก่อน
- ผลการเลือกลูกทีม:
ทีม | หัวหน้าเชฟ ประจำทีม |
สมาชิก | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
คนที่ 1 | คนที่ 2 | คนที่ 3 | คนที่ 4 | คนที่ 5 | ||
ทีมสีแดง | เคอร์ | เปียโร่ | ลูกจรรย์ | เบียร์ | เฟน | เจมส์ |
ทีมสีน้ำเงิน | บิว | เก่ง | จิ๊บ | มารวย | ใบตอง | พริกเผ็ช |
นอกจากนี้ คณะหัวหน้าเชฟยังได้ให้เลือกผู้ช่วยเชฟประจำทีมของตนด้วย โดยเคอร์ได้สิทธิ์เลือก ซึ่งเคอร์ได้เลือกเชฟอาร์ เชฟพฤกษ์จึงเป็นผู้ช่วยเชฟประจำทีมบิวไปโดยปริยาย
- บริการครั้งสุดท้าย (Final service):
ประเภท | อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) |
อาหารจานหลัก (Main Course) | ของหวาน (Dessert) |
ผู้ช่วยเหลือ (Supporter) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนื้อสัตว์ | เครื่องเคียง | ซอส | ||||||
ทีมสีแดง | เคอร์ | ผู้รับผิดชอบ | เฟน | เบียร์, เปียโร่ | ลูกจรรย์ | เจมส์ | ||
เมนู |
|
|
|
— | ||||
ทีมสีน้ำเงิน | บิว | ผู้รับผิดชอบ | จิ๊บ, พริกเผ็ช | เก่ง | มารวย | เก่ง | ใบตอง | — |
เมนู |
|
|
|
— |
- เเขกรับเชิญกิตติมศักดิ์: ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ในการบริการครั้งสุดท้าย ทีมเคอร์มีปัญหาเล็กน้อยในจานเรียกน้ำย่อย เพราะเคอร์พบว่าลูกจรรย์ราดซอสในจานทูน่าน้อยเกินไป จึงสั่งปรับปริมาณเพิ่ม ต่อมาในอาหารจานหลัก ทั้งทีมเคอร์และทีมบิวมีปัญหาการสื่อสาร โดยลูกทีมของเคอร์ไม่ตั้งใจฟังออเดอร์ที่เคอร์จะเรียก ส่วนลูกทีมของบิวหันไปถามจิ๊บแทน เชฟอ๊อฟจึงต้องเข้ามาเตือนสติบิวถึงความเป็นหัวหน้าเชฟ ต่อมา มีจานเรียกน้ำย่อยของทีมเคอร์ถูกตีกลับผ่านเชฟวิลแมน เพราะเปียโร่ทำกุ้งไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนั้น เปียโร่ยังทำปลาดิบถึง 2 ครั้ง โดยเชฟวิลแมนเข้ามาตรวจสอบด้วยตนเองในครั้งที่สอง ต่อมา เชฟป้อมเข้าไปสอบถามแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์ ทูลกระหม่อมหญิงฯ ประทานความคิดเห็นว่าซอสเขียวหวานในจานของทีมบิวหวานมากเกินไป เชฟป้อมจึงเข้าไปเตือนบิวในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งทีมบิวเริ่มมีปัญหาในการจัดการอาหารจานหลักซึ่งล่าช้ามากถึง 7 โต๊ะ ทำให้เชฟวิลแมนต้องเข้ามาเตือน แต่ทันใดนั้น ก็มีจานอาหารของทีมเคอร์ถูกตีกลับอีกครั้งผ่านเชฟป้อม เพราะเบียร์ทำไก่ดิบ เมื่อทำใหม่เสร็จแล้ว เคอร์จึงนำจานใหม่ไปบริการและขอโทษลูกค้าด้วยตนเอง ต่อมา ทีมของบิวกลับมีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งงานอีกครั้ง เชฟวิลแมนจึงต้องเข้ามาเตือน ส่วนในจานของหวาน ทีมบิวมีปัญหาเล็กน้อย เพราะใบตองส่งจานล่าช้า จนไอศกรีมในจานมะม่วงของทีมเคอร์เกือบละลาย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทีมได้นำออเดอร์ทั้งหมดบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ และเสร็จสิ้นการบริการอาหารเย็นครั้งสุดท้ายได้สำเร็จ
- การตัดสิน: ทางรายการได้ให้ลูกค้าที่มารับประทานอาหารทั้ง 100 คน ลงคะแนนให้กับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คน เพื่อให้คณะหัวหน้าเชฟใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาตัดสิน หลังจากนั้น คณะหัวหน้าเชฟได้ใช้วิธีประกาศผลการตัดสินวิธีเดียวกับในเวอร์ชั่นสหรัฐ โดยให้บิวและเคอร์จับลูกบิดประตูคนละบานแล้วเปิดพร้อมกัน ซึ่งมีเพียงบานเดียวที่สามารถเปิดออกได้ และผู้ที่เปิดประตูออก ซึ่งถือเป็นผู้ชนะเลิศคนแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ คือ บิว โดยได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท และได้เข้าทำงานในภัตตาคารเครือเฮลล์คิทเช่นในประเทศไทย
- ผู้ชนะเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1: บิว
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]สินค้า
[แก้]เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ได้ต่อยอดความสำเร็จของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ออกมาผลิตและจำหน่ายเป็นน้ำพริก 2 ชนิด คือ น้ำพริกนรก และ น้ำพริกตาแดง ภายใต้ตราสินค้าเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ โดยวางจำหน่ายบนเฟซบุ๊กของรายการ และในช่องทาง "เฮลิโคเนีย ช็อป" ที่เปิดขึ้นมาใหม่บนลาซาด้า ช้อปปี้ ติ๊กต็อกช็อป และไลน์ช็อปปิง ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567
รายการภาคล้อเลียน
[แก้]มีบางรายการที่นำองค์ประกอบของรายการนี้มาล้อเลียน อาทิ "โจ๊กเกอร์คิทเช่นไทยแลนด์" ในรายการ ก็มาดิคร้าบ ที่ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567[4] หรือรายการ คุณพระช่วย ช่วงฉ่อยหน้าม่าน ที่นำเสนอตอน "สามน้าคิตเชน" ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[5] เป็นต้น
ข้อวิจารณ์
[แก้]หลังเสร็จสิ้นการออกอากาศรายการในฤดูกาลที่ 1 มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เข้าแข่งขันของรายการ โพสต์พาดพิงถึงเคอร์ (รองชนะเลิศในฤดูกาลดังกล่าว) ในเชิงลบว่า "ดูเชฟเคอร์สัมภาษณ์ เหมือนดูละครคุณธรรม" จึงถูกผู้ใช้สื่อสังคมหลายคนเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้น มีผู้เข้าแข่งขันอีกคนไปแสดงความคิดเห็นในโพสต์พาดพิงถึงเคอร์สั้น ๆ ว่า "ว้ายยยย" จึงถูกแฟนคลับและแฟนรายการวิพากษ์วิจารณ์ในพฤติกรรมติดตลกที่แย่เอามาก และมีการโพสต์ถ่ายรูปโมเมนต์ในรายการใส่ชื่อเชฟบนลงแฮชแท็กทุกคน แต่ไม่มีแฮชแท็กเคอร์ หลังจากนั้นเชฟคนดังกล่าวออกมาชี้แจงทางโอเพนแชทส่วนตัว แต่บิวและเคอร์ได้ให้สัมภาษณ์ในสำนักข่าวต่าง ๆ โดยที่มติชน เคอร์ได้พูดถึงเรื่องดังกล่าวว่า
"เป็นเรื่องที่เราคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะต้องเป็นวันที่แสดงความยินดีกับเชฟบิวที่ได้เป็น Hell's Kitchen Thailand คนแรกของประเทศไทย อยากให้คนที่กำลังเสพดราม่าอยู่ ให้หยุด เพื่อที่แสดงความยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราไม่ได้ให้ตรงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ จริง ๆ ผู้เข้าแข่งขันไม่เคยคุยกันหลังไมค์ เพราะเป็นกฎ ซึ่งระหว่างแข่งขันห้ามสังสรรค์กันนอกรอบ แม้กระทั่งกรรมการ เพราะฉะนั้นเราแข่งเสร็จเจอกันหน้ากอง ก็กลับบ้านแยกย้ายกัน แม้กระทั่งไลน์ก็ไม่มีของกันและกัน ซึ่งงงมากว่า จะเกิดการไม่ชอบพอกันได้อย่างไร เพราะมันไม่มีเวลาใช้ชีวิตส่วนตัวด้วยกัน ทุกวันนี้นั่งคิดก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ ส่วนเมื่อวานไม่ได้คุยกับใครเลยหลังรายการจบ เพราะส่วนตัวไม่ค่อยสุงสิงกับใครอยู่แล้ว บวกกับเราไม่มีเรื่องอะไรต้องโทรไปเคลียร์ ไม่มีเรื่องอะไรต้องไปถามเจ้าตัวคนโพสต์ว่า 'เห้ย เธอจะแฉอะไรเรา' เพราะฉะนั้นสำหรับเราจบแล้ว เคลียร์แล้ว เราจะไม่มีการทำอะไรแบบนี้ และเราเข้าใจว่าคนโพสต์เองอาจจะไม่ได้ตั้งใจที่จะโพสต์แบบนั้นด้วยซ้ำ"
ส่วนบิว (ผู้ชนะเลิศคนแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์) ได้กล่าวเสริมว่า "จริง ๆ มันไม่ได้มีอะไรเลย อยากให้ทุกคนเปลี่ยนมุมมอง ไปให้กำลังใจเชฟทุกคนดีกว่า ทุกคนมีมิตรภาพที่ดีต่อกันเสมอ หลังจบรายการเราไปเจอกันในงานเราก็ทักทายพูดคุย"
หลังจากนั้นเคอร์กล่าวอีกว่า "การที่ทุกคนมาแข่ง ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันคืออยากชนะ แต่พอเกิดความผิดพลาดไปถึงความฝันไม่ได้ อยากให้แฟนคลับของเชฟทุกคนไปสนับสนุนทุกคน ทุกคนมีร้านอาหารหมดเลย"[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""เฮลิโคเนียเอช กรุ๊ป" ตอกย้ำตำแหน่งเจ้าพ่อ King of Food Content ตัวจริง ! คว้ำลิขสิทธิ์รายการระดับโลก Hell's Kitchen เสริมเขี้ยวเล็บ". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-09-09. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 "เปิดเตา Hell's Kitchen Thailand16 เชฟหนาวสั่นสะท้าน! เจอ 'เชฟป้อม-เชฟเอียน-เชฟวิลแมน-เชฟอ๊อฟ'แผ่รังสีอำมหิต". แนวหน้า. 31 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ครัวนรกมีไฟลุก เปิดหน้า "เชฟป้อม-เชฟวิลเมนท์" พิธีกรเฮล คิทเช่น ไทยแลนด์". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-10-14. สืบค้นเมื่อ 2023-10-14.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ก็มาดิคร้าบ | Joker Kitchen’s Thailand ครัวนรกที่เดือดยิ่งกว่าน้ำมันในกระทะ | 7 เม.ย. 67, สืบค้นเมื่อ 2024-05-12
- ↑ ฉ่อยหน้าม่าน ตอน สามน้าคิตเชน | คุณพระช่วย | ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗, สืบค้นเมื่อ 2024-05-21
- ↑ "เคอร์ เปิดใจดราม่า ผู้เข้าแข่งขันรายการโพสต์ถึง ลั่น ไม่มีอะไรต้องเคลียร์ เข้าใจไม่ได้ตั้งใจโพสต์". มติชน. 20 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายการโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี
- รายการโทรทัศน์โดยเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป
- รายการเรียลลิตีโชว์การแข่งขันทำอาหาร
- การแข่งขันทำอาหารในประเทศไทย
- รายการโทรทัศน์ไทยที่สร้างจากรายการโทรทัศน์บริติช
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2567
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการการทำอาหารทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020