ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลบาเลนเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Valencia CF)
บาเลนเซีย
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลบาเลนเซีย
ฉายาไอ้ค้างคาว (Murciélagos)
โลสเช (Los Che)
ก่อตั้ง18 มีนาคม ค.ศ. 1919
สนามสนามกีฬาเม็สตัลยา
บาเลนเซีย
ความจุ55,000 ที่นั่ง
เจ้าของปีเตอร์ ลิม
ประธานเลย์ฮุน ชาน
ผู้จัดการรูเบน บาราฆา
ลีกลาลิกา
2022–23ลาลิกา อันดับที่ 16 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลบาเลนเซีย (สเปน: Valencia Club de Fútbol, ออกเสียง: [baˈlenθja ˈkluβ ðe ˈfuðβol]; บาเลนเซีย: València Club de Futbol, ออกเสียง: [vaˈlensia ˈklub de fubˈbɔl])[1] หรือโดยทั่วไปเรียกว่า บาเลนเซีย เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศสเปน ตั้งอยู่ในเมืองบาเลนเซีย แคว้นบาเลนเซีย ปัจจุบันลงเล่นอยู่ในลาลิกา ลีกสูงสุดในระบบลีกฟุตบอลสเปน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1919 พวกเขาใช้สนามกีฬาเม็สตัลยาเป็นสนามเหย้ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1923 ซึ่งมีความจุ 49,430 ที่นั่ง[2]

บาเลนเซีย ชนะเลิศลาลิกา 6 สมัย โกปาเดลเรย์ 8 สมัย ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา 1 สมัย และโกปาเอบาดูอาร์เต 1 สมัย ในระดับยุโรป พวกเขาชนะเลิศอินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพ 2 สมัย ยูฟ่าคัพ ยูฟ่าคัพวินเนอร์คัพ 1 สมัย ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ 1 สมัย และยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2 สมัย พวกเขายังผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2 ครั้งติดต่อกัน ในปี ค.ศ. 2000 และ 2001 นอกจากนี้ บาเลนเซีย ยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม จี-14 ซึ่งเป็นกลุ่มสโมสรฟุตบอลชั้นนำของยุโรป เมื่อกลุ่มนี้สิ้นสุดลงพวกเขาก็ยังคงเป็นสมาชิกในการก่อตั้ง สมาคมสโมสรยุโรป ขึ้นมาทดแทน เมื่อรวมทั้งหมดแล้ว บาเลนเซีย สามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศการแข่งขันระดับยุโรปรายการหลักได้ 7 ครั้ง โดยชนะเลิศได้ 4 ครั้ง

ประวัติ

[แก้]

สโมสรฟุตบอลบาเลนเซียก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1919 และได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการเมื่อ 18 มีนาคม ค.ศ. 1919 โดยมี Octavio Augusto Milego Díaz เป็นประธานของสโมสรคนแรก สโมสรที่เล่นเกมการแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกออกไปเยือนเมื่อ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 โดยนัดแรกชนะ คิมนัสตีโก ไป 1-0

บาเลนเซีย ย้ายเข้ามาอยู่ในสนามกีฬาเม็สตัลยาในปี 1923 หลังจากเล่นแมตช์เหย้าสนามอัลคีโรสตั้งแต่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1919 นัดแรกที่เมสตายา เจอกับกัสเตยอนกัสตาเลีย โดยผลเสมอไป 0-0 ในการแข่งขันวันหลังจากที่อื่นบาเลนเซียชนะฝ่ายค้านเดียวกัน 1-0 วาเลนเซียได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภูมิภาคในปี 1923 และเป็นสิทธิ์ที่จะเล่นในประเทศ โกปาเดลเรย์ การแข่งขันถ้วยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ยักษ์ใหญ่แห่งสโมสรฟุตบอลในสเปน

[แก้]

ความสำเร็จกับถ้วยยุโรป

[แก้]

การกลับมาของไอ้ค้างคาวพร้อมกับความสำเร็จครั้งใหม่ของสโมสร

[แก้]

และหลังจากยุคปี 2000 บาเลนเซียยังเป็นทีมระดับหัวแถวของฟุตบอลสเปน โดยได้มีคู่แข่ง 2 สโมสรคือ สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด และ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ที่ยังเป็นเจ้าของแชมป์ ลาลิกา และ ถ้วยยุโรปต่างๆ มากที่สุดในลีกประเทศสเปน แล้วในปี ค.ศ. 2001 ทางสโมสรบาเลนเซียได้ ให้ ราฟาเอล เบนีเตซ ผู้จัดการทีมชาวสเปน ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีม แทน เฮคเตอร์ คูเปอร์ เบนีเตซนำทีมสโมสรฟุตบอลบาเลนเซีย คว้าแชมป์ ลาลิกา ได้ในฤดูกาล 2001-02 ด้วยการมีและซื้อนักฟุตบอลตัวเก่งหลายคนอาทิ ปาโบล ไอมาร์, ซานติอาโก คานิซาเรส, จอห์น คาเรล, อาเมดีโอ คาโบนิ และต่อมาในฤดูกาล 2003-04 ราฟาเอล เบนีเตซนำทีมคว้าแชมป์ได้ถึง 2 สมัย คือ ลาลิกา และ ยูฟ่าคัพ โดยในฤดูกาลนี้เบนีเตซนำลูกทีมฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆในการเจอทีมใหญ่ๆใน ยูฟ่าคัพ ทั้ง บอดิอูกซ์ , บียาเรอัล สโมสรเพื่อนบ้านของตน , นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลจากพรีเมียร์ลีก อังกฤษ และเข้าไปชิงกับ ออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ สโมสรฟุตบอลชื่อดังของ ฝรั่งเศส โดยบาเลนเซียชนะไป 2-0 ซึ่งเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ของสโมสร

สนามเหย้า

[แก้]
บรรยากาศในสนามเม็สตัลยา

บาเลนเซียลงเล่นในปีแรกที่อัลคีโรสสเตเดียม แต่ได้ย้ายไปที่สนามกีฬาเม็สตัลยาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1923 ในช่วงทศวรรษ 1950 นั้น มีการปรับปรุงเม็สตัลยาขึ้นอีกครั้ง โดยเพิ่มจำนวนที่นั่งเป็น 45,000 ที่นั่ง ทุกวันนี้สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 53,000 คน อย่างไรก็ตาม บาเลนเซียมีกำหนดว่าจะย้ายไปยังสนามแห่งใหม่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองบาเลนเซียในอนาคต โดยนอว์เม็สตัลยาอันเป็นชื่อของสนามแห่งนี้จะจุผู้ชมได้ประมาณ 75,000 คน และจะได้รับการจัดอันดับจากฟีฟ่าให้เป็นสนามระดับ 5 ดาว

เอกลักษณ์ของสโมสร

[แก้]

ชุด

[แก้]

เดิมที ชุดแข่งของบาเลนเซียประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงขาสั้นสีดำ และถุงเท้าสีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เสื้อเขิ้ตสีขาวได้ถูกตกแต่งด้วยลวดลายสีดำด้วย ขณะที่ ชุดเยือนมักจะเป็นสีส้ม ขณะที่ชุดสำรองชุดที่สามมักมีสีจากตราสโมสรมาใช้ ได้แก่ สีเหลือง สีส้มเลือด และสีน้ำเงิน

From 1980 to present
Period Kit manufacturer Shirt sponsor
1980–1982 Adidas None
1982–1985 Ressy
1985–1990 Rasan Caja Ahorros Valencia
1990–1992 Puma
1992–1993 Mediterránia
1993–1994 Luanvi
1994–1995 Cip
1995–1998 Ford
1998–2000 Terra Mítica
2000–2001 Nike
2001–2002 Metrored
2002–2003 Terra Mítica
2003–2008 Toyota / Panasonic Toyota Racing
2008–2009 Valencia Experience
2009–2011 Kappa Unibet
2011–2014 Joma Jinko Solar
2014–2016 Adidas beIN Sports
2016–2017
2017–2019 BLU Products
2019–present Puma bwin

ผู้เล่น

[แก้]

ทีมชุดปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 1 กันยายน 2023[3]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK สเปน เฌาเม โดเมเนกช์
2 DF โปรตุเกส จีแอฮี โกเฮยา
3 DF สเปน โตนิ ลาโต
4 MF สหรัฐ ยูนุส มูซา
5 DF บราซิล กาบรีแยล เปาลิสตา
6 DF สเปน อูโก กิยามอน
8 MF กินี อิลัช มูริบา (ยืมตัวจาก แอร์เบ ไลพ์ซิช)
9 FW อุรุกวัย มักชิ โกเมซ
12 DF ฝรั่งเศส มุคตาร์ เดียคาบี
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
13 GK สเปน Cristian Rivero
14 DF สเปน โฆเซ กายา (กัปตัน)
15 DF ปารากวัย โอมาร์ อาเดลเลเต (ยืมตัวมาจาก แฮร์ทา เบเอ็สเซ)
17 MF รัสเซีย เดนิส เชรีเชฟ
19 FW สเปน อูโก ดูโร (ยืมตัวมาจาก เฆตาเฟ)
20 DF กัวเดอลุป Dimitri Foulquier
21 FW สเปน บรายัน ฆิล (ยืมตัวจาก ทอตนัมฮอตสเปอร์)
22 FW บราซิล มาร์กุช อังแดร
24 DF สวิตเซอร์แลนด์ เอรัย เจอแมร์ท
28 GK ประเทศจอร์เจีย จอร์จิ มามาดัสช์วิลลิ

ทีมสำรอง

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
26 MF สเปน เปโตร อาเลมัญ
27 MF ฝรั่งเศส Koba Koindredi
30 MF สเปน ฆาบิ กูเอรร์รา
31 MF สเปน อูโก กอนซาเลซ
32 DF สเปน เฆซุส บัซเกซ
33 FW สเปน ดิเอโก โลเปซ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
34 DF สเปน โฆเซดา
36 MF เปรู อาเลสซันโดร บูร์ลามากิ
37 DF สเปน กริสติอัน โมสเกรา
38 DF สเปน เซซาร์ ตาร์รากา
39 DF สเปน รูเบน อิรันโซ
40 MF โกตดิวัวร์ Lassina Sangaré

ยืมตัวออก

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
GK สเปน กริสเตียน ริเบโร (ยืมตัวไป อัลกอร์กอน จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2022)
DF สเปน ฆอร์เก ซาเอนซ์ (ยืมตัวไป มิรันเดส จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2022)
DF อาร์เจนตินา เคบิน ซิบิเย (ยืมตัวไป กัสเตยอน จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2022)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
MF สเปน บิเซนเต เอสกูเอร์โด (ยืมตัวไป กัสเตยอน จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2022)
FW สเปน มานู บาเยโฆ (ยืมตัวไป เดปอร์ติโบอาลาเบส จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2022)

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

เกียรติประวัติ

[แก้]

สเปน ระดับประเทศ

[แก้]

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Valencia CF history in Valencian (named València CF in article) เก็บถาวร 27 พฤศจิกายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mestalla
  3. "Siga a nuestro equipo". Valencia CF. สืบค้นเมื่อ 12 September 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]