ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่ฝรั่งเศส"
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ |
||
บรรทัด 7: | บรรทัด 7: | ||
| สถานที่ = [[ฝรั่งเศส]]และ[[กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ]] |
| สถานที่ = [[ฝรั่งเศส]]และ[[กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ]] |
||
| ดินแดน = |
| ดินแดน = |
||
| ผลลัพธ์ = เยอรมนีได้รับชัยชนะ<br/>[[วิชีฝรั่งเศส]]ถูกตั้งขึ้นแทนสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 |
| ผลลัพธ์ = เยอรมนีได้รับชัยชนะ<br/>[[วิชีฝรั่งเศส]]ถูกตั้งขึ้นแทน[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3]] |
||
| สถานะ = |
| สถานะ = |
||
| ผู้ร่วมรบ1 = {{flagicon|France}} [[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3| |
| ผู้ร่วมรบ1 = {{flagicon|France}} [[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3|ฝรั่งเศส]]<br />{{flag|สหราชอาณาจักร}}<br>{{flag|เบลเยียม}}<br />{{flagcountry|เนเธอร์แลนด์}}<br />{{flagcountry|ลักเซมเบิร์ก}}<br>{{flagicon|POL}} [[โปแลนด์]]<br>{{flagicon|สาธารณรัฐเช็ก}} [[Czechoslovak government-in-exile|เชโกสโลวาเกีย]] |
||
| ผู้ร่วมรบ2 = {{flagcountry|นาซีเยอรมนี}}<br />{{flagicon|ราชอาณาจักรอิตาลี}} [[ราชอาณาจักรอิตาลี| |
| ผู้ร่วมรบ2 = {{flagcountry|นาซีเยอรมนี}}<br />{{flagicon|ราชอาณาจักรอิตาลี}} [[ราชอาณาจักรอิตาลี|อิตาลี]] <small>(ตั้งแต่ 10 มิถุนายน)</small> |
||
| ผู้บัญชาการ1 = {{flagicon|France}} [[มอริส กาเมอแล็ง]] |
| ผู้บัญชาการ1 = {{flagicon|France}} [[มอริส กาเมอแล็ง]]<br> {{flagicon|France}} [[อาลฟงส์ โฌแซ็ฟ ฌอร์ฌ|อาลฟงส์ ฌอร์ฌ]] <br>{{flagicon|UK}} [[John Vereker, 6th Viscount Gort|ลอร์ดกอร์ท]]<br>{{flagicon|เบลเยียม}} [[สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม|พระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3]] |
||
| ผู้บัญชาการ2 = {{flagicon|Nazi Germany|army}} [[วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพ|วิลเฮ็ล์ม ฟ็อน เลพ]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[อัลแบร์ท เค็สเซิลริง]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[ฮูโก ชแปร์เลอ]] |
| ผู้บัญชาการ2 = {{flagicon|Nazi Germany|army}} [[วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพ|วิลเฮ็ล์ม ฟ็อน เลพ]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[อัลแบร์ท เค็สเซิลริง]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[ฮูโก ชแปร์เลอ]] |
||
| strength1 = '''สัมพันธมิตร:'''<br> 135 กองพล<br>3,300,000 ล้านนาย<br>3,383–4,071 ยานเกราะ{{sfn|Umbreit|2015|p=279}}{{sfn|Zaloga|2011|p=73}}<br>2,935 อากาศยาน |
| strength1 = '''สัมพันธมิตร:'''<br> 135 กองพล<br>3,300,000 ล้านนาย<br>3,383–4,071 ยานเกราะ{{sfn|Umbreit|2015|p=279}}{{sfn|Zaloga|2011|p=73}}<br>2,935 อากาศยาน |
||
บรรทัด 33: | บรรทัด 33: | ||
[[ไฟล์:Adolf Hitler, Eiffel Tower, Paris 23 June 1940.jpg|245px|thumb|[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] และ[[อัลแบร์ท ชแปร์]] ทัวร์ชมกรุงปารีส 23 มิถุนายน 1940 หนึ่งวันหลังลงนามสงบศึกกับฝรั่งเศส]] |
[[ไฟล์:Adolf Hitler, Eiffel Tower, Paris 23 June 1940.jpg|245px|thumb|[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] และ[[อัลแบร์ท ชแปร์]] ทัวร์ชมกรุงปารีส 23 มิถุนายน 1940 หนึ่งวันหลังลงนามสงบศึกกับฝรั่งเศส]] |
||
==ภูมิหลัง== |
==ภูมิหลัง== |
||
===แนวมาฌีโน=== |
===แนวมาฌีโน=== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:33, 3 กันยายน 2564
ยุทธการที่ฝรั่งเศส | |||
---|---|---|---|
| |||
กำลัง | |||
สัมพันธมิตร: ฝรั่งเศสในเทือกเขาแอลป์: 5 กองพล 150,000 นาย |
เยอรมนี: อิตาลีในเทือกเขาแอลป์: 22 กองพล 300,000 นาย | ||
ความสูญเสีย | |||
ตายหรือบาดเจ็บ 360,000 ตกเป็นเชลย 1,900,000 เสียอากาศยาน 2,233[4] เสียยานเกราะ 2,438 |
ตาย 27,074 บาดเจ็บ 111,034 เสียอากาศยาน 1,236[5][6] เสียยานเกราะ 822 |
ยุทธการที่ฝรั่งเศส (อังกฤษ: Battle of France) หรือ ความพินาศที่ฝรั่งเศส (อังกฤษ: Fall of France) ในเยอรมนีเรียก การทัพตะวันตก (เยอรมัน: Westfeldzug) คือการบุกโดยกองทัพเยอรมันเพื่อยึดครองภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน 1939 หลังจากที่เยอรมนียกทัพบุกครองโปแลนด์ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและอังกฤษ ในช่วงต้นเดือนกันยายน 1939 ทางกองทัพฝรั่งเศสบุกเข้าซาร์ลันท์ของเยอรมันอย่างมีขอบเขต แต่ในกลางเดือนตุลาคมของปีนั้นทางกองทัพฝรั่งเศสกลับถอนกำลังมากลับประจำตำแหน่งเดิมหลังแนวมาฌีโน ตลอดหกสัปดาห์หลังตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 1940 เป็นต้นไป กองทหารเยอรมันเอาชนะกองทหารสัมพันธมิตรโดยปฏิบัติการยานยนต์ และเข้าพิชิตฝรั่งเศส เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์ เป็นจุดสิ้นสุดของแนวรบด้านตะวันตกจนกระทั่งการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี ในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 อิตาลีได้เข้าร่วมกับเยอรมนีและประกาศสงครามต่อฝรั่งเศสในวันที่ 10 มิถุนายน 1940
10 พฤษภาคม เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการ "เหตุเหลือง" (Fall Gelb) กองยานเกราะเยอรมันได้ทำบุกโจมตีเข้าผ่านทางอาร์แดนและตามแนวแม่น้ำซอมอย่างกระทันหันด้วยความเร็วที่ทางฝ่ายสัมพันธิมิตรคาดไม่ถึง กองพลยานเกราะเยอรมันข้ามแม่น้ำเมิซได้ในวันที่ 15 พฤษภาคมและบุกต่อไปทางตะวันตกโดยทันที ฝ่ายเยอรมันได้ตัดขาดเส้นทางการเดินทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรในพื้นที่ และสามารถล้อมกองทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปช่วยเบลเยียมและจะเข้าโจมตีเยอรมันกับกองทัพที่คาดว่าจะเป็นกองทัพหลักของเยอรมัน ด้วยปฏิบัติการยานเกราะอันมีประสิทธิภาพของเยอรมันทำให้กองทหารบริติช, ฝรั่งเศส และเบลเยียมถูกผลักดันไปจนมุมอยู่ที่หาดเดิงแกร์ก รัฐบาลบริติชได้ทำการอพยพกองทัพต่างแดนบริติช (BEF) ตลอดจนกองพลฝรั่งเศสออกจากหาดเดิงแกร์กในปฏิบัติการไดนาโมจนเสร็จสิ้นวันที่ 4 มิถุนายน 1940
เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการ "เหตุแดง" (Fall Rot) ในวันที่ 5 มิถุนายน กองพลบริติชและฝรั่งเศส 60 หน่วยที่เหลืออยู่พยายามต่อต้านการุรกรานอย่างสุดกำลังแต่ก็ไม่เป็นผลมากนัก เนื่องจากฝ่ายเยอรมันมีการสนับสนุนทางอากาศและมียานเกราะที่เหนือกว่ามาก กองยานเกราะเยอรมันยกทัพโอบล้อมแนวมาฌีโนจากภาคเหนือและมุ่งเข้าสู่ภาคกลางของฝรั่งเศส และเข้ายึดกรุงปารีสที่ไร้ทหารป้องกันในวันที่ 14 มิถุนายน ผู้คนในรัฐบาลฝรั่งเศสต่างหลบหนีออกไปอังกฤษก่อนหน้านั้นแล้ว ผู้นำทหารเยอรมันเข้าเจรจาข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลฝรั่งเศสในวันที่ 18 มิถุนายน
ในวันที่ 22 มิถุนายน ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในตราสารสงบศึกที่ป่ากงเปียญ รัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ที่เป็นกลางนำโดย จอมพลฟีลิป เปแต็ง ออกประกาศล้มล้างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ยอมให้เยอรมนีเข้ายึดครองภาคเหนือและชายฝั่งตลอดจนแผ่นดินหลังฝั่งทะเลของฝรั่งเศส การบุกของอิตาลีส่งผลให้ทางฝรั่งเศสเสียพื้นที่บนแถบเทือกเขาและหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ลงนามตราสารสงบศึก ทางอิตาลีก็ได้ครอบครองพื้นที่ในโซนยึดครองทางตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลวิชีฝรั่งเศส มีเขตอำนาจเพียงดินแดนนอกยึดครองแถบภาคใต้ซึ่งเรียกว่า "โซนเสรี" (Zone libre) ในเดือนพฤศจิกายน 1942 ทหารเยอรมันและอิตาลีเข้ายึดพื้นที่โซนเสรีภายใต้ชื่อปฏิบัติการอันโทน (Unternehmen Anton) แม้ฝรั่งเศสจะพ่ายแพ้ศึกครั้งนี้ แต่นายพลชาลส์ เดอ โกล แห่งกองทัพฝรั่งเศสได้ลี้ภัยไปอยู่กรุงลอนดอน เขาได้จัดตั้งแนวร่วมเสรีฝรั่งเศส (France Libre) เพื่อต่อต้านนาซีเยอรมนีและรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะจนกระทั่งถูกปลดปล่อยหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกในปี 1944
ภูมิหลัง
แนวมาฌีโน
ช่วงทศวรรษที่ 1930 ฝรั่งเศสได้สร้างแนวป้องกันที่ชื่อ "แนวมาฌีโน" (Ligne Maginot) ตามแนวพรมแดนร่วมกับเยอรมัน ตลอดเส้นนี้เต็มไปด้วยป้อมปราการคอนกรีต สิ่งกีดขวาง และอาวุธ จุดประสงค์ของแนวป้องกันนี้คือทางฝรั่งเศสสามารถลดจำนวนกำลังคนในการรบกับเยอรมันโดยตรงและสามารถบังคับให้เยอรมนีเลือกส่งกองทัพหลักเข้าบุกผ่านเบลเยียมแทน ทางฝรั่งเศสจึงจะสามารถส่งหน่วยทหารมือดีที่ไปรบกับทหารเยอรมันในเบลเยียมแทน ทางฝรั่งเศสเชื่อว่าสงครามจะปะทุขึ้นนอกตัวประเทศของฝรั่งเศสเอง เป็นกลายหลีกเลี่ยงการทำลายล้างเหมือนในสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนหลักของแนวมาฌีโนเริ่มต้นตั้งแต่บริเวณพรมแดนทที่ติดกับสวิตเซอร์แลนด์ และลากยาวตามแนวชายแดนร่วมกับเยอรมัน ผ่านป่าอาร์แดนจนไปถึงชายแดนเบลเยียม ช่วงที่ขนานไปตามแนวชายแดนเบลเยียมเป็นส่วนที่มีการป้องกันไม่หนาแน่นเท่ากับส่วนที่ติดกับชายแดนของเยอรมนี พื้นที่ของป่าอาร์แดนนั้นเต็มไปด้วยต้นไม้และหุบเขาจึงทำให้มีการต่อเติมและสร้างแนวป้องกันลำบาก พลเอกอาวุโสฟีลิป เปแต็ง นั้นได้ประกาศว่า "อาร์แดนไม่มีวันแตก" ตราบใดที่ "บทบัญญัติพิเศษ" เมื่อกองทัพหลังของเยอรมันโผล่ออกมาจากอาร์แดนด้วยการตีขนาบ จะต้องถูกทำลายอย่างแน่นอน ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพฝรั่งเศส พลเอกมอริส กาเมอแล็ง เองก็เชื่อว่าพื้นที่บริเวณนั้นปลอดภัยมากจากการถูกโจมตีเช่นกันและยังได้กล่าวไว้ว่า "มันไม่เคยเอื้ออำนวยต้องยุทธการใหญ่ๆ" ด้วยความเชื่อเช่นนี้ทำให้ฝรั่งเศสวางกำลังทหารไว้ในพื้นที่นี้เพียงสิบกองพล พวกเขาเชื่อว่าแนวมาฌีโนนั้นแข็งแกร่งพอที่จะถ่วงเวลาให้กองทัพฝรั่งเศสระดมพลไปที่แนวรบและโต้กลับได้อย่างรวดเร็ว
การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนี
ในปี 1939 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเสนอความช่วยเสนอทางทหารให้แก่โปแลนด์ในกรณีเผื่อว่าถูกรุกรานโดยเยอรมนี ในเช้าวันที่ 1 กันยายน 1939 เยอรมันก็เปิดฉากบุกครองโปแลนด์ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้เยอรมนีถอนทหารออกจากโปแลนด์ในทันที เยอรมนีไม่ตอบสนอง[7][8] ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ของปีนั้นและประเทศอื่นก็ทยอยประกาศตาม ได้แก่ ออสเตรเลีย (3 กันยายน), นิวซีแลนด์ (3 กันยายน), แอฟริกาใต้ (6 กันยายน), และแคนาดา (10 กันยายน) อย่างไรก็ตาม แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะได้ประกาศสงครามแล้ว แต่ทั้งสองประเทศกลับไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะช่วยเหลือทางทหารแก่โปแลนด์อีกแล้วในภาวะที่เป็นอยู่ โอกาสที่ทางโซเวียตนั้นจะเข้ามาช่วยเหลือโปแลนด์ไม่มีอีกแล้วเพราะความตกลงมิวนิกในปี 1938 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตพึ่งลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันซึ่งรวมไปถึงการแบ่งดินแดนของโปแลนด์ และโซเวียตก็ช่วยเยอรมันบุกโปแลนด์จากด้านตะวันออก สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสทำได้แค่เพียงมองดูโปแลนด์ล่มสลายไปต่อหน้าต่อตา ทางสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเร่งนั้นวางแผนที่จะให้มันเป็นสงครามที่นานจึงสั่งสมอาวุธยุทธภัณฑ์เพื่อเตรียมทำการรับมือกับการรุกรานจากเยอรมนี และทำให้เศรษฐกิจสงครามของเยอรมันอ่อนตัวลงโดยการปิดล้อมการค้า[9]
สงครามลวง
7 กันยายน 1939 ฝรั่งเศสยกกำลัง 98 กองพล (มีเพียง 28 กองพลที่เป็นทหารกองหนุน) พร้อมยานเกราะ 2,500 คันออกนอกแนวมาฌีโนราว 5 กิโลเมตรเพื่อไปยังซาร์ลันท์ เขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของเยอรมนีซึ่งถูกป้องกันโดย 43 กองพลเยอรมัน (กว่า 32 กองพลเป็นทหารกองหนุน) และไม่มียานเกราะเลย จะเห็นได้ว่าฝรั่งเศสมีความเหนือกว่าในทุกมิติ กองพลฝรั่งเศสรุดหน้าไป 5 กิโลเมตรจนเกือบจะถึงแนวซีคฟรีทของเยอรมันที่ยังสร้างไม่เสร็จ แต่ในวันที่ 17 กันยายน พลเอกกาเมอแล็งเปลี่ยนใจ มีคำสั่งให้ถอนกำลังกลับมาหลังแนวมาฌีโน ยุทธศาสตร์ของพลเอกกาเมอแล็งคือรอจนกระทั่งกองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษมีความพรั่งพร้อมด้านยุทธภัณฑ์อย่างเต็มที่เสียก่อน ภายหลังจบการรุกซาร์ลันท์ก็เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่าสงครามลวง (Phoney War) หรือที่เยอรมนีเรียกว่าสงครามนั่ง (Sitzkrieg) ฮิตเลอร์หวังว่าสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะยอมรับการยึดครองโปแลนด์และประนีประนอมสันติภาพโดยเร็ว ฮิตเลอร์เสนอข้อตกลงสันติภาพไปยังสองมหาอำนาจในวันที่ 6 ตุลาคม[10]
เหตุการณ์
แนวรบตอนเหนือ
9 พฤษภาคม เวลา 21:00 น. มีคำสั่งใช้รหัส Danzig ไปยังกองพลเยอรมันทุกหน่วยเพื่อสั่งใช้ "เหตุเหลือง" (Fall Gelb) กองทัพเยอรมันเปิดฉากเข้ายึดประเทศลักเซมเบิร์กโดยไร้การต่อต้าน[11] กองทัพกลุ่ม B เปิดปฏิบัติการเข้ารุกตีประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมในตอนกลางคืน เมื่อเข้าสู้เช้าวันที่ 10 พฤษภาคม หน่วยพลร่มเยอรมันจากกองพลเหินเวหาที่ 7 (7. Flieger-Division) และกองพลร่อนอากาศที่ 22 (22. Luftlande-Division) ทิ้งตัวจากอากาศและเข้าจู่โจมกรุงเฮกและเส้นทางสู่เมืองรอตเทอร์ดามอย่างไม่ทันตั้งตัว หน่วยพลร่มเยอรมนี้เป็นหน่วยเคลียร์ทางเพื่อให้กองทัพกลุ่ม B รุกได้อย่างสะดวก[12]
กองบัญชาการฝรั่งเศสตอบโต้ทันควันโดยการส่งกองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศสขึ้นเหนือเพื่อปฏิบัติตามแผลดีล ซึ่งถือเป็นหน่วยทหารที่ดีที่สุดของฝรั่งเศส แต่เมื่อกองทัพที่ 7 ของฝรั่งเศสข้ามชายแดนสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็พบว่ากองทัพเนเธอร์แลนด์ถูกรุกตีจนต้องถอยร่นอย่างเต็มกำลังไปป้องกันเมืองแอนต์เวิร์ปในประเทศเบลเยียม[13]
บุกครองเนเธอร์แลนด์
เนื่องจากเนเธอร์แลนด์มีแนวป้องกันทางน้ำที่เรียกว่าปราการฮอลแลนด์เป็นแนวต่อต้านสำคัญทางบก ลุฟท์วัฟเฟอจึงได้รับมอบหมายโจมตีและยึดครองกรุงเฮกในปฏิบัติการที่เรียกว่า "ยุทธการที่เดอะเฮก" เครื่องบินที่ใช้ประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง 247 ลำ, เครื่องบินต่อสู่ 147 ลำ, เครื่องบินลำเลียงยูห้าสิบสอง 424 ลำ และเครื่องบินสะเทินน้ำ 12 ลำ ในขณะที่กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ มีเครื่องบินต่อสู้เพียง 144 ลำ ซึ่งกว่าครึ่งในจำนวนนี้ถูกทำลายตั้งแต่วันแรก เครื่องบินลำที่เหลือก็กระจายตัวต่อสู่และยิงเครื่องบินเยอรมันตกได้เพียงไม่กี่ลำ ปฏิบัติการต่อต้านของเนเธอร์แลนด์เสียเครื่องบินไปทั้งหมดถึง 110 ลำ[14]
ยุทธการของลุฟท์วัฟเฟอในครั้งนี้กลับประสบความล้มเหลว เนเธอร์แลนด์ยังรักษากรุงเฮกไว้ได้อยู่[15] แม้ฝ่ายเยอรมันสามารถยึดลานบินโดยรอบกรุงเฮกไว้ได้แต่ก็เสียทหารและเครื่องบินลำเลียงจำนวนมาก แต่ก็ถูกทหารเนเธอร์แลนด์สามารถยึดคืนได้ก่อนสิ้นวัน[16] ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานของเนเธอร์แลนด์สามารถยิงเครื่องบินเยอรมันตกได้ 96 ลำ[15] เครื่องบินลำเลียงของลุฟท์วัฟเฟอถูกยิงตก 125 ลำและเสียหาย 47 ฝ่ายเยอรมันใช้ทหารพลร่มในครั้งนี้กว่า 4,000 นาย ในจำนวนนี้กว่า 1,200 นายตกเป็นเชลยและถูกย้ายไปค่ายกักกันเชลยบนเกาะบริเตนใหญ่[17]
กองทัพที่ 7 ของฝรั่งเศสไม่สามารถสกัดกั้นกองพลยานเกราะที่ 9 (9. Panzer-Division) ที่มาถึงเมืองรอตเทอร์ดามในวันที่ 13 พฤษภาคม ในวันเดียวกันนี้ การโต้กลับทางด้านตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ก็ประสบความล้มเหลว ทหารเนเธอร์แลนด์ต้องถอยร่นมายังแนวปราการฮอลแลนด์ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ในค่ำวันที่ 14 พฤษภาคม เมื่อลุฟท์วัฟเฟอใช้เครื่องบินไฮง์เคิล เฮ 111 ทิ้งระเบิดที่เมืองรอตเทอร์ดาม รัฐบาลเนเธอร์แลนด์กลัวว่าหายนะแบบเดียวจะเกิดขึ้นกับเมืองอื่น จึงยอมจำนนต่อเยอรมนีอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาเสด็จลี้ภัยไปประเทศอังกฤษและตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่นั่น ศึกครั้งนี้ได้คร่าชีวิตทหารเนเธอร์แลนด์ 2,357 นายและพลเรือน 2,559 คน[18]
บุกครองเบลเยียม
กองทัพเยอรมันมีอำนาจเหนือน่านฟ้าเบลเยียมได้อย่างรวดเร็ว ด้วยภาพถ่ายทางอากาศจากการลาดตระเวนของเยอรมัน ลุฟท์วัฟเฟอจึงสามารถทำลายเครื่องบิน 83 ลำจาก 179 ของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ภายในเวลา 24 ชั่วโมงตั้งแต่เริ่มบุก ฝ่ายเบลเยียมมุ่งเน้นไปที่การต้านทางบกและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการต่อต้านทางอากาศ ทำให้ท้ายที่สุด ลุฟท์วัฟเฟอมีอำนาจครองน่านฟ้าทั้งหมดของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ[19]
กองทัพกลุ่ม B ของเยอรมันที่บุกเข้ามาจากทางเนเธอร์แลนด์ มีการจัดวางกำลังที่อ่อนด้อยลงกว่าตอนแรก ทำให้เมื่อถูกรุกตีลวงโดยกองทัพที่ 6 ของฝรั่งเศส ฝ่ายเยอรมันก็ตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงทันที ขณะเดียวกัน แนวต้านของเบลเยียมที่คลองอัลเบิร์ตมีความเข้มแข็งมาก ทางแยกบริเวณแม่น้ำมิวเซอและอัลเบิร์ตอยู่ภายใต้การป้องกันโดยป้อมปราการเอเบิน-เอมาเอล ปราการขนาดใหญ่ที่ขึ้นชื่อว่าทันสมัยที่สุดในยุโรป การรุกของเยอรมันดูท่าจะต้องล่าช้าออกไป[20]
ความล่าช้าที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลกระทบต่อปฏิบัติการทั้งหมด ตามแผนแล้ว ฝ่ายเยอรมันจำเป็นปะทะกับทัพหลักของสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนที่กองทัพกลุ่ม A จะตั้งฐานที่มั่นแล้วเสร็จ ที่สุดแล้ว ในเช้าวันที่ 10 พฤษภาคม ฝ่ายเยอรมันไม่มีทางเลือก จึงได้จัดหน่วยจู่โจมพิเศษ ใช้เครื่องร่อนลงด้านบนของปราการเอเบิน-เอมาเอล เพื่อทำลายปืนใหญ่หลักของป้อมปราการ ขณะเดียวกัน หน่วยพลร่มจะเข้ายึดสะพานข้ามคลองอัลเบิร์ต ฝ่ายเบลเยียมโต้กลับหลายหนแต่ก็ถูกขัดขวางโดยลุฟท์วัฟเฟอ การที่ปราการที่แกร่งที่สุดได้แตกลงสร้างความตกตะลึงแก่บรรดาผู้นำทหารของเบลเยียม กองบัญชาการใหญ่เบลเยียมสั่งการให้ถอยทัพมาตั้งหลักที่แนว KW ซึ่งเร็วกว่าที่คิดไว้ถึงห้าวัน ข่าวความพ่ายแพ้ที่ชายแดนเบลเยียมทำให้ฝรั่งเศสวิตกมาก ฝรั่งเศสโน้มน้าวให้เบลเยียมต่อสู้ต่อไปเพื่อถ่วงเวลาให้ฝรั่งเศสสร้างแนวรับที่ฌ็องบลู (Gembloux) ในเบลเยียม
ยุทธการที่อานูว์และฌ็องบลู
ยุทธการที่อานูว์ (12–13 พฤษภาคม) ในเบลเยียม ถือเป็นสมรภูมิยานเกราะที่ใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้น มียานเกราะเข้าร่วมในศึกครั้งนี้กว่า 1,500 คัน ฝรั่งเศสสามารถจัดการยานเกราะเยอรมันจนหมดสภาพรบไปได้ราว 160 คัน ในขณะที่ตัวเองเสียรถถัง Hotchkiss H35 จำนวน 91 คันและเสีย Somua S35 จำนวน 30 คัน[21] อย่างไรก็ตาม กองทัพเยอรมันเข้าควบคุมพื้นที่ไว้ได้ภายหลังฝรั่งเศสถอนกำลังอย่างเป็นระบบ และเยอรมันสามารถซ่อมแซมรถถังคืนสภาพมาได้ส่วนใหญ่ สรุปในศึกครั้งนี้ เยอรมันเสียยานเกราะไปสุทธิ 49 คัน[22] ส่วนฝรั่งเศสก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายทางยุทธวิธีที่จะถ่วงเวลาเดินทางและขุดสนามเพลาะให้แก่กองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศส[23]
กองยานเกราะเยอรมันเข้าปะทะกับกองทัพที่ 1 ทางตอนเหนือราว 120 กิโลเมตรจากเซอด็อง (Sedan) ซึ่งเป็นจุดสำคัญสุดที่พลเอกเฮิพเนอร์ต้องการยึดแต่ทำไม่สำเร็จ ต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม เฮิพเนอร์ซึ่งตั้งทัพที่อานูว์ ได้ขัดคำสั่งหน่วยเหนือและเข้าตีฌ็องบลูอีกครั้งเป็นยุทธการที่ฌ็องบลู ทหารฝรั่งเศสยังป้องกันฌ็องบลูไว้ได้แต่ก็เสียทหารไปไม่น้อย
แนวรบตอนกลาง
ป่าอาร์แดน
กองพลทหารม้าเบลเยียมนำสิ่งกีดขวางเข้าปิดกั้นเส้นทาง และเข้าปะทะกับกองพลยานเกราะที่ 1 ที่เมืองโบดอญ (Bodange) โดยจะมีกองพลทหารม้าเบาที่ 5 ของฝรั่งเศสมาช่วยเสริมทัพ อย่างไรก็ตาม หลังต่อสู้เป็นเวลากว่าแปดชั่วโมง กองพลฝรั่งเศสก็ยังไม่มาถึง กองพลเบลเยียมจึงจำเป็นต้องถอนกำลัง ทหารช่างเยอรมันเข้ารื้อสิ่งกีดขวางได้โดยง่าย กองทัพฝรั่งเศสมีอาวุธต่อต้านรถถังไม่เพียงพอรับฝูงยานเกราะเยอรมันจำนวนมหาศาล จึงถอนกำลังมาฝั่งใต้ของแม่น้ำเมิซ
จำนวนยานยนต์มหาศาลของเยอรมันเป็นอุปสรรถต่อการเดินทัพเช่นกัน กลุ่มยานเกราะไคลสท์ (Panzergruppe Kleist) ซึ่งมียานยนต์กว่า 41,140 คันไม่สามารถจะยกทัพโดยถนนเพียงเส้นเดียว จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เครือทางที่มีสภาพย่ำแย่กว่าในการยกทัพ ซึ่งในขณะนั้นมีเพียงสี่เส้นทางที่จะใช้ยกทัพผ่านอาร์แดนไปได้[24] เครื่องบินลานตระเวณฝรั่งเศสรายงานว่าพบขบวนยานเกราะเยอรมันในคืน 10/11 พฤษภาคม แต่คาดเดาว่าขบวนยานเกราะเหล่านี้จะไปโจมตีระรอกสองในเบลเยียม ในคืนถัดมา นักบินฝรั่งเศสรายงานว่าพบขบวนยานยนต์แถวยาวกำลังเคลื่อนที่โดยไม่เปิดไฟบนเส้นทางสู่อาร์แดน ต่อมามีการส่งนักบินไปยืนยันและพบว่าในบรรดายานยนต์เหล่านั้น จำนวนมากเป็นยานเกราะ และบางส่วนเป็นรถสะพาน แต่พลเอกกาเมอแล็งกลับไม่เชื่อรายงานเหล่านี้และเพิกเฉยไป
พลเอกกาเมอแล็งสั่งการให้กองพลทหารกองหนุนไปเสริมแนวรับบริเวณแม่น้ำเมิซในวันที่ 11 พฤษภาคม แต่เนื่องด้วยมีภัยคุกคามทางอากาศจากลุฟท์วัฟเฟอ ทำให้การลำเลียงทหารฝรั่งเศสทางรถไฟทำได้เวลากลางคืนเท่านั้น การเสริมทัพจึงเป็นไปอย่างล่าช้า ฝรั่งเศสเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของแนวรับที่แม่น้ำเมิซ และเชื่อว่าเยอรมันจะค่อยๆบุกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่างไรก็ตาม ในเช้าวันถัดมาฝรั่งเศสพบว่ากองหน้าเยอรมันของกองทัพกลุ่ม A บุกมาถึงแม่น้ำเมิซแล้ว
13 พฤษภาคม กลุ่มยานเกราะไคลสท์ประสบจราจรติดขัดบนเส้นทางสายหนึ่งเป็นระยะทางยาวกว่า 250 กิโลเมตรตั้งแต่แม่น้ำไรน์ในเยอรมนีจนถึงแม่น้ำเมิซในฝรั่งเศส ระหว่างที่ฝูงยานเกราะเยอรมันตกเป็นเป้านิ่งอยู่นี้เอง ฝรั่งเศสกลับส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดไปโจมตีกองทัพเยอรมันในตอนเหนือของเบลเยียม ในเวลาเพียงสองวัน เครื่องบินทิ้งระเบิดฝรั่งเศสลดจำนวนจาก 135 เหลือ 72 ลำเท่านั้น[25]
ยุทธการที่เซอด็อง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เยอรมันข้ามแม่น้ำเมิซ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลตอบรับในเยอรมนี
ฮิตเลอร์คาดการณ์ว่าเยอรมันจะเสียทหารไปในการบุกฝรั่งเศสราวหนึ่งล้านนาย อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของเขาสำเร็จลงในเวลาเพียงหกสัปดาห์ ทหารเยอรมันเสียชีวิตเพียง 27,074 นาย, สูญหาย 18,384 นาย และบาดเจ็บ 111,034 นาย[5][26] ชัยชนะครั้งใหญ่ที่ไม่คาดคิดทำให้ประชาชนชาวเยอรมันตกอยู่ในคลื่นความยินดี ความนิยมในตัวฮิตเลอร์พุ่งกระฉูด ในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 ฮิตเลอร์จัดพิธีมอบยศจอมพลให้แก่ 12 นายทหาร ได้แก่:
- พลเอกอาวุโส วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์ ผู้บัญชาการใหญ่กองทัพบก
- พลเอกอาวุโส วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล หัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์
- พลเอกอาวุโส แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท แม่ทัพกลุ่ม A
- พลเอกอาวุโส เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค แม่ทัพกลุ่ม B
- พลเอกอาวุโส วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพ แม่ทัพกลุ่ม C
- พลเอกอาวุโส กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ ผู้บัญชาการกองทัพที่ 4
- พลเอกอาวุโส วิลเฮ็ล์ม ลิสท์ ผู้บัญชาการกองทัพที่ 12
- พลเอกอาวุโส แอร์วีน ฟ็อน วิทซ์เลเบิน ผู้บัญชาการกองทัพที่ 1
- พลเอกอาวุโส วัลเทอร์ ฟ็อน ไรเชอเนา ผู้บัญชาการกองทัพที่ 6
- พลเอกอาวุโส แอร์ฮาร์ท มิลช์ อดีตผู้บัญชาการกองบิน 5, จเรทหารอากาศ
- พลเอกทหารนักบิน อัลแบร์ท เค็สเซิลริง ผู้บัญชาการกองบิน 2
- พลเอกทหารนักบิน ฮูโก ชแปร์เลอ ผู้บัญชาการกองบิน 3
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Umbreit 2015, p. 279.
- ↑ Zaloga 2011, p. 73.
- ↑ Hooton 2007, pp. 47–48
- ↑ Hooton 2007, p. 90.
- ↑ 5.0 5.1 Frieser (1995), p. 400.
- ↑ Murray 1983, p. 40.
- ↑ Viscount Halifax to Sir N. Henderson (Berlin) เก็บถาวร 2 ตุลาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Cited in the British Blue book
- ↑ "Britain and France declare war on Germany". The History Channel. สืบค้นเมื่อ 6 May 2014.
- ↑ Indiana University. "Chronology 1939". indiana.edu.
- ↑ Shirer 1990, p. 715
- ↑ Weinberg p. 122.
- ↑ Hooton 2007, pp. 49–54.
- ↑ Evans 2000, pp. 33–38
- ↑ Hooton 2007, pp. 48–49, 52
- ↑ 15.0 15.1 Hooton 1994, p. 244.
- ↑ L. de Jong, 1971 nopp
- ↑ Hooton 2007, pp. 244 –, 50, 52
- ↑ Evans 2000, p. 38
- ↑ Hooton, 2007, p. 48
- ↑ Dunstan 2005, pp. 31–32
- ↑ Pierre Genotte, pp. 56–57.
- ↑ Gunsburg 1992, pp. 207–44, 236–37, 241.
- ↑ Frieser 2005, pp. 246–48.
- ↑ Frieser 2005, pp. 137–42.
- ↑ Jackson 1974, p. 56.
- ↑ L'Histoire, No. 352, April 2010 France 1940: Autopsie d'une défaite, p. 59.