ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มอาการฮาวานา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาวานาซินโดรม
โรงแรมนาซิออนนาล (The Hotel Nacional) ในฮาวานา หนึ่งในสถานที่ที่พบกลุ่มอาการดังกล่าว[1]
อาการได้ยินเสียงขูดขีดแปลก ๆ, ปวดศีรษะ, สูญเสียการได้ยิน, สูญเสียความทรงจำ และคลื่นเหียนอาเจียน
สาเหตุเป็นไปได้สูงว่าเกิดจากคลื่นไมโครเวฟที่ถูกควบคุม[2]

กลุ่มอาการฮาวานา (อังกฤษ: Havana syndrome) เป็นกลุ่มของอาการทางการแพทย์ที่พบในเจ้าหน้าที่สถานทูตของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในประเทศคิวบา มีรายงานอาการต่าง ๆ ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่การทูตชาวอเมริกันและแคนาดาประจำคิวบารายงานปัญหาสุขภาพหลายประการ บางส่วนดำเนินมาตั้งแต่ปี 2016[3][4]

รัฐบาลสหรัฐอเมริกาอ้างว่าเป็นเพราะประเทศคิวบาพยายามก่อการโจมตีโดยไม่ระบุเป้าหมายนำไปสู่อาการต่าง ๆ เหล่านี้ รัฐบาลสหรัฐได้ตัดสินใจลดจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตในคิวบาลงเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์นี้[5] ในปี 2018 ผู้แทนการทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศจีนเริ่มพบปัญหาทางสุขภาพคล้ายคลึงกับที่มีรายงานในคิวบา รวมถึงเจ้าหน้าที่ซีไอเอที่ปฏิบัติหน้าที่ลับ ๆ ในประเทศอื่น ๆ[6][7]

ผลการศึกษาในกับผู้ป่วยกรณีที่คิวบาในเวลาต่อมาซึ่งเผยแพร่ในวารสาร JAMA ในปี 2018 พบว่าผู้ป่วยมีอาการชัดเจนจากบางรูปแบบของการได้รับบาดเจ็บที่สมอง แต่ไม่สามารถระบุต้นเหตุของการบาดเจ็บดังกล่าวได้[8][9] หนึ่งในคณะผู้ศึกษาในชิ้นงานที่ตีพิมพ์ใน JAMA เชื่อว่าอาวุธคลื่นไมโครเวฟเป็น "ผู้ต้องสงสัยอันดับแรก" (a main suspect) ต่อกรณีนี้[10]

ในเดือนธันวาคม 2020 ผลการศึกษาโดยคณะผู้เชี่ยวชาญของกลุ่มสถาบันวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และแพทยศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐ ได้เปิดเผยรายงานสรุปว่าการปล่อยคลื่นไมโครเวฟ “ที่มีการกำหนดเป้าหมายเฉพาะ” (specifically, directed pulsed RF energy) เป็นสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดในกรณีของทูตในประเทศคิวบาและประเทศจีน[2][11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Cuba Travel Advisory". Travel.state.gov. Department of State. 10 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2018. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
  2. 2.0 2.1 "'Havana syndrome' likely caused by directed microwaves - US report". BBC News. 6 December 2020.
  3. Entous, Adam; Anderson, Jon Lee (November 19, 2018). "The Mystery of the Havana Syndrome: Unexplained brain injuries afflicted dozens of American diplomats and spies. What happened?". The New Yorker.
  4. Payne, Elizabeth (November 30, 2018). "Ottawa doctor treating Canadian diplomats with mysterious 'Havana syndrome'". Ottawa Citizen. It is being called Havana syndrome and officials in Canada and the United States, where more than 20 diplomats have been affected, are trying to identify the cause of the injuries.
  5. "Trump says Cuba 'responsible' for alleged sonic attacks, but offers no evidence". The Guardian. October 16, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2017. สืบค้นเมื่อ December 7, 2017.
  6. "China Pledges to Investigate Fears of Sonic Attacks on U.S. Diplomats". The New York Times. June 7, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2018. สืบค้นเมื่อ June 7, 2018.
  7. Ana Swanson (October 19, 2020). "U.S. Diplomats and Spies Battle Trump Administration Over Suspected Attacks". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2020. สืบค้นเมื่อ October 20, 2020.
  8. Ragini Verma; Randel L. Swanson; Drew Parker; และคณะ (2019). "Neuroimaging Findings in US Government Personnel With Possible Exposure to Directional Phenomena in Havana, Cuba". JAMA. 322 (4): 336–347. doi:10.1001/jama.2019.9269. PMC 6652163. PMID 31334794.
  9. Benedict Carey (July 23, 2019). "Were U.S. Diplomats Attacked in Cuba? Brain Study Deepens Mystery". New York Times.
  10. Broad, William J. (1 September 2018). "Microwave Weapons Are Prime Suspect in Ills of U.S. Embassy Workers". New York Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
  11. Consensus Study Report: An Assessment of Illness in U.S. Government Employees and Their Families at Overseas Embassies, Stranding Committee to Advise the Department of State on Unexplained Health Effects on U.S. Government Employees and Their Families at Overseas Embassies, of the National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine (2020).