ข้ามไปเนื้อหา

ป้อมอัจญ์ยาด

พิกัด: 21°25′08″N 39°49′35″E / 21.41889°N 39.82639°E / 21.41889; 39.82639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้อมอัจญ์ยาด
ป้อมอัจญ์ยาด (มุมซ้ายบน) ในพื้นหลังของกะอ์บะฮ์ ภาพถ่ายปี 1889
ประเภทป้อมปราการ
ที่ตั้งมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
สร้างเมื่อ1780
รื้อถอน1–9 มกราคม 2002

ป้อมอัจญ์ยาด (ตุรกีออตโตมัน: قلعهٔ اجیاد, ตุรกี: Ecyad Kalesi; อาหรับ: قلعة أجياد, อังกฤษ: Ajyad Fortress) เป็นอดีตป้อมปราการสมัยจักรวรรดิออตโตมันที่ตั้งอยู่บนเนินเขาเหนือมัสยิดอัลฮะรอมในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ป้อมนี้สร้างขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 18 และถูกรื้อถอนโดยรัฐบาลในปี 2002 เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ อับรอญุลบัยต์ การรื้อถอนป้อมนี้นำไปสู่การวิจารณ์จากมุสลิมทั่วโลกและจากรัฐบาลของประเทศตุรกี

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ป้อมอัจญ์ยาดสร้างขึ้นในปี 1780 โดยออตโตมันเพื่อป้องกันกะอ์บะฮ์จากการถูกรุกราน[1][2] ป้อมปราการมีขนาดเนื้อที่ 23,000 m2 (250,000 sq ft) บนเขาบุลบุล (Bulbul Mountain)[3] ซึ่งเป็นสเปอร์ของเขาเญเบลกูดา เหนือมัสยิดอัลฮะรอมจากทางใต้

ระหว่างวันที่ 1 ถึง 9 มกราคม 2002 รัฐบาลซาอุดิอาระเบียทำการรื้อถอนป้อมอัจญ์ยาด เช่นเดียวกับเนินเขาบุลบุลซึ่งถูกปรับสภาพพื้นผิวจนเรียบ[3] เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับโครงการก่อสร้างมูลค่า 15 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ[4][5] อับรอญุลบัยต์

เสียงตอบรับ

[แก้]

การรื้อถอนป้อมเก่าแก่ซ่งถือเป็นโบราณสถานเช่นนี้นำไปสู่การคัดค้านจากในและนอกประเทศ[6] รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกี İsmail Cem İpekçi และหน่วยงานมากมายพยายามยับยั้งการรื้อถอนป้อม [7] รองหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยฝ่ายซ้าย (DSP) ของตุรกี Ertuğrul Kumcuoğlu ออกมาเสนอให้ทำการปิดกั้นการเดินทางไปยังซาอุดิอาระเบีย[8] กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวประณามการรื้อถอนป้อม และเปรียบเปรยการกระทำนี้กับการทำลายพระพุทธรูปบามียัน รวมถึงกล่าวหารัฐบาลซาอุดิอาระเบียว่า "ยังคงยืนหยัดในนโยบายการรื้อถอนทำลายมรดกออตโตมัน [ในซาอุดิอาระเบีย]"[9][10]

สำนักข่าว AFP กล่าวอ้างคำพูดของรัฐมนตรีกิจการอิสลามของซาอุดิอาระเบีย Saleh al-Shaikh ว่า "ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะมารุกร้ำกิจการในอำนาจของอีกรัฐหนึ่ง" และทำไปเพื่อสร้างโครงการที่จะให้ที่พักแก่ผู้เดินทางมาแสวงบุญฮัจญ์ โดยระบุว่าเป็น "เพื่อผลประโยชน์ของมุสลิมทั่วโลก"[11]

ในปี 2018 มีการก่อสร้างแบบจำลองถูกสัดส่วนขนาด 25% จากของเดิมใน Miniatürk เมืองจำลองในอิสตันบูล[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Simon Wheelan (28 January 2002). "Saudi government demolishes historic Ottoman castle". World Socialist Web Site. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
  2. "Saudis hit back over Mecca castle". BBC News. 9 January 2002. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
  3. 3.0 3.1 "Historic Makkah fortress demolished". Arab News. 9 January 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2021. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  4. "Revealed: The world's 20 most expensive buildings". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2018. สืบค้นเมื่อ 28 July 2018. Abraj Al Bait Towers.
  5. Amer, Pakinam (15 April 2007). "Mekah residents claim their needs being ignored". Brunei Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2011.
  6. Gossett, Sherrie. "Mecca Conference Criticized for Hypocrisy on Holy Site Destruction". crosswalk.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-04-09.
  7. "Turkish FM Accuses Saudis for Demolition of Ottoman Castle". People's Daily. 10 January 2002. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  8. "Ecyad Castle". สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
  9. Palmer, Jason (2002-01-09). "Destroying Ottoman castle to build hotel is 'cultural massacre'". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
  10. Turkish Ministry of Culture Announcement Retrieved 03-28-2008 เก็บถาวร 24 กันยายน 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. Wheelan, Simon (2002-01-28). "Saudi government demolishes historic Ottoman castle". World Socialist Web Site. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  12. "Ecyad Kalesi". Miniatürk. 10 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2021. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.

21°25′08″N 39°49′35″E / 21.41889°N 39.82639°E / 21.41889; 39.82639