ข้ามไปเนื้อหา

การควบคุมจราจรทางอากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอควบคุมจราจรสนามบินที่ท่าอากาศยานบอร์โด–เมอรีญัก
หอควบคุมจราจรสนามบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติฉัตรปาตี ศิวะจี ในมุมไบ อินเดีย
หอควบคุมจราจรสนามบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย
หอควบคุมจราจรสนามบินหมายเลข 1 (ATCT-1) ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
หอควบคุมจราจรสนามบินที่ท่าอากาศยานออสโล การ์เดอร์มอน นอร์เวย์
หอควบคุมจราจรสนามบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติจูอันดา อินโดนีเซีย
หอควบคุมจราจรสนามบินที่ท่าอากาศยานลากวาร์เดีย (LGA) ในนิวยอร์กซิตี้

การควบคุมจราจรทางอากาศ (อังกฤษ: Air traffic control หรือ ATC) เป็นบริการภาคพื้นดินของผู้ควบคุมจราจรทางอากาศทั้งติดต่อโดยตรงกับอากาศยานบนพื้นดินและผ่านน่านฟ้าที่ควบคุมอยู่ และสามารถให้คำแนะนำบริการกับอากาศยานในน่านฟ้าที่ไม่ได้ควบคุมอยู่ได้ วัตถุประสงค์หลักของการควบคุมจราจรทางอากาศคือ การป้องกันการชนกัน จัดระเบียบและเร่งรัดการจราจรทางอากาศ และให้ข้อมูลและการช่วยเหลืออื่น ๆ กับนักบิน[1] ในบางประเทศ การควบคุมจราจรทางอากาศ มีบทบาทในด้านความปลอดภัยและการป้องกัน หรือดำเนินการโดยฝ่ายทหาร

ในการป้องกันการชนกันของอากาศยาน ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจะบังคับใช้กฎการแยกจราจร (Traffic separation rules) ซึ่งเพื่อจะทำให้มั่นใจได้ว่าอากาศยานแต่ละลำจะคงมีพื้นที่ว่างขั้นต่ำรอบ ๆ เครื่องตลอดเวลา อากาศยานจำนวนมากยังมีระบบหลีกเลี่ยงการชน ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยโดยการเตือนนักบินเมื่อมีอากาศยานลำอื่นเข้ามาใกล้มากจนเกินไป

ในหลายประเทศ การควบคุมจราจรทางอากาศมีให้บริการทั้งแบบส่วนบุคคล ทางทหาร และเชิงพาณิชย์ภายในน่านฟ้า ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของเที่ยวบิน และระดับของน่านฟ้า ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศอาจออก คำสั่ง (instructions) ซึ่งนักบินจะต้องปฏิบัติตาม หรือออก คำแนะนำ (advisories) (รู้จักกันในนาม ข้อมูลการบิน (flight information) ในบางประเทศ) ซึ่งนักบินอาจใช้ดุลยพินิจของตนหรือเพิกเฉยได้ ผู้รับผิดชอบเที่ยวบินทั้งหมด (Pilot in command) เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการปฏิบัติการสำหรับความปลอดภัยของอากาศยาน และในบางครั้งสำหรับกรณีฉุกเฉิน อาจมีการเบี่ยงเบนจากคำสั่งของผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ ตามขอบเขตที่กำหนดไว้เพื่อให้สามารถใช้ดำเนินความปลอดภัยของอากาศยานได้

ภาษา

[แก้]

ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจะดำเนินการโดยใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาที่ใช้กันโดยสถานีภาคพื้นดิน[2] ในทางปฏิบัติ ภาษาท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคนั้นถูกใช้เป็นปกติ อย่างไรก็ตาม ภาษาอังกฤษจะต้องถูกใช้เมื่อมีการร้องขอ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FAA 7110.65 2-1-1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 7, 2010.
  2. 2.0 2.1 "IDAO FAQ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-03-03.