โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี
โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี Kanaratbamrung Parthumthani School | |
---|---|
ดอกบัวสัตตบงกชเหนือน้ำในรูปโล่ | |
ที่ตั้ง | |
85 หมู่ 5 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ค.ป. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม |
สถาปนา | 28 มกราคม พ.ศ. 2478 |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1001130102 |
ผู้อำนวยการ | นายอำนาจ จันทร์พางาม |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
สี | สีน้ำเงิน-สีขาว |
เพลง | มาร์ชคณะราษฎร์ |
เว็บไซต์ | http://www.kanarat.ac.th |
โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี เป็นโรงเรียนรัฐบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
[แก้]- นางสาวอรุณ พิศลยบุตร ปี พ.ศ. 2472 - 2479
- นางสาวสมถวิล ศุนวัต ปี พ.ศ. 2480 - 2484
- นางสาวนพพร ฐิตะวัฒน์ ปี พ.ศ. 2484 - 2490
- นางปทุมมาลย์ รัชตะปิติ ปี พ.ศ. 2490 - 2493
- นางสารภี ท่าเรือรักษ์ปี พ.ศ. 2494 - 2498
- นางสงบ ชยสมบัติ ปี พ.ศ. 2498 - 2501
- นางประจวบ ชำนิประศาสน์ ปี พ.ศ. 2502 - 2507
- นางพงศ์ทอง ดีแท้ ปี พ.ศ. 2507 - 2518
- นางวณิช เฟื่องทอง ปี พ.ศ. 2518 - 2529
- นางสุรณี สนั่นเมือง ปี พ.ศ. 2529 - 2530
- นางดวงเดือน เต็งต้นวงศ์ ปี พ.ศ. 2530 - 2532
- นางมาลี ไพรินทร์ ปี พ.ศ. 2533 - 2535
- นางสาวเทียมจันทร์ รามนันทน์ ปี พ.ศ. 2535 - 2537
- นางสาวผ่องศรี เดชวิเศษ ปี พ.ศ. 2537 - 2541
- นางสมจิต พูลศิริ ปี พ.ศ. 2541 - 2543
- นายสมพงษ์ เลี้ยงเจริญ ปี พ.ศ. 2543 - 2544
- นางสาวกาญจนา สอนง่าย ปี พ.ศ. 2544 - 2554
- นางวิไลวรรณ วรังครัศมิ ปี พ.ศ. 2554 - 2557
- นายไพฑูรย์ จารุสาร ปี พ.ศ. 2558 - 2559
- นายเจริญ บัวลี ปี พ.ศ. 2560 - 2565
- ดร.อำนาจ จันทร์พางาม ปี พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี มีชื่อเดิมว่า โรงเรียนสตรีปทุมธานี มีนางสาวอรุณ พิศลยบุตรเป็นครูใหญ่คนแรก แต่เดิมโรงเรียนตั้งอยู่ที่ทำการเทศบาลเมืองปทุมธานีในปัจจุบันเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวมีบริเวณแคบมากไม่มีพื้นที่ที่จะขยายได้ และอยู่ใกล้สถานีตำรวจภูธรมาก ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นสถานศึกษา นายวิโรจน์ กมลพันธ์ ศึกษาธิการจังหวัดจึงดำริที่จะสร้างโรงเรียนใหม่ แต่ยังไม่ทันจะดำเนินการ นายวิโรจน์ กมลพันธ์ ได้ย้ายไปเสียก่อน ขุนศึกษาการพิสิษฐ์ มาดำรงตำแหน่งแทน จึงได้ดำเนินการต่อไปโดยขอความร่วมมือจากพระครูบวรธรรมกิจ เจ้าอาวาสวัดโบสถ์เชียงราก ใช้ที่ธรณีสงฆ์เนื้อที่ 7 ไร่ 7 ตารางวาให้เป็นสถานที่สร้างโรงเรียนเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2478 แต่เนื่องจากสถานที่ตั้งของโรงเรียนเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมในฤดูน้ำหลากทุกปี ทำให้ไม่สะดวกในการเดินเข้าโรงเรียนซึ่งมีระยะห่างจากริมแม่น้ำมาก โรงเรียนจึงของบประมาณทำถนนให้สูงพ้นน้ำ
พ.ศ. 2499 โรงเรียนได้ปรับพื้นที่สนามหน้าโรงเรียน และทำถนนด้านหน้าอาคารตลอดตามแนวริมคลอง วัดโบสถ์ ด้วยเงินบำรุงการศึกษากับเงินงบประมาณค่าใช้สอย
พ.ศ. 2500 โรงเรียนได้รับเงินงบประมาณด้านพลศึกษาจากจังหวัดมาปรับปรุงสนามและขุดคลองด้านหลังโรงเรียน ด้วยเงินบำรุงการศึกษาและเงินยืมทดรองจ่าย
พ.ศ. 2505 สร้างอาคารเรียนเป็นอาคาร 2 ชั้น มี 4 ห้องเรียน และได้สร้างห้องครัวให้นักเรียนฝึกหัดประกอบอาหาร โดยใช้เงินบำรุงการศึกษา
พ.ศ. 2509 ถมสระและบริเวณหน้าโรงเรียนทำสนามกีฬาและที่พักผ่อนหย่อนใจ
พ.ศ. 2513 สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 4 ชั้นมี 16 ห้องเรียนและมีห้องพิเศษอีก 8 ห้องรวมเป็น 24 ห้องและนำเงินที่เหลือมาจัดสร้างบ้านพักครู 1 หลังและซื้อดินมาถมสนาม
พ.ศ. 2527 สร้างบ้านพักครูแบบตึก 2 ชั้น ปีละ 1 หลังจำนวน 10 หลัง บ้านพักภารโรง 3 หลัง ส้วม 6 หลัง จำนวน 36 ที่ และซื้อรถบรรทุกเล็ก 1 คัน
พ.ศ. 2529 สร้างโรงฝึกงานแบบ 406/27 จำนวน 1 หลัง ชื่ออาคารปัทมา
พ.ศ. 2535 สร้างอาคารเรียนอเนกประสงค์แบบพิเศษ 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง ชื่ออาคารกุมุทมาศ
พ.ศ. 2536 สร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย และต่อเติมอาคารจงกลณี
พ.ศ. 2539 ซ่อมแซมถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเข้าโรงเรียน ปรับปรุงทางเท้าถนนทางเข้าโรงเรียน ซ่อมแซมถนนลาดยาง ซ่อมแซมเขื่อนกั้นน้ำและได้รับเงินบริจาคเพื่อพัฒนาห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกและได้รับบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง เพื่อใช้ในงานห้องสมุด
พ.ศ. 2540 ได้รับเงินบริจาค ดำเนินการจัดสร้าง จัดสร้างซุ้มพระท่าน้ำหอพระทิศตะวันตก
พ.ศ. 2542 ปรับปรุงโรงอาหารอาคาร 3 (ปูกระเบื้อง)
พ.ศ. 2545 จัดสร้างหลังคาสะพานท่าน้ำโรงเรียน จัดทำรั้วแปลงเกษตร ปรับปรุงโรงยิมส์ฯ และสนามกีฬา อาคาร 5
พ.ศ. 2546 จัดทำป้อมยามใหม่ จำนวน 1 หลัง ปรับปรุงซ่อมแซมพื้นหอประชุมและทำหินขัด
พ.ศ. 2547 จัดสร้างโรงเก็บวัสดุ จำนวน 1 หลัง ปรับปรุงลานจอดรถหน้าโรงเรียนและหลังคาโรงรถ
พ.ศ. 2549 ก่อสร้างอาคารเรียนแบบอาคาร คสล. 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2550 ปรับปรุงศาลา 8 เหลี่ยม
พ.ศ. 2565 สร้างอาคารเรียนอเนกประสงค์แบบพิเศษ 6 ชั้น จำนวน 1 หลัง ชื่ออาคารฉลองขวัญ (King of siam)
พ.ศ. 2567 สร้างหลังคาคลุมลานอเนกประสงค์ขนาดกว้าง 46 เมตร ยาว 50 เมตร จำนวน 1 หลัง พร้อมสนามกีฬาพื้นยางสังเคราะห์ภายในอาคารโดม
เกียรติประวัติ
[แก้]- รางวัลเกียรติคุณ สัญญา ธรรมศักดิ์ (ดีเด่น) ระดับมัธยมศึกษา ประจำปี 2551
- โรงเรียนรางวัลพระราชทานประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปี 2553
- ถูกจัดเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลที่สร้างเสริมให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Class Standard School)
เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน
[แก้]- จังหวัดปทุมธานี
- อำเภอเมืองปทุมธานี ตำบลบ้านกลาง (หมู่ 1-5) ตำบลบางปรอก ตำบลบ้านกระแชง (หมู่ 1-4) ตำบลบางพูน ตำบลบางกะดี ตำบลบางขะแยง (หมู่ 3-4) ตำบลบ้านฉาง ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบ้านเดื่อ (หมู่ 1-3, 6-7)
- อำเภอสามโคก ตำบลเชียงรากใหญ่ (หมู่ 7) ตำบลบางโพธิ์เหนือ (หมู่ 1)
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี
- โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี ที่เฟซบุ๊ก
- ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานีในระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์