ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน

พิกัด: 18°35′31″N 99°00′42″E / 18.5920407°N 99.0116496°E / 18.5920407; 99.0116496
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน
Chak Kham Khanathon Lamphun School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นจ.ค.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐประจำจังหวัด
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสุวิชาโน ภวํ โหติ
(ผู้รู้ดี คือ ผู้เจริญ)
สถาปนาพ.ศ. 2447
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1051101001 (ใหม่)
1008510101 (เก่า)
51012003 (Smis)
510293 (Obec)
ผู้อำนวยการนายจรัส คำอ้าย
ครู/อาจารย์160 คน (ปีการศึกษา 2563)
จำนวนนักเรียน3,111 คน (ปีการศึกษา 2563)
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน

ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีน

เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สี  น้ำเงิน -   เหลือง
เพลงมาร์ชจักรคำคณาทร
การจัดการศึกษามัธยมศึกษา
ต้นไม้สนปฏิพัทธ์
เว็บไซต์เว็บไซต์โรงเรียน
ศาลาพระพุทธโคดมบรมครูสัมมาสัมพุทธเจ้า โรงเรียนจักรคำคณาทรจังหวัดลำพูน

โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดลำพูน คู่กับโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 เป็นโรงเรียนมัธยมของรัฐขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 426 ถนนเจริญราษฎร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน) บนเนื้อที่ 37 ไร่ 3 งาน 17.80 ตารางวา ปัจจุบันห้องเรียนของมัธยมศึกษาตอนต้นมีทั้งหมด 45 ห้องเรียน และห้องเรียนของมัธยมศึกษาตอนปลายมี 42 ห้องเรียน รวม 87 ห้องเรียน

สถานที่ภายใน

พื้นที่และอาณาเขต

พื้นที่ปัจจุบันสภาพเป็นพื้นที่ราบ ขนาด 37 ไร่ 3 งาน 17.80 ตารางวา โดยมีอาณาเขต ดังนี้

อาคารเรียน

อาคารเป็นตึกถาวร 7 หลังคือ

  1. อาคาร 1 อาคารจักรคำขจรศักดิ์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 เป็นที่ทำการของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม
  2. อาคาร 2 อาคารเหมพินทุไพจิตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทำการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  3. อาคาร 3 อาคารอาทิตยราช สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2516-2517 เป็นที่ทำการของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  4. อาคาร 4 อาคารพิศาลโสภาคุณ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2532-2533 เป็นที่ทำการของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  5. อาคาร 5 อาคารอินทยงยศโชติ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2543 - 2544 เป็นที่ทำการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  6. อาคาร 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา
  7. อาคารจักรคำวิทยาคม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2505 ใช้เป็นสำนักงานของผู้อำนวยการและฝ่ายบริหาร

นอกจากนี้ก็มีอาคารประกอบหลายหลัง ได้แก่ หอประชุมดาราดิเรก (อาคารหลังเดิมถูกรื้อถอนออกไปแล้วและสร้างเป็นอาคาร 6 ปัจุบันอาคารดาราดิเรกได้สร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2559 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2560 ) หอประชุมบุรีรัตน์ อาคารอุสาหกรรม อาคารคหกรรม อาคารดนตรีศึกษา (รื้อถอนออกไปแล้ว) อาคารศูนย์กีฬากรมสามัญศึกษา ศาลากลางน้ำ เรือนไทย เรือนหลวงล้านนากาญจนาภิเษก หอสมุดเติมทองไชย อาคารอนุสรณ์ 100 ปี ศูนย์วิชาการจักรคำ 100 ปี อาคารจักรคำ 115ปี บ้านพักครู 7 หลัง และบ้านพักภารโรง 3 หลัง

แผนชั้นเรียน

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

  1. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามแนวทางของ สสวท. และ สอวน. (Smart Science)
  2. ห้องเรียนพิเศษทางภาษา เสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เตรียมความพร้อมสู่อาชีพ ไทยแลนด์ ๔.๐ (EPDP)
  3. ห้องเรียนพิเศษเตรียมแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และเทคนิคการแพทย์
  4. ห้องเรียนพิเศษเตรียมทหาร เตรียมตำรวจ
  5. ห้องเรียนพิเศษดนตรี ตามโครงการห้องเรียนดนตรี สพฐ.
  6. ห้องเรียนสำหรับนักเรียนหลักสูตรปกติ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  1. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ESMTE, Enrichment Program of Science, Mathematics, Technology and Environment)
  2. ห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (Gifted Maths)
  3. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เตรียมความ พร้อมสู่อาชีพไทยแลนด์ ๔.๐ (EPDP)
  4. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เตรียมวิศวกรคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ (Pre - Computer Engineering & Robot Program)
  5. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ พัฒนาอัจฉริยภาพด้านภาษาไทย (Gifted Thai)
  6. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เสริมและพัฒนาความสามารถด้านสังคมศึกษา (Gifted Social Studies)
  7. ห้องเรียนพิเศษเตรียมแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และเทคนิคการแพทย์
  8. ห้องเรียนพิเศษศิลป์ดนตรี ตามโครงการห้องเรียนดนตรี สพฐ.
  9. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  10. แผนการเรียน ศิลป์ภาษาอังกฤษ Art - English Program. (ส่งเสริมความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ)
  11. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (Math-Eng)
  12. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส
  13. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน
  14. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น
  15. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลี
  16. แผนการเรียนภาษาไทย-สังคมศึกษา

รายนามผู้บริหาร[1]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายช่วย มินิกานน์ ระบุไม่ได้ - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456
2 ร.ต.อ.แก้ว วามะรูป 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 - 2561
3 นายบุษย์ วัฒนวรา พ.ศ. 2461 - ระบุไม่ได้
4 ร.อ.ต. เสวก เรืองอัมพร ระบุไม่ได้ - 2473
5 ร.อ.ท.ขุนวิชชา กิจจพิสัณห์ พ.ศ. 2475 - 2478
6 นายกุหลาบ ประภาสะโนบล พ.ศ. 2478 - 2479
7 นายทองอินทร์ ปัณฑรานนท์ พ.ศ. 2479
8 นายนกแก้ว ไพบูลย์ พ.ศ. 2483 - 2484
9 นายพิศาล มั่นเสมอ พ.ศ. 2484
10 นายเทพ อินสุวรรณ พ.ศ. 2484 - 2489
11 นายวัน บุญฤทธิ์ พ.ศ. 2489 - 2490
12 นายโชติ สุวรรณชิน พ.ศ. 2490 - 2491
13 นายพันธ์ รัติกนก พ.ศ. 2491 - 2494
14 นายสุเชฏฐ์ วิชชวุต พ.ศ. 2494 - 2505
15 นายประสิทธิ์ ธนะปัญโญ พ.ศ. 2505 - 2507,พ.ศ. 2512 - 2517
16 นายภิรมย์ บุษยกุล พ.ศ. 2507 - 2512
17 นายเอื้อ มณีรัตน์ พ.ศ. 2518 - 2522
18 นายอิสระ เกิดทอง พ.ศ. 2522 - 2525
19 นายสุรชาติ ช่วงฉ่ำ พ.ศ. 2525 - 2534
20 นางสาวสายสมร เจริญจันทร์แดง พ.ศ. 2534
21 นายประสิทธิ์ แสนไชย พ.ศ. 2535
22 นายธารา จาตุประยูร พ.ศ. 2535 - 2537
23 นายบริบูรณ์ สุทธสุภา พ.ศ. 2537 - 2544
24 นายมานิตย์ ศรีพิทักษ์ พ.ศ. 2544 - 2547
25 นายอำนวย อุตตระพยอม พ.ศ. 2547 - 2554(8 พ.ย.54)
26 นายสกล ทะแกล้วพันธุ์ พ.ศ. 2554 - 2559(10 พ.ย.59)
27 นายสุพล ประสานศรี 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
28 นายมานัส  นพคุณ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563 - กันยายน พ.ศ. 2564
29 นายจรัส คำอ้าย ตุลาคม 2564 - ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. "ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียน". www.chakkham.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-28. สืบค้นเมื่อ 2023-01-05.
  2. ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  3. "RUAYPUENS - YouTube". www.youtube.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

18°35′31″N 99°00′42″E / 18.5920407°N 99.0116496°E / 18.5920407; 99.0116496