พยานพระยะโฮวา
พยานพระยะโฮวา | |
---|---|
กลุ่ม | Restorationist |
ความโน้มเอียง | Premillennialist[1] |
เทววิทยา | อตรีเอกภาพ |
การปกครอง | องค์กรกำกับดูแล |
โครงสร้าง | Hierarchical[2] |
ภูมิภาค | ทั่วโลก |
ศูนย์กลาง | วอร์วิก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ |
ผู้ก่อตั้ง | ชาลส์ เทซ รัสเซลล์[3] |
ต้นกำเนิด | คริสต์ทศวรรษ 1870 พิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ |
สาขาของ | ขบวนการนักศึกษาพระคัมภีร์ |
แยกออก | Jehovah's Witnesses splinter groups |
การชุมนุม | 120,387 |
สมาชิก | 8,695,808 |
เว็บไซต์ทางการ | jw |
สถิติจาก 2020 Grand Totals[4] |
พยานพระยะโฮวา (อังกฤษ: Jehovah's Witnesses) เป็นนิกายย่อยที่มีความเชื่ออตรีเอกภาพต่างจากศาสนาคริสต์สายหลัก[5] กลุ่มนี้มีสมาชิกทั่วโลกประมาณ 8.7 ล้านคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกาศข่าวดีและมีผู้เข้าร่วมพิธีรำลึกทุกปีมากกว่า 17 ล้านคน[4] พยานพระยะโฮวาถูกกำกับโดยองค์กรกำกับดูแลของพยานพระยะโฮวา กลุ่มผู้อาวุโสในวอร์วิก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐที่จัดตั้งหลักการทั้งหมด[6] ผ่านการตีความคัมภีร์ไบเบิล[7][8] พวกเขาเชื่อว่าการทำลายล้างโลกปัจจุบันที่อารมาเกดโดนอยู่ใกล้ และการก่อตั้งอาณาจักรพระเจ้าเท่านั้นที่เป็นแนวทางแก้ปัญหาทั้งหมดของมนุษยชาติ[9]
กลุ่มนี้ก่อตั้งขึ้นจากขบวนการนักศึกษาพระคัมภีร์ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1870 โดยชาลส์ เทซ รัสเซลล์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Zion's Watch Tower Tract Society ใน ค.ศ. 1881 เพื่อบริหารและตีพิมพ์สิ่งตีพิมพ์ของขบวนการ[3] ข้อพิพาทในการเลือกผู้นำหลังรัสเซลล์เสียชีวิตทำให้กลุ่มแตกไปบางส่วน โดยโจเซฟ แฟรงกลิน รัทเทอร์ฟอร์ดยังควบคุม the Watch Tower Society และทรัพย์สิน[10] รัทเทอร์ฟอร์ดสร้างความเปลี่ยนแปลงองค์กรและหลักคำสอนหลายอย่าง[11] รวมไปถึงการใช้ชื่อ พยานพระยะโฮวา[note 1] ใน ค.ศ. 1931 เพื่อสร้างความแตกต่างกับกลุ่มอื่นและเป็นสัญลักษณ์แยกออกจากคำสอนของรัสเซลล์[13][14][15]
พยานพระยะโฮวาเป็นที่รู้จักจากการให้คำสอนจากบ้านถึงบ้าน จำหน่ายวรรณกรรมอย่าง The Watchtower กับ Awake! และไม่ยอมรับการรับราชการทหารและการถ่ายเลือด พวกเขาปฏิเสธความเป็นตรีเอกภาพ, ความเป็นอมตะโดยธรรมชาติของวิญญาณ และไฟนรก ซึ่งพวกเขาถือว่าผิดหลักคำสอนพระคัมภีร์ พวกเขาไม่ฉลองวันคริสต์มาส, อีสเตอร์, วันเกิด หรือวันหยุดและธรรมเนียมอื่น ๆ ที่พวกเขาถือว่ามีต้นกำเนิดจากลัทธินอกศาสนา[16] พวกเขาจะใช้ New World Translation of the Holy Scriptures เป็นคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลของตนเอง[17] ถึงแม้ว่าวรรณกรรมของตนมักมีประโยคและอ้างอิงจากคำแปลในคัมภีร์ไบเบิลฉบับอื่น[18][19] ผู้นับถือกล่าวถึงหลักความเชื่อว่า "ความจริง" และกล่าวถึงตนเองเป็น "ในความจริง"[20] พวกเขาถือว่าสังคมฆราวาสมีความชั่วร้ายทางศีลธรรมและอยู่ภายใต้อิทธิพลของซาตาน และส่วนใหญ่จำกัดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้ที่ไม่ใช่พยาน[21] การลงโทษทางวินัยของผู้นับถือได้รวมการลงโทษแบบตัดสัมพันธ์ เป็นคำที่ใช้ในการขับไล่และการหลีกเลี่ยงอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นแนวทางสุดท้ายในการลงโทษความผิดที่ร้ายแรง[22][23] ผู้ที่เข้ารับบัพติสมาที่ละทิ้งอย่างเป็นทางการก็ถูก ตัดสัมพันธ์ และถูกหลีกเลี่ยงด้วย ผู้ถูกตัดสัมพันธ์และถูกหลีกเลี่ยงสามารถเข้าร่วมใหม่อีกครั้งหลักขออภัยโทษ[24]
การคัดค้านโดยอ้างมโนธรรมของกลุ่มต่อการรับราชการทหารและไม่แสดงความเคารพสัญลักษณ์ของชาติ (เช่นเพลงชาติและธง) ก่อให้เกิดปัญหากับบางรัฐบาล[25][26][27][28] ทำให้พยานพระยะโฮวามักถูกกดขี่ละกิจกรรมของตนถูกแบนหรือห้ามในบางประเทศ การดื้อเพ่งต่อกฎหมายของพยานพระยะโฮวามีอิทธิพลต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพลเมืองในบางประเทศ[29]
ประวัติ
[แก้]พยานพระยะโฮวา มีการเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1879 ในรัฐเพนซิลเวเนีย-สหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มนักศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิลอิสระ ซึ่งนำโดย ซี.ที.รัสเซลล์ ได้รวมตัวกันเพื่อศึกษาและประกาศพระนามพระเจ้า "ยะโฮวา" และทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อสมาคม "ว็อซเทาว์เวอร์ ไบเบิลแอนด์แทร็ค โซไซตี้" และได้ขยายงานของสมาคมไปยังประเทศและดินแดนต่าง ๆ อีกกว่า 240 แห่งทั่วโลกในเวลาต่อมา จนถึงปัจจุบัน [30]
เกี่ยวกับความเชื่อ
[แก้]พยานพระยะโฮวายึดคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลเป็นหนังสือที่ได้รับการดลบันดาลจากพระเจ้า (2 ทิโมธี 3:16) จึงเป็น "คำของพระเจ้า" เรื่องราวเกี่ยวกับการทรงสร้างที่พระธรรมเยเนซิศ (สะกดตามพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูเล่มปัจจุบันที่ พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยใช้) ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ สถานที่ บุคคล เวลา ฯลฯ เป็นเรื่องที่พยานฯ ถือว่าถูกต้องไว้ใจได้ รวมทั้งคำพยากรณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดจากอดีต จนถึงปัจจุบันและอนาคต เป็นเรื่องที่พยานฯ เชื่อเช่นกัน พยานฯ เชื่อว่า "ความเชื่อที่ปราศจากการประพฤติ ความเชื่อก็เป็นการไร้ประโยชน์" ยากอบ 2:26[31]
ในส่วนของคัมภีร์ไบเบิลนั้น พยานพระยะโฮวาจะไม่เรียกสองส่วนของพระคัมภีร์ว่า พันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ ตามแบบคริสตจักร เพราะพยานฯ ถือว่า พระเจ้ามีพันธสัญญาเดียว ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ดังนั้น พยานฯ จึงเรียก สองส่วนของพระคัมภีร์ว่า ภาคภาษาฮีบรู กับภาคภาษากรีก ตามภาษาที่ใช้เขียนต้นฉบับ และใช้คำภีร์ไบเบิลเป็นหลักในการประกาศแยกตัวออกจากระบบโลกและต่อต้านสงคราม
วัตรศาสนา
[แก้]การปฏิเสธการถ่ายเลือด
[แก้]ผู้นับถือนิกายพยานพระยะโฮวาปฏิเสธการถ่ายเลือดเนื่องจากมองว่าเป็นการขัดต่อคำสั่งของพระเจ้าดังที่ระบุไว้ในบทกิจการ15:28-29 และบทอื่นๆ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1961 เป็นต้นมา การที่ศาสนิกยอมรับการถ่ายเลือดโดยไม่สำนึกว่าเป็นบาปเป็นข้อบ่งชี้หนึ่งของการขับไล่ออกจากนิกายนี้ โดยศาสนิกจะได้รับการสอนว่าต้องปฏิเสธการถ่ายเลือดในทุกกรณี แม้แต่ในกรณีที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต นิกายพยานพระยะโฮวายอมรับการถ่ายเลือดด้วยเลือดเทียมและยอมรับหัตถการทางการแพทย์ที่ไม่ต้องถ่ายเลือด และมีบทความเกี่ยวกับหัตถการทางการแพทย์และการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ที่ไม่ต้องใช้เลือดเผยแพร่
การถูกโจมตี
[แก้]พยานฯ ถูกโจมตีอย่างมากด้านความเชื่อที่ต่างจากศาสนาคริสต์ทั่วไป เช่น อ้างว่าพวกพยานฯ ไม่เชื่อพระเยซู บิดเบือนพระคัมภีร์ ฯลฯ
พยานพระยะโฮวาเป็นกลุ่มคริสเตียนที่ไม่รวมเข้ากับคริสตศาสนจักร เนื่องด้วยกิจปฏิบัติหลาย ๆ อย่างของคริสตศาสนจักรไม่มีปรากฏให้เห็นในคัมภีร์ไบเบิล เช่น การฉลองวันเกิด การฉลองเทศกาลต่าง ๆ และหลาย ๆ กิจปฏิบัติเป็นที่ตำหนิของพระเจ้าด้วยซ้ำเช่นการนมัสการพระเจ้าผ่านรูปเคารพ (อพยพ 20:4-5, เฉลยธรรมบัญญัติ 7:26, 1โครินทธ์ 10:14) รวมทั้งการประพฤติที่พระคัมภีร์ตำหนิ (1โครินธ์ 5:9-11, 6:9-10) การเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าสามองค์หรือตรีเอกานุภาพ (ยอห์น 17:3, มาระโก 12:29) การตัดพระนามพระเจ้าออกจากพระคัมภีร์เพื่อป้องกันความสับสนในเรื่องตรีเอกานุภาพ การสนับสนุนการทหาร (มัทธิว 26:54, สุภาษิต 22:24,25) คำสอนเกี่ยวกับวิญญาณคนตาย (ยะเอศเคล 8:4)
ปัจจุบันพยานพระยะโฮวาได้จัดทำคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลใหม่ขึ้นโดยนำพระนามของพระเจ้ากลับเข้ามาในที่เดิมอีกครั้งโดยใช้ชื่อว่า "พระคัมภีร์คริสเตียนฉบับแปลโลกใหม่" กิจกรรมทางด้านความเชื่อที่พยานพระยะโฮวาทำเป็นหลักคือการประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้า ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของคริสเตียนแท้ทุกคน ในการออกไปตามบ้านคนเพื่อเผยแพร่ความจริงต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์ไบเบิ้ล ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดไปตามคำบอกเล่าสืบปากกันมาช้านาน โดยไม่เคยลงมือศึกษาอย่างถ่องแท้เลย และในแต่ละปีงานประกาศราชอาณาจักรของพยานพระยะโฮวาคิดเป็นระยะเวลารวมกันทั่วโลกได้ถึงหลายพันล้านชั่วโมง[32]
การไม่ยอมรับเรื่องตรีเอกภาพ
[แก้]การโต้แย้งถกเถียงในเรื่องตรีเอกภาพ เริ่มกันตั้งแต่ ค.ศ. 100 ยุติลงได้โดยผลจากสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่งในระหว่างศตวรรษที่ 3 และที่ 4 เพื่อต่อต้านลัทธิเอเรียส ซึ่งตั้งชื่อตามเอเรียส บาทหลวงชาวอะเล็กซานเดรีย (เสียชีวิต ค.ศ. 336) การสอนของเขาได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เอเรียสสอนว่าพระเจ้าพระบิดาองค์เดียวที่เที่ยงแท้ เป็นองค์นิรันดร์ พระบุตรเป็นผู้ถูกสร้างขึ้นมา และมีฐานะตํ่ากว่าพระบิดา[33] ปัจจุบันการสอนของพยานพระยะโฮวามีลักษณะคล้ายกับการสอนของเอเรียสนี้
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ อิงจาก Isaiah 43:10–12[12] ชื่อนี้เปลี่ยนเป็น Jehovah's Witnesses (มีอักษร W พิมพ์ใหญ่) ในคริสต์ทศวรรษ 1970
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Historical Dictionary of Jehovah's Witnesses. Rowman & Littlefield. 2019. p. 164. ISBN 9781538119525.
Jehovah's Witnesses are pre-millennialist
- ↑ Cobb v. Brede, (California Superior Court, San Mateo County February 22, 2012). “I am general counsel for the National Organization of Jehovah's Witnesses out of Brooklyn, New York. ... We are a hierarchical religion structured just like the Catholic Church”
- ↑ 3.0 3.1 Stanley I. Kutler, บ.ก. (2003). "Jehovah's Witnesses". Dictionary of American History (3rd ed.). New York: Charles Scribner's Sons. ISBN 978-0-684-80533-7.
- ↑ 4.0 4.1 "2020 Grand Totals". Watchtower Bible and Tract Society. 2020.
- ↑ ข้อมูลรายละเอียด:
- Millenarian: Beckford 1975, pp. 118–119, 151, 200–201
- Restorationist: Stark, Rodney; Iannaccone, Laurence R. (1997). "Why the Jehovah's Witnesses Grow so Rapidly: A Theoretical Application" (PDF). Journal of Contemporary Religion. 12 (2): 133–157. doi:10.1080/13537909708580796. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 28, 2017. สืบค้นเมื่อ December 27, 2017.
- Christian: "Who is a Christian?". www.religioustolerance.org. Ontario Consultants on Religious Tolerance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-05-11. สืบค้นเมื่อ December 27, 2017. "Religious Landscape Study". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. Pew Research Center. May 11, 2015. สืบค้นเมื่อ December 27, 2017.World Almanac and Book of Facts. New York, NY: Infobase Learning. 2011. pp. 704–705. ISBN 978-1-60057-133-6.
- Denomination: "Jehovah's Witnesses at a glance". BBC. September 29, 2009. สืบค้นเมื่อ December 27, 2017."Jehovah's Witness". TheFreeDictionary.com. The American Heritage Dictionary. สืบค้นเมื่อ December 27, 2017."Imprisoned for Their Faith: Jehovah's Witnesses in Auschwitz". auschwitz.org. Auschwitz-Birkenau State Museum. February 5, 2004. สืบค้นเมื่อ December 27, 2017.
- ↑ Beckford 1975, p. 221: "Doctrine has always emanated from the Society's elite in Brooklyn and has never emerged from discussion among, or suggestion from, rank-and-file Witnesses."
- ↑ Paul Lagasse, บ.ก. (2000). "Jehovah's Witnesses". The Columbia Encyclopedia (6th ed.). New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-7876-5015-5.
The Witnesses base their teaching on the Bible
- ↑ Penton 1997, pp. 58, 61–62
- ↑ "Jehovah's Witness". Britannica Concise Encyclopedia. Encyclopædia Britannica, Inc. 2007. ISBN 978-1-59339-293-2.
- ↑ Michael Hill, บ.ก. (1972). "The Embryonic State of a Religious Sect's Development: The Jehovah's Witnesses". Sociological Yearbook of Religion in Britain (5): 11–12.
Joseph Franklin Rutherford succeeded to Russell's position as President of Zion's Watch Tower Tract Society, but only at the expense of antagonizing a large proportion of the Watch Towers subscribers. Nevertheless, he persisted in moulding the Society to suit his own programme of activist evangelism under systematic central control, and he succeeded in creating the administrative structure of the present-day sect of Jehovah's Witnesses.
- ↑ Leo P. Chall (1978). "Sociological Abstracts". Sociology of Religion. 26 (1–3): 193.
Rutherford, through the Watch Tower Society, succeeded in changing all aspects of the sect from 1919 to 1932 and created Jehovah's Witnesses—a charismatic offshoot of the Bible student community.
- ↑ "Bearers of the Fear-inspiring Name". The Watchtower. Watch Tower Society. November 1, 1961. p. 654.
in 1931, ... embracing the name ... Jehovah's witnesses
- ↑ Rogerson 1969, p. 55 : "In 1931, came an important milestone in the history of the organization. For many years Rutherford's followers had been called a variety of names: 'International Bible Students', 'Russellites', or 'Millennial Dawners'. In order to distinguish clearly his followers from the other groups who had separated in 1918 Rutherford proposed that they adopt an entirely new name—Jehovah's witnesses."
- ↑ Beckford 1975, p. 30: "The new title symbolized a break with the legacy of Russell's traditions, the instigation of new outlooks and the promotion of fresh methods of administering evangelism."
- ↑ "A New Name". The Watch Tower. October 1, 1931. p. 291.
Since the death of Charles T. Russell there have arisen numerous companies formed out of those who once walked with him, each of these companies claiming to teach the truth, and each calling themselves by some name, such as "Followers of Pastor Russell", "those who stand by the truth as expounded by Pastor Russell," "Associated Bible Students," and some by the names of their local leaders. All of this tends to confusion and hinders those of good will who are not better informed from obtaining a knowledge of the truth.
- ↑ Franz, Raymond (2007). In Search of Christian Freedom. Commentary Press. pp. 274–5. ISBN 978-0-914675-16-7.
- ↑ Edwards, Linda (2001). A Brief Guide to Beliefs. Louisville, Kentucky: Westminster John Knox Press. p. 438. ISBN 978-0-664-22259-8.
The Jehovah's Witnesses' interpretation of Christianity and their rejection of orthodoxy influenced them to produce their own translation of the Bible, The New World Translation.
- ↑ "When Was Ancient Jerusalem Destroyed?—Part One". The Watchtower. October 1, 2011. p. 26.
Jehovah's Witnesses produce a reliable Bible translation known as the New World Translation of the Holy Scriptures. However, if you are not one of Jehovah's Witnesses, you may prefer to use other translations when considering Bible subjects. This article quotes from a number of widely accepted Bible translations.
- ↑ Chryssides 2008, p. 100: "Although it is the preferred translation by the Witnesses, they remain willing to use other translations in house-to-house ministry and in countries where a NWT has not yet been published."
- ↑ Singelenberg, Richard (1989). "It Separated the Wheat From the Chaff: The 1975 Prophecy and its Impact Among Dutch Jehovah's Witnesses". Sociological Analysis. 50 (Spring 1989): 23–40. doi:10.2307/3710916. JSTOR 3710916.
'The Truth' is Witnesses' jargon, meaning the Society's belief system.
- ↑ Penton 1997, p. 280–283: "Most Witnesses tend to think of society outside their own community as decadent and corrupt ... This in turn means to Jehovah's Witnesses that they must keep themselves apart from Satan's 'doomed system of things.' Thus most tend to socialize largely, although not totally, within the Witness community."
- ↑ Chryssides, George D. (1999). Exploring New Religions. London: Continuum. p. 5. ISBN 978-0-8264-5959-6.
The Jehovah's Witnesses are well known for their practice of 'disfellowshipping' wayward members.
- ↑ Chryssides 2016, pp. 139–140: "The transgressor is invariably given the opportunity to repent and to be counselled for his or her weaknesses: disfellowshipping is a last resort, and is effectively a formal recognition that a Witness has placed himself or herself beyond the pale, and does not accept the fundamental teachings and practices of the organisation."
- ↑ Shepherd the Flock of God. Watch Tower Society. p. 119.
The committee should be careful to allow sufficient time, perhaps many months, a year, or even longer, for the disfellowshipped person to prove that his profession of repentance is genuine.
- ↑ "Tanzania: Dons Fault Court Over Suspension of Students (Page 1 of 2)". allAfrica.com. June 17, 2013. สืบค้นเมื่อ June 19, 2014.
- ↑ Kibakaya, Esther (August 18, 2013). "How much of our religion must we bring to school?". The Citizen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ June 22, 2014.
- ↑ Flag Salute, Voting, and Civilian Service. Keep Yourselves in God's Love. Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania. pp. 212–215. สืบค้นเมื่อ October 2, 2021.
- ↑ Manwaring, David R. (1962). Render Unto Caesar, The Flag-Salute Controversy. p. 32.
- ↑ Botting 1993, pp. 1–13
- ↑ ข้อมูลโดยสังเขป: ทั่วโลก
- ↑ วารสารหอสังเกตการณ์
- ↑ 2014 Yearbook of Jehovah’s Witnesses p. 44
- ↑ ศจ.ยากอบ แมแกแล, "หลักข้อเชื่อไนเซีย-คอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 325-381"[ลิงก์เสีย], วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี, 1994ที่
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Beckford, James A. (1975). The Trumpet of Prophecy: A Sociological Study of Jehovah's Witnesses. Oxford: Basil Blackwell. ISBN 978-0-631-16310-7.
- Botting, Gary (1993). Fundamental Freedoms and Jehovah's Witnesses. University of Calgary Press. ISBN 978-1-895176-06-3.
- Botting, Heather and Gary (1984). The Orwellian World of Jehovah's Witnesses. University of Toronto Press. ISBN 978-0-8020-6545-2.
- Chryssides, George D. (2008). Historical Dictionary of Jehovah's Witnesses. Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-6074-2.
- Chryssides, George D. (2016). Jehovah's Witnesses: Continuity and Change. Routledge. ISBN 9781409456087.
- Crompton, Robert. Counting the Days to Armageddon. James Clarke & Co, Cambridge, 1996. ISBN 0-227-67939-3
- A detailed examination of the development of Jehovah's Witnesses' eschatology.
- Hoekema, Anthony A. (1963). The Four Major Cults. Grand Rapids, Michigan: William B. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-3117-0.
- Holden, Andrew (2002). Jehovah's Witnesses: Portrait of a Contemporary Religious Movement. Routledge. ISBN 978-0-415-26610-9.
- An academic study on the sociological aspects of Jehovah's Witnesses phenomenon.
- Kaplan, William. State and Salvation Toronto: University of Toronto Press, 1989. ISBN 0-8020-5842-6
- Documents the Witnesses' fight for civil rights in Canada and the US amid political persecution during World War II.
- Knox, Zoe (2018). Jehovah's Witnesses and the Secular World: From the 1870s to the Present. London: Palgrave Macmillan. ISBN 9781137396044.
- Penton, M. James (1997). Apocalypse Delayed: The Story of Jehovah's Witnesses. University of Toronto Press. ISBN 978-0-8020-7973-2.
- Penton, professor emeritus of history at University of Lethbridge and a former member of the group, examines the history of Jehovah's Witnesses, and their doctrines.
- Rogerson, Alan. Millions Now Living Will Never Die. London: Constable & Co, 1969. ISBN 978-0094559400
- Detailed history of the Watch Tower movement, particularly its early years, a summary of Witness doctrines and the organizational and personal framework in which Witnesses conduct their lives
- Schulz, B. W. (2014). A Separate Identity: Organizational Identity Among Readers of Zion's Watch Tower: 1870-1887. Fluttering Wings Press. ISBN 978-1304969408.
- Detailed history of the Watch Tower movement's earliest years written to an academic standard. Based on fresh research into original documents of the era. This is volume one of a planned two volume work.
- Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania. Jehovah's Witnesses—Proclaimers of God's Kingdom (1993)
- Official history of Jehovah's Witnesses.
- Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania. Faith In Action (2-DVD series), (2010–2011)
- Official history of Jehovah's Witnesses.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (อังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการ (ไทย)
- เว็บไซต์ทางการ (อีสาน)
- BBC - Religion: Jehovah's Witnesses
- Jehovah's Witnesses new method - BBC News Magazine article
- สมาคมว็อซเทาว์เวอร์ ไบเบิลแอนด์แทร็ค (อังกฤษ)
- ↑ ศจ.ยากอบ แมแกแล, "หลักข้อเชื่อไนเซีย-คอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 325-381"[ลิงก์เสีย], วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี, 1994ที่