กติกาสัญญาไตรภาคี
หน้าตา
กติกาสัญญาเบอร์ลิน | |
---|---|
โยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ แห่งเยอรมนี, กาลีซโซ ชิอาโน แห่งอิตาลี และ ซาบูโร คูรูซุ แห่งญี่ปุ่น ในกติกาสัญญาไตรภาคี | |
ประเภท | พันธมิตรทางทหาร |
วันลงนาม | 27 กันยายน ค.ศ. 1940 |
ที่ลงนาม | เบอร์ลิน ไรช์เยอรมัน |
ผู้ลงนาม | โยอาคิม ริบเบนทรอพ กาลีซโซ ชิอาโน ซาบูโร คูรูซุ |
ภาคี | ไรช์เยอรมัน อิตาลี จักรวรรดิญี่ปุ่น เข้าร่วมภายหลัง: โรมาเนีย สโลวาเกีย บัลแกเรีย ยูโกสลาเวีย โครเอเชีย |
กติกาสัญญาไตรภาคี (อังกฤษ: Tripartite Pact, ญี่ปุ่น: 日独伊三国間条約; ทับศัพท์: นิชิโดะกุนิ ซังโงะกุกัง โจยะกุ) หรือ กติกาสัญญาเบอร์ลิน เป็นความตกลงทางการทหาร ทำขึ้นระหว่าง นาซีเยอรมนี, ราชอาณาจักรอิตาลี และ จักรวรรดิญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1940 ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของพันธมิตรฝ่ายอักษะ ซึ่งภายหลังก็ได้มีอีกหลาย ๆ ชาติร่วมลงนามในกติกาสัญญารูปแบบเดียวกันนี้ อันได้แก่ ฮังการี (20 พฤศจิกายน 1940), โรมาเนีย (23 พฤศจิกายน 1940), บัลแกเรีย (1 มีนาคม 1941) และ ยูโกสลาเวีย (25 มีนาคม 1941) ต่อมาการรัฐประหารในเบลเกรด เป็นตัวจุดชนวนให้อิตาลีและเยอรมนี เข้ารุกรานยูโกสลาเวีย (ตลอดจน บัลแกเรีย และ ฮังการี) ซึ่งการรุกรานครั้งนี้ทำให้รัฐอิสระโครเอเชีย ยอมเข้าร่วมฝ่ายอักษะในวันที่ 15 มิถุนายน 1941
ข้อความ
[แก้]กติกาสัญญาสามอำนาจระหว่างเยอรมนี, อิตาลี และญี่ปุ่น
- รัฐบาลแห่งเยอรมนี, อิตาลี และญี่ปุ่น ได้คำนึงถึงสภาวะสันติสุขในอดีตที่ทุกชาติในโลกต่างได้เคยหยิบยื่นให้แก่กันตามแต่สมควรแล้ว จึงตัดสินใจที่จะเกื้อกูลและร่วมมือกับอีกฝ่ายในข้อเกี่ยวเนื่องกับความมุมานะของแต่ละฝ่ายในมหาเอเชียบูรพาและดินแดนในยุโรปตามลำดับ อันเป็นความมุ่งหมายหลักที่จะจัดตั้งและธำรงไว้ซึ่งระเบียบใหม่อันหมายมั่นว่าจะช่วยส่งเสริมความเจริญสถาพรตลอดจนสวัสดิภาพแห่งประชาราษฎร์ของกันและกัน
- ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลทั้งสามยังมีความปรารถนาที่จะขยายความร่วมมือไปสู่ประชาชาติในส่วนอื่นของโลก ที่อาจตกลงปลงใจร่วมพากเพียรไปบนทางคู่ขนานอันมีจุดหมายเดียวกัน เพื่อที่ว่าปณิธานอันสูงสุดคือสันติภาพโลกจะได้กลายเป็นจริง
- ฉนั้น รัฐบาลแห่งเยอรมนี, อิตาลี และญี่ปุ่น จึงได้ตกลงกันดังต่อไปนี้:
- ข้อ 1 ญี่ปุ่นยอมรับและเคารพซึ่งประมุขภาพของเยอรมนีและอิตาลีในการจัดระเบียบทวีปยุโรป
- ข้อ 2 เยอรมนีและอิตาลียอมรับและเคารพซึ่งประมุขภาพของญี่ปุ่นในการจัดระเบียบทวีปมหาเอเชียบูรพา
- ข้อ 3 ญี่ปุ่น, เยอรมนี และ อิตาลี ตกลงที่จะร่วมมือตามความประสงค์ดังข้อความที่กล่าวมา นอกจากนี้ ยังให้สัญญาที่จะให้ความสนับสนุนแก่อีกฝ่ายทั้งในด้านการเมือง, เศรษฐกิจ และการทหาร อันหมายถึง กรณีที่ชาติร่วมสัญญาถูกโจมตีด้วยชาติอื่นที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามในยุโรป ณ ปัจจุบัน หรือกรณีพิพาทญี่ปุ่น-จีน
- ข้อ 4 ด้วยทัศนะเพื่อให้สัญญาปัจจุบันบรรลุผล คณะกรรมาธิการร่วมซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดยผู้แทนของรัฐบาลญี่ปุ่น, เยอรมนี และ อิตาลี จะเข้าประชุมหารือกันโดยไม่ชักช้า
- ข้อ 5 ญี่ปุ่น, เยอรมนี และ อิตาลี ให้การยืนยันว่าความตกลงข้างต้นจะมีผลบังคับใช้โดยไม่ขึ้นกับสถานะทางการเมืองที่ดำรงอยู่ ณ ปัจจุบัน ระหว่างแต่ละชาติร่วมสัญญากับโซเวียตรัสเซีย
- ข้อ 6 สัญญานี้จะสมบูรณ์ในทันทีต่อเมื่อมีการลงนามและจะบังคับใช้เป็นเวลาสิบปีนับจากวันที่มีผลบังคับใช้ โดยในเวลาอันสมควรก่อนการหมดอายุตามเวลาที่กล่าวมา ด้วยคำร้องขอของสมาชิกหนึ่งใด อัครภาคีร่วมสัญญาจะเข้าสู่การเจรจาเพื่อต่ออายุ
- ผู้มีนามข้างท้ายนี้ต่างได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลของตนตามลำดับ ได้ลงนามในหนังสือสัญญานี้พร้อมประทับตราประกอบลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
- ทำขึ้นระหว่างอัครภาคีสามฝ่ายที่เบอร์ลิน วันที่ 27 ของเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 เป็นปีที่ 19 ของยุคฟาสซิสต์ ตรงกับกับวันที่ 27 ของเดือนที่ 9 ของปีโชวะ
โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ · กาลีอาซโซ ซิอาโน · ซาบูโร คูรูซุ
จุดกำเนิด
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ กติกาสัญญาไตรภาคี
หมวดหมู่:
- Pages using Infobox treaty with unknown parameters
- กติกาสัญญาไตรภาคี
- กติกาสัญญา
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับนาซีเยอรมนี
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรอิตาลี
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิญี่ปุ่น
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับฮังการี
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับโรมาเนีย
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับบัลแกเรีย
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับยูโกสลาเวีย
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับโครเอเชีย
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสโลวาเกีย
- พ.ศ. 2483
- สนธิสัญญาสงครามโลกครั้งที่สอง
- สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- สนธิสัญญาด้านพันธมิตรทางการทหาร
- พันธมิตรทางการทหาร
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับเยอรมนี
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับอิตาลี
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับฮังการี
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับโรมาเนีย
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับบัลแกเรีย
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับยูโกสลาเวีย
- ความสัมพันธ์เยอรมนี–อิตาลี
- ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–เยอรมนี
- ความสัมพันธ์อิตาลี–ญี่ปุ่น
- ฝ่ายอักษะ
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์