การทหาร
การทหาร เป็นองค์การที่สังคมอนุญาตให้ใช้อำนาจสำหรับสังหาร[1] (lethal force) ซึ่งโดยปกติเป็นการใช้อาวุธสำหรับในการป้องกันประเทศ เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นหรืออยู่ภายใต้การรับรู้
การทหารอาจมีการทำหน้าที่อื่นต่อสังคม เช่น การเดินหน้าวาระทางการเมือง[2] (ในกรณีคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง) สนับสนุนหรือส่งเสริมการขยายทางเศรษฐกิจผ่านจักรวรรดินิยม และเป็นการควบคุมทางสังคมภายในรูปแบบหนึ่ง
คำว่า "การทหาร" หรือ "ทางทหาร" ที่เป็นคำคุณศัพท์ ยังใช้หมายถึง ทรัพย์สินหรือมุมมองของทหาร การทหารทำหน้าที่เป็นสังคมภายในสังคม โดยมีชุมชนทหารเป็นของตนเอง[3]
การจัดหน่วยทหาร
[แก้]กำลังพลและการจัดหน่วยรบ
[แก้]ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน เทคโนโลยีทางการทหารมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการทางการทหารก็คือกำลังพลทหารที่เป็นมนุษย์เป็นหลัก โดยในปี 2543 กองทัพอังกฤษได้ระบุไว้ในเอกสารว่า มนุษย์ยังคงเป็นอาวุธชนิดแรกในสงคราม[4]
ประเทศ | กำลังพล |
---|---|
จีน |
2,000
|
อินเดีย |
1,450
|
สหรัฐ |
1,390
|
เกาหลีเหนือ |
1,200
|
รัสเซีย |
850
|
ปากีสถาน |
640
|
อิหร่าน |
575
|
เกาหลีใต้ |
555
|
เวียดนาม |
470
|
อียิป |
450
|
ตรุกี |
425
|
อินโดนิเซีย |
400
|
เมียนมาร์ |
400
|
บราซิล |
360
|
ไทย |
350
|
แหล่งข้อมูล: Global Firepower Index[5] |
ชั้นยศและบทบาทในการรบ
[แก้]หน่วยงานทางการทหาร มักจะมีลำดับการบังคับบัญชาตามระดับของชั้นยศในการสั่งการ โดยเรียงจากยศที่มีอำนาจสูงที่สุดในการสั่งการกองทัพทั้งหมด (เช่น พลเอก) ไล่ลำดับลงมาจนถึงยศต่ำที่สุดที่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจใด ๆ (เช่น พลทหาร) นอกจากนี้ยังมีการจัดลำดับตามความอาวุโสและประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อประสิทธิภาพในการตัดสินใจสั่งการไปยังเหล่าทหารที่อยู่ภายในบังคับบัญชา แต่ในบางกองทัพการแต่งตั้งชั้นยศก็ไม่สมกับสัดส่วนอำนาจการบังคับบัญชาในสากลประเทศอื่น ๆ[6]
นอกจากชั้นยศแล้ว บทบาทในการรบก็ถูกแบ่งขึ้นมาเพื่อระบุถึงคุณสมบัติและบทบาทหน้าของกองทหารนั้น ๆ โดยในประเทศไทยเรียกว่า เหล่า[7] เช่น ทหารราบ ทำหน้าที่ในการรบด้วยกำลังทหาร ทหารม้า ทำหน้าที่ในการใช้รถถังหรือพาหนะในการเคลื่อนที่และมีอำนาจการยิงที่รุนแรง ทหารช่าง ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการรบด้านการช่าง การสร้างและดัดแปลงภูมิประเทศ
ในกองทัพและการทหารสมัยใหม่ ระบบชั้นยศนั้นถูกใช้อย่างแพร่หลายในเกือบทุกประเทศ แต่ในอดีตมีบางประเทศที่ปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์พยายามยกเลิกระบบชั้นยศในกองทัพ[8] เช่น สหภาพโซเวียต[9] สาธารณรัฐประชาชนจีน[10] แต่ก็ต้องกลับมาใช้งานระบบชั้นยศอีกครั้ง[11]เนื่องจากปัญหาในการบังคับบัญชาและควบคุมการรบ
การสรรหากำลังพล
[แก้]กำลังพลของกองทัพที่ใช้ในการปฏิบัติการทางทหารนั้น ปัจจุบันมีทั้งในรูปแบบของการรับสมัคร และรูปแบบของการเกณฑ์ทหาร ขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละประเทศ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย แต่กำลังมีสัดส่วนของผู้หญิงเพิ่มมากขึ้นในกองทัพโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว[12] ในขณะที่ 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลกใช้วิธีในการสรรหากำลังพลเฉพาะในช่วงวัยของผู้ใหญ่ มีเพียงบางประเทศที่ยังคงใช้วิธีการสรรหากำลังพลโดยใช้เด็กเป็นกองกำลัง โดยเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก คือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
สำหรับในประเทศไทยการสรรหากำลังพลเป็นรูปแบบของการเกณฑ์ทหาร แต่ในปัจจุบันกำลังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะคงรูปแบบการเกณฑ์ หรือจะปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบสมัครใจ เนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพลทหารที่มาจากการเกณฑ์ทหารของกองทัพ ปรากฏออกมาเป็นข่าวในสื่อ[13]และรายงานขององค์กรระหว่างประเทศ[14] ซึ่งกองทัพไทยระบุว่ากำลังศึกษารูปแบบของการสรรหากำลังพลแบบสมัครใจอยู่[15][16]
การฝึก
[แก้]การฝึกกำลังพลเพื่อจะไปเป็นทหารนั้น โดยพื้นฐานจะต้องฝึกเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะปฏิบัติการทางทหาร ในการทำร้ายและสังหารข้าศึก การเผชิญสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างการรบ เป็นการฝึกทั้งในด้านของร่างกายและจิตใจ โดยอาจจะแบ่งไปตามคุณสมบัติเฉพาะของตำแหน่ง หลักสูตรหรือเหล่าที่เข้ารับการฝึก อาทิ
- การทำลายตัวตนเดิม เช่น การตัดผมสั้นเกรียน การแต่งกายด้วยเครื่องแบบเหมือนกัน การใช้รหัสแทนการใช้ชื่อ[17][18]
- กิจวัตรประจำวันที่เข้มงวด เช่น การจัดเตียง การขัดรองเท้า การจัดเสื้อผ้าให้เป็นระเบียบ และมีบทลงโทษสำหรับผู้กระทำผิด[19][20]
- การเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจนทำร้ายสภาพจิตใจ ซึ่งเป็นความต้องการของครูฝึก เช่น การอดนอน การอดอาหารหรือที่พัก การด่า การดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือการทำให้อับอาย
ข่าวกรอง
[แก้]ในการทหารนั้นจำเป็นจะต้องระบุถึงภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นต่อกองทัพหรือกองกำลังนั้น ๆ จึงได้มีการรวบรวมข่าว ทั้งจากบุคลากรของกองทัพเอง และจากพลเรือน เพื่อระบุตัวตนหรือสิ่งที่เป็นภัยคุกคาม และรักษาความปลอดภัย โดยเรียกว่าข่าวกรองทางทหาร โดยแนวคิดในการรวบรวมข่าวกรองนั้น เป็นการรวบรวมข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของฝ่ายเรา[21] ไม่ว่าจะเป็นแผนการในการก่อความไม่สงบ การเคลื่อนกำลัง หรือแผนการสำหรับการบุกยึด
ส่วนที่สำคัญที่สุดของข่าวกรองทางทหารคือการวิเคราะห์ข่าวกรอง เพื่อประเมินความสามารถทางการทหารของผู้ที่เราคาดว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต และจำลองรูปแบบการปฏิบัติการ ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการปฏิบัติการนั้น ๆ อาจจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท[21] คือ
- ข่าวกรองในการรบ (Combat Intelligence) คือสภาพของข้าศึก ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การวางกำลัง
- ข่าวกรองทางยุทธศาสตร์ (Strategic Intelligence) คือข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการในระดับของนโยบาย และแผนการดำเนินกลยุทธ์ เกี่ยวกับขีดความสามารถในการรบ
เศรษฐกิจ
[แก้]ประเทศ | งบประมาณทางการทหาร |
---|---|
สหรัฐ |
801.0
|
จีน |
293.0
|
อินเดีย |
76.6
|
สหราชอาณาจักร |
68.4
|
รัสเซีย |
65.9
|
ฝรั่งเศส |
56.6
|
เยอรมนี |
56.0
|
ซาอุดิอารเบีย |
55.6
|
ญี่ปุ่น |
54.1
|
เกาหลีใต้ |
50.2
|
อิตาลี |
32.0
|
ออสเตรเลีย |
31.8
|
แคนนาดา |
26.4
|
อิหร่าน |
24.6
|
อิสราเอล |
24.3
|
แหล่งข้อมูล: SIPRI[22] |
เศรษฐศาสตร์กลาโหม[23] คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการงบประมาณด้านการทหาร เพื่อสร้างทรัพยากรและบำรุงรักษากองกำลังทางการทหาร รวมไปถึงงบประมาณในการปฏิบัติการทางการทหารและการทำสงคราม
ในการจัดสรรงบประมาณทางการทหารนั้น จะถูกจัดสรรโดยหน่วยงานด้านการเงินในกองทัพของแต่ละประเทศ โดยการจัดซื้ออาวุธของกองกำลังทางการทหารนั้นสามารถกระทำได้ทั้งในยามสงบ และในสภาวะสงคราม แม้แต่ในสภาวะวิกฤตต่าง ๆ เช่นการแพร่ระบาดของโควิด-19[24] ที่หลายประเทศทั่วโลกยังคงมีการเพิ่มงบประมาณทางการทหาร แต่ก็มีบางประเทศปรับลดเพื่อนำงบประมาณดังกล่าวมาจัดการกับวิกฤตการแพร่ระบดของโควิด-19[25]
การพัฒนาขีดความสามารถ
[แก้]การพัฒนาขีดความสามารถ[26] หรือมักจะเรียกกันว่าการพัฒนาความแข็งแกร่งของกองทัพ เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน ซึ่งขีดความสามารถของกองทัพนั้นประกอบไปด้วยขีดความสามารถเชิงกลยุทธ เชิงปฏิบัติการ และเชิงยุทธวิธี เพื่อตอบโต้ต่อภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น โดยอาจจะจัดทำแผนพัฒนาขีดความสามารถ (Defense Capability Development Plan)[26] และการจัดทำเอกสารป้องกันประเทศ (Defense White Paper)[26]
เทคโนโลยีทางการทหาร
[แก้]หลายครั้งเทคโนโลยีของพลเรือนที่มีการศึกษาวิจัยไม่ได้ครอบคลุมหรือสามารถนำมาใช้ในทางการทหารได้ จึงต้องมีการศึกษาและวิจัยเทคโนโลยีทางการทหารโดยเฉพาะขึ้นมา[27] โดยปัจจุบันได้มีการแข่งขันกันระหว่างชาติมหาอำนาจหลัก เช่น สหรัฐ[28] จีน[29] ญี่ปุ่น รัสเซีย[30] เพื่อให้มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปได้ไกลกว่าคู่แข่งของตนเอง[29]
เทคโนโลยีทางการทหารถูกใช้งานในแทบทุกส่วนของการทหารในปัจจุบัน อาทิ การออกแบบ พัฒนาอาวุธ อุปกรณ์สนับสนุนทหารราบในการรบ การฝึกในการรบ[31] รวมไปถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่อาจจะนำเข้ามาใช้ในสงครามในอนาคต แต่ยังคงเป็นที่ถกเถียงในปัจจุบันว่าการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในทางการทหารจะเกิดผลกระทบร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา[32]
การส่งกำลังบำรุงทางทหาร
[แก้]การมีขีดความสามารถในการรบนั้น ไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติการทางการทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ[33] เนื่องจากหน่วยทหารจำเป็นจะต้องมีกระสุน อาวุธ และเสบียงต่าง ๆ ที่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติการในการรบ[34] การส่งกำลังบำรุงทางทหารจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติการทางการทหารต่าง ๆ ในสงครามยุคปัจจุบัน[35]
สำหรับการส่งกำลังบำรุงทางทหารนั้น สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการใช้รถบรรทุกทหาร การใช้รถไฟ ไปจนถึงการใช้เรือขนส่งสินค้า เพื่อที่จะนำกำลังบำรุงเหล่านั้นส่งไปถึงทหารในแนวรบ และพื้นที่นัดหมายที่อาจมีการกำหนดไว้ล่วงหน้า
การส่งกำลังบำรุงถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในการรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี พ.ศ. 2565 โดยในระลอกแรกของการเข้าโจมตี กองทัพรัสเซียถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความล้มเหลวในการส่งกำลังบำรุงทางการทหาร ทำให้เกิดความสูญเสียต่อกองกำลังของรัสเซียเป็นจำนวนมาก[34][35]
ทหารกับสังคม
[แก้]ในสังคมตั้งแต่อดีต ทหารถูกเลือกให้เป็นผู้นำในการปกครองมวลชน เนื่องจากมีอำนาจทางทหารและสามารถปกป้องประชาชนภายใต้การปกครองได้ จึงได้รับความไว้วางใจในการเป็นผู้นำ เช่น สังคมญี่ปุ่นในอดีต ที่ทหารซามูไรเป็นวรรณะนักรบที่มีชนชั้นทางสังคมเหนือกว่าผู้อื่นและมีหน้าที่ในการปกป้องรับใช้โชกุน ซึ่งเป็นผู้นำของสังคมในขณะนั้น[36] และสังคมไทยในอดีต ที่พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นผู้บังคับบัญชาในการรบโดยตรง บังคับบัญชาทหารเข้าสู่สงครามต่าง ๆ เพื่อปกป้องเมือง[37] จนกระทั่งเข้าสู่สังคมยุคใหม่ ทหารจึงมีสถานะที่เปลี่ยนไปและทำหน้าที่ในการปกป้องประเทศและประชาชนรวมถึงการป้อมปราม[38]
ในยุคปัจจุบัน ทหารถูกตั้งคำถามถึงคุณค่าและความจำเป็นในการมีอยู่ ในขณะเดียวกันการทหารก็มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่หลายประเทศยกเลิกการมีกองทัพลงไป[39] แต่ในอีกหลายประเทศกับเร่งพัฒนาขีดความสามารถยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อแข่งขันและรับมือกับภัยคุกคามของตนเองที่เกิดขึ้นมา[40]
สังคมของทหารมีลักษณะที่เป็นสังคมซ้อนอยู่ภายในสังคมภายนอกอยู่อีกชั้นหนึ่ง[3] มีระบบบริหารจัดการภายในตัวของตัวเอง อาทิ ศาลทหาร ที่มีไว้สำหรับพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับทหาร หรืออาญาสงครามโดยเฉพาะ ไม่สามารถนำมาตัดสินพลเรือนซึ่งอยู่ภายนอกอำนาจของศาลทหารได้[41][42] แพทย์ทหาร หรือเรียกว่า เสนารักษ์ ที่มีความเชี่ยวชาญเหมือนแพทย์ทั่วไป แต่มีศักยภาพในการปฏิบัติการได้ในสถานการณ์ขับขันหรือการสู้รบ[43] การศึกษา ที่มีโรงเรียนทหารสำหรับเรียนและฝึกสำหรับการเป็นทหารโดยเฉพาะแยกออกมาจากพลเรือน โดยจะแยกตามความเชี่ยวชาญและบทบาทหน้าที่ในกองทัพหลังจากจบการศึกษา เช่น โรงเรียนเตรียมทหาร[44] โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ทหารกับสังคมการเมือง มีพัฒนาการที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในหลายประเทศ ทหารได้เข้าไปมีบทบาททางการเมือง[45] ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ทหารสามารถเข้ามามีบทบาททางการเมืองได้ ด้วยวิธีการรัฐประหาร หรือจากระบอบการปกครองที่เอื้ออำนวยอยู่แล้ว ซึ่งปัญหาที่พบคือการแทรงแซงกลไกต่าง ๆ รวมไปถึงปัญหาความโปร่งใสของกองทัพ ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับปฏิบัติการทางการทหารต่าง ๆ[46] และการจัดการงบประมาณที่เกิดการทุจริตได้ง่าย[47]
ในประเทศที่สามารถแยกทหารออกจากการแทรกแซงทางการเมืองได้นั้นใช้วิธีการคานอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่ายของประเทศให้เกิดความสมดุล[45]คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ รวมถึงการปฏิรูปธุรกิจหรือกิจการของฝ่ายทหารเพื่อลดอำนาจการต่อรองลง โดยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือฝ่ายทหารเอง ที่ต้องยินยอมที่จะปรับตัวและอยู่ภายใต้พลเรือน[45] เช่นเดียวกับประเทศที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอื่น ๆ ปฏิเสธที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง[48]
จริยธรรมทางการทหาร
[แก้]จริยธรรมในการทำสงครามและปฏิบัติการทางการทหารนั้นถูกพัฒนาเรื่อยมา โดยมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ในชื่อของอนุสัญญาเจนีวา แต่ในหลักความเป็นจริง อนุสัญญาดังกล่าวถูกปฏิบัติเฉพาะในช่วงเวลาสงครามตามรูปแบบ แต่ไม่ถูกนำมาปฏิบัติในการชุมนุมทางการเมือง[49][50]และการลุกฮือต่าง ๆ ของประชาชน[51]
ในแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ ได้มีการห้ามใช้อาวุธบางชนิด โดยเฉพาะอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruction: WMD) นอกจากนี้ยังมีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการก่อให้เกิดอาชญากรรมสงคราม โดยจัดให้มีการดำเนินคดีต่ออาชญากรสงครามในศาลอาญาระหว่างประเทศ สำหรับผู้ที่ละเมิดและกระทำผิด[52] และตามบทบัญญัติกฎหมายทางการทหารโดยเฉพาะของแต่ละประเทศ เช่น ประมวลกฎหมายยุติธรรมทหาร ของสหรัฐอเมริกา[41] พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488 ของไทย[53][54]
นอกจากนี้ ยังมีการปฏิบัติการทางทหารเพื่อมนุษยธรรมที่ได้รับการยอมรับโดยแพร่หลาย อาทิ การบรรเทาสาธารณภัย[55] การปกป้องผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ[56] และการรักษาสันติภาพในพื้นที่ขัดแย้ง[57]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Miller, Seumas (2016), "Military Use of Lethal Force", Shooting to Kill, Oxford University Press, doi:10.1093/acprof:oso/9780190626136.001.0001/acprof-9780190626136-chapter-7, ISBN 978-0-19-062613-6, สืบค้นเมื่อ 2022-05-05
- ↑ "ทฤษฎีว่าด้วยความเข้มแข็งของทหาร". สยามรัฐ. 2016-10-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-05. สืบค้นเมื่อ 2022-05-05.
- ↑ 3.0 3.1 บำรุงสุข, สุรชาติ (2017-12-18). "รัฐซ้อนซ่อนรัฐ! อภิมหา'กอ.รมน.'กับอนาคตการเมืองไทย : สุรชาติ บำรุงสุข". มติชนออนไลน์.
- ↑ British Army (2000). "Soldiering: The military covenant" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Active Military Manpower (2022)". www.globalfirepower.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.
- ↑ "สื่อญี่ปุ่นชี้ "นายพลไทย" ล้นกองทัพ ชาติอื่นใช้ "นายพัน" ทำหน้าที่เดียวกัน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.
- ↑ "ทหารมีกี่เหล่า หน้าที่เหล่าทหารมีอะไรบ้าง ข้อมูลก่อนตัดสินใจเรียน". M Thai. 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ถ้ายกเลิกระบบยศทหาร จะมีผลดีผลเสียอย่างไรครับ มีทหารประเทศไหนไม่มียศไหมครับ". Pantip.
- ↑ Rosignoli, Guido (1984). World Army Badges and Insignia Since 1939. Dorset: Blandford Press.
- ↑ "China Announces Reform of Military Ranks". Jamestown (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "สี จิ้นผิง เลื่อนยศตำแหน่งเจ้าหน้าที่ทหารครั้งใหญ่ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในระบบเลื่อนขั้นยศตำแหน่ง". mgronline.com. 2019-12-19.
- ↑ "UK armed forces biannual diversity statistics: April 2021". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "'ทัพเรือ' ตั้งกรรมการสอบ 'จ่าทักษิณ' บังคับทหารเกณฑ์กินน้ำอสุจิ". เดลินิวส์.
- ↑ "Thailand: "We were just toys to them": Physical, mental and sexual abuse of conscripts in Thailand's military". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "โอกาส-ความเป็นไปได้ปรับการเกณฑ์ทหารสู่ระบบทหารอาสา". Thai PBS. 2021-03-09.
- ↑ "บิ๊กตู่ Rebrand กองทัพ เล็ง เลิกเกณฑ์ทหาร ใช้ "ทหารประจำการอาสา" ต้อง ปลด "ตื้บ เตะ ต่อย ตาย" ในค่ายทหาร ต้อง "เพิ่มเงิน-เลี้ยงข้าวฟรี"". สยามรัฐ. 2021-01-29.
- ↑ Hockey, John (1986). Squaddies : portrait of a subculture. Exeter, Devon: University of Exeter. ISBN 978-0-85989-248-3. OCLC 25283124.
- ↑ McGurk, Dennis; และคณะ (2006). "Joining the ranks: The role of indoctrination in transforming civilians to service members". Military life: The psychology of serving in peace and combat. Vol. 2. Westport, Connecticut: Praeger Security International. pp. 13–31. ISBN 978-0-275-98302-4.
- ↑ Hockey, John (1986). Squaddies : portrait of a subculture. Exeter, Devon: University of Exeter. ISBN 978-0-85989-248-3. OCLC 25283124.
- ↑ Bourne, Peter G. (1967-05-01). "Some Observations on the Psychosocial Phenomena Seen in Basic Training". Psychiatry. 30 (2): 187–196. doi:10.1080/00332747.1967.11023507. ISSN 0033-2747. PMID 27791700.
- ↑ 21.0 21.1 แจ่มจำรัส, พล ท ทวี (2016-03-02). "งานการข่าว เครื่องมือสำคัญ ที่ทำให้ภารกิจของทุกองค์กรประสบผลสำเร็จ โดย พล.ท.ทวี แจ่มจำรัส". มติชนออนไลน์.
- ↑ "Stockholm International Peace Research Institute (2022)". www.sipri.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.
- ↑ เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคง, ดร อัลเฟรด โอห์เลอร์ส/ศูนย์เอเชียแปซิฟิก แดเนียล เค อิโนะอุเอะ. "เศรษฐศาสตร์ กลาโหม | Indo-Pacific Defense Forum".
- ↑ "งบฯ การทหารภายใต้สถานการณ์โควิด พบไทยติดอันดับ 27 ของโลก". prachatai.com.
- ↑ "ปี 63 งบทหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นแม้โควิดระบาด". สำนักข่าวไทย อสมท. 2021-04-26.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 "การสัมมนาการจัดทำแผนพัฒนาขีดความสามารถกองทัพ". www.dti.or.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ส่องเทรนด์ MilitaryTech เทคโนโลยีทางทหารสำหรับโลกอนาคต". Techsauce.
- ↑ "ส่องเทรนด์ MilitaryTech เทคโนโลยีทางทหารสำหรับโลกอนาคต". Techsauce.
- ↑ 29.0 29.1 "เทคโนโลยีทหารจีน...แซงหน้า? ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ อาจกำลังตกที่นั่งลำบาก ผู้เชี่ยวชาญชี้ ควรผนึกกำลังกันต้านจีน". www.tnnthailand.com. 2021-09-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ยอดการสูญเสียกำลังพลของรัสเซียในยูเครน อาจเป็นคำตอบที่ว่าทำไมการบุกรัสเซียจึงหยุดลง". thaiarmedforce. 2022-03-22.
- ↑ "กองทัพสหรัฐฯ พัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยลดโอกาสเสียชีวิตระหว่างการฝึกทหาร". VOA.
- ↑ "ปัญญาประดิษฐ์: ภัยมืดทางการทหารของโลก - ThaiPublica". thaipublica.org. 2021-07-08.
- ↑ บำรุงสุข, สุรชาติ (2022-03-28). "หนึ่งเดือนแห่งความล้มเหลว! : สุรชาติ บำรุงสุข". มติชนออนไลน์.
- ↑ 34.0 34.1 https://www.pptvhd36.com. "ชาติตะวันตกประเมินรัสเซียหยุดบุก เจอปัญหาส่งกำลังบำรุงทางทหาร". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ 35.0 35.1 "สงครามสร้างความเสียหายให้รัสเซียมากแค่ไหน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.
- ↑ "รอบรู้เรื่องซามูไร". All About Japan.
- ↑ "การทหารของไทยสมัยสุโขทัย". www.sukhothai.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-21. สืบค้นเมื่อ 2022-05-05.
- ↑ 육군, 아서 툴락전 대령/미국. "ยุคใหม่ แห่งการป้อมปราม | Indo-Pacific Defense Forum".
- ↑ "ประเทศที่ปราศจากกองทัพ". THESTATESTIMES (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "จีนกำลังขยายแสนยานุภาพ สร้างความกังวลให้โลกตะวันตก". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-05-05.
- ↑ 41.0 41.1 "ส่องบัลลังก์ศาลทหาร'สหรัฐฯ-อังกฤษ' ชี้ชัดเขตอำนาจ-แยกลายพราง-พลเรือน". www.tcijthai.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ ตัญจพัฒน์กุล, ณรจญา (2021-07-22). "ขุนศึก ศักดินา ประชาธิปไตย: มองอำนาจและข้อเสนอปฏิรูปกองทัพ กับ สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี". The 101 World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ ""แพทย์ทหาร" กับ "แพทย์" ต่างกันยังไงหนอ?". www.unigang.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-29. สืบค้นเมื่อ 2022-05-05.
- ↑ Admin (2017-11-25). "โรงเรียนเตรียมทหาร ที่ดีที่สุดในโลก The United States Military Academy". Campus : Campus Star (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ 45.0 45.1 45.2 "แยกทหารจากการเมือง อินโดนีเซียปฏิรูปกองทัพสำเร็จได้อย่างไร ? คุยกับ อ.อรอนงค์ ทิพย์พิมล". thematter.co.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ทุจริต GT200 ศาลไทยตัดสินจำคุกผู้นำเข้า 9 ปี". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-05-05.
- ↑ "จีนปลด 2 นายพลพ้นกองทัพ หลังพบทุจริต". www.posttoday.com. 2018-10-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ทหารอเมริกันไม่อยากยุ่ง 'เลือกตั้ง' | THE MOMENTUM" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-11-02.
- ↑ "วิเคราะห์สิ่งที่เราเห็น 1 สัปดาห์แห่งการชุมนุม". workpointTODAY.
- ↑ "ทะลุฟ้า!ยื่นหนังสือสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ โวยรัฐไทยสลายชุมนุมผิดหลักสนธิสัญญาเจนีวา". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
: zero width space character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 77 (help) - ↑ Fact check: It's true tear gas is a chemical weapon banned in war (usatoday.com)
- ↑ "เปิดเงื่อนไขดำเนินคดีปูติน "ก่ออาชญากรรมสงคราม"". bangkokbiznews. 2022-04-05.
- ↑ "คดีอาชญากรสงครามในประเทศไทย พ.ศ. 2488-2489 / อังคณา เกียรติศักดิ์นุกูล = War criminal trials in Thailand,1945-1946 / Angkana Kiattisaknukul". www.car.chula.ac.th.
- ↑ พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488 (parliament.go.th)
- ↑ "ชาวเนปาล ปลื้มทีมแพทย์ทหารไทย". bangkokbiznews. 2015-05-03.
- ↑ "โปแลนด์ส่งทหาร 15,000 นายกันผู้อพยพ จวกเบลารุสก่อวินาศกรรม". www.thairath.co.th. 2021-11-11.
- ↑ ประชาชาติ, ซีเอสอาร์ (2021-08-24). "สหประชาชาติ ขอบคุณไทยส่งกองกำลังเข้าร่วมรักษาสันติภาพ". ประชาชาติธุรกิจ.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Military Expenditure % of GDP hosted by Lebanese economy forum, extracted from the World Bank public data
- การทหาร ที่เว็บไซต์ Curlie