ข้ามไปเนื้อหา

เพลโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Plato)
เพลโต (Πλάτων)
เกิดc. พ.ศ. 116-พ.ศ. 117, เอเธนส์
เสียชีวิตc. พ.ศ. 196-พ.ศ. 197, เอเธนส์
ยุคปรัชญาโบราณ
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักพลาโตนิซึม
ความสนใจหลัก
Rhetoric, ศิลปะ, วรรณกรรม, ญาณวิทยา, ความยุติธรรม, Virtue, การเมือง, การศึกษา, ครอบครัว, การทหาร
แนวคิดเด่น
ความเป็นจริงของพลาโต
"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929

ปลาตอน (กรีก: Πλάτων, Plátōn, [plá.tɔːn]; 427 – 347 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ เพลโต (อังกฤษ: Plato) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์

เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้

ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต

ประวัติ

[แก้]

ผลงาน

[แก้]

ประเด็นหลัก

[แก้]

ในงานเขียนของเพลโต เราจะพบการโต้เถียงเกี่ยวกับรูปแบบของการปกครองทั้งแบบเจ้าขุนมูลนาย และแบบประชาธิปไตย เราจะพบการโต้เถียงเกี่ยวกับผลของสิ่งแวดล้อมกับผลของพันธุกรรม ต่อสติปัญญาและอุปนิสัยของมนุษย์ ซึ่งการโต้เถียงนี้เกิดขึ้นมานานก่อนการโต้เถียงเรื่อง "ธรรมชาติหรือการเลี้ยงดู" ที่มีขึ้นในช่วงเวลาของฮอบบส์ และล็อก และยังมีผลต่อเนื่องมาถึงงานเขียนที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งเช่นหนังสือ The Mismeasure of Man และ The Bell Curve เรายังจะพบข้อคิดเห็นที่สนับสนุนอัตวิสัยและปรวิสัยของความรู้ของมนุษย์ ที่มีผลมาถึงการโต้เถียงสมัยใหม่ระหว่างฮูม และคานท์ หรือระหว่างนักหลังสมัยใหม่นิยมและผู้ที่ไม่เห็นด้วย กระทั่งเรื่องราวของเมืองหรือทวีปที่สาบสูญเช่นแอตแลนติส ก็ยังถูกยกมาเป็นตัวอย่างในงานของเพลโต เช่น Timaeus หรือ Critias

รูปแบบ

[แก้]

เพลโตเขียนงานแทบทั้งหมดในรูปของบทสนทนา ในงานชิ้นแรก ๆ ตัวละครสนทนาโดยการถามคำถามกันไปมา อย่างมีชีวิตชีวา ตัวละครที่โดดเด่นคือโสกราตีสที่ใช้รูปแบบของวิภาษวิธีที่ยังไม่ถูกจัดเป็นระบบ กลุ่มของผลงานนี้รวมเรียกว่าบทสนทนาโสกราตีส

แต่คุณภาพของบทสนทนาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตลอดช่วงชีวิตของเพลโต เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่างานชิ้นแรก ๆ ของเพลโตนั้น วางรากฐานอยู่บนความคิดของโสกราตีส ในขณะที่ในงานเขียนชิ้นถัด ๆ มา เขาได้ค่อย ๆ ฉีกตัวเองออกจากแนวคิดของอาจารย์ของเขา ในงานชิ้นกลาง ๆ โสกราตีสได้กลายเป็นผู้พูดของปรัชญาของเพลโต และรูปแบบของการถาม-ตอบ ได้เปลี่ยนเป็นแบบ "เหมือนท่องจำ" มากขึ้น: ตัวละครหลักนั้นเป็นตัวแทนของเพลโต ในขณะที่ตัวละครรอง ๆ ไป แทบไม่มีอะไรจะกล่าวนอกจาก "ใช่" "แน่นอน" และ "จริงอย่างยิ่ง" งานชิ้นหลัง ๆ แทบจะมีลักษณะเหมือนเรียงความ และโสกราตีสมักไม่ปรากฏหรือเงียบไป เป็นที่คาดการณ์กันว่างานชิ้นหลัง ๆ นั้นเขียนโดยเพลโตเอง ส่วนงานชิ้นแรก ๆ นั้นเป็นบันทึกของบทสนทนาของโสกราตีสเอง ปัญหาว่าบทสนทนาใดเป็นบทสนทนาของโสกราตีสอย่างแท้จริง เรียกว่าปัญหาโสกราตีส

ลักษณะการสร้างฉากที่มองเห็นได้ของบทสนทนา สร้างระยะห่างระหว่างเพลโตและผู้อ่าน กับปรัชญาที่กำลังถูกถกเถียงในนั้น ผู้อ่านสามารถเลือกรูปแบบการรับรู้ได้อย่างน้อยสองแบบ: อาจจะเข้าไปมีส่วนร่วมในบทสนทนาเกี่ยวกับแนวคิดที่กำลังพูดคุยกันอยู่, หรือเลือกที่จะมองเนื้อหาว่าเป็นการแสดงออกถึงอุปนิสัยที่อยู่ในผลงานนั้น ๆ

รูปแบบการสนทนาทำให้เพลโตสามารถถ่ายทอดความเห็นที่ไม่เป็นที่นิยมผ่านทางตัวละครที่พูดจาไม่น่าคล้อยตาม เช่น Thrasymachus ใน สาธารณรัฐ

อภิปรัชญาของเพลโต: ลัทธิเพลโต หรือ สัจนิยม

[แก้]

ผลงานที่เป็นที่จดจำที่สุด หรืออาจเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเพลโต ก็คืออภิปรัชญาแบบทวิภาค ที่มักเรียกกันว่า (ในอภิปรัชญา) ลัทธิเพลโต หรือ (ถ้าเรียกให้เกินจริง) สัจนิยม    อภิปรัชญาของเพลโตได้แบ่งโลกออกเป็นสองมุม คือ โลกของรูปแบบ (form) และโลกที่รับรู้ได้ เขามองว่าโลกที่รับรู้ได้ รวมถึงสิ่งของต่าง  ๆ ในนั้น คือ สำเนาที่ไม่สมบูรณ์แบบจาก รูปแบบ ที่คิดคำนึงได้ หรือ แนวความคิด   โดยที่รูปแบบเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนแปลง และอยู่ในสภาวะสมบูรณ์แบบเสมอ   การทำความเข้าใจกับรูปแบบเหล่านี้จะต้องใช้สติปัญญา หรือความเข้าใจเท่านั้น อย่างไรก็ตามแนวคิดของการแบ่งแยกนี้ได้มีการค้นพบมาก่อนหน้าเพลโนในปรัชญาของโซโรแอสเตอร์ โดยเรียกว่าโลกมินู (ปัญญา) และ โลกกีติ (สัมผัส) รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับรัฐอุดมคติ ที่โซโรแอสเตอร์เรียกว่า ชาห์ริวาร์ (เมืองอุดมคติ)

สาขาวิชาที่ศึกษาเพลโต

[แก้]