ข้ามไปเนื้อหา

โพแทสเซียมไซยาไนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โพแทสเซียมไซยาไนด์
ชื่อ
IUPAC name
โพแทสเซียมไซยาไนด์
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.005.267 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 205-792-3
RTECS number
  • TS8750000
UNII
UN number 1680
  • InChI=1S/CN.K/c1-2;/q-1;+1 checkY
    Key: NNFCIKHAZHQZJG-UHFFFAOYSA-N checkY
  • InChI=1/CN.K/c1-2;/q-1;+1
    Key: NNFCIKHAZHQZJG-UHFFFAOYAH
  • [K+].[C-]#N
คุณสมบัติ
KCN
มวลโมเลกุล 65.12 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ ผลึกของแข็งสีขาว
deliquescent
กลิ่น จาง ๆ คล้ายอัลมอนด์
ความหนาแน่น 1.52 g/cm3
จุดหลอมเหลว 634.5 องศาเซลเซียส (1,174.1 องศาฟาเรนไฮต์; 907.6 เคลวิน)
จุดเดือด 1,625 องศาเซลเซียส (2,957 องศาฟาเรนไฮต์; 1,898 เคลวิน)
71.6 g/100 ml (25 °C)
100 g/100 ml (100 °C)
ความสามารถละลายได้ ใน เมทานอล 4.91 g/100 ml (20 °C)
ความสามารถละลายได้ ใน กลีเซอรอล ละลายได้
ความสามารถละลายได้ ใน ฟอร์มาไมด์ 14.6 g/100 mL
ความสามารถละลายได้ ใน เอทานอล 0.57 g/100ml
ความสามารถละลายได้ ใน ไฮดรอกซีลามีน 41 g/100 ml
pKa 11.0
−37.0·10−6 cm3/mol
1.410
อุณหเคมี
Std molar
entropy
(S298)
127.8 J K−1 mol−1
−131.5 kJ/mol
ความอันตราย
GHS labelling:
The corrosion pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The skull-and-crossbones pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The health hazard pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The environment pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
อันตราย
H290, H300, H310, H330, H370, H372, H410
P260, P264, P273, P280, P284, P301+P310
NFPA 704 (fire diamond)
NFPA 704 four-colored diamondHealth 4: Very short exposure could cause death or major residual injury. E.g. VX gasFlammability 0: Will not burn. E.g. waterInstability 0: Normally stable, even under fire exposure conditions, and is not reactive with water. E.g. liquid nitrogenSpecial hazards (white): no code
4
0
0
จุดวาบไฟ ไม่ติดไฟ
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC):
5 mg/kg (oral, rabbit)
10 mg/kg (oral, rat)
5 mg/kg (oral, rat)
8.5 mg/kg (oral, mouse)[2]
NIOSH (US health exposure limits):
PEL (Permissible)
TWA 5 mg/m3[1]
REL (Recommended)
C 5 mg/m3 (4.7 ppm) [10-minute][1]
IDLH (Immediate danger)
25 mg/m3[1]
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) ICSC 0671
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนอื่น ๆ
โพแทสเซียมไซยาเนต
โพแทสเซียมไทโอไซยาเนต
แคทไอออนอื่น ๆ
โซเดียม
รูบิเดียมไซยาไนด์
ลิเทียมไซยาไนด์
ซีเซียมไซยาไนด์
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
ไฮโดรเจนไซยาไนด์
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

โพแทสเซียมไซยาไนด์ (อังกฤษ: potassium cyanide) มีสูตรเคมีคือ KCN มีลักษณะเป็นของแข็งผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดีมาก มักใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทอง การสังเคราะห์ทางอินทรีย์และการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า โพแทสเซียมไซยาไนด์มีความเป็นพิษสูงมาก มีกลิ่นจาง ๆ คล้ายอัลมอนด์ แต่การได้กลิ่นนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม[4] และมีบันทึกจากผู้ที่ฆ่าตัวตายด้วยสารนี้ว่ามีรสฉุนแสบลิ้น[5]

การผลิต

[แก้]

ก่อนปี ค.ศ. 1900 โพแทสเซียมไซยาไนด์ได้จากการสลายโพแทสเซียมเฟอร์โรไซยาไนด์ ดังสมการ:[6]

K4[Fe(CN)6] → 4 KCN + FeC2 + N2

ต่อมาได้จากการผสมไฮโดรเจนไซยาไนด์กับสารละลายในน้ำ 50% ของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ แล้วทำให้ระเหยในสุญญากาศ:[7]

HCN + KOH → KCN H2O

ประมาณการว่ามีการผลิตโพแทสเซียมไซยาไนด์ 50,000 ตันต่อปี[8]

ความเป็นพิษ

[แก้]

โพแทสเซียมไซยาไนด์เป็นสารยับยั้งการหายใจระดับเซลล์และยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างพลังงานและเกิดภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก ผิวหนังเกิดผื่นแดงเนื่องจากเนื้อเยื่อไม่สามารถใช้ออกซิเจนจากเลือดได้ ต่อมาผู้ป่วยจะหมดสติและอาจมีภาวะชัก และจะเสียชีวิตจากภาวะพร่องออกซิเจน

ขนาดของโพแทสเซียมไซยาไนด์ที่ทำให้เสียชีวิตอยู่ที่ 200–300 มิลลิกรัม[9] ช่วงเวลาของการออกฤทธิ์ขึ้นอยู่กับความเป็นกรดในกระเพาะอาหารที่จะเปลี่ยนโพแทสเซียมไซยาไนด์เป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์

โพแทสเซียมไซยาไนด์ใช้ในการกระทำอัตวินิบาตกรรมของบุคคลในประวัติศาสตร์หลายคน เช่น แอร์วิน รอมเมิล, เอฟา เบราน์, โยเซฟ เกิบเบลส์, ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์, แฮร์มันน์ เกอริงและแอลัน ทัวริง

โพแทสเซียมไซยาไนด์สามารถขจัดความเป็นพิษได้ด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ [H2O2 ] หรือสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ [NaOCl] ดังสมการ:[8]

KCN + H2O2 → KOCN + H2O

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0522". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  2. "Cyanides (as CN)". Immediately Dangerous to Life and Health Concentrations (IDLH). National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  3. "POTASSIUM CYANIDE | CAMEO Chemicals | NOAA".
  4. Online 'Mendelian Inheritance in Man' (OMIM) 304300
  5. "The only taste: Cyanide is acrid". hindustantimes.com. Hindustan Times.
  6. Von Wagner, Rudolf (1897). Manual of chemical technology. New York: D. Appleton & Co. p. 474 & 477.
  7. Pradyot Patnaik. Handbook of Inorganic Chemicals. McGraw-Hill, 2002, ISBN 0-07-049439-8
  8. 8.0 8.1 Andreas Rubo, Raf Kellens, Jay Reddy, Joshua Wooten, Wolfgang Hasenpusch "Alkali Metal Cyanides" in Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry 2006 Wiley-VCH, Weinheim, Germany. doi:10.1002/14356007.i01_i01
  9. John Harris Trestrail III. Criminal Poisoning - Investigational Guide for Law Enforcement, Toxicologists, Forensic Scientists, and Attorneys (2nd edition). pg 119

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]