ข้ามไปเนื้อหา

CYP2C8

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
CYP2C8
Available structures
PDBOrtholog search: PDBe RCSB
Identifiers
AliasesCYP2C8, CPC8, CYPIIC8, MP-12/MP-20, cytochrome P450 family 2 subfamily C member 8, CYP2C8DM
External IDsOMIM: 601129 MGI: 1306818 HomoloGene: 117948 GeneCards: CYP2C8
Orthologs
SpeciesHumanMouse
Entrez
Ensembl
UniProt
RefSeq (mRNA)

NM_000770
NM_001198853
NM_001198854
NM_001198855
NM_030878

NM_010003
NM_001373937

RefSeq (protein)

NP_000761
NP_001185782
NP_001185783
NP_001185784

NP_034133
NP_001360866

Location (UCSC)Chr 10: 95.04 – 95.07 MbChr 19: 39.5 – 39.56 Mb
PubMed search[3][4]
Wikidata
View/Edit HumanView/Edit Mouse

ไซโทโครม P450 2C8 (อังกฤษ: Cytochrome P450 2C8; ชื่อย่อ: CYP2C8; EC 1.14.14.1) เป็นเอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งระบบออกซิเดชันอเนกประสงค์ของร่างกาย โดย CYP2C8 มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้เกิดเมแทบอลิซึมของสารกลุ่มซีโนไบโอติคส์ในร่างกาย และยังสามารถแสดงคุณสมบัติเป็นอีพอกซีจีเนส ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเมแทบอไลซ์กรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาว อย่างกรดอะราคิโดนิก กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก กรดดอคโคซาเฮกซาอีโนอิก และกรดลิโนเลอิก ให้อยู่ในรูปที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ[5] ทั้งนี้ เอนไซม์ CYP2C8 ถูกควบคุมโดยยีน CYP2C8 ซึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 10 โลคัส 10q23.3 และถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450[6]

ลิแกนด์ของ CYP2C8

[แก้]

ลิแกนด์ของ CYP2C8 มีอยู่หลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ลิแกนด์ที่เป็นสารซับสเตรต สารเหนี่ยวนำ (enzyme inducer) และสารยับยั้ง (enzyme inhibitor) ดังแสดงรายละเอียดในตารางด้านล่าง โดยความแรงของการเป็นสารยับยั้งนั้นสามารถออกได้เป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่[7]

  • สารยับยั้งอย่างแรง (Strong inhibitor) คือ สารที่เมื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แล้วทำให้ค่า AUC ในกระแสเลือดของซับสเตรตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 เท่าจากปกติ หรือลดการกำจัดซับสเตรตออกจากร่างกายได้มากกว่าร้อยละ 80[8]
  • สารยับยั้งปานกลาง (Moderate inhibitor) คือ สารที่เมื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แล้วทำให้ค่า AUC ในกระแสเลือดของซับสเตรตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่าจากปกติ หรือลดการกำจัดซับสเตรตออกจากร่างกายได้ร้อยละ 50–80[8]
  • สารยับยั้งอย่างอ่อน (Weak inhibitor) คือ สารที่เมื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แล้วทำให้ค่า AUC ในกระแสเลือดของซับสเตรตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1.25 เท่าจากปกติ แต่น้อยกว่า 2 เท่า หรือลดการกำจัดซับสเตรตออกจากร่างกายได้ร้อยละ 20–50[8]
สารซับสเตรต สารยับยั้ง สารเหนี่ยวนำ

สารยับยั้งอย่างแรง

สารยับยั้งความแรงปานกลาง

สารยับยั้งที่ไม่อาจระบุความแรงได้

สารเหนี่ยวนำที่ไม่อาจระบุความแรงได้

คุณสมบัติการเป็นอีพอกซีจีเนส

[แก้]

CYP2C8 ถือเป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งในไซโทโครม P450 ที่สามารถแสดงคุณสมบัติเป็นอีพอกซีจีเนส ซึ่งถือเป็นเอนไซม์ที่สำคัญที่คอยตอบสนองต่อกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาวภายในร่างกาย โดยตำแหน่งพันธะคู่ (เช่น อัลคีน) ของกรดไขมันดังกล่าวซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างจำพวกอีพอกไซด์นั้นถือเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นให้ CYP2C8 ตอบสนองต่อกรดไขมันเหล่านี้ สารเมแทบอไลต์ที่เกิดขึ้นจากการเมแทบอลิซึมกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาวชนิดต่างๆ ด้วย CYP2C8 ได้แก่

นอกจาก CYP2C8 แล้ว CYP2C9, CYP2C19, CYP2J2 และอาจรวมถึง CYP2S1 ถึงเป็นเอนไซม์สำคัญที่เป็นแหล่งสร้าง EET ซึ่งอาจรวมถึง EEQs, EDPs, และอีพอกไซด์ของกรดไลโนเลอิก[13][14]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 GRCh38: Ensembl release 89: ENSG00000138115Ensembl, May 2017
  2. 2.0 2.1 2.2 GRCm38: Ensembl release 89: ENSMUSG00000025003Ensembl, May 2017
  3. "Human PubMed Reference:". National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine.
  4. "Mouse PubMed Reference:". National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine.
  5. Westphal C, Konkel A, Schunck WH (Nov 2011). "CYP-eicosanoids--a new link between omega-3 fatty acids and cardiac disease?". Prostaglandins & Other Lipid Mediators. 96 (1–4): 99–108. doi:10.1016/j.prostaglandins.2011.09.001. PMID 21945326.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. National Center for Biotechnology Information (April 8, 2018). "CYP2C8 cytochrome P450 family 2 subfamily C member 8 [ Homo sapiens (human) ]". U.S. National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ April 17, 2018.
  7. Center for Drug Evaluation and Research. "Drug Interactions & Labeling - Drug Development and Drug Interactions: Table of Substrates, Inhibitors and Inducers". www.fda.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2016-06-01.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 Flockhart DA (2007). "Drug Interactions: Cytochrome P450 Drug Interaction Table". Indiana University School of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 2018-04-17. Retrieved on July 2011
  9. Chapter 26 in: Rod Flower; Humphrey P. Rang; Maureen M. Dale; Ritter, James M. (2007). Rang & Dale's pharmacology. Edinburgh: Churchill Livingstone. ISBN 0-443-06911-5.
  10. Fleming I (October 2014). "The pharmacology of the cytochrome P450 epoxygenase/soluble epoxide hydrolase axis in the vasculature and cardiovascular disease". Pharmacological Reviews. 66 (4): 1106–40. doi:10.1124/pr.113.007781. PMID 25244930.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Wagner K, Vito S, Inceoglu B, Hammock BD (October 2014). "The role of long chain fatty acids and their epoxide metabolites in nociceptive signaling". Prostaglandins & Other Lipid Mediators. 113–115: 2–12. doi:10.1016/j.prostaglandins.2014.09.001. PMC 4254344. PMID 25240260.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. Fischer R, Konkel A, Mehling H, Blossey K, Gapelyuk A, Wessel N, von Schacky C, Dechend R, Muller DN, Rothe M, Luft FC, Weylandt K, Schunck WH (March 2014). "Dietary omega-3 fatty acids modulate the eicosanoid profile in man primarily via the CYP-epoxygenase pathway". Journal of Lipid Research. 55 (6): 1150–1164. doi:10.1194/jlr.M047357. PMC 4031946. PMID 24634501.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. Spector AA, Kim HY (April 2015). "Cytochrome P450 epoxygenase pathway of polyunsaturated fatty acid metabolism". Biochimica et Biophysica Acta. 1851 (4): 356–65. doi:10.1016/j.bbalip.2014.07.020. PMC 4314516. PMID 25093613.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. Shahabi P, Siest G, Meyer UA, Visvikis-Siest S (November 2014). "Human cytochrome P450 epoxygenases: variability in expression and role in inflammation-related disorders". Pharmacology & Therapeutics. 144 (2): 134–61. doi:10.1016/j.pharmthera.2014.05.011. PMID 24882266.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


บทความนี้รวบรวมข้อมูลจากหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน ซึ่งจัดเป็นสาธารณสมบัติ