พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตร์สุปรีชา (สุหร่าย วัชราภัย) | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2460 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 ถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่ง | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412 บ้านหลวงอุปการโกษากร ถนนสีลม จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 (58 ปี) บ้านหลวงอุปการโกษากร ถนนสีลม จังหวัดพระนคร |
คู่สมรส | อบ ปันยารชุน
บุนนาค ยุกตะนันท์ |
บุตร | นางถนอม จารุรัตน์ คุณหญิงเพิ่ม ดำรงแพทยาคุณ (เพิ่ม พุทธิแพทย์) |
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
มหาอำมาตย์โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตร์สุปรีชา (สุหร่าย วัชราภัย) (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471) องคมนตรี กรรมการศาลฎีกา กรรมการเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
ประวัติ
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ฯ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412 ที่บ้านเดิม ริมถนนสีลม จังหวัดพระนคร เป็นบุตรหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) มารดาของท่านคือ ท่านปั้น อุปการโกษากร ธิดาเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 6 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน ดังนี้
- 1. คุณหญิงสมบุญ วิเชียรคีรี ภริยาพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 8
- 2. คุณหญิงบุญรอด สุรบดินทร์สุรินทรฦๅชัย ภริยา เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา) สมุหพระนครบาล อุปราชมณฑลพายัพ และองคมนตรี
- 3. นางเชื้อ อนันตสมบัติ ภริยาพระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา มารดาของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานองคมนตรี และพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) องคมนตรี
- 4. พระยาพิจารณาปฤชามาตย์มานวธรรมศาสตร์สุปฤชา (สุหร่าย วัชราภัย)
- 5. คุณหญิงเป้า เพชรกำแหงสงครามภริยาพระยาเพชรกำแหงสงคราม (มะลิ ยุกตะนันท์) ผู้สำเร็จราชการเมืองชุมพร ลำดับที่ 12
- 6. พระกรณีศรีสำรวจ (แดง วัชราภัย)
- 7. คุณหญิงตาบ ศรีสังกร ภริยาพระยาศรีสังกร (ตาด จารุรัตน์) ประธานศาลฎีกา
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์เป็นสมาชิกในสกุลสูงศักดิ์ ทั้งบิดาและมารดา นับทางฝ่ายบิดาพระยาพิจารณาปฤชามาตย์สืบสายมาจากเจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี) พระญาติในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเจ้าขรัวเงิน พระบิดาของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี สมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว นับทางฝ่ายมารดาเป็นหลานเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) และเป็นเหลนท้าวทรงกันดาล (สี) มารดาของเจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4 ผู้เป็นพระมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และยังเป็นหลานเจ้าจอมกุหลาบ ในรัชกาลที่ 4 ดังนั้นพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ฯ จึงมีเครือญาติ กว้างขวาง จนถึงเจ้านาย เป็นต้นว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ก็ทรงนับว่าเป็นพระญาติ ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ฯ ไว้ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพของท่าน ในฐานะที่ทรงเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาไว้ว่า
...เปนสมาชิกในสกุลสูงศักดิ์ ทั้งบิดาและมารดา นับทาง ฝ่ายบิดาพระยาพิจารณาฯ เปนเหลนเจ้าพระยาพลเทพ (หลง) ในรัชชกาล ที่ 4 นับทางฝ่ายมารดา พระยาพิจารณาฯเปนหลานเจ้าพระยาวิเชียรคิรี ( เม่น ) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา มาแต่ในรัชชกาลที่ 4 จนถึง รัชชกาลที่ 5 ด้วยเหตุนี้พระยาพิจารณาฯ จึงมีเครือญาติ กว้างขวาง จนถึงเจ้านาย มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เปนต้น และกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็ทรงนับว่าเปนพระญาติ ทางข้างฝ่ายมารดา ก็เปนญาติเกี่ยวเนื่องกับพวกสกุลณสงขลาทั่วไป ควรนับว่าพระยาพิจารณาฯกอปด้วยชาติวุฑฒิเปนเบื้องต้น...
ในด้านคุณวุฒิของพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ฯ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังทรงกล่าวไว้อีกว่า
...ส่วนคุณวุฑฒิอันจำต้องเสาะแสวงเองนั้น พระยาพิจารณา ฯ อยู่ในรุ่นหลังของบุคคลจำพวกหนึ่ง ซึ่งเปนคนอาภัพแต่มีโอกาสพิเศษประกอบกัน บุคคลจำพวกนี้มีทั้งในราชสกุลและในสกุลขุนนาง ที่ว่าเปนคนอาภัพ ด้วยเกิดในสมัยบ้านเมืองเริ่มต้องการวิชชาความรู้ของชาวทวีปตะวันตก แต่ยังไม่ถึงสมัยเมื่อมีโอกาสอาจไปศึกษาวิชชาการได้ถึงต่างประเทศโดยสะดวก การศึกษาในประเทศของตนเองก็ยังฝึกสอนบกพร่องกว่าทุกวันนี้อยู่เปนอันมาก บุคคลจำพวกที่กล่าวมา ได้วิชชาความรู้จากศึกษาสถานไม่เท่าใดนัก ต้องอาศัยพยายามศึกษาหาความรู้เอาเองเปนพื้น ผู้ใดไม่อุตสาหะ พากเพียร ก็มักตกอยู่ใน ฐานะเช่นว่า "อย่างเก่าก็ไม่ได้ อย่างใหม่ ก็ไม่ดี" ดังนี้ ที่ว่ามีโอกาสพิเศษประกอบนั้น คือสมัยนั้นเปนเวลารัฐบาลเริ่มจัดการต่าง ๆ หันหาวิธีทวีปตะวันตก กำลังต้องการตัวคนที่ได้ศึกษาอบรมพอแก่การ แม้เพียงเหมาะแก่สมัยนั้น เปนอันมาก ผู้ที่ได้เล่าเรียนสำเร็จในศึกษาสถานมักหาตำแหน่ง รับราชการได้ง่าย แต่ว่าผู้ที่ได้เลื่อนยศและตำแหน่งขึ้นถึงชั้นสูงในสมัยต่อมานั้น อาจกล่าวได้ว่าล้วนเปนผู้ซึ่งพยายามศึกษาหา ความรู้เอาเองต่อมาในเวลาเมื่อเข้ารับราชการแล้วทั้งนั้น..
และทรงบรรยายถึงอุปนิสัยของพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ ว่าเป็นผู้มีคุณธรรม สุภาพ ไม่ถือตัว เป็นที่รักใคร่ของผู้คุ้นเคย ไว้ดังนี้
...ในส่วนอัธยาศัย เมื่อได้คุ้นเคยสมาคมกับผู้ใดไม่ว่าจะ เปนชั้นบรรดาศักดิ์สูงหรือต่ำ ย่อมมีจรรยาอันสุภาพอ่อนโยนไม่ถือยศถือศักดิ์ จึงเปนที่ชอบพอรักใคร่ของผู้ที่ได้คุ้นเคยแทบทั่วไป และถ้าจะกล่าวว่าพระยาพิจารณา ฯ เปนผู้มีมิตรสหายหรือผู้ที่ ชอบพอรักใคร่กว้างขวางอย่างยิ่งคนหนึ่งก็เห็นจะไม่ผิดห่างไกลนัก...
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคลำไส้พิการเรื้อรัง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 เวลา 20.00 น. ณ บ้านหลวงอุปการโกษากร ถนนสีลม จังหวัดพระนคร สิริอายุได้ 58 ปี ได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ มีประโคมปี่ กลองชนะ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศประกอบศพตั้งบนชั้นประดับกระจก 2 ชั้น มีฉัตรเบญจา ตั้ง 4 คัน เป็นเกียรติยศ[1]
การศึกษา
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ฯ ได้เริ่มศึกษาที่โรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษ ณ สวนนันทอุทยาน พระราชวังนันทอุทยาน ตั้งแต่อายุได้ 9 ขวบ เรียนภาษาไทยตลอดหลักสูตรซึ่งสอนในสมัยนั้น ภ เมื่ออายุสมควรได้ถวายตัวเปนมหาดเล็กวิเศษตามประเพณีที่เปนบุตรข้าราชการตระกูลสูง แล้วเข้าเรียนภาษาบาลีในมหามกุฎราชวิทยาลัย จนอุปสมบทเปนพระภิกษุในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ปริญญาชั้นนักเรียนตรีพิเศษ
การทำงาน
เมื่อลาสิกขาแล้ว ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่นายรองเล่ห์อาวุธ มหาดเล็กเวรสิทธิ์ ถือศักดินา 300 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 [2] โปรดฯ ให้ไปมีตำแหน่งราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติชั่วคราว ในระหว่างนั้น เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้น เป็นนายเสนองานประภาศ มหาดเล็กหุ้มแพร นายยามเวรสิทธิ์ ถือศักดินา 400 แล้วกลับไปรับราชการในกรมมหาดเล็กตามเดิม ต่อจากนั้นมาไม่นาน ในสมัยที่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงเริ่มจัดการสอนกฎหมาย พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ฯ ก็ได้โอกาสเข้าศึกษาวิชากฎหมาย สามารถสอบวิชากฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิตสยามรุ่นแรก เมื่อพ.ศ. 2441 พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ จึงกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต ขอนายเสนองานประภาศไปรับราชการใน กระทรวงยุติธรรม ได้เป็นตำแหน่งเลขานุการเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นตำแหน่งแรก ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่ง และยศบรรดาศักดิ์สูงขึ้นโดยลำดับดังนี้
พ.ศ. 2442 เป็นปลัดกรมอัยการ แล้วไปเป็น อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลภูเก็ต
พ.ศ. 2443 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์
พ.ศ. 2445 ได้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลอยุธยา
พ.ศ. 2449 เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ข้าหลวงพิเศษ
พ.ศ. 2452 เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานยศเป็น มหาอำมาตย์ตรี
พ.ศ. 2455 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตรสุปฤชา
พ.ศ. 2467 ได้รับพระราชทานยศเป็น มหาอำมาตย์โท
ตำแหน่งพิเศษ
- เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายแก่นักเรียนทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนของกระทรวงยุติธรรม
- เป็นกรรมการสอบไล่วิชานักเรียนกฎหมาย
- เป็นกรรมการเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
- เป็นมรรคนายกวัดสุทธิวราราม[5]และเป็นผู้อุปการะโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม
- เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งสภากาชาดสยาม
ผลงานทางวิชาการ
ได้เรียบเรียงหนังสือกฎหมายขึ้น ใช้เป็นบทเรียนของผู้ศึกษาวิชากฎหมายและทนายความ คือ
- หนังสือคำอธิบายลักษณผัวเมีย พ.ศ. 2461
- หนังสือคำอธิบายลักษณมรฎก พ.ศ. 2461
- หนังสือกฎหมายลักษณที่ดินเล่ม 1 พ.ศ. 2462
และยังมีหนังสือคำอธิบายหลักกฎหมาย ซึ่งรวบรวมตีพิมพ์โดยขุนศรีบุพพรรณเขตร (อิ่ม) ดังนี้
- คำอธิบายหลักกฎหมายประทุษร้ายส่วนแพ่ง
- คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณา อย่างย่อ
- คำอธิบายหลักกฎหมายสัญญา อย่างย่อ
ครอบครัว
ด้านครอบครัว พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตร์สุปรีชา สมรสกับคุณอบ ปันยารชุน คุณหญิงบุนนาค ยุกตะนันท์ คุณจำรัส ภัทรนาวิก และ คุณหญิงจำเริญ พิจารณาปฤชามาตย์ (จำเริญ ภัทรนาวิก วัชราภัย) มีบุตรธิดา 14 คน ดังนี้[6]
อบ ปันยารชุน
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มีบุตร-ธิดากับคุณอบ ปันยารชุน 2 คน ดังนี้
- นางถนอม (วัชราภัย) จารุรัตน์ สมรสกับ นายขวัญ จารุรัตน์
- คุณหญิงเพิ่ม ดำรงแพทยาคุณ (เพิ่ม วัชราภัย พุทธิแพทย์) สมรสกับ ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
คุณหญิงบุนนาค ยุกตะนันท์
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มีธิดากับคุณหญิงบุนนาค ยุกตะนันท์ 1 คน ดังนี้
- หม่อมระรวย (วัชราภัย) เกษมสันต์ ณ อยุธยา เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าสมบูรณ์ศักดิ์ เกษมสันต์ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
จำรัส ภัทรนาวิก
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มีธิดากับคุณจำรัส ภัทรนาวิก 2 คน ดังนี้
- นางสารนัยประสาสน์ (เกษม วัชราภัย ณ สงขลา) สมรสกับ หลวงสารนัยประสาสน์ (ธัญญา ณ สงขลา) อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายที่ดิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุตรพระยาปทุมเทพภักดี (ธน) เจ้าเมืองตราด อุบลราชธานี และสุรินทร์
- นายกระแสร์ วัชราภัย สมรสกับ นางปฤถา ปันยารชุน ธิดาพระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ปลัดทูลฉลองกระทรวงศึกษาธิการ นายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
คุณหญิงพิจารณาปฤชามาตย์ (จำเริญ ภัทรนาวิก)
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มีบุตร-ธิดากับคุณหญิงพิจารณาปฤชามาตย์ น้องสาวคุณจำรัส ภัทรนาวิก 9 คน ดังนี้
- นายประพันธ์ วัชราภัย สมรสกับ นางเล็ก
- คุณหญิงประไพ ตีรณสารวิศวกรรม (ประไพ ตีรณสาร) สมรสกับ พระตีรณสารวิศวกรรม (ตรี ตีรณสาร) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ท่านผู้หญิงศรีธรรมาธิเบศ (ประภา ณ สงขลา) สมรสกับ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานองคมนตรี บุตรพระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา)
- นายประพัทธ์ วัชราภัย สมรสกับ นางกิรดี เปาโรหิตย์
- นางสาวประพิศ วัชราภัย
- นายประภาส วัชราภัย
- นายประพจน์ วัชราภัย สมรสกับ นางมณี ไกรฤกษ์
- นายประพนธ์ วัชราภัย
- นายประพงศ์ วัชราภัย สมรสกับ นางฉวีวรรณ เลปาจารย์
สกุลวัชราภัย
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตร์สุปรีชา เป็นผู้รับพระราชทานนามสกุล "วัชราภัย" (อักษรโรมัน: Vajrâbhaya) โดยเป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 186[7] มีบันทึกดังนี้
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตร์สุปรีชา (สุหร่าย) ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ พระอภัยบริบาล (อ้น) เป็นปู่ พระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เป็นตา[8]
ลำดับบรรดาศักดิ์
- 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 นายรองเล่ห์อาวุธ มหาดเล็กเวรฤทธิ์ ถือศักดินา 400
- 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 นายเสนองานประภาศ มหาดเล็กหุ้มแพร นายยามเวรสิทธิ์ ถือศักดินา 400[9]
- พ.ศ. 2443 พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ มีตำแหน่งในราชการในกระทรวงยุติธรรม ถือศักดินา 800[10]
- 7 สิงหาคม พ.ศ. 2454 มหาอำมาตย์ตรี พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์[11]
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 มหาอำมาตย์ตรี พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตรสุปรีชา มีตำแหน่งในราชการในกระทรวงยุติธรรม ถือศักดินา 1000[12]
- พ.ศ. 2467 มหาอำมาตย์โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตรสุปฤชา
ยศ
- 7 สิงหาคม พ.ศ. 2454 มหาอำมาตย์ตรี
- 29 ตุลาคม พ.ศ. 2467 มหาอำมาตย์โท[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[14]
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[16]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[17]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
พงศาวลี
พงศาวลีของพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตร์สุปรีชา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- ↑ ข่าวตาย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ รายพระนามและรายนาม
- ↑ แจ้งความกระทรวงยุติธรรม
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก
- ↑ ทำเนียบสายสกุล ณ สงขลา สายเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) - ชมรมสายสกุล ณ สงขลา
- ↑ ราชกิจจานุเบกาษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 3, เล่ม 30, 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2456, หน้า 833
- ↑ นามสกุลพระราชทาน - พระราชวังพญาไท
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า 2484)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๓๐, ๒๘ มกราคม ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๖, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๔, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๘, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
แหล่งข้อมูลอื่น
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2412
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2470
- นักกฎหมายชาวไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- สกุล ณ สงขลา
- บุคคลจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 7