ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เศรษฐศาสตร์จุลภาค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มรกต (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NotSantisukRBLX (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขคำผิดจากคำว่า “เศรษฐศาสตร์จุลภาคแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มหีภาค ที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจในระดับมวลรวม” เป็นคำว่า “เศรษฐศาสตร์จุลภาคแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจในระดับมวลรวม”
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
 
(ไม่แสดง 107 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 55 คน)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เศรษฐศาสตร์}}
เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วย (Unit) หรือระดับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหน่วยงานการผลิตแต่ละกลุ่มหน่วยใดหน่วยหนึ่งหรือเฉพาะบุคคล หรือหน่วยงานการผลิต (Firms) ซึ่งแต่ละกลุ่มเกี่ยวกับส่วนย่อยๆ ของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่ ครัวเรือน ธุรกิจ และรัฐบาล
'''เศรษฐศาสตร์จุลภาค''' ({{lang-en|microeconomics}}) เป็นสาขาของ[[เศรษฐศาสตร์]]ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในระดับบุคคลหรือองค์กรธุรกิจ และความสัมพันธ์ของการตัดสินใจของแต่ละฝ่าย<ref name="Palgrave Microeconomics" /><ref name="Tubaro 2015" /> เศรษฐศาสตร์จุลภาคแตกต่างจาก[[เศรษฐศาสตร์มหภาค]] ที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจในระดับมวลรวม เช่น [[ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ|ผลิตภัณฑ์มวลรวม]] [[ภาวะเงินเฟ้อ|อัตราเงินเฟ้อ]] [[การว่างงาน|อัตราการว่างงาน]] เป็นต้น


หัวข้อศึกษาหลักข้อหนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการศึกษากลไกการทำงานของ[[ตลาด (เศรษฐศาสตร์)|ตลาด]] ซึ่งกำหนด[[ราคา]]ของสินค้าต่างๆ และจัดสรรสินค้าเหล่านั้นให้กับแต่ละฝ่าย แบบจำลองเศรษฐศาสตร์จุลภาค มีฐานเริ่มต้นเป็นการตัดสินใจของแต่ละผู้บริโภคแต่ละคนที่ต้องการตัดสินใจเพื่อให้ได้รับ[[อรรถประโยชน์]]สูงสุด และองค์กรธุรกิจที่ต้องการ[[กำไร]]สูงสุด แบบจำลองเศรษฐศาสตร์จุลภาค มักมีพื้นฐานเป็นปัญหา[[การหาค่าเหมาะที่สุด]]ทางคณิตศาสตร์
==หน่วยครัวเรือน==
หน่วครัวเรือน (households) เป็นกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน มีบทบาทสำคัญ 2 ประการ บทบาทแรก คือ ผู้บริโภค (consumer) โดยสมาชิกในครัวเรือนจะเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับชนิดของสินค้าและบริการที่จะทำการผลิตในระบบเศรษฐกิจ (What to Produce) อีกบทบาทหนึ่ง คือ เจ้าของปัจจัยการผลิต (Resource Owners) ซึ่งจะได้รับรายได้จากการขายปัจจัยการผลิตและเมื่อใช้จ่ายเงินรายได้ที่ได้รับมาจากครัวเรือนก็จะอยู่ในฐานะของผู้บริโภค


นักเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อศึกษาหัวข้อเฉพาะทางต่างๆ เช่น ตลาดแรงงาน สาธารณสุข การศึกษา
==หน่วยธุรกิจ==
[[ภาพ:mod2_1.jpg|thumb|right|220px|นักธุรกิจ]]หน่วยธุรกิจ (Business Firms) เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต เป็นผู้ซื้อปัจจัยการผลิตจากครัวเรือน และทำการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการที่จะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ (How to produce goods and services) ซึ่งจะได้รับผลกำไรเป็นผลตอบแทนจากการดำเนินงาน


== การจำแนกเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค ==
==หน่วยรัฐบาล==
การจำแนกเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์ออกเป็นเศรษฐศาสตร์จุลภาคและ[[เศรษฐศาสตร์มหภาค]] เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ในปี 1933 [[รากนาร์ ฟริสช์]] เขียนบทความที่กล่าวถึงคำว่า "micro-dynamic" และ "macro-dynamic" ในความหมายที่ใกล้เคียงกับการจำแนกเนื้อหาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค แนวคิดการแบ่งจุลภาคและมหภาคนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นหลังจากที่[[จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์]] ตีพิมพ์ตำรา General Theory of Employment, Interest and Money ในปี 1936 ซึ่งมีการแยกแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตและการจ้างงานแบบมวลรวม ออกจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับตลาดหรือหน่วยธุรกิจย่อยๆ<ref name="Palgrave Microeconomics" /><ref name="Tubaro 2015" /> จากคำอธิบายของ[[ฮาล วาเรียน]] งานเขียนชิ้นแรกที่ใช้คำว่า "microeconomics" โดยตรงคือบทความของ[[ปีเตอร์ เดอ โวล์ฟ]] ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1941<ref name="Palgrave Microeconomics" />
หน่วยรัฐบาล (Government) บทบาทของรัฐบาลจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครอง หากประเทศที่มีการปกครองแบบสังคมนิยม รัฐบาลจะมีบทบาทมาก ส่วนประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบบทุนนิยม รัฐบาลจะมีบทบาทน้อย ซึ่งหน้าที่พื้นฐานของรัฐบาล ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากร การจัดสรรรายได้ และการรักษาเสถียรภาพ

ความแตกต่างระหว่างเศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคให้ความสำคัญกับการอธิบายพฤติกรรมและความสำคัญระหว่างหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วย เช่น ผู้บริโภคแต่ละคน หรือองค์กรธุรกิจแต่ละแห่ง ในขณะที่เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นให้ความสำคัญกับตัวแปรมวลรวมทางเศรษฐกิจ เช่น [[การบริโภค]]มวลรวม [[การลงทุน]] [[การจ้างงาน]] เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางระเบียบวิธีทางทฤษฎีระหว่างเศรษฐศาสตร์สองแขนงนี้แคบลงในยุคหลัง จากการที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคเริ่มมีการใช้ "รากฐานแบบจุลภาค" ที่ใช้แบบจำลองพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วยเป็นฐานของแบบจำลองเศรษฐกิจระดับมหภาค<ref name="Palgrave Microeconomics" /> แนวทางรากฐานแบบจุลภาคนี้มีฐานจากงานของ[[รอเบิร์ต ลูคัส จูเนียร์]]ในช่วงทศวรรษ 1970<ref name="Palgrave Macro relations with micro" /><ref name="Palgrave Microfoundations" />

== ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค ==

=== ระเบียบวิธีและข้อสมมติพื้นฐาน ===

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการจำลองพฤติกรรมของบุคคลหรือองค์กรต่างๆ และศึกษาความสัมพันธ์ของการตัดสินใจเหล่านั้น โดยแต่ละบุคคลเลือกทางเลือกที่ตัวเองต้องการมากที่สุดในบรรดาทางเลือกที่เป็นไปได้ของตัวเอง แบบจำลองทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จึงมีลักษณะเป็น[[การหาค่าเหมาะที่สุด]]ทางคณิตศาสตร์<ref name="Palgrave Microeconomics" /> (แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคอาจถือเอาว่าองค์กรธุรกิจแต่ละหน่วยเปรียบเสมือนมีผู้ตัดสินใจหนึ่งคน <ref name="Shubik 1970" />) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคจึงประกอบไปด้วยการระบุผู้ตัดสินใจ ทางเลือกที่ทำได้ และวัตถุประสงค์ของผู้ตัดสินใจ วัตถุประสงค์ของผู้ตัดสินใจนี้ มักจะเป็นการทำกำไรสูงสุด ในกรณีขององค์กรธุรกิจ หรือ[[อรรถประโยชน์]]สูงสุด ในกรณีของปัจเจกบุคคล<ref name="Palgrave Microeconomics" />

=== อุปสงค์และอุปทานในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ===
[[ไฟล์:Supply-demand-equilibrium-th.svg|thumb|แผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานที่พบเห็นทั่วไป ให้แกนตั้งแสดงราคาและแกนนอนแสดงปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์ (สีแดง) มีลักษณะลาดลง ในขณะที่เส้นอุปทาน (สีน้ำเงิน) ชันขึ้น จุดตัดของเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน เป็นจุดดุลยภาพของตลาด ที่ราคาดุลยภาพ P* และปริมาณดุลยภาพ Q*]]
แบบจำลองว่าด้วย[[ตลาดแข่งขันสมบูรณ์]] ตั้งข้อสมมติว่าผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าทราบราคาสินค้าต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ แล้วเลือกปริมาณการบริโภคหรือการผลิตของตนเองเพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์สูงสุด โดยที่ผู้ซื้อหรือผู้ผลิตแต่ละรายไม่ได้พิจารณาว่าปริมาณการซื้อหรือขายของตัวเองมีผลเปลี่ยนแปลงราคาตลาดได้ การตัดสินใจของผู้ซื้อและผู้ขายเขียนออกมาได้ในรูปแบบของฟังก์ชัน[[อุปสงค์และอุปทาน]] ที่ระบุปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายที่ราคาแต่ละระดับ

[[กฎอุปสงค์]]ระบุว่า ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นจะลดลง ในขณะที่[[กฎอุปทาน]]ระบุว่า ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาณความต้องการขายสินค้านั้นจะเพิ่มขึ้น ตลาดอยู่ในภาวะสมดุล ถ้าราคาสินค้าในระบบเศรษฐกิจนั้น ทำให้ปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานของสินค้าแต่ละชนิดเท่ากัน

[[ทฤษฎีบทมูลฐานของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ]]ข้อที่หนึ่ง พิสูจน์ว่า การจัดสรรทรัพยากรในจุดสมดุลแบบแข่งขันสมบูรณ์ มี[[ประสิทธิภาพแบบปาเรโต]] นั่นคือ ไม่มีการจัดสรรทรัพยากรในทางอื่นที่สามารถทำให้บุคคลหนึ่งพึงพอใจมากขึ้นโดยไม่ทำให้อีกคนหนึ่งพึงพอใจน้อยลงได้

=== ทฤษฎีผู้บริโภคและทฤษฎีผู้ผลิต ===

แบบจำลองอุปสงค์และอุปทาน มีที่มาจากจำลองการตัดสินใจของผู้บริโภคและผู้ผลิตในลักษณะของการหาค่าที่เหมาะที่สุดทางคณิตศาสตร์ เรียกว่าทฤษฎีผู้บริโภคและทฤษฎีผู้ผลิต

ในทฤษฎีผู้บริโภค ข้อสมมติตั้งต้นคือผู้บริโภคแต่ละคนในระบบเศรษฐกิจสามารถจัดลำดับความพึงพอใจกับการบริโภคสินค้าในแต่ละรูปแบบ ดังนั้นผู้บริโภคแต่ละคนจะเลือกปริมาณสินค้าแต่ละชนิดที่ต้องการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ความพึงพอใจสูงสุดภายใต้งบประมาณของตัวเอง เราจึงสามารถเขียนปริมาณความต้องการซื้อได้ออกมาเป็นฟังก์ชันของราคา

ทฤษฎีผู้ผลิต ตั้งข้อสมมติว่าผู้ผลิตแต่ละรายมีสามารถแปลงปัจจัยการผลิตเป็นผลผลิตด้วยเทคโนโลยีบางอย่าง ผู้ผลิตแต่ละรายทราบราคาสินค้าในตลาดและเลือกผลิตภายใต้เทคโนโลยีของตัวเองให้ได้กำไรสูงสุด

แต่เดิมที นักเศรษฐศาสตร์ในยุคคลาสสิกในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ให้เหตุผลสนับสนุนกฎอุปสงค์ด้วยข้อสมมติที่เคร่งครัดกว่าที่ใช้ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคในยุคหลัง โดยตั้งข้อสมมติว่ามนุษย์วัดความสุขและความทุกข์ได้ในรูปของ[[อรรถประโยชน์]]ที่สามารถวัดและเปรียบเทียบกันได้ตามพื้นฐานปรัชญาแบบ[[อรรถประโยชน์นิยม]] ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคในยุคหลังได้ลดทอนข้อสมมติเรื่องอรรถประโยชน์นี้ลง โดยสามารถตั้ง[[สัจพจน์]]พื้นฐานที่มีลักษณะทั่วไปกว่า ที่ยังคงให้ผลลัพธ์ในลักษณะของฟังก์ชันอรรถประโยชน์และกฎอุปสงค์ได้<ref name="Jehle-Rehny" />

=== การแข่งขันไม่สมบูรณ์ ===

ในแบบจำลองการแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ซื้อและผู้ขายแต่ละรายตัดสินใจโดยที่คิดว่าลำพังพฤติกรรมการซื้อหรือขายสินค้าของตัวเอง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดได้ การตัดสินใจของแต่ละคนนั้นจึงมีลักษณะเป็นปัญหาการหาค่าที่เหมาะที่สุดโดยที่มีราคาเป็นปัจจัยภายนอก หากว่าผู้ขายหรือผู้ซื้อเลือกพฤติกรรมของตัวเองโดยที่คำนึงถึงว่าพฤติกรรมของตัวเองจะมีผลเปลี่ยนแปลงราคาได้โดยตรง ผลลัพธ์ของตลาดก็จะแตกต่างจากการแข่งขันสมบูรณ์ ตัวอย่างแบบจำลองประเภทนี้ได้แก่ [[ตลาดผูกขาด]] [[ตลาดผู้ขายน้อยราย]] เป็นต้น สาขา[[เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม]]เป็นสาขาที่เจาะจงศึกษารูปแบบการแข่งขันไม่สมบูรณ์แบบต่างๆ

=== ผลกระทบภายนอก ===

ในแบบจำลองการแข่งขันสมบูรณ์ การผลิตหรือบริโภคสินค้าของแต่ละคน ไม่ส่งผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของคนอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ นอกเหนือจากผลผ่านการเปลี่ยนแปลงของราคาสมดุลในตลาด [[ผลกระทบภายนอก]] เป็นแนวคิดที่จำลองผลที่การผลิตหรือบริโภคของคนหนึ่ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของคนอื่นโดยตรง เช่น การก่อ[[มลภาวะ]]ที่ผู้ผลิตสินค้าไม่ได้พิจารณาต้นทุนที่เกิดขึ้นต่อคนอื่น ผลกระทบภายนอกนี้สามารถเป็นทั้งผลดีและผลเสีย หากว่าการผลิตหรือบริโภคสินค้าหนึ่งส่งผลกระทบภายนอกต่อคนอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจการผลิตหรือการบริโภคนั้น การผลิตและบริโภคในจุดสมดุลก็จะไม่มีประสิทธิภาพแบบปาเรโต

=== สารสนเทศไม่สมมาตร ===

หากว่าผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดมี[[สารสนเทศอสมมาตร|สารสนเทศไม่เท่าเทียมกัน]] ผลลัพธ์ในตลาดนั้นๆ อาจแตกต่างจากผลลัพธ์ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งทำให้การจัดสรรทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพแบบปาเรโต

ตัวอย่างหนึ่งของปัญหาสารสนเทศไม่สมมาตรคือ[[การคัดเลือกที่ขัดผลประโยชน์]] ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลฝ่ายหนึ่งไม่สามารถทราบลักษณะที่แท้จริงของอีกฝ่ายได้ เช่น ผู้ซื้อสินค้ามือสองไม่ทราบคุณภาพสินค้าที่แท้จริงเท่ากับเจ้าของเดิม หรือผู้รับประกันภัยไม่ทราบความเสี่ยงที่แท้จริงของผู้เอาประกันมากเท่ากันตัวผู้เอาประกัน ในกรณีของสินค้ามือสอง ผู้ซื้อไม่ทราบคุณภาพที่แท้จริงของสินค้าแต่ละชิ้น ราคาตลาดที่ผู้ซื้อยินดีจ่ายจึงเป็นราคาที่คาดการณ์เผื่อว่าสินค้าที่ได้รับเป็นสินค้าคุณภาพต่ำ ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ผู้ซื้อยินดีจ่ายถ้ามั่นใจว่าสินค้าที่ได้รับมีคุณภาพสูง แต่ราคาตลาดนี้ทำให้เจ้าของสินค้าเดิมที่ทราบว่าสินค้าตัวเองมีคุณภาพต่ำ ยินดีที่จะขายมากกว่าเจ้าของสินค้าคุณภาพสูง ทำให้มีสินค้าคุณภาพต่ำมาขายมากกว่าคุณภาพสูง สถานการณ์นี้ทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพแบบปาเรโต เพราะผู้ซื้อยินดีซื้อสินค้าคุณภาพสูงที่ผู้ขายยินดีขาย แต่การซื้อขายนี้ไม่เกิดขึ้นเนื่องจากสารสนเทศที่ไม่สมมาตร<ref name="Varian intermediate" />

== ประยุกต์ ==

เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์ ({{lang-en|Applied Microeconomics}}) เป็นคำเรียกรวมๆ ที่หมายถึงการนำหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคมาประยุกต์เพื่อศึกษาหัวข้อเป็นการเฉพาะเจาะจง เช่น [[เศรษฐศาสตร์แรงงาน]] [[เศรษฐศาสตร์สุขภาพ]] [[เศรษฐศาสตร์การศึกษา]] [[เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม]] [[นิติเศรษฐศาสตร์]] เป็นต้น การศึกษาในหัวข้อเหล่านี้มักนำแนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่น กลไกราคา อุปสงค์และอุปทาน มาศึกษาหัวข้อเจาะจงทั้งในเชิงทฤษฎีและ[[การศึกษาเชิงประจักษฺ์|เชิงประจักษ์]]

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|refs=
<ref name="Palgrave Microeconomics">{{Cite encyclopedia |publisher = Palgrave Macmillan |isbn = 978-1-349-95121-5 |last = Varian |first = Hal R. |title = Microeconomics |encyclopedia = New Palgrave dictionary of economics |location = London |date = 1987 | doi=10.1057/978-1-349-95121-5_1212-1}}</ref>
<ref name="Palgrave Microfoundations">{{Cite encyclopedia |publisher = Palgrave Macmillan |isbn = 978-1-349-95121-5 |last = Janssen |first = Maarten C. W. |title = Microfoundations |encyclopedia = New Palgrave dictionary of economics |location = London |date = 2008 |doi=10.1057/978-1-349-95121-5_2707-1}}</ref>
<ref name="Palgrave Macro relations with micro">{{Cite encyclopedia |publisher = Palgrave Macmillan |isbn = 978-1-349-95121-5 |last = Howitt |first = Peter |title = Macroeconomics: Relations with microeconomics |encyclopedia = New Palgrave dictionary of economics |location = London |date = 1987 |doi=10.1057/978-1-349-95121-5_691-1}}</ref>
<ref name="Tubaro 2015">{{Cite encyclopedia |edition = 2 |publisher = Elsevier |isbn = 978-0-08-097087-5 |pages = 331–337 |editor-last = Wright |editor-first = James D. |last = Tubaro |first = Paola |title = Microeconomics, History of |encyclopedia = International encyclopedia of the social & behavioral sciences |location = Oxford |date = 2015}}</ref>
<ref name="Shubik 1970">{{Cite journal| issn = 0022-0515| volume = 8| issue = 2| pages = 405–434| last = Shubik| first = Martin| title = A curmudgeon's guide to microeconomics| journal = Journal of Economic Literature| date = 1970| jstor = 2720472}}</ref>
<ref name="Varian intermediate">{{cite book |last=Varian |first=Hal |date=2014 |title=Intermediate microeconomics: A modern approach |edition=9 |publisher=W. W. Norton & Company |isbn= 978-0-393-12396-8 }}</ref>
<ref name="Jehle-Rehny">{{cite book |last1=Jehle |first1=Geoffrey A. |last2=Reny |first2=Philip J. |date=2011 |title=Advanced microeconomic theory |publisher=Pearson |isbn=978-0-273-73191-7}}</ref>
}}
[[หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์จุลภาค| ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 18:37, 10 มกราคม 2567

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อังกฤษ: microeconomics) เป็นสาขาของเศรษฐศาสตร์ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในระดับบุคคลหรือองค์กรธุรกิจ และความสัมพันธ์ของการตัดสินใจของแต่ละฝ่าย[1][2] เศรษฐศาสตร์จุลภาคแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจในระดับมวลรวม เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวม อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน เป็นต้น

หัวข้อศึกษาหลักข้อหนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการศึกษากลไกการทำงานของตลาด ซึ่งกำหนดราคาของสินค้าต่างๆ และจัดสรรสินค้าเหล่านั้นให้กับแต่ละฝ่าย แบบจำลองเศรษฐศาสตร์จุลภาค มีฐานเริ่มต้นเป็นการตัดสินใจของแต่ละผู้บริโภคแต่ละคนที่ต้องการตัดสินใจเพื่อให้ได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด และองค์กรธุรกิจที่ต้องการกำไรสูงสุด แบบจำลองเศรษฐศาสตร์จุลภาค มักมีพื้นฐานเป็นปัญหาการหาค่าเหมาะที่สุดทางคณิตศาสตร์

นักเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อศึกษาหัวข้อเฉพาะทางต่างๆ เช่น ตลาดแรงงาน สาธารณสุข การศึกษา

การจำแนกเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค

[แก้]

การจำแนกเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์ออกเป็นเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ในปี 1933 รากนาร์ ฟริสช์ เขียนบทความที่กล่าวถึงคำว่า "micro-dynamic" และ "macro-dynamic" ในความหมายที่ใกล้เคียงกับการจำแนกเนื้อหาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค แนวคิดการแบ่งจุลภาคและมหภาคนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นหลังจากที่จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ตีพิมพ์ตำรา General Theory of Employment, Interest and Money ในปี 1936 ซึ่งมีการแยกแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตและการจ้างงานแบบมวลรวม ออกจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับตลาดหรือหน่วยธุรกิจย่อยๆ[1][2] จากคำอธิบายของฮาล วาเรียน งานเขียนชิ้นแรกที่ใช้คำว่า "microeconomics" โดยตรงคือบทความของปีเตอร์ เดอ โวล์ฟ ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1941[1]

ความแตกต่างระหว่างเศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคให้ความสำคัญกับการอธิบายพฤติกรรมและความสำคัญระหว่างหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วย เช่น ผู้บริโภคแต่ละคน หรือองค์กรธุรกิจแต่ละแห่ง ในขณะที่เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นให้ความสำคัญกับตัวแปรมวลรวมทางเศรษฐกิจ เช่น การบริโภคมวลรวม การลงทุน การจ้างงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางระเบียบวิธีทางทฤษฎีระหว่างเศรษฐศาสตร์สองแขนงนี้แคบลงในยุคหลัง จากการที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคเริ่มมีการใช้ "รากฐานแบบจุลภาค" ที่ใช้แบบจำลองพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วยเป็นฐานของแบบจำลองเศรษฐกิจระดับมหภาค[1] แนวทางรากฐานแบบจุลภาคนี้มีฐานจากงานของรอเบิร์ต ลูคัส จูเนียร์ในช่วงทศวรรษ 1970[3][4]

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค

[แก้]

ระเบียบวิธีและข้อสมมติพื้นฐาน

[แก้]

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการจำลองพฤติกรรมของบุคคลหรือองค์กรต่างๆ และศึกษาความสัมพันธ์ของการตัดสินใจเหล่านั้น โดยแต่ละบุคคลเลือกทางเลือกที่ตัวเองต้องการมากที่สุดในบรรดาทางเลือกที่เป็นไปได้ของตัวเอง แบบจำลองทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จึงมีลักษณะเป็นการหาค่าเหมาะที่สุดทางคณิตศาสตร์[1] (แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคอาจถือเอาว่าองค์กรธุรกิจแต่ละหน่วยเปรียบเสมือนมีผู้ตัดสินใจหนึ่งคน [5]) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคจึงประกอบไปด้วยการระบุผู้ตัดสินใจ ทางเลือกที่ทำได้ และวัตถุประสงค์ของผู้ตัดสินใจ วัตถุประสงค์ของผู้ตัดสินใจนี้ มักจะเป็นการทำกำไรสูงสุด ในกรณีขององค์กรธุรกิจ หรืออรรถประโยชน์สูงสุด ในกรณีของปัจเจกบุคคล[1]

อุปสงค์และอุปทานในตลาดแข่งขันสมบูรณ์

[แก้]
แผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานที่พบเห็นทั่วไป ให้แกนตั้งแสดงราคาและแกนนอนแสดงปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์ (สีแดง) มีลักษณะลาดลง ในขณะที่เส้นอุปทาน (สีน้ำเงิน) ชันขึ้น จุดตัดของเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน เป็นจุดดุลยภาพของตลาด ที่ราคาดุลยภาพ P* และปริมาณดุลยภาพ Q*

แบบจำลองว่าด้วยตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตั้งข้อสมมติว่าผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าทราบราคาสินค้าต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ แล้วเลือกปริมาณการบริโภคหรือการผลิตของตนเองเพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์สูงสุด โดยที่ผู้ซื้อหรือผู้ผลิตแต่ละรายไม่ได้พิจารณาว่าปริมาณการซื้อหรือขายของตัวเองมีผลเปลี่ยนแปลงราคาตลาดได้ การตัดสินใจของผู้ซื้อและผู้ขายเขียนออกมาได้ในรูปแบบของฟังก์ชันอุปสงค์และอุปทาน ที่ระบุปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายที่ราคาแต่ละระดับ

กฎอุปสงค์ระบุว่า ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นจะลดลง ในขณะที่กฎอุปทานระบุว่า ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาณความต้องการขายสินค้านั้นจะเพิ่มขึ้น ตลาดอยู่ในภาวะสมดุล ถ้าราคาสินค้าในระบบเศรษฐกิจนั้น ทำให้ปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานของสินค้าแต่ละชนิดเท่ากัน

ทฤษฎีบทมูลฐานของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการข้อที่หนึ่ง พิสูจน์ว่า การจัดสรรทรัพยากรในจุดสมดุลแบบแข่งขันสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพแบบปาเรโต นั่นคือ ไม่มีการจัดสรรทรัพยากรในทางอื่นที่สามารถทำให้บุคคลหนึ่งพึงพอใจมากขึ้นโดยไม่ทำให้อีกคนหนึ่งพึงพอใจน้อยลงได้

ทฤษฎีผู้บริโภคและทฤษฎีผู้ผลิต

[แก้]

แบบจำลองอุปสงค์และอุปทาน มีที่มาจากจำลองการตัดสินใจของผู้บริโภคและผู้ผลิตในลักษณะของการหาค่าที่เหมาะที่สุดทางคณิตศาสตร์ เรียกว่าทฤษฎีผู้บริโภคและทฤษฎีผู้ผลิต

ในทฤษฎีผู้บริโภค ข้อสมมติตั้งต้นคือผู้บริโภคแต่ละคนในระบบเศรษฐกิจสามารถจัดลำดับความพึงพอใจกับการบริโภคสินค้าในแต่ละรูปแบบ ดังนั้นผู้บริโภคแต่ละคนจะเลือกปริมาณสินค้าแต่ละชนิดที่ต้องการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ความพึงพอใจสูงสุดภายใต้งบประมาณของตัวเอง เราจึงสามารถเขียนปริมาณความต้องการซื้อได้ออกมาเป็นฟังก์ชันของราคา

ทฤษฎีผู้ผลิต ตั้งข้อสมมติว่าผู้ผลิตแต่ละรายมีสามารถแปลงปัจจัยการผลิตเป็นผลผลิตด้วยเทคโนโลยีบางอย่าง ผู้ผลิตแต่ละรายทราบราคาสินค้าในตลาดและเลือกผลิตภายใต้เทคโนโลยีของตัวเองให้ได้กำไรสูงสุด

แต่เดิมที นักเศรษฐศาสตร์ในยุคคลาสสิกในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ให้เหตุผลสนับสนุนกฎอุปสงค์ด้วยข้อสมมติที่เคร่งครัดกว่าที่ใช้ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคในยุคหลัง โดยตั้งข้อสมมติว่ามนุษย์วัดความสุขและความทุกข์ได้ในรูปของอรรถประโยชน์ที่สามารถวัดและเปรียบเทียบกันได้ตามพื้นฐานปรัชญาแบบอรรถประโยชน์นิยม ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคในยุคหลังได้ลดทอนข้อสมมติเรื่องอรรถประโยชน์นี้ลง โดยสามารถตั้งสัจพจน์พื้นฐานที่มีลักษณะทั่วไปกว่า ที่ยังคงให้ผลลัพธ์ในลักษณะของฟังก์ชันอรรถประโยชน์และกฎอุปสงค์ได้[6]

การแข่งขันไม่สมบูรณ์

[แก้]

ในแบบจำลองการแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ซื้อและผู้ขายแต่ละรายตัดสินใจโดยที่คิดว่าลำพังพฤติกรรมการซื้อหรือขายสินค้าของตัวเอง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดได้ การตัดสินใจของแต่ละคนนั้นจึงมีลักษณะเป็นปัญหาการหาค่าที่เหมาะที่สุดโดยที่มีราคาเป็นปัจจัยภายนอก หากว่าผู้ขายหรือผู้ซื้อเลือกพฤติกรรมของตัวเองโดยที่คำนึงถึงว่าพฤติกรรมของตัวเองจะมีผลเปลี่ยนแปลงราคาได้โดยตรง ผลลัพธ์ของตลาดก็จะแตกต่างจากการแข่งขันสมบูรณ์ ตัวอย่างแบบจำลองประเภทนี้ได้แก่ ตลาดผูกขาด ตลาดผู้ขายน้อยราย เป็นต้น สาขาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมเป็นสาขาที่เจาะจงศึกษารูปแบบการแข่งขันไม่สมบูรณ์แบบต่างๆ

ผลกระทบภายนอก

[แก้]

ในแบบจำลองการแข่งขันสมบูรณ์ การผลิตหรือบริโภคสินค้าของแต่ละคน ไม่ส่งผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของคนอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ นอกเหนือจากผลผ่านการเปลี่ยนแปลงของราคาสมดุลในตลาด ผลกระทบภายนอก เป็นแนวคิดที่จำลองผลที่การผลิตหรือบริโภคของคนหนึ่ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของคนอื่นโดยตรง เช่น การก่อมลภาวะที่ผู้ผลิตสินค้าไม่ได้พิจารณาต้นทุนที่เกิดขึ้นต่อคนอื่น ผลกระทบภายนอกนี้สามารถเป็นทั้งผลดีและผลเสีย หากว่าการผลิตหรือบริโภคสินค้าหนึ่งส่งผลกระทบภายนอกต่อคนอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจการผลิตหรือการบริโภคนั้น การผลิตและบริโภคในจุดสมดุลก็จะไม่มีประสิทธิภาพแบบปาเรโต

สารสนเทศไม่สมมาตร

[แก้]

หากว่าผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดมีสารสนเทศไม่เท่าเทียมกัน ผลลัพธ์ในตลาดนั้นๆ อาจแตกต่างจากผลลัพธ์ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งทำให้การจัดสรรทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพแบบปาเรโต

ตัวอย่างหนึ่งของปัญหาสารสนเทศไม่สมมาตรคือการคัดเลือกที่ขัดผลประโยชน์ ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลฝ่ายหนึ่งไม่สามารถทราบลักษณะที่แท้จริงของอีกฝ่ายได้ เช่น ผู้ซื้อสินค้ามือสองไม่ทราบคุณภาพสินค้าที่แท้จริงเท่ากับเจ้าของเดิม หรือผู้รับประกันภัยไม่ทราบความเสี่ยงที่แท้จริงของผู้เอาประกันมากเท่ากันตัวผู้เอาประกัน ในกรณีของสินค้ามือสอง ผู้ซื้อไม่ทราบคุณภาพที่แท้จริงของสินค้าแต่ละชิ้น ราคาตลาดที่ผู้ซื้อยินดีจ่ายจึงเป็นราคาที่คาดการณ์เผื่อว่าสินค้าที่ได้รับเป็นสินค้าคุณภาพต่ำ ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ผู้ซื้อยินดีจ่ายถ้ามั่นใจว่าสินค้าที่ได้รับมีคุณภาพสูง แต่ราคาตลาดนี้ทำให้เจ้าของสินค้าเดิมที่ทราบว่าสินค้าตัวเองมีคุณภาพต่ำ ยินดีที่จะขายมากกว่าเจ้าของสินค้าคุณภาพสูง ทำให้มีสินค้าคุณภาพต่ำมาขายมากกว่าคุณภาพสูง สถานการณ์นี้ทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพแบบปาเรโต เพราะผู้ซื้อยินดีซื้อสินค้าคุณภาพสูงที่ผู้ขายยินดีขาย แต่การซื้อขายนี้ไม่เกิดขึ้นเนื่องจากสารสนเทศที่ไม่สมมาตร[7]

ประยุกต์

[แก้]

เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์ (อังกฤษ: Applied Microeconomics) เป็นคำเรียกรวมๆ ที่หมายถึงการนำหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคมาประยุกต์เพื่อศึกษาหัวข้อเป็นการเฉพาะเจาะจง เช่น เศรษฐศาสตร์แรงงาน เศรษฐศาสตร์สุขภาพ เศรษฐศาสตร์การศึกษา เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม นิติเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น การศึกษาในหัวข้อเหล่านี้มักนำแนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่น กลไกราคา อุปสงค์และอุปทาน มาศึกษาหัวข้อเจาะจงทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงประจักษ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Varian, Hal R. (1987). "Microeconomics". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_1212-1. ISBN 978-1-349-95121-5.
  2. 2.0 2.1 Tubaro, Paola (2015). "Microeconomics, History of". ใน Wright, James D. (บ.ก.). International encyclopedia of the social & behavioral sciences (2 ed.). Oxford: Elsevier. pp. 331–337. ISBN 978-0-08-097087-5.
  3. Howitt, Peter (1987). "Macroeconomics: Relations with microeconomics". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_691-1. ISBN 978-1-349-95121-5.
  4. Janssen, Maarten C. W. (2008). "Microfoundations". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_2707-1. ISBN 978-1-349-95121-5.
  5. Shubik, Martin (1970). "A curmudgeon's guide to microeconomics". Journal of Economic Literature. 8 (2): 405–434. ISSN 0022-0515. JSTOR 2720472.
  6. Jehle, Geoffrey A.; Reny, Philip J. (2011). Advanced microeconomic theory. Pearson. ISBN 978-0-273-73191-7.
  7. Varian, Hal (2014). Intermediate microeconomics: A modern approach (9 ed.). W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-12396-8.