ข้ามไปเนื้อหา

แอร์บัส เอ321

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Airbus A321)
แอร์บัส เอ321


แอร์บัส เอ321-200 ของอเมริกันแอร์ไลน์ ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ
บริษัทผู้ผลิตแอร์บัส
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักอเมริกันแอร์ไลน์
เดลตาแอร์ไลน์
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์
วิซซ์แอร์
จำนวนที่ผลิต3,145 ลำ (พฤษภาคม ค.ศ. 2024)[1]
ประวัติ
สร้างเมื่อค.ศ. 1992–2021 (เอ321ซีอีโอ)
ค.ศ. 2016–ปัจจุบัน (เอ321นีโอ)
เริ่มใช้งาน27 มกราคม ค.ศ. 1994 โดยลุฟท์ฮันซ่า
เที่ยวบินแรก11 มีนาคม ค.ศ. 1993
พัฒนาจากแอร์บัส เอ320
พัฒนาเป็นแอร์บัส เอ321นีโอ

แอร์บัส เอ321 (อังกฤษ: Airbus A321) เป็นรุ่นของอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส โดยมีความจุผู้โดยสารอยู่ที่ 185 ถึง 236 ที่นั่ง เอ321 เป็นรุ่นที่เพิ่มความยาวลำตัวเครื่องจากเอ320 เดิม และได้เริ่มประจำการกับลุฟท์ฮันซ่าในปี 1994 ประมาณหกปีหลังจากเอ320 เครื่องบินรุ่นนี้มีศักยการบินเฉพาะแบบเหมือนกับรุ่นอื่นในตระกูลเอ320 นักบินสามารถทำการบินบนเครื่องบินตระกูลเอ320 ได้ทุกรุ่นจากการที่แต่ละรุ่นมีระบบการบินที่ใกล้เคียงกัน

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 แอร์บัสได้ประกาศการพัฒนาเครื่องบินตระกูลเอ320นีโอ (ตัวเลือกเครื่องยนต์แบบใหม่) ซึ่งเป็นการพัฒนาของเครื่องบินตระกูลเอ320 เดิม โดยมีพัฒนาประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น[2] การพัฒนาของรุ่นใหม่นี้ยังคงใช้ขนาดลำตัวเครื่องเดิมของเอ321ซีอีโอ แต่จะมีการใช้เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกับการปรับปรุงโครงสร้างเครื่องบินและการใช้ปลายปีกแบบชาร์กเลต เอ321นีโอมีประสิทธิภาพในการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้นถึง 15% โดยสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 244 ที่นั่งพร้อมพิสัยการบิน 4,000 ไมล์ทะเล (7,400 กิโลเมตร; 4,600 ไมล์) สำหรับรุ่นพิสัยไกลที่จัดเรียงห้องโดยสารแบบ 206 ที่นั่ง[3]

เอ321 มีฐานการผลิตหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานฟิงเคินแวร์เดอร์ในฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี และโมบีล รัฐแอละบามา สหรัฐ โดย ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 ได้มีการส่งมอบแอร์บัส เอ321 จำนวน 3,123 ลำ โดยมีประจำการอยู่ 3,057 ลำ และมียอดสั่งซื้อสำหรับรุ่นนีโอ 4,992 ลำ อเมริกันแอร์ไลน์เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด โดยมีเอ321 ประจำการอยู่ 298 ลำในฝูงบิน[1]

ลักษณะ

[แก้]
ปีกของเอ321 ซึ่งมีแฟลบแบบสองระดับ

อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้างที่มีการจัดเรียงล้อลงจอดแบบรถสามล้อที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สองเครื่อง มีระบบครีบและหางเสือเดียว เอ321 ได้มีการขยายความยาวลำตัวเครื่องและมีการปรับปรุงระบบปีกจากเอ320 เดิม โดยในส่วนหน้าปีกได้ขยายความยาวเพิ่ม 4.27 เมตร (14 ฟุต 0 นิ้ว) และอีก 2.67 เมตร (8 ฟุต 9 นิ้ว) ในส่วนด้านหลังปีก โดยรวมเอ321 จะยาวกว่าเอ320 6.94 เมตร (22 ฟุต 9 นิ้ว)[3][4][5][6] ด้วยความยาวที่มากขึ้นนี้ทำให้เอ321 จะต้องมีประตูทางออกเพิ่มขึ้น โดยจะติดตั้งอยู่ด้านหน้าและหลังของปีก[7] แอร์บัสได้มีการปรับปรุงระบบแฟลบและอุปกรณ์ผิวปีกบนเอ321 เพื่อรักษาประสิทธิภาพ[5] โดยได้ใช้ระบบแฟลบสองระดับและเพิ่มพื้นที่ปีกจาก 124 ตารางเมตร (1,330 ตารางฟุต) เป็น 128 ตารางเมตร (1,380 ตารางฟุต)[8] โครงสร้างเครื่องบินถูกปรับปรุงเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่เพิ่มขึ้น 9,600 กิโลกรัม (21,200 ปอนด์) เป็น 83,000 กิโลกรัม (183,000 ปอนด์) ได้[5]

รุ่น

[แก้]
บนเอ321 จะไม่มีทางออกฉุกเฉินเหนือปีก แต่จะมีการติดตั้งประตูประเภท 'C' ด้านหน้าและหลังปีกแทน บนเอ321นีโอบางลำที่ใช้ห้องโดยสารเคบินเฟลกซ์จะยังคงมีทางออกฉุกเฉินเหนือปีก

เอ321-100

[แก้]

แอร์บัส เอ321-100 เป็นรุ่นแรกที่พัฒนาขึ้นมา โดยจะมีพิสัยการบินที่สั้นกว่าเอ320 เพราะไม่มีการติดตั้งถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติมเพื่อชดเชยกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เอ321-100 มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดอยู่ที่ 83,000 กิโลกรัม (183,000 ปอนด์) เอ321-100 เข้าประจำการกับลุฟท์ฮันซ่าในปี 1994 แอร์บัสผลิตรุ่นนี้ออกมาเพียง 90 ลำ โดยมีเพียงไม่กี่ลำที่ต่อมาจะถูกดัดแปลงเป็นรุ่น -200 [9]

เอ321-200

[แก้]

ในปี 1995 แอร์บัสเริ่มพัฒนาเอ321-200 ที่มีน้ำหนักมากขึ้นและพิสัยการบินมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำการบินข้ามประเทศของสหรัฐได้ โดยแอร์บัสได้เลือกใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงดันมากกว่า (วี2533-เอ5 หรือ ซีเอฟเอ็ม56-5B3) ปรับปรุงโครงสร้าง และเพิ่มตัวเลือกในการติดตั้งถังเชื้อเพลิงขนาด 2,990-ลิตร (790-US-gallon) เพิ่มเติมหนึ่งหรือสองถังใต้ท้องเครื่อง[6] ถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติมนี้เพิ่มความจุเชื้อเพลิงเป็น 30,030-ลิตร (7,930-US-gallon) การดัดแปลงนี้ทำให้รุ่น-200 มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 93,000 กิโลกรัม (205,000 ปอนด์) แอร์บัส เอ321-200 ทำการบินครั้งแรกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1996 และเข้าประจำการกับโมนาร์กแอร์ไลน์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1997 รุ่น -200 แข่งขันกับโบอิง757-200และโบอิง737-900/900อีอาร์เป็นหลัก

เอ321นีโอ

[แก้]
เอ321นีโอจะใช้เครื่องยนต์ซีเอฟเอ็มลีปหรือพีดับเบิลยู1100จีที่ใหญ่กว่า ในภาพของเพลย์ใช้เครื่องยนต์ลีป

เอ321นีโอเป็นรุ่นที่ลำตัวยาวของเครื่องบินเอ320นีโอ ที่มีพิสัยการบินเพิ่มขึ้นจากรุ่นเดิม 500 ไมล์ทะเล (930 กิโลเมตร; 580 ไมล์)และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการเผาผลาญเชื้อเพลิงถึง 15% ด้วยตัวเลือกเครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม ลีปหรือพีดับเบิลยู1100จี[10] แอร์บัสเปิดตัวโครงการพัฒนานี้ในปี 2010 ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016[11] ได้รับการรับรองในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ.2016[12] และเริ่มดำเนินงานกับเวอร์จินอเมริกาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017[13] เอ321นีโอมีคู่แข่งสำคัญ คือ โบอิง 737 แมกซ์ 9 และ 737 แมกซ์ 10[14][15]

เอ321 แอลอาร์

[แก้]
เอ321 แอลอาร์ของแอร์ทรานแซท

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 แอร์บัสเริ่มหาตลาดสำหรับรุ่นพิสัยไกลที่มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด 97 ตัน (214,000 ปอนด์) พร้อมกับถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติมสามถัง เพื่อให้มีพิสัยการบินเพิ่มขึ้น 100 ไมล์ทะเล (190 กิโลเมตร; 120 ไมล์) ซึ่งมากกว่าโบอิง 757-200[16] แอร์บัสเปิดตัวเอ321 แอลอาร์ (LR; Long Range) ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2015 โดยมีพิสัยการบิน 4,000 ไมล์ทะเล (7,400 กิโลเมตร; 4,600 ไมล์) พร้อมความจุผู้โดยสาร 206 ที่นั่งในการจัดเรียงสองชั้นโดยสาร[17][18] เอ32 แอลอาร์ทำการบินเที่ยวบินแรกในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2018[19] แอร์บัสได้ประกาศการรับรองเครื่องบินในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2018[20] และเริ่มเข้าประจำการกับอาร์เคียในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018[21]

เอ321 เอกซ์แอลอาร์

[แก้]

แอร์บัสเริ่มศึกษาการพัฒนาเพิ่มน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดของเอ321 แอลอาร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018[22] โดยในช่วงแรกเอ321 เอกซ์แอลอาร์ที่เสนอจะมีพิสัยการบินเพิ่มขึ้น 4,500 ไมล์ทะเล (8,300 กิโลเมตร; 5,200 ไมล์) และคาดว่าจะทำการบินครั้งแรกในปี 2019 และจะเข้าประจำการในปี 2021 หรือ 2022 และจะแข่งขันกับโบอิง เอ็นเอ็มเอ.[23] ในเดือนพฤศจิกายน แอร์บัสเปิดเผยว่าเอ321 เอกซ์แอลอาร์ จะมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดมากกว่า 100 ตัน (220,000 ปอนด์) และมีพิสัยการบินมากกว่าเอ321 แอลอาร์ถึง 700 ไมล์ทะเล (1,300 กิโลเมตร; 810 ไมล์)[24] แอร์บัสเปิดตัวเอ321 เอกซ์แอลอาร์ อย่างเป็นทางการในงานปารีสแอร์โชว์เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 ซึ่งมีพิสัยการบินเพิ่มเติม 4,700 ไมล์ทะเล (8,700 กิโลเมตร; 5,400 ไมล์) รวมถึงถังเชื้อเพลิงบริเวณท้ายลำเพิ่มเติม และโครงสร้างล้อลงจอดที่แข็งแรงขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่เพิ่มขึ้น 101 ตัน (223,000 ปอนด์)[25] เอ321 เอกซ์แอลอาร์ ทำการบินครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022[26]

การดัดแปลงสำหรับการขนส่งสินค้า

[แก้]
แอร์บัส เอ321P2F ของไททันแอร์เวย์

ถึงแอร์บัสไม่เคยผลิตแอร์บัส เอ321 สำหรับการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ แต่ก็มีการดัดแปลงสำหรับการขนส่งสินค้าเช่นกัน โดนเริ่มแรกแอร์บัสได้จัดตั้ง แอร์บัส เฟรตเตอร์ คอนเวอร์ชัน เกเอ็มเบฮา เพื่อดูแลในโครงการดัดแปลงนี้ แต่ก็ปิดตัวลงในปี 2011 โดยที่ไม่ได้ดัดแปลงเครื่องบินใดๆ[27]

ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2015 เอสทีแอโรสเปซได้ทำข้อตกลงกับแอร์บัสและ EFW เพื่อร่วมกันพัฒนาในโครงการการดัดแปลงเครื่องบินเอ320 และเอ321 สำหรับการขนส่งสินค้า (P2F; passenger-to-freighter)[28] เครื่องบินต้นแบบลำแรกทำการบินเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2020 โดยแอร์บัส เอ321-200P2F ลำแรกได้ส่งมอบให้กับควอนตัสเฟรตในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2020[29]

ไซน์ ดราโคเอวิเอชันเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ให้บริการดัดแปลงเครื่องบินสำหรับโครงการเอ321P2F iโดยเดิมคาดว่าเครื่องบินลำแรกจะสามารถทำการบินได้ในปี 2022[30]

ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2022 ลุฟท์ฮันซ่าคาร์โกเริ่มให้บริการแอร์บัส เอ321F ซึ่งจะดำเนินการโดยลุฟท์ฮันซ่าซิตีไลน์[31]

ผู้ให้บริการ

[แก้]

ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 มีแอร์บัส เอ321 จำนวน 3,057 ลำ (รุ่นซีอีโอ 1,718 ลำและรุ่นนีโอ 1,339 ลำ) ให้บริการกับ 100 สายการบิน[1] อเมริกันแอร์ไลน์และเดลตาแอร์ไลน์เป็นสองผู้ให้บริการเอ321 รายใหญ่ที่สุด โดยมีประจำการในฝูงบินทั้งหมด 298 และ 181 ลำตามลำดับ[1]

คำสั่งซื้อและการส่งมอบ

[แก้]
รุ่น คำสั่งซื้อ การส่งมอบ
รวม ยอดค้างส่งมอบ รวม 2024 2023 2022 2021 2020 2019 2018 2017 2016 2015 2014 2013 2012 2011 2010
เอ321ซีอีโอ 1,784 1,784 22 9 38 99 183 222 184 150 102 83 66 51
เอ321นีโอ 6,331 4,992 1,339 91 317 264 199 178 168 102 20
รวม (8,115) (4,992) (3,123) (91) (317) (264) (221) (187) (206) (201) (203) (222) (184) (150) (102) (83) (66) (51)
รุ่น การส่งมอบ
2009 2008 2007 2006 2005 2004 2003 2002 2001 2000 1999 1998 1997 1996 1995 1994
เอ321ซีอีโอ 87 66 51 30 17 35 33 35 49 28 33 35 22 16 22 16
เอ321นีโอ
รวม (87) (66) (51) (30) (17) (35) (33) (35) (49) (28) (33) (35) (22) (16) (22) (16)

ขเอมูลเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2024[1][32]

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

[แก้]

ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 ได้มีอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ทางการบินที่เกี่ยวข้องกับแอร์บัส เอ321 ทั้งหมด 32 ครั้ง[33] โดยหกครั้งส่งผลให้สูญเสียเครื่องบิน และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 377 ราย ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019[34][35]

ข้อมูลจำเพาะ

[แก้]

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน

[แก้]

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน

[แก้]

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ไม่มีถังเชื้อเพลิงกลางเพิ่มเติม
  2. ติดตั้งปลายปีกแบบชาร์กเลต
  3. การติดตั้งถังเชื้อเพลิงกลางเพิ่มเติมแบบ 0–2[43]
  4. การติดตั้งถังเชื้อเพลิงกลางเพิ่มเติมแบบ0–3
  5. ในลำที่ติดตั้งปลายปีกแบบชาร์กเลตและมีน้ำหนักบรรทุกมาตรฐาน
  6. การจจัดเรียงสำหรับ 206 ที่นั่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Airbus Orders & Deliveries". Airbus. 30 April 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 May 2024.
  2. "Airbus offers new fuel saving engine options for A320 Family". Airbus. 1 December 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2016. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  3. 3.0 3.1 3.2 "A321 specifications". Airbus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2018. สืบค้นเมื่อ 17 October 2018.
  4. "Specifications Airbus A320". Airbus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2012. สืบค้นเมื่อ 13 February 2012.
  5. 5.0 5.1 5.2 Norris, Guy; Wagner, Mark (1999). Airbus. St. Paul, Minnesota: MBI Publishing. pp. 50–53. ISBN 0-7603-0677-X.
  6. 6.0 6.1 Gunston, Bill (2009). Airbus: The Complete Story. Sparkford, Yeovil, Somerset, UK: Haynes Publishing. pp. 213–215. ISBN 978-1-84425-585-6.
  7. Eden, Paul E., บ.ก. (2008). Civil Aircraft Today. London: Amber Books. p. 25. ISBN 978-1-905704-86-6.
  8. Moxon; Julian (17 March 1993). "A321: Taking on the 757". Flight International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2012. สืบค้นเมื่อ 25 February 2011.
  9. "Airbus A321-100 Production List". www.planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2021. สืบค้นเมื่อ 23 October 2021.
  10. "Airbus offers new fuel saving engine options for A320 Family" (Press release). Airbus. 1 December 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2016. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  11. "Airbus A321neo completes first flight after engine switch". Reuters. 9 February 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  12. "Airbus A321neo with P&W engines receives Type Certification" (Press release). Airbus. 15 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2017. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  13. Aaron Karp (20 April 2017). "Virgin America receives first A321neo as Alaska mulls future fleet". Air Transport World. Aviation Week. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  14. Airbus wins hot Wizz competition: 110 A321neos and with it the Paris Air Show Leeham
  15. Airbus switches underline trend to A321neo Flightglobal
  16. "Exclusive: Airbus launches "A321neoLR" long range to replace 757-200W". Leeham News. 21 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  17. "Airbus Launches Long-Range A321neo". Aviation International News. 13 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  18. "Airbus Launches Long-Range A321neo Version". Aviation Week. 13 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  19. "Airbus A321LR long-range jet completes maiden flight". Reuters. 31 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2018. สืบค้นเมื่อ 31 January 2018.
  20. "EASA and FAA certify long-range capability for A321neo" (Press release). Airbus. 2 October 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  21. David Kaminski Morrow (13 November 2018). "Arkia chief: A321LR first single-aisle to beat 757-300 economics". Flightglobal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2018. สืบค้นเมื่อ 24 November 2018.
  22. Jens Flottau (31 January 2018). "Airbus Studying Higher-Capacity A321neo". Aviation Week Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  23. Jens Flottau; Guy Norris (20 July 2018). "Airbus Moves Ahead With A321XLR Definition". Aviation Week & Space Technology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  24. "Airbus indicates A321XLR would have over 100t MTOW". Flightglobal. 13 November 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  25. "Airbus launches longest range single-aisle airliner: the A321XLR" (Press release). Airbus. 17 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2021. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
  26. O'Connor, Kate (2022-06-17). "Airbus A321XLR Completes First Flight". AVweb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-06-18.
  27. "Strong demand for used Airbus A320 aircraft drives joint decision to stop freighter conversion programme" (Press release). Airbus. 3 June 2011.
  28. "ST Aerospace, Airbus and EFW to launch A320 and A321P2F conversion programme" (Press release). ST Aerospace. 17 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2021.
  29. Chris Buckett (27 October 2020). "World's first A321P2F enters service". AirwaysMagazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2021.
  30. "The A321-200 SDF advantage". sinedraco.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2021. สืบค้นเมื่อ 23 October 2021.
  31. "A321F - Lufthansa Cargo". lufthansa-cargo.com. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
  32. "Historical Orders and Deliveries 1974–2009". Airbus S.A.S. January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Microsoft Excel)เมื่อ 23 December 2010. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
  33. Airbus A321 occurrences เก็บถาวร 31 สิงหาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Aviation Safety, 3 October 2017.
  34. Airbus A321 hull-loss occurrences เก็บถาวร 31 สิงหาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Aviation Safety, 3 October 2017.
  35. A321 accident statistics เก็บถาวร 31 สิงหาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Aviation Safety, 3 October 2017.
  36. "Airbus Family figures" (PDF). Airbus. July 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  37. 37.0 37.1 "All About the Airbus A320 Family". Airbus. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2016. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  38. "Airbus Launches Long-Range A321neo Version". Aviation Week. 13 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  39. "A321ceo specs". Airbus (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2020. สืบค้นเมื่อ 21 February 2020.
  40. Kaminski-Morrow, David (24 April 2014). "Airbus indicates potential for 240-seat A321neo". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2020. สืบค้นเมื่อ 21 February 2020.
  41. "Airbus reveals new A321neo layout: New 'Cabin-Flex' and larger doors". Australian business traveller. 13 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2016. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  42. "Airbus Aircraft Data File". Civil Jet Aircraft Design. Elsevier. July 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2017. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  43. 43.0 43.1 "A321 aircraft characteristics - airport and maintenance planning" (PDF). Airbus. 1 February 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
  44. 44.0 44.1 44.2 "Type Certificate Data Sheet" (PDF). EASA. 22 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 March 2019. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  45. "Airbus A320neo Technology". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2016.
  46. "Airbus A321XLR". Airbus. สืบค้นเมื่อ 12 July 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]