ข้ามไปเนื้อหา

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชวอุยกูร์
เป็นส่วนหนึ่งของ ข้อพิพาทซินเจียง
A photo of many Uyghur men, dressed in identical blue clothing, sitting down in rows. On the right hand side of the photo, there is a barbed wire fence. The men are within a re-education camp.
ผู้ถูกคุมขังในค่ายกักกันซินเจียง ภาพถ่ายเมื่อเมษายน 2017[1]
ซินเจียง (สีแดง) ในแผนที่ประเทศจีน
สถานที่ซินเจียง ประเทศจีน
วันที่2014–ปัจจุบัน
เป้าหมายชาวอุยกูร์, คาซัก, คีร์กีซ, และมุสลิมเติร์กอื่น ๆ
ประเภทกักกัน, บังคับแท้ง, บังคับทำหมัน, คุมกำเนิด, บังคับใช้แรงงาน, ทรมาน, ล้างสมอง, มีรายงานอ้างข่มขืน (รวมถึง ข่มขืนหมู่)
ผู้เสียหายราว ≥1 ล้านคนที่ถูกคุมตัว
ผู้ก่อเหตุรัฐบาลจีน
เหตุจูงใจต้านก่อการร้าย (ทางการ)
ทำให้เป็นจีน, กลัวอิสลาม,[2] และกดขี่ผู้เห็นต่างทางการเมือง

รัฐบาลจีนได้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนาในซินเจียงเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ที่ซึ่งมีลักษณะหลายประการที่เข้าข่ายว่าเป็นการฆาล้างเผ่าพันธุ์ นับตั้งแต่ปี 2014 รัฐบาลจีนที่นำโดยสี จิ้นผิงแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้ดำเนินนโยบายที่กักกันประชากรชาวมุสลิมเชื้อสายเติร์กราวหนึ่งล้านคนเข้าไปยังค่ายกักกันซินเจียงโดยปราศจากขั้นตอนทางกฎหมาย[3][4][5] การกักกันนี้ถือเป็นการกักกันชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนาที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[6][7] นักวิชาการประเมินว่านับตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา มีมัสยิดอย่างน้อย 16,000 แห่ง ที่ถูกทำลายหรือทำให้เสียหาย[8] และมีเด็กอีกหลายแสนคนที่ถูกยังคับให้ต้องแยกจากผู้ปกครองและส่งไปยังโรงเรียนประจำ[9][10]

นโยบายรัฐยังมีการจับกุมตามอำเภอใจเข้าในศูนย์กักกันชาวอุยกูร์ของรัฐ,[11][12] การบังคับใช้แรงงาน,[13][14] การกดขี่การปฏิบัติตามศาสนาอิสลาม,[15] การล้างสมองทางการเมือง,[16] การดูแลและสภาพเป็นอยู่ที่เลวร้าย,[17] การบังคับทำหมัน,[18] การบังคับคุมกำเนิด[19][20] และ การบังคับแท้ง[21][22] สถิติทางการของรัฐบาลจีนรายงานว่าในปี 2015 ถึง 2018 อัตราการเกิดในภูมิภาคโฮตันและคัชการ์ ซึ่งมีประชากรเป็นชาวอุยกูร์เป็นส่วนใหญ่ ลดต่ำลงกว่า 60%[18] ในขณะที่อัตราเกิดเฉลี่ยของประเทศจีนเติบโตขึ้น 9.69% ในช่วงเดียวกัน[23] รัฐบาลจีนรับรู้ว่าอัตราเกิดในซินเจียงลดลงกว่าหนึ่งในสามในปี 2018 แต่ปฏิเสธรายงานที่ระบุว่ามีการบังคับทำหมันและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[24] และในปี 2019 อัตราเกิดในซินเจียงลดลงอีก 24% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยชาติลดลงเพียง 4.2%[18]

มีการบรรยายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่าเป็นทั้งการบังคับให้กลืนกลายทางวัฒนธรรม, การฆ่าล้างชาติพันธุ์ และ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม[25][26] ไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่ซึ่งมีผู้เสนอว่าการกระทำของรัฐบาลจีนตรงกับมาตราสองของการประชุมเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[27][28][29] ซึ่งห้ามมิให้มี "การกระทำที่มีเป้าหมายทำลาย ทั้งหมดหรือบางส่วน" ของ "กลุ่มทางเชื้อชาติหรือศาสนา" ซึ่งรวมถึง "การก่อให้เกิดอันตรายทั้งทางกายหรือทางใจอย่างร้ายแรงแก่สมาชิกในกลุ่ม" และ "นโยบายที่มีเป้าหมายป้องกันการเกิดในกลุ่ม"[30]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Knocking the door of the mind with emotion, use reasons to ease the mood of the people". Baidu Baijiahao. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2018. สืบค้นเมื่อ 14 April 2017.
  2. Abbas, Rushan (2021). "The Rise of Global Islamophobia and the Uyghur Genocide". The Brown Journal of World Affairs. 28 (1).
  3. "One million Muslim Uighurs held in secret China camps: UN panel". Al Jazeera. 10 August 2018.
  4. Welch, Dylan; Hui, Echo; Hutcheon, Stephen (24 November 2019). "The China Cables: Leak reveals the scale of Beijing's repressive control over Xinjiang". ABC News (Australia).
  5. "UN: Unprecedented Joint Call for China to End Xinjiang Abuses". Human Rights Watch. 10 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2019. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
  6. Finley, Joanne (2020). "Why Scholars and Activists Increasingly Fear a Uyghur Genocide in Xinjiang". Journal of Genocide Research. 23 (3): 348–370. doi:10.1080/14623528.2020.1848109. S2CID 236962241.
  7. Kirby, Jen (25 September 2020). "Concentration camps and forced labor: China's repression of the Uighurs, explained". Vox. It is the largest mass internment of an ethnic-religious minority group since World War II.
  8. Khatchadourian, Raffi (2021-04-03). "Surviving the Crackdown in Xinjiang". The New Yorker (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-03-04.
  9. Feng, Emily (9 July 2018). "Uighur children fall victim to China anti-terror drive". The Financial Times.
  10. Adrian Zenz (July 2019). "Break Their Roots: Evidence for China's Parent-Child Separation Campaign in Xinjiang". The Journal of Political Risk. 7 (7).
  11. Waller, James; Albornoz, Mariana Salazar (2021). "Crime and No Punishment? China's Abuses Against the Uyghurs". Georgetown Journal of International Affairs (ภาษาอังกฤษ). 22 (1): 100–111. doi:10.1353/gia.2021.0000. ISSN 2471-8831. S2CID 235855240.
  12. Danilova, Maria (27 November 2018). "Woman describes torture, beatings in Chinese detention camp". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2 December 2019.
  13. Turdush, Rukiye; Fiskesjö, Magnus (28 May 2021). "Dossier: Uyghur Women in China's Genocide". Genocide Studies and Prevention. 15 (1): 22–43. doi:10.5038/1911-9933.15.1.1834.
  14. Sudworth, John (December 2020). "China's 'tainted' cotton". BBC News.
  15. Congressional Research Service (18 June 2019). "Uyghurs in China" (PDF). Congressional Research Service. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2 December 2019.
  16. "Muslim minority in China's Xinjiang face 'political indoctrination': Human Rights Watch". Reuters. 9 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
  17. "Responsibility of States under International Law to Uyghurs and other Turkic Muslims in Xinjiang, China" (PDF). Bar Human Rights Committee. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
  18. 18.0 18.1 18.2 "China cuts Uighur births with IUDs, abortion, sterilization". Associated Press. 28 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2020. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
  19. "China Forces Birth Control on Uighurs to Suppress Population". Voice of America. Associated Press. 29 June 2020.
  20. Samuel, Sigal (10 March 2021). "China's genocide against the Uyghurs, in 4 disturbing charts". Vox.
  21. "China: Uighur women reportedly sterilized in attempt to suppress population". Deutsche Welle. 1 July 2020. สืบค้นเมื่อ 14 March 2021.
  22. "China 'using birth control' to suppress Uighurs". BBC News. 29 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2020. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  23. "Birth rate, crude (per 1,000 people) - China". The World Bank. สืบค้นเมื่อ 2 January 2021.
  24. Ivan Watson, Rebecca Wright and Ben Westcott (21 September 2020). "Xinjiang government confirms huge birth rate drop but denies forced sterilization of women". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2020. สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
  25. "'Cultural genocide': China separating thousands of Muslim children from parents for 'thought education'". The Independent. 5 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2020. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  26. Finnegan, Ciara (2020). "The Uyghur Minority in China: A Case Study of Cultural Genocide, Minority Rights and the Insufficiency of the International Legal Framework in Preventing State-Imposed Extinction". Laws. 9: 1. doi:10.3390/laws9010001.
  27. "Uighurs: 'Credible case' China carrying out genocide". BBC News. 8 February 2021. สืบค้นเมื่อ 8 February 2021.
  28. Alecci, Scilla (14 October 2020). "British lawmakers call for sanctions over Uighur human rights abuses". International Consortium of Investigative Journalists. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
  29. Piotrowicz, Ryszard (14 July 2020). "Legal expert: forced birth control of Uighur women is genocide – can China be put on trial?". The Conversation. สืบค้นเมื่อ 5 September 2021.
  30. Text of the Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide, website of the UNHCHR.

บรรณานุกรม

[แก้]