จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยินดีต้อนรับเข้าสู่หน้าเสนอรู้ไหมว่า ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่ปรากฏบนหน้าหลักของวิกิพีเดีย ในส่วนรู้ไหมว่า โดยผู้ใช้วิกิพีเดียจะนำเนื้อหาที่เสนอตามรายชื่อด้านล่างนี้ไปแสดงผลเป็นระยะ
ในหน้านี้ผู้ใช้ลงทะเบียนทุกคนมีสิทธิเสนอข้อความและทบทวนได้ เนื้อหาที่นำเสนอต้องเป็นบทความสร้างใหม่หรือบทความปรับปรุงใหม่ที่ขยายบทความเดิมอย่างมีนัยสำคัญ สิ่งที่กล่าวถึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาภายในบทความนั้นเอง บทความเก่าแม้ว่าจะมีความน่าสนใจก็ตามถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์เพราะหน้านี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงล่าสุดและส่งเสริมให้มีการแก้ไขบทความอย่างต่อเนื่อง
หลักเกณฑ์บทความ
ปริมาณเนื้อหา
เป็นบทความที่เพิ่งสร้างใหม่ ที่มีเนื้อหา (ไม่นับอักขระที่เป็นรหัสต้นฉบับ แม่แบบ ตาราง ฯลฯ) มากกว่า 400 คำ หรือ มีขนาดที่บันทึกไว้ตั้งแต่ 10,000 ไบต์ขึ้นไป (ดูรายชื่อบทความใหม่ และรายชื่อบทความที่ต้องการ เพื่อประกอบการพิจารณาเสนอบทความที่มีผู้อื่นสร้างไว้แล้วหรือเขียนขึ้นใหม่เอง) หรือ
เป็นบทความที่มีอยู่เดิมแต่ได้รับการเขียนเพิ่มเติมทำให้ขนาดที่บันทึกในระบบเป็นอย่างน้อยสองเท่า ของขนาดเดิม
ขนาดเดิมหมายถึงขนาดของบทความรุ่นที่เสถียรล่าสุดก่อนการปรับปรุง (การเพิ่มเป็น 2 เท่าที่เกิดขึ้นชั่วคราวทางเทคนิค เช่น การแก้ไขตัดต่อ ย้อนกันไปมาหรือย้อนการก่อนกวน ไม่ควรให้ผ่านเพราะไม่ได้มีเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอย่างแท้จริง)
บทความที่ปรับปรุงแล้วยังต้องมีเนื้อหาไม่น้อยกว่าเงื่อนไขสำหรับบทความใหม่ด้วย (เช่น การเพิ่มจาก 1,000 ไบต์ เป็น 2,000 ไบต์ ไม่ควรให้ผ่านเพราะบทความสุดท้ายก็ยังสั้น เทียบไม่ได้กับบทความใหม่)
การเสนอบทความดังกล่าวต้องทำภายใน 14 วันนับแต่
เวลาที่สร้างบทความใหม่ครั้งแรก (กรณีได้สร้างไว้ก่อนในกระบะทรายหรือฉบับร่างจะนับจากเวลาที่ย้ายเข้าสู่เนมสเปซบทความเท่านั้น) หรือ
เวลาที่เริ่มทำการปรับปรุงบทความให้มีขนาดเพิ่มขึ้นจากรุ่นที่เสถียรล่าสุดก่อนการปรับปรุง
โดยส่วนใหญ่แล้วบทความต้องผ่านการแก้ไขหลายครั้ง เวลาข้างต้นสำหรับการนับ 14 วันจึงมักไม่ใช่เวลาที่บทความผ่านเงื่อนไขปริมาณ วัตถุประสงค์ที่นับเช่นนี้เพื่อกระตุ้นให้มีการแก้ไขต่อเนื่องให้ได้ปริมาณและคุณภาพที่สมควรภายในเวลา 14 วัน
ไม่จำกัดว่าบทความต้องเขียนให้ผ่านเกณฑ์โดยคนเดียว สามารถร่วมกันเขียนหรือเสนอโดยอาสาสมัครหลายคนทั้งที่มีบัญชีผู้ใช้และไม่ได้ลงทะเบียนอันเป็นหัวใจหลักสำคัญของสารานุกรมเสรี ทั้งนี้ ผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนหรือลงทะเบียนมาใหม่ไม่นานจะไม่สามารถตรวจให้ข้อความผ่านเกณฑ์ได้ แต่มีสิทธิ์ทักท้วงได้
หลักเกณฑ์ข้อความที่เสนอ
เนื้อหาที่เสนอต้องเป็นไปตามนโยบาย ทั้งมุมมองที่เป็นกลาง และไม่ใช่การประกาศ ปราศรัย โฆษณาชวนเชื่อ ตลอดจนไม่ใช่รายงานข่าว
สำหรับข่าวหรือเรื่องที่เป็นปัจจุบันโปรดดูที่ {{เรื่องจากข่าว }} ในส่วนรู้ไหมว่ามีการพิจารณาที่นานและระยะเวลาแสดงผลที่ยืดหยุ่นน้อยกว่า
ข้อความที่เสนอมีความน่าสนใจ ไม่ควรเป็นเพียงการเสนอคำนิยาม
ข้อความที่เสนอต้องมีแหล่งอ้างอิง ที่น่าเชื่อถือ กำกับในบทความ และต้องเป็นแหล่งอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (inline citation)
รูปแบบการเสนอควรใช้ข้อความที่สั้น กระชับ และได้ใจความ รวมถึงมีลักษณะที่เขียนต่อจากคำว่า รู้ไหมว่า...
ในข้อความที่เสนอ
ทำลิงก์บทความที่เสนอเป็นตัวหน้า จะอยู่ส่วนต้น ส่วนกลาง หรือส่วนท้ายของข้อความก็ได้ตามความเหมาะสม
อาจทำลิงก์ในส่วนอื่นของข้อความประกอบกันได้ แต่ต้องไม่มีลิงก์แดง (ไม่ควรมีลิงก์ไปบทความอื่นมากเกินไป)
หากมีภาพประกอบให้ใส่ข้อความ (ในภาพ) ในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย และจะได้รับพิจารณาอยู่ในลำดับแรกของแต่ละคิวเสมอ (แต่ละคิวมีบทความที่มีรูปได้ไม่เกิน 1 บทความเท่านั้น)
แนวทางการพิจารณาข้อความและจัดลำดับบทความเพื่อแสดงผล
ในแต่ละรอบที่นำขึ้นแสดงผลในหน้าหลักควรมีความหลากหลายของเนื้อหาและผู้เขียน (ต้องมีบัญชีผู้ใช้จึงสร้างหน้าใหม่ได้ แต่ผู้ไม่มีบัญชีผู้ใช้เพิ่มขนาดบทความเป็นสองเท่าได้) หลีกเลี่ยงการนำเรื่องในหมวดหมู่เดียวกันหรือผู้เขียนเดียวกันจัดลงในกลุ่มที่จะแสดงผลคราวเดียวกันเป็นจำนวนมาก
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามข้อก่อนหน้า เมื่อพิจารณาข้อความผ่านเกณฑ์แล้ว อาจไม่จัดข้อความนั้นลงในคิวล่าสุดที่ยังไม่เต็มแต่ใส่ลงคิวถัดไปที่เหมาะสมได้แทน คิวถัดไปอาจไม่ใช่คิวที่ติดกันกับคิวที่ล่าสุดที่ยังไม่เต็มหากในคิวถัดไปยังมีความซ้ำซ้อนเกี่ยวกับเนื้อหาหรือผู้เขียน
การจัดข้อความลงคิวยังคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ประกอบกัน ไม่ได้เป็นการห้ามมิให้มีสองบทความในหมวดหมู่เดียวกันหรือผู้เขียนเดียวกันในหนึ่งคิวอย่างเคร่งครัด
ความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ของ DYK ในการส่งเสริมอาสาสมัครวิกิพีเดียโดยหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย
เหตุการณ์ที่เป็นที่สนใจหรือมีความสำคัญแต่ยังไม่ได้แสดงผลในหน้าหลักผ่านช่องทางอื่น
ความยาวโดยรวมและความเหมาะสมในการแสดงผลร่วมกับองค์ประกอบอื่นของหน้าหลักในขณะนั้น (ปัจจุบันแม่แบบมีขนาดที่บันทึกรหัสต้นฉบับระหว่าง 2,200 ถึง 4,200 ไบต์ หรือ 55-105% ของ 4,000 ไบต์)
มีการเก็บประวัติการเสนอและพิจารณาข้อความอย่างเป็นระบบ ดังนั้นขอความร่วมมือทุกท่าน ลงชื่อด้วย --~~~~ ท้ายข้อความที่เสนอและการอภิปราย และช่วยกันรวบรวมประวัติไว้มิให้ตกหล่นเมื่อมีการย้ายข้อความไปสู่คิว (และหน้าอภิปรายของคิว) รวมถึงการเก็บข้อเสนอที่ตกไปในหน้าคุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า โดยแบ่งหัวข้อตามเดือนที่พิจารณาเสร็จสิ้น
ระยะเวลาการแสดงผลในหน้าหลัก
ณ วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือนให้คำนึงถึง n เป็นจำนวนคิวที่เต็มแล้วของข้อความ DYK ณ 23:59 น. UTC+7 วันก่อนวันสิ้นเดือน
(คิวที่เต็มแล้วหมายถึง 4-6 ชุดข้อความและ 1 รูปภาพที่ผ่านการพิจารณาเป็นรายชิ้นแล้ว รวมถึงผ่านการจัดชุดบทความให้มีความหลากหลายในเชิงเนื้อหาสาระพร้อมนำเสนอในภาพรวมและผ่านเกณฑ์ควบคุมความยาวของเนื้อหาแล้ว วันก่อนวันสิ้นเดือน เช่น เดือนมกราคม หมายถึง 30 มกราคม)
n = 0 ไม่มีการปรับปรุง DYK ในเดือนถัดไปตลอดทั้งเดือน มีข้อความเชิญชวนให้เสนอบทความ DYK และช่วยกันพิจารณา DYK ตามหลักเกณฑ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะแสดงผลเมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลง DYK เกิน 30 วัน (เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้จากขาดอาสาสมัครพิจารณาข้อเสนอ DYK ไปจัดลงคิวก็ได้ ไม่ใช่เพียงขาดแคลนการเสนอบทความเข้าสู่ DYK) แม้จะมี DYK เข้าคิวสำหรับเดือนใหม่แล้วข้อความเชิญชวนจะแสดงข้ามเดือนต่อไปจนกว่าจะถึงวันที่กำหนดให้แสดงผลครั้งแรก
1 ≤ n ≤ 9 ดึงออกมาใช้งานตามจำนวนครั้งด้านล่าง โดยตัดออกจากคิวปัจจุบันออกไปเพื่อทำเป็นแม่แบบรอขึ้นหน้าหลักทันที
n = 1, 2, 3 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK ครั้งเดียว ในวันที่ 15 เท่านั้น
n = 4, 5 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สองครั้ง ในวันที่ 8 และ 22 เท่านั้น
n = 6, 7 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สามครั้ง ในวันที่ 5 15 และ 25 เท่านั้น
n = 8, 9 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สี่ครั้ง ในวันที่ 4 11 19 และ 26 เท่านั้น
หลักคิดคือต้องสำรองเนื้อหาไว้ประมาณหนึ่งเท่าตัว เลี่ยงการปรับปรุงในวันที่ 1 เพราะเป็นวันเปลี่ยนบทความคัดสรรประจำเดือน แต่ยังยึดหลักการพิจารณาคราวเดียวในวันสุดท้ายของเดือนเพื่อให้เกิดความแน่นอนว่าเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าหลักในเดือนถัดไปคืออะไร หลักคิดนี้คล้ายกับการจัดการ DYK ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษรวมถึงบทความคัดสรรในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่การดำเนินการปรับให้เหมาะกับชุมชนที่มีแรงงานน้อยและมีระยะเวลาการสื่อสารระหว่างกันที่ต้องรอฟังความเห็นกันนานกว่า เดือนหนึ่งมี 28-31 วัน ได้พยายามกระจายวันให้เท่ากันมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แต่จะไม่เท่ากันเสียทีเดียว
n ≥ 10 ดูที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า/กรุ 1#10 ≤ n ≤ สองเท่าของจำนวนวันในเดือนถัดไป
วิธีดำเนินการมาตรฐานทุกวันสิ้นเดือน
วิธีดำเนินการมาตรฐาน (standard operating procedure หรือ SOP) เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้สามารถปฏิบัติการได้ครบถ้วนถูกต้องโดยไม่สับสน ไม่ว่าอาสาสมัครท่านใดมารับหน้าที่ดำเนินการ
จำนวนและวันที่จะแสดงผลเป็นไปตามกติกาข้างต้น (กรณี 10 ≤ n ≤ สองเท่าของจำนวนวันในเดือนถัดไป ดูหน้าพูดคุยเพิ่มเติม ) ซึ่งเมื่อได้จำนวนและวันที่แล้วจะตัดคิวด้านล่างออกไปโดยการเปลี่ยนชื่อคิวให้อยู่ในรูปแบบดังนี้ {{รู้ไหมว่า/yyyy-mm-dd }} ซึ่ง mm และ dd เป็นตัวเลขของเดือนในรูปแบบเลขอารบิกที่มีศูนย์นำหน้า
แก้ไขหน้าเปลี่ยนทางที่เกิดจากการเปลี่ยนชื่อให้เป็นคิวว่างและลบออกจากรายการชั่วคราว (คิวจะเดินไปข้างหน้าเสมอยกเว้นว่าถึงเลขปลายทาง คือ 63 จึงวนกลับมาที่ 1 ใหม่ซ้ำซึ่งได้ทำคิวว่างรอไว้แล้วจากรอบก่อน)
สรุปรายการคิวบทความและอาสาสมัครผู้เขียนบทความของเดือนล่าสุด พร้อมลงชื่อผู้ดำเนินการ ลงในหน้าเสนอชื่อ (และบันทึกข้อความเดียวกันลงในหน้ากรุด้วย)
การดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของกิจกรรม
ใส่ {{บทความรู้ไหมว่า }} ในหน้าอภิปรายของทุกบทความ
ส่งข้อความแจ้งผู้เขียนตามข้อ 3 ด้วยข้อความมาตรฐานดังนี้
=={{tl|รู้ไหมว่า/2024-07-15}}==
บทความที่ท่านเขียนจะได้แสดงผลในหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาไทยตามวันที่ระบุไว้ในแม่แบบ {{tl|รู้ไหมว่า}} ข้างต้น ขอขอบคุณที่ท่านร่วมกันแบ่งปันความรู้และหวังว่าท่านจะเป็นส่วนสำคัญในโครงการ [[WP:DYK]] อย่างต่อเนื่องสืบไป --~~~~
สรุป
กระบวนการเขียนบทความ เสนอข้อความและพิจารณาข้อความขึ้นสู่หน้าหลักในปัจจุบันใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 2-3 เดือน บทความจะได้แสดงผลในหน้าหลักประมาณ 1 สัปดาห์โดยมีการกดอ่านบทความผ่านหน้าหลักประมาณ 500-1000 ครั้ง ระหว่างช่วงเวลาที่แสดงผล (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2567 หลังจัดให้มีระบบที่ชัดเจนเพื่อการบริหารงานและเริ่มอภิปรายเกี่ยวกับกิจกรรมสนับสนุน)
ชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยมีกระบวนการสนับสนุนกิจกรรมรู้ไหมว่าเพื่อสนับสนุนให้อาสาสมัครเขียนบทความใหม่ที่มีคุณภาพและเกิดความสามัคคีนำไปสู่การประสานงานที่ดีในชุมชนดังนี้
สำหรับบทความที่จะแสดงผลในเดือนมกราคม 2568
มีกำหนดพิจารณาในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 (วันสิ้นเดือน) ตั้งแต่เวลา 00:01 น. เป็นต้นไป จากจำนวนคิวที่เต็มแล้วของข้อความ DYK ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2567 (วันก่อนวันสิ้นเดือน) ณ เวลา 23:59 น. UTC+7
บทความที่ได้รับกำหนดแสดงผลในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีดังนี้
[ส่วนนี้ยังรอกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ] ความถี่การปรับปรุง 6 ครั้ง (วันที่ 3 8 13 18 23 และ 28)
{{รู้ไหมว่า/2024-11-03 }} ความยาวข้อความรวม 1011 อักขระ @Jothefiredragon , Chainwit. , Tikmok , Mia Kato , และ Anggorn1 :
{{รู้ไหมว่า/2024-11-08 }} ความยาวข้อความรวม 774 อักขระ @Chainwit. , Sry85 , DMS WIKI , Adrich , และ Waniosa Amedestir :
{{รู้ไหมว่า/2024-11-13 }} ความยาวข้อความรวม 975 อักขระ @Tikmok , Siam2019 , Waniosa Amedestir , DMS WIKI , และ วณิพก :
{{รู้ไหมว่า/2024-11-18 }} ความยาวข้อความรวม 960 อักขระ @Siam2019 , Tikmok , Waniosa Amedestir , Chainwit. , และ วณิพก :
{{รู้ไหมว่า/2024-11-23 }} ความยาวข้อความรวม 962 อักขระ @Waniosa Amedestir , Tikmok , และ Chainwit. :
บทความที่ได้รับกำหนดแสดงผลในเดือนธันวาคม 2567 มีดังนี้
[ส่วนนี้ยังรอกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ] ความถี่การปรับปรุง 6 ครั้ง (วันที่ 3 8 13 19 24 และ 29)
{{รู้ไหมว่า/2024-12-03 }} ความยาวข้อความรวม 1084 อักขระ @Chainwit. , Waniosa Amedestir , Swiss Toblerone , Kaoavi , DMS WIKI , และ วณิพก :
{{รู้ไหมว่า/2024-12-08 }} ความยาวข้อความรวม 1078 อักขระ @วณิพก , Chainwit. , วณิพก , Waniosa Amedestir , BeckNoDa , และ AmberMUIC :
{{รู้ไหมว่า/2024-12-13 }} ความยาวข้อความรวม 1142 อักขระ @DMS WIKI , Chainwit. , Waniosa Amedestir , PhetanNTN , Pomznp , และ Siam2019 :
{{รู้ไหมว่า/2024-12-19 }} ความยาวข้อความรวม 895 อักขระ @Kaoavi , Chainwit. , Jothefiredragon , Waniosa Amedestir , Tikmok , และ Swiss Toblerone :
{{รู้ไหมว่า/2024-12-24 }} ความยาวข้อความรวม 970 อักขระ @Waniosa Amedestir , Adrich , Chainwit. , วณิพก , Bact , และ Quantplinus :
{{รู้ไหมว่า/2024-12-29 }} ความยาวข้อความรวม 964 อักขระ @Waniosa Amedestir , Waniosa Amedestir , Chainwit. , Mastertongapollo , Waniosa Amedestir , และ Tikmok :
--Wutkh (คุย ) 04:31, 30 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
รายการคิวที่เต็มแล้วและความยาวของข้อความที่แสดงผล (นับแต่ตุลาคม 2567 เป็นต้นไปปรับปรุงวิธีการนับใหม่ให้แม่นยำยิ่งขึ้น)
{{รู้ไหมว่า/คิว 27 }} ความยาวข้อความรวม 897 อักขระ
{{รู้ไหมว่า/คิว 28 }} ความยาวข้อความรวม 1246 อักขระ
{{รู้ไหมว่า/คิว 29 }} ความยาวข้อความรวม 872 อักขระ
{{รู้ไหมว่า/คิว 30 }} ความยาวข้อความรวม 822 อักขระ
{{รู้ไหมว่า/คิว 31 }} ความยาวข้อความรวม 1033 อักขระ
{{รู้ไหมว่า/คิว 32 }} ความยาวข้อความรวม 1063 อักขระ
คิวเก่าสุดอยู่ด้านบน ใช้หมายเลข 1 ถึง 63 ไปตามลำดับ เมื่อครบแล้วก็วนซ้ำใหม่จาก 1 อีกครั้ง
จำเป็นต้องไปถึงเลข 63 ก่อนที่จะวนกลับมาเลข 1 ใหม่ได้เพื่อป้องกันความสับสน (63/2=31 เป็นจำนวนมากที่สุดที่ยังใช้กติกาเพิ่มเติมได้ตามหน้าพูดคุย )
ไม่จำเป็นต้องแสดง 63 คิวพร้อมกัน แต่ต้องมีคิวว่างเผื่อไว้อย่างน้อย 1 คิวเสมอสำหรับกรณีที่ผู้ตรวจประสงค์จะกระจายบทความออกไม่ให้ซ้ำหมวดและผู้เขียน
...เสน่ห์ อ่อนแก้ว (ในภาพ) นับเป็นอาชญากรในคดีความผิดทางทางเพศรายแรกที่ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งพิเศษของนายกรัฐมนตรี
...นักวาดภาพประกอบ คริสตอฟ นีมัน เป็นที่รู้จักจากผลงานชุดภาพเขียนตลกรายสัปดาห์ที่เล่นกับขนาดและตำแหน่ง ที่ซึ่งเขามักเอาวัตถุมาแปรสภาพเป็นอะไรที่ไม่น่าคาดคิด เช่น ดินสอสีแดงกลายมาเป็นโทรโข่ง หรือหนังสือที่เปิดออกกลายมาเป็นหนวดแมว
...แม้ไม่มีสิ่งใดน่าสนใจเกิดขึ้นในรัชสมัยอันสั้นของจักรพรรดิฮันเซ นักประวัติศาสตร์ระบุว่ารัชสมัยของพระองค์เป็นจุดที่ราชสำนักญี่ปุ่น เริ่มรับเอาธรรมเนียมจีนมาใช้
...แม่น้ำโจกันจิ เป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่ไหลเชี่ยวและชันเป็นลำดับต้น ๆ ในประเทศญี่ปุ่น
...นะฮ์ฎะตุล อุละมะ (อินโดนีเซีย ) เป็นองค์กรศาสนาอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสมาชิกมากกว่า 90 ล้านคนในปี ค.ศ. 2021
...การสร้างค่ายทันเดอร์โคฟ เป็นแรงกระตุ้นให้รัฐบาลสหราชอาณาจักร ขับไล่ชาวชากอสผู้อาศัยเดิมทั้งหมดออกจากเกาะดีเอโกการ์ซีอา ซึ่งมีการจ่ายชดเชยเพียงเล็กน้อยทั้งมีการต่อสู้กันทางกฎหมายหลายครั้ง
สถานีวิทยุศาลาแดง
...รัสเซีย เคยกล่าวขู่ว่ามอลโดวา อาจต้องเผชิญกับการรุกรานจากรัสเซียแบบเดียวกับที่ยูเครนเผชิญ หากมอลโดวาตัดสินใจรวมชาติเข้ากับโรมาเนีย (ในภาพ)
...มีอา มอตต์ลีย์ สตรีคนแรกที่ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีบาร์เบโดส ทำให้พรรคแรงงานบาร์เบโดสชนะการเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ด้วยการได้ที่นั่งในสภา 30 ที่นั่งทั้งหมด โดยได้ส่วนแบ่งคะแนนถึงร้อยละ 72.8
...ในช่วงแรกของการก่อตั้ง ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลฟีออเรนตีนา สวมชุดแข่งขันสีแดงและสีขาวตามสัญลักษณ์ดอกลิลลี ประจำเมือง ก่อนที่จะเปลี่ยนมาสวมชุดสีม่วงจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าทีมได้ชุดม่วงมาโดยบังเอิญ หลังจากเกิดอุบัติเหตุในการนำชุดแดงและขาวไปทำความสะอาดในแม่น้ำ
...เกาะแนนคาวรี ในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ มีท่าเรือที่เป็นอ่าวปิดขนาดใหญ่ ซึ่งชาวยุโรป ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้รับการยกย่องว่าเป็นอ่าวจอดเรือ ธรรมชาติที่ปลอดภัยที่สุดอ่าวหนึ่งในโลก
...ศรณ์ เป็นภัตตาคารในประเทศไทยแห่งแรกที่ได้รับดาวมิชลินสามดวง ในคู่มือมิชลินไกด์ ประจำปี พ.ศ. 2568
...โปรแกรมคำนวณทางคณิตศาสตร์เชิงสัญลักษณ์ วุลฟรัม แมเทอแมทิกา เปิดตัววางจำหน่ายเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1988 โดยสตีเฟน วุลฟรัม และได้รับชื่อ "แมเทอแมทิกา" จากการเสนอของ สตีฟ จอบส์
บ่อปลาที่อาคารร้าง
นิวเวิลด์ เมื่อปี พ.ศ. 2555
...แม้พอล อเล็กซานเดอร์ (ในภาพ) จะป่วยด้วยโรคโปลิโอ จนเป็นอัมพาต และต้องใช้ชีวิตในปอดเหล็ก แต่เขาสามารถสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมาย ว่าความในศาล และเขียนหนังสือออกวางจำหน่ายได้
...สะพานดานูบ ซึ่งข้ามแม่น้ำดานูบ และเชื่อมโรมาเนียกับบัลแกเรียเข้าด้วยกัน เริ่มมาใช้ชื่อดังกล่าวแทนชื่อ สะพานมิตรภาพ ที่สหภาพโซเวียตตั้งให้ หลังจากที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของทั้งสองประเทศล่มสลายลง
...นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทใน ค.ศ. 1984 เลอโนโว กลายเป็นผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล รายใหญ่ที่สุดในโลกตามหน่วยยอดขายเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2013
...
...
...
...นอกจากจะเป็นชาวโรมาเนียคนแรกที่เดินทางรอบโลกและไปถึงอาร์กติก บาซิล อัสซัน (ในภาพ) ยังเป็นเจ้าของทะเบียนรถหมายเลขแรกของโรมาเนีย คือทะเบียน 1B
...ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ข่าวลือเกี่ยวกับสาวปากฉีก กระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น จนทำให้เด็กเดินกลับจากโรงเรียนพร้อมผู้ใหญ่เป็นกลุ่ม ๆ
...
...
...
...
ช่องหินเจาะในแหล่งธรณีวิทยา "เทนิกี" ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศมาดากัสการ์
...เทนิกี แหล่งโบราณคดีลึกลับซึ่งมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ (เท่า ๆ กับสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ) ในประเทศมาดากัสการ์ (ในภาพ) อาจสร้างขึ้นโดยศาสนิกชนของศาสนาโซโรอัสเตอร์
...ประชากรชาวเวียดนามมากถึงร้อยละ 40 ใช้นามสกุลเหงียน ถือเป็นนามสกุลที่มีคนเวียดนามใช้มากที่สุด
...จักรพรรดิไดโงะ มีพระนามก่อนขึ้นครองราชย์ 2 แบบ คือ พระนามตอนเป็นสามัญชน (มินาโมโตะ โนะ โคเรซาเนะ) และพระนามตอนพระราชบิดาได้สถานะเชื้อพระวงศ์คืน (อัตสึฮิโตะ หรือ โอโนะ-เทอิ)
...
...
...
ลานกลางอาคารเดอะเอ็มไพร์บรูไน
ไมโครดอต ที่เยอรมนีใช้ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งจากกรุงเม็กซิโกซิตีถึงกรุงลิสบอน
...มีการกล่าวอ้างว่าเทศกาลฮินดูโบราณ ฉฐบูชา (ในภาพ) เป็นเทศกาลซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุดเทศกาลหนึ่ง
...
...
...
...
...
...ตามตำนานเล่ากันว่าทุก ๆ เย็นจะมีงูออกจากรูมาดื่มนมที่ผู้คนถวายเทพเจ้าในเลาทรวาไชนมนเทียร (ในภาพ) และใครเห็นงูนั้นก็จะถือว่าได้รับพร
...
...
...
...
...
...(ในภาพ )
....เรื่องราวชีวิตของโยคีทิเบต มิลาเรปะ เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าแม้ฆาตกรก็กลับกลายมาเป็นพุทธะได้
...
...
...
...
...(ในภาพ )
...ในปี ค.ศ. 2008 ชาวเมืองเกินร้อยละ 96 ลงชื่อเห็นด้วยกับการเปลี่ยนไปใช้ชื่อเมืองว่าหมางชื่อ (ประเทศจีน ) ซึ่งเป็นชื่อเรียกทางชาติพันธุ์ดั้งเดิมของเมืองซึ่งมีมาก่อนกว่า 500 ปี แทนชื่อในเวลานั้นคือ ลู่ซื่อ ซึ่งแปลว่าทางตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน
...
...
...
...
...กรณีการยกเลิกการเปิดใช้สถานีป่วงกก ของเอ็มอาร์ที (สิงคโปร์) (ในภาพ) ได้ก่อให้เกิดการเรียกร้องโดยใช้กระดาษแข็งสีขาวรูปช้างมาตั้งหน้าสถานี ซึ่งต่อมาถูกตำรวจทำการสืบสวนและตักเตือนว่าผิดกฎหมาย
...
...
...
...
...
...(ในภาพ)
...การค้นพบทางโบราณคดีมากมายในกลุ่มถ้ำตาบอน ทำให้ที่นี่ได้สมญาว่าเป็นอู่อารยธรรมของฟิลิปปินส์
...
...
...
...
...(ในภาพ)
...นีโกล พาฌินยัน ผู้ก่อตั้งพรรคสัญญาพลเมือง ซึ่งเป็นพรรคที่ไม่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างชัดเจน ระบุเป้าหมายของพรรคคือการไปถึงเป้าหมายต่าง ๆ มากกว่าแค่ชื่อลัทธิต่าง ๆ ในยุคสมัยที่เส้นแบ่งอุดมการณ์ต่าง ๆ ได้จางหายไปแล้ว
...
...
...
...
...(ในภาพ)
...กลุ่มเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ฮ่องกง 47 ถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกง ซึ่งมีการดำเนินคดีที่ล่าช้า ตรงกันข้ามกับข้อกล่าวหาที่เร่งรัดอย่างรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวถูกมองว่าเป็นกลยุทธ์สร้างความหวาดกลัว
...
...
...
...
...(ในภาพ)
...ผู้ก่อตั้งยาหม่องตราเสือ ยังเป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์จำนวนหนึ่ง เพราะเคยเสียเงินโฆษณาไปเยอะมากจนถึงขั้นที่ "คิดว่าการเปิดหนังสือพิมพ์เองสักสองสามหัวน่าจะประหยัดกว่า"
...
...
...
...
...(ในภาพ)
...บนเกาะปูเลาอูบิน ของสิงคโปร์ มีศาลเจ้าเด็กหญิงเยอรมัน ที่ตำนานบอกว่าสร้างขึ้นบูชาดวงวิญญาณของเด็กหญิงจากครอบครัวชาวเยอรมันเจ้าของไร่กาแฟบนเกาะ กระนั้นการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ไม่พบว่ามีทั้งครอบครัวชาวเยอรมันหรือไร่กาแฟบนเกาะในช่วงเวลาที่ตำนานบอกเล่าไว้
...
...
...
...
...(ในภาพ)
...ซาอุดิอะแรมโค บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดิอาระเบีย เป็นบริษัทปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นปริมาณมากที่สุดในโลกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965
...
...
...
...
...ก่อน จันทระ พหาทุร ฑางคี (ในภาพ) จะได้รับการยืนยันว่าเป็นมนุษย์ที่ตัวเตี้ยที่สุดในบันทึกโลกเมื่ออายุ 72 ปี เขาไม่เคยเดินทางออกจากหมู่บ้านของเขาในพื้นที่ห่างไกลของเนปาล เลย
...
...
...
...
...
...(ในภาพ)
...ในสมัยการปฏิวัติทางวัฒนธรรม คนในกลุ่มห้าจำพวกดำ กลายมาเป็นกลุ่มชนชั้นล่างที่ตกเป็นเหยื่อและได้รับการปฏิบัติราวกับว่ายังเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมีอำนาจอยู่
...
...
...
...
...(ในภาพ)
....อทาณีกรุ๊ป เป็นเครือบริษัทที่มีสินทรัพย์มากที่สุดของอินเดีย (ยิ่งไปกว่าเครือตาตา) แต่เคยเสียมูลค่าไปเกือบครึ่งหนึ่งใน ค.ศ. 2023 หลังถูกข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกงและปั่นหุ้น
...
...
...
...
...(ในภาพ)
...แม้ว่านักร้องหญิงข้ามเพศ ชาวอินโดนีเซีย โดร์เจ กามาลามา จะประสงค์ให้ฝังศพของตนในฐานะสตรีมุสลิม แต่หลังเสียชีวิตครอบครัวของเธอและผู้นำทางศาสนาไม่ทำตาม
...
...
...
...
... (ในภาพ )
...
...
...
...
...
เสนอข้อความใหม่
เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามกรุณาลงชื่อ --~~~~ หลังข้อความที่เสนอด้วย รวมถึงระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้แก้ไขหลักไว้ท้ายข้อความที่เสนอและในประวัติการแก้ไข
กรุณากลับเข้ามาติดตามความเคลื่อนไหวการพิจารณาเป็นระยะข้อความที่เสนอใหม่อาจได้รับการพิจารณาขึ้นสู่คิวทันทีหรือเข้าสู่การอภิปรายด้านล่างภายใต้หัวข้อ รอปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
รหัสต้นฉบับของภาพให้ใส่แยกไว้บนสุดเนื่องจากไม่สามารถใส่ประกอบในแต่ละข้อได้โดยไม่เสียลำดับ
ลานกลางอาคารเดอะเอ็มไพร์บรูไน
...จักรพรรดิไดโงะ มีพระนามก่อนขึ้นครองราชย์ 2 แบบ คือ พระนามตอนเป็นสามัญชน (มินาโมโตะ โนะ โคเรซาเนะ) และพระนามตอนพระราชบิดาได้สถานะเชื้อพระวงศ์คืน (อัตสึฮิโตะ หรือ โอโนะ-เทอิ) (บทความโดยผู้ใช้ไม่ระบุตัวตน 171.96.171.4 / ทำให้เป็นสองเท่าโดย Waniosa amedestir)--Waniosa Amedestir (คุย ) 17:45, 28 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
...แป็นเช็นลามะที่ 10 แห่งทิเบต ถูกประณาม และจับกุมหลังเขียนข้อวิจารณ์นโยบายของจีนในทิเบตแก่โจว เอินไหล แม้ว่าก่อนหน้านี้จะแสดงท่าทีสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์จีน --Chainwit. 〈 พูดคุย 〉 01:06, 30 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
...คณะผู้แทนจากทิเบต ถูกสาธารณรัฐประชาชนจีน ตัดการติดต่อกับรัฐบาลที่ลาซา และท้ายที่สุดก็ยอมถูกกดดันจากจีนให้ลงนามในข้อตกลงสิบเจ็ดประเด็น ด้วยตราประทับที่ทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ --Chainwit. 〈 พูดคุย 〉 01:06, 30 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
...ผู้ชำนาญการด้านอุโมงค์ที่มาทำงานสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที ใกล้กับจุดที่โรงแรมนิวเวิลด์ถล่ม ในสิงคโปร์ ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเจาะอุโมงค์เพื่อกู้ภัยผู้ที่ติดอยู่ในซากอาคาร --Chainwit. 〈 พูดคุย 〉 01:06, 30 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
... การเปิดตัวโรงแรมเดอะเอ็มไพร์บรูไน (ในภาพ) มีขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนโรงแรมสำหรับการประชุมสุดยอดเอเปคที่จะจัดขึ้นในประเทศบรูไน --ร้อยตรี โชคดี (คุย ) 19:07, 30 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
...ภาษาอุยกูร์เก่า ไม่ได้สืบทอดมาเป็นภาษาอุยกูร์ ซึ่งเป็นภาษาราชการของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ โดยมีที่มาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิกทั่วไป ต่างกลุ่มย่อยกัน --Siam2019 (คุย ) 19:25, 30 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
รอปรับปรุงตามข้อเสนอแนะนำ
เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามกรุณาลงชื่อ --~~~~ หลังข้อความที่อภิปราย และไม่แก้ไขข้อความที่ได้เขียนไว้ก่อนแล้วของตนเองหรือผู้อื่น
หากไม่ได้รับการปรับปรุงจากผู้เสนอภายใน 7 วันจะถือว่าการเสนอนั้นตกไป และเก็บรวบรวมไว้ในหน้าอภิปรายที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า
ผู้เสนอข้อความสามารถถอนข้อเสนอได้โดยย้ายข้อความไปก่อนครบกำหนด 7 วันหรือก่อนจะมีผู้อื่นมาย้ายให้ก็ได้
ไมโครดอท ที่เยอรมนีใช้ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งจากกรุงเม็กซิโกซิตีถึงกรุงลิสบอน
...มีการเสนอว่าเทวรูปอากูซัน (ในภาพ) ซึ่งไม่สามารถระบุว่าเป็นเทพเจ้าอะไรได้อย่างแน่ชัด ว่าอาจจะเป็นเทวีในนิกายไศวะ ของศาสนาฮินดู ที่ช่างศิลป์ฟิลิปปินส์คัดลอกมุทรา จากของเดิมมาผิด --Chainwit. 〈 พูดคุย 〉 10:02, 19 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
@Chainwit. : ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งที่มาที่อ้างถึงได้ครับ แต่อาจเป็นข้อจำกัดฝ่ายผม อย่างไรถ้ายืนยันแหล่งที่มาอีกครั้งหนึ่งจะพิจารณาให้ผ่านได้ครับ --Wutkh (คุย ) 00:43, 25 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
...ภูมิภาคโรดีเชีย (ปัจจุบันคือประเทศซิมบับเว และประเทศแซมเบีย ) ได้รับการตั้งชื่อตาม เซซิล โรดส์ นักลัทธิจักวรรดินิยมชาวอังกฤษ (บทความโดย Supakit prem)--Supakit prem (คุย ) 11:12, 26 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
@Supakit prem : นับคำด้วย LibreOffice ได้ 345 คำ ยังไม่ถึง 10,000 ไบต์ ยังไม่ผ่านเกณฑ์ปริมาณ ครับ เพิ่มสักอีกร้อยคำก็ดีครับ เอาให้แน่ๆ ข้อกำหนดอีกอย่างก็คือ ข้อความที่เสนอ ต้องตรวจสอบกับแหล่งอ้างอิงอินไลน์ ได้ครับ --Tikmok (คุย ) 13:36, 26 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
...ไมโครดอท (ในภาพ) คือตัวหนังสือหรือรูปภาพที่ถูกนำมาลดขนาด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนทั่วไปสามารถอ่านหรือดูได้ ไมโครดอทโดยทั่วไปจะมีรูปแบบเป็นทรงกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร (0.039 นิ้ว) แต่บางครั้งไมโครดอทสามารถมีรูปทรง ขนาด และ ทำจากวัสดุได้หลากหลาย เช่น ผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ หรือเหล็ก (บทความโดย MarkYay)--MarkYay (คุย ) 22:44, 24 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
@MarkYay : หัวข้อน่าสนใจมากครับ (ก่อนที่คุณเสนอมา ผมดันดูยูทูบเรื่องนี้พอดี แหะ ๆ) แต่เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ขอให้เลี่ยงการเสนอนิยาม (ไมโครดอท คือ ตัวหนังสือ...) / ใช้คำตามชื่อบทความ คือ ไมโครดอ"ต" ไม่ใช่ ไมโครดอ"ท" ตามหลักการทับศัพท์ / เลือกข้อเท็จจริงบนบทความที่มีอ้างอิงในบรรทัดเพื่อให้ผู้ตรวจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้นะครับ --Wutkh (คุย ) 05:15, 28 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ MarkYay (คุย ) 19:35, 29 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
ในปี ค.ศ. 1870 ช่วงสงคราม สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย , ปารีส ถูกโจมตี และข้อความถูกส่งโดย Homing pigeon ช่างถ่ายภาพชาวปารีส René Dagron ใช้ Microform เพื่อให้นกพิราบแต่ละตัวสามารถเก็บข้อความได้จำนวนมาก เพราะนกพิราบแต่ละตัวสามารถรับน้ำหนักได้น้อย[ 1] MarkYay (คุย ) 19:47, 29 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
...จุดสำหรับติดตามเครื่องพิมพ์ (ในภาพ) ปริ้นเตอร์สเตการาโนกราฟฟี้, สีโดคูติดตามจุด, จุดเหลือง, จุดความลับ, หรือ เครื่องจักรลักษณะโค้ด คือ ลายน้ำดิจิทัล ที่เกือบทุกเครื่อง เครื่องพิมพ์เลเซอร์ และ เครื่องถ่ายเอกสาร จะพิมพ์ออกมาในทุกหน้า โดยเป็นเครื่องมือเฉพาะเจาะจงสำหรับใช้ระบุตัวตนของเอกสาร ซึ่งผลิตโดยบริษัท ซีร็อกซ์ และ แคนนอน ในช่วงกลางทศวรรษ ค.ศ. 1980, แต่การมีอยู่ของโค้ดติดตามนี้เพิ่งเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะในปี ค.ศ. 2004 (บทความโดย Shwo7019)--Shwo7019 (คุย ) 23:01, 24 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
@Shwo7019 : หัวข้อน่าสนใจดีนะครับ แต่เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ขอให้เลี่ยงการเสนอนิยาม (...เครื่องจักรลักษณะโค้ด คือ ลายน้ำดิจิทัล...) / เลือกคำใดคำหนึ่งที่จะใช้ในการเสนอ (จุดสำหรับติดตามเครื่องพิมพ์ / ปริ้นเตอร์สเตการาโนกราฟฟี้ / สีโดคูติดตามจุด / จุดเหลือง / จุดความลับ / เครื่องจักรลักษณะโค้ด) และขอที่มาของแต่ละชื่อด้วย / เลือกข้อเท็จจริงบนบทความที่มีอ้างอิงในบรรทัดเพื่อให้ผู้ตรวจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้นะครับ (ข้อความนี้ดูคร่าว ๆ มีอ้างอิงครบ แต่เนื่องจากเป็นการเสนอนิยามจึงยังไม่ได้เข้าไปดูในอ้างอิงครับ) --Wutkh (คุย ) 05:15, 28 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ Shwo7019 (คุย ) 19:35, 29 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
ในเดือน พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2004, PC World รายงานว่า รหัสประจำเครื่องถูกใช้มาเป็นเวลาหลายทศวรรษในเครื่องพิมพ์บางประเภท, เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถระบุและติดตามผู้ที่แปลมแปลงได้ <ref> name=PC/> Shwo7019 (คุย ) 19:53, 29 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
...ชายที่รวยที่สุดอันดับสองของอินเดีย เคาตมะ อทาณี ถูกกล่าวหาว่าเป็นบุคคลใกล้ชิดของนายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที และกับพรรคบีเจพี ผู้นำรัฐบาล ซึ่งนำไปสู่ข้อกล่าวหาการเล่นพรรคเล่นพวก --Chainwit. 〈 พูดคุย 〉 01:06, 30 พฤศจิกายน 2567 (+07) [ ตอบกลับ ]
@Chainwit. : ไม่มีข้อมูลเหล่านี้ในแหล่งอ้างอิงอินไลน์ครับ
↑ Kipper, Gregory. Investigator's Guide to Steganography . Boca Raton: Auerbach Publications, 2003. [ไอเอสบีเอ็น ไม่มี ]