กลุ่มภาษาอาระเบียใต้โบราณ
กลุ่มภาษาอาระเบียใต้โบราณ | |
---|---|
ภาษาชาวเยเมน | |
ภูมิภาค: | อาระเบียใต้ |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | แอโฟรเอชีแอติก
|
กลุ่มย่อย: | |
กลอตโตลอก: | sayh1236[1] |
กลุ่มภาษาอาระเบียใต้โบราณ (อังกฤษ: Old South Arabian)[2][3][4] เป็นกลุ่มของภาษาที่มีความใกล้เคียงกัน 4 ภาษา ที่ใช้พูดทางตอนใต้ของคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งภาษาเหล่านี้ต่างจากภาษาอาหรับคลาสสิก กลุ่มผู้พูดภาษาเซมิติกที่ไม่ได้อพยพขึ้นเหนือได้เกิดการพัฒนาของกลุ่มภาษาใหม่ที่เรียกว่าเซมิติกตะวันตกเฉียงใต้ ภาษาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ภาษาซาบาเอียน ภาษามินาเอีย ภาษากวาตาบาเนีย และภาษาฮาดรามัวติก กลุ่มนี้จัดเป็นสาขาตะวันตกของกลุ่มภาษาเซมิติกใต้
ภาษาในกลุ่มนี้มีระบบการเขียนเป็นของตนเองคืออักษรอาระเบียใต้ ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นอักษรเอธิโอปิก มีจุดกำเนิดเช่นเดียวกับอักษรของกลุ่มภาษาเซมิติกอื่นๆ การเข้ามาของศาสนาอิสลามทำให้ภาษาอาหรับคลาสสิกเข้ามาเป็นภาษากลางแทนที่ภาษาเหล่านี้ ปัจจุบันเหลือเพียงข้อความโบราณและจารึกบางส่วนและยังมีอิทธิพลต่อภาษาอาหรับท้องถิ่นในบริเวณนั้นเช่นเดียวกับการที่ภาษาคอปติกมีอิทธิพลต่อภาษาอาหรับอียิปต์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Sayhadic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ Nebes, Norbert; Stein, Peter (2008). "Ancient South Arabian". ใน Woodard, Roger D. (บ.ก.). The Ancient Languages of Syria-Palestine and Arabia (PDF). Cambridge: Cambridge University Press. pp. 145–178. doi:10.1017/CBO9780511486890. ISBN 9780511486890.
- ↑ Avanzini, Alessandra (2009). "Origin and Classification of the Ancient South Arabian Languages". Journal of Semitic Studies. 54 (1): 205–220. doi:10.1093/jss/fgn048. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018.
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-30. สืบค้นเมื่อ 2017-05-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)