ข้ามไปเนื้อหา

กรมทางหลวงชนบท

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรมทางหลวงชนบท
Department of Rural Roads
ตราสัญลักษณ์ของกรม
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545; 22 ปีก่อน (2545-10-03)
กรมก่อนหน้า
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 9 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
บุคลากร4,081 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี50,643,485,000 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • มนตรี เดชาสกุลสม, อธิบดี
  • พิชิต หุ่นศิริ, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงคมนาคม
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

กรมทางหลวงชนบท (อังกฤษ: Department of Rural Roads) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยบุคลากรโอนภารกิจมาจากกรมโยธาธิการและกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีหน้าที่ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางเชื่อม ทางเลี่ยง และทางลัด รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงด้านการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภารกิจ

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มุ่งปรับปรุงระบบระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคม โดยมีการจัดตั้งกรมทางหลวงชนบทขึ้น แต่ได้มีการกำหนดบทเฉพาะกาล มาตรา 54 ไว้ว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนกิจการอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกรมทางหลวงชนบท และบรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมทางหลวงชนบท ไปเป็นของกรมทางหลวง หรือผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกำหนดให้การกำหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้ เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งขึ้นบังคับใช้แล้ว ให้ถือว่ากรมทางหลวงชนบทเป็นอันยุบเลิก" ซึ่งจะเป็นผลให้กรมทางหลวงชนบท มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการในระยะเวลาเพียง 5 ปี

ต่อมาภายหลังการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้มีมติให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการต่อไปอีก 5 ปี กระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ให้ยกเลิกการยุบกรมทางหลวงชนบท และให้มีภารกิจดำเนินการเช่นเดิม เนื่องจากเป็นนโยบายหลักของทุกรัฐบาล[3]

เครื่องหมายราชการ

สัญลักษณ์ของกรมทางหลวงชนบท คือ องค์พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นเทพแห่งวิศวกรรมการพัฒนา การก่อสร้าง และบำรุงรักษาทางหลวง ประทับเป็นสง่าบนพระอาสน์ มือขวาถือจอบ มือซ้ายถือลูกดิ่ง เบื้องหลังพระวิษณุแสงสว่างแผ่เป็นรัศมีโดยรอบทั้ง 8 ทิศ แสดงถึงภารกิจของกรมทางหลวงชนบท ครอบคลุมทั้งประเทศ และลายกนก 3 ชั้น ตัดด้วยเส้นสีแดงบนพื้นสีเหลืองทอง หมายถึง ประเทศไทย

รายนามอธิบดี

รายนามอธิบดีกรมทางหลวงชนบท
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549)
2 ระพินทร์ จารุดุล (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - 10 เมษายน พ.ศ. 2551)
3 สุพจน์ ทรัพย์ล้อม (11 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551)
4 วิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ (31 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554)
5 ชาติชาย ทิพย์สุนาวี (21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
6 ดรุณ แสงฉาย (16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
7 พิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 29 มกราคม พ.ศ. 2562)
8 กฤชเทพ สิมลี (29 มกราคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562)
9 ปฐม เฉลยวาเรศ (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564)
10 อภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย (15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน)

โครงสร้างส่วนราชการ

  • สำนักบริหารกลาง[4]
  • กองแผนงาน
  • แขวงทางหลวงชนบท ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักกฎหมาย
  • สำนักก่อสร้างทาง
  • สำนักก่อสร้างสะพาน
  • สำนักเครื่องกลและสื่อสาร
  • สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 1 - 18
  • สำนักบำรุงทาง
  • สำนักฝึกอบรม
  • สำนักวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา
  • สำนักส่งเสริมการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น
  • สำนักสำรวจและออกแบบ
  • สำนักอำนวยความปลอดภัย

สำนักงานทางหลวงชนบท และแขวงทางหลวงชนบทในสังกัด

  1. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 1 (ปทุมธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทปทุมธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนนทบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรปราการ
    • แขวงทางหลวงชนบทพระนครศรีอยุธยา
    • แขวงทางหลวงชนบทอ่างทอง
  2. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 2 (สระบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสระบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทลพบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสิงห์บุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทชัยนาท
  3. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 3 (ชลบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทชลบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทระยอง
    • แขวงทางหลวงชนบทจันทบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทตราด
  4. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 4 (เพชรบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทเพชรบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทประจวบคีรีขันธ์
    • แขวงทางหลวงชนบทราชบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสงคราม
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสาคร
  5. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 5 (นครราชสีมา)
    • แขวงทางหลวงชนบทนครราชสีมา
    • แขวงทางหลวงชนบทชัยภูมิ
    • แขวงทางหลวงชนบทบุรีรัมย์
    • แขวงทางหลวงชนบทสุรินทร์
  6. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 6 (ขอนแก่น)
    • แขวงทางหลวงชนบทขอนแก่น
    • แขวงทางหลวงชนบทเลย
    • แขวงทางหลวงชนบทมหาสารคาม
    • แขวงทางหลวงชนบทร้อยเอ็ด
  7. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 7 (อุบลราชธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุบลราชธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทศรีสะเกษ
    • แขวงทางหลวงชนบทอำนาจเจริญ
    • แขวงทางหลวงชนบทยโสธร
  8. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 8 (นครสวรรค์)
    • แขวงทางหลวงชนบทนครสวรรค์
    • แขวงทางหลวงชนบทอุทัยธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทตาก
    • แขวงทางหลวงชนบทกำแพงเพชร
    • แขวงทางหลวงชนบทพิจิตร
  9. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 9 (อุตรดิตถ์)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุตรดิตถ์
    • แขวงทางหลวงชนบทสุโขทัย
    • แขวงทางหลวงชนบทพิษณุโลก
    • แขวงทางหลวงชนบทเพชรบูรณ์
  10. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 10 (เชียงใหม่)
    • แขวงทางหลวงชนบทเชียงใหม่
    • แขวงทางหลวงชนบทแม่ฮ่องสอน
    • แขวงทางหลวงชนบทลำพูน
    • แขวงทางหลวงชนบทลำปาง
    • แขวงทางหลวงชนบทแพร่
  11. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสุราษฎร์ธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนครศรีธรรมราช
    • แขวงทางหลวงชนบทชุมพร
    • แขวงทางหลวงชนบทระนอง
  12. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 12 (สงขลา)
    • แขวงทางหลวงชนบทสงขลา
    • แขวงทางหลวงชนบทสตูล
    • แขวงทางหลวงชนบทยะลา
    • แขวงทางหลวงชนบทปัตตานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนราธิวาส
  13. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 13 (ฉะเชิงเทรา)
    • แขวงทางหลวงชนบทฉะเชิงเทรา
    • แขวงทางหลวงชนบทนครนายก
    • แขวงทางหลวงชนบทปราจีนบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสระแก้ว
  14. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 14 (กระบี่)
    • แขวงทางหลวงชนบทกระบี่
    • แขวงทางหลวงชนบทพังงา
    • แขวงทางหลวงชนบทภูเก็ต
    • แขวงทางหลวงชนบทตรัง
    • แขวงทางหลวงชนบทพัทลุง
  15. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 15 (อุดรธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุดรธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทหนองบัวลำภู
    • แขวงทางหลวงชนบทหนองคาย
    • แขวงทางหลวงชนบทบึงกาฬ
  16. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 16 (กาฬสินธุ์)
    • แขวงทางหลวงชนบทกาฬสินธุ์
    • แขวงทางหลวงชนบทสกลนคร
    • แขวงทางหลวงชนบทนครพนม
    • แขวงทางหลวงชนบทมุกดาหาร
  17. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 17 (เชียงราย)
    • แขวงทางหลวงชนบทเชียงราย
    • แขวงทางหลวงชนบทพะเยา
    • แขวงทางหลวงชนบทน่าน
  18. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 18 (สุพรรณบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทกาญจนบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทนครปฐม

โครงข่ายเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยว

กรมทางหลวงชนบทได้มีแผนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย (Scenic Route) ประกอบไปด้วยโครงข่ายสายทางที่ก่อสร้างแล้ว และอยู่ระหว่างการก่อสร้างและศึกษา[5] ประกอบไปด้วย

เลียบชายฝั่งทะเล

ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต

สะพานตากสินมหาราช ส่วนหนึ่งของถนนเฉลิมบูรพาชลทิต

ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต เป็นโครงข่ายถนนในชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก มีแผนในการพัฒนาเส้นทางตั้งแต่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ปัจจุบันสร้างระยะแรกเสร็จสิ้นแล้วคือช่วงจังหวัดระยอง - จันทบุรี

ถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้

ประกอบไปด้วยแผนพัฒนาสองฝั่งทะเลในภาคใต้ คือ ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย และถนนเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน

ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย

ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย เป็นโครงข่ายถนนในชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย มีแผนในการพัฒนาเส้นทางตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการ เลาะตามชายฝั่งลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส ระยะทางประมาณ 1500 กิโลเมตร[6][7] ปัจจุบันสร้างระยะแรกเกือบสมบูรณ์แล้วในช่วงจังหวัดสมุทรสาคร - จังหวัดชุมพร

ถนนเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน

ถนนเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นโครงข่ายถนนในชายฝั่งทะเลอันดามัน มีแผนในการพัฒนาเส้นทางตั้งแต่จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ และจังหวัดสตูล ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษา ระยะทางประมาณ 600 กิโลเมตร[8]

เลียบแม่น้ำโขง

ถนนนาคาวิถี

ถนนนาคาวิถี เป็นโครงข่ายถนนริมฝั่งแม่น้ำโขง มีแผนพัฒนาเส้นทางตั้งแต่จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 750 กิโลเมตร[6] คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2565[9]

เลียบชายเขาด้านทิศใต้ของเขาใหญ่

ถนนบูรพาคีรี

ถนนบูรพาคีรี เป็นโครงข่ายถนนเลียบชายเขาด้านทิศใต้ของเขาใหญ่ มีแผนพัฒนาเส้นทางตั้งแต่จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว ระยะทางประมาณ 175 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการสำรวจและออกแบบ[6]

อ้างอิง

  1. รายงานประจำปี 2566 กรมทางหลวงชนบท
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๘
  3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552
  4. โครงสร้างส่วนราชการ
  5. "ทช.ดัน 3 เส้นทาง บูมเศรษฐกิจแดนอีสาน-ใต้". thansettakij. 2020-11-03.
  6. 6.0 6.1 6.2 "ทช.เดินหน้าผุดถนนเลียบทะเลกว่า 1,500 กม. วางแนวผ่านจุดไฮไลต์ หนุนท่องเที่ยวไทย". mgronline.com. 2020-11-03.
  7. กระทรวงคมนาคม. นิตยสารราชรถ[ลิงก์เสีย]. เดือน พฤษภาคม 2564 (mot.go.th)
  8. "สนข.เตรียมศึกษาสร้างถนน 2 เลน เส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลใต้อันดามัน 'ระนอง-สตูล' กว่า 600 กม. คาดศึกษาเสร็จ พ.ค. 67". transportjournal newspaper.
  9. เปิดแผนขยายถนนเลียบแม่น้ำโขง “นาคาวิถี” ยาว 750 กม. เชื่อม 7 จังหวัด – MUKDAHAN Liveable City

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น