กฤษณา โกห์ลี
สมาชิกวุฒิสภา กฤษณา โกห์ลี | |
---|---|
ڪرشنا ڪوهلي | |
สมาชิกวุฒิสภาปากีสถาน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 12 มีนาคม 2018 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | นครปาร์การ์ แคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979
เชื้อชาติ | ปากีสถาน |
พรรคการเมือง | พรรคประชาชนปากีสถาน |
ญาติ | วีรจี โกหลี (พี่/น้องชาย), รูปโล โกหลี (ทวด) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยสินธ์ |
ชื่อเล่น | กีชูบาอี (Kishoo Bai)[1] |
กฤษณา กุมารี โกห์ลี (สินธ์: ڪرشنا ڪماري ڪولھي อูรดู: کرشنا کماری کولہی; Krishna Kumari Kolhi, เกิด 1 กุมภาพันธ์ 1979) หรือรู้จักในชื่อเล่น กีชูบาอี (Kishoo Bai) เป็นนักการเมืองชาวปากีสถาน สมาชิกวุฒิสภาปากีสถานตั้งแต่มีนาคม 2018 เธอเป็นสตรีทลิตชาวฮินดูคนแรก และสตรีชาวฮินดูคนที่สองที่ได้เป็นวุฒิสมาชิกของปากีสถาน เธอเป็นที่รู้จักจากการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีและเรียกร้องให้ยกเลิกระบบทาสจากหนี้ เธอได้รับการขึ้นชื่อเป็นหนึ่งใน 100 สตรีแห่งปี 2018 โดยบีบีซี[2]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]โกห์ลีเกิดในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1979[3] ในครอบครัวชาวโกลีที่ยากจน[4] ในนครปาร์การ์[5] สมัยที่เธอยังเรียนอยู่ระดับชั้นเกรด 3 (เทียบเท่า ป.3) ครอบครัวและตัวเธอเองถูกจับขังเป็นเวลาสามปีเพื่อเป็นทาสในพื้นที่คุมขังของเจ้าของที่ดินนายหนึ่งในอำเภออูเมร์โกต[6][5] ทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวหลังตำรวจเข้าบุกค้น เธอเข้าเรียนในช่วงต้นที่อำเภออูเมร์โกต ก่อนที่จะย้ายไปเรียนในอำเภอมีรปุรขาส[3]
เธอแต่งงานเมื่ออายุได้ 16 ปี ในปี 1994 ขณะเรียนอยู่ระดับชั้นเกรด 9 (เทียบเท่า ม.3)[3] เธอศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย และในปี 2013 ได้รับปริญญาโทสาขาสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยสินธ์[5]
ในปี 2007 เธอเข้าร่วมค่ายฝึกผู้นำเยาวชนด้านสิทธิมนุษยชนเมเหร์ครห์ครั้งที่สาม (third Mehergarh Human Rights Youth Leadership Training Camp) ในอิสลามาบาดที่เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับรัฐบาลของปากีสถาน, การอพยพย้ายถิ่นของผู้คนทั่วโลก, การวางแผนยุทธศาสตร์ และเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม[3]
อาขีพการเมือง
[แก้]โกหลีเข้าร่วมพรรคประชาชนปากีสถาน (PPP) ในฐานะนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่เรียกร้องสิทธิชนชายขอบในภูมิภาคทาร์ (Thar), สิทธิสตรี, ต่อต้านระบบทาสจากหนี้ และต่อต้านการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน[6] ในปี 2018 เธอได้รับเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกปากีสถานในการเลือกตั้งปี 2018 ในฐานะผู้สมัครขากพรรค PPP ในแคว้นสินธ์[7][8] และสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 12 มีนาคม 2018[9] เธอเป็นสตรีทลิตชาวฮินดูคนแรกที่ได้เป็นวุฒิสมาชิก และเป็นสตรีฮินดูคนที่สองต่อจากรัตนา ภควันทาส เชาวลา[6]
ในปี 2018 บีบีซีขึ้นชื่อเธอเป็นหนึ่งใน 100 สตรีแห่งปี[2]
หลังเหตุการณ์โจมตีมนเทียรการาก ได้มีการเสนอร่างรัฐบัญญัติ "ว่าด้วยการปกป้องสิทธิของชนกลุ่มน้อยทางศาสนา" ("Protection of the Rights of Religious Minorities Bill") ในวุฒิสภา แต่ถูกระงับไปโดยคณะกรรมาธิการของพรรค Jamiat Ulema-e-Islam (F) (JUI-F) โดยวุฒิสมาชิก Abdul Ghafoor Haideri ในการประชุมครั้งนั้น กฤษณาเดินออกจากห้องประชุมเพื่อแสดงการประท้วงการตัดสินใจของคณะกรรมาธิการ[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Agha, Bilal (15 March 2018). "Living Colours: 'My first priority is health, education of Thari women'". DAWN.COM. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
- ↑ 2.0 2.1 Images Staff (19 November 2018). "Pakistani senator Krishna Kumari named in BBC's 100 Women 2018 list". Images. สืบค้นเมื่อ 20 November 2018.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "In historic first, a Thari Hindu woman has been elected to the Senate". DAWN.COM. 4 March 2018. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
- ↑ Current Affairs January 2019 eBook Hindi: by Jagran Josh (ภาษาฮินดี). Jagran Prakashan Ltd.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Samoon, Hanif (4 February 2018). "PPP nominates Thari woman to contest Senate polls on general seat". Dawn. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Dawood Rehman (3 March 2018). "Krishna Kumari becomes first Hindu Dalit woman senator of Pakistan". Daily Pakistan Global.
- ↑ "LIVE: PML-N-backed independent candidates lead in Punjab, PPP in Sindh - The Express Tribune". The Express Tribune. 3 March 2018. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
- ↑ Khan, Iftikhar A. (4 March 2018). "PML-N gains Senate control amid surprise PPP showing". DAWN.COM. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
- ↑ "Senate elect opposition-backed Sanjrani chairman and Mandviwala his deputy". The News (ภาษาอังกฤษ). 12 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ "Senate panel 'turns down' bill on minorities rights". The Tribune. 2 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.