ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เถรวาท"
แอนเดอร์สัน (คุย | ส่วนร่วม) |
|||
บรรทัด 29: | บรรทัด 29: | ||
*** [[มัลวัตตะ]] (Malwaththa) |
*** [[มัลวัตตะ]] (Malwaththa) |
||
*** [[อัสคิริยะ]] (Asgiriya) |
*** [[อัสคิริยะ]] (Asgiriya) |
||
*** [[วาทุลวิลา]] (Waturawila) หรือ มหาวิหาร |
*** [[วาทุลวิลา]] (Waturawila) หรือ มหาวิหารวังศิกศยาโมปาลีวนาวาสนิกาย (Mahavihara Vamshika Shyamopali Vanavasa Nikaya) |
||
** [[อมรปุรนิกาย]] (Amarapura Nikaya) |
** [[อมรปุรนิกาย]] (Amarapura Nikaya) |
||
*** [[ธรรมรักษิต]] (Dharmarakshitha) |
*** [[ธรรมรักษิต]] (Dharmarakshitha) |
||
*** [[คันดุโบดา]] (Kanduboda) หรือ |
*** [[คันดุโบดา]] (Kanduboda) หรือ ชเวจินนิกาย (Swejin Nikaya) |
||
*** [[ตโปวนะ]] (Tapovana) หรือกัลยาณวงศ์ (Kalyanavamsa) |
*** [[ตโปวนะ]] (Tapovana) หรือ กัลยาณวงศ์ (Kalyanavamsa) |
||
** [[รามัญนิกาย]] |
** [[รามัญนิกาย]] |
||
*** [[กัลดุวา]] (Galduwa) หรือ |
*** [[กัลดุวา]] (Galduwa) หรือ ศรีกัลยาณีโยคาศรม สังสถา (Śrī Kalyāṇī Yogāśrama Saṃstha) |
||
*** [[เดวดูวา]] (Delduwa) |
*** [[เดวดูวา|เดลดูวา]] (Delduwa) |
||
* ''[[ประเทศไทย]], [[ประเทศกัมพูชา]]และ[[ประเทศมาเลเซีย]](ในกลุ่ม[[ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย|ชาวไทย]])'' |
* ''[[ประเทศไทย]], [[ประเทศกัมพูชา]]และ[[ประเทศมาเลเซีย]](ในกลุ่ม[[ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย|ชาวไทย]])'' |
||
** [[มหานิกาย]] (Maha Nikaya) |
** [[มหานิกาย]] (Maha Nikaya) |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:54, 30 มีนาคม 2560
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
เถรวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (บาลี: theravāda เถรวาท, สันสกฤต: स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; อังกฤษ: Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान)
นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด[1]) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน
สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด [2] (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด)
นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน)
ความเป็นมาของนิกายเถรวาท
หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระอรหันตสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำปฐมสังคายนา ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลี คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี[3]
คณะสงฆ์เถรวาท
คณะสงฆ์เถรวาทในแต่ละประเทศ ได้แบ่งย่อยออกเป็นหลายนิกาย โดยยังคงยึดถือพระธรรมวินัยเดียวกัน
- ประเทศบังกลาเทศ:
- สังฆราชนิกาย (Sangharaj Nikaya)
- มหาสถพีรนิกาย (Mahasthabir Nikaya)
- ประเทศพม่า :
- สุธัมมนิกาย (Thudhamma Nikaya)
- ชเวจินนิกาย (Shwekyin Nikaya)
- ทวารนิกาย (Dvara Nikaya)
- ประเทศศรีลังกา:
- สยามนิกาย (Siam Nikaya)
- อมรปุรนิกาย (Amarapura Nikaya)
- ธรรมรักษิต (Dharmarakshitha)
- คันดุโบดา (Kanduboda) หรือ ชเวจินนิกาย (Swejin Nikaya)
- ตโปวนะ (Tapovana) หรือ กัลยาณวงศ์ (Kalyanavamsa)
- รามัญนิกาย
- ประเทศไทย, ประเทศกัมพูชาและประเทศมาเลเซีย(ในกลุ่มชาวไทย)
- มหานิกาย (Maha Nikaya)
- ธรรมยุติกนิกาย (Dharmmayuttika Nikaya)
อ้างอิง
- ↑ "The World Factbook: Sri Lanka". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26..
- ↑ "The World Factbook: Thailand". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ ปัญจสติกขันธกะ (เรื่องพระมหากัสสปเถระ สังคายนาปรารภคำของพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต). พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548