การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามา
การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามา 20 มกราคม ค.ศ. 2009 – 20 มกราคม ค.ศ. 2017 | |
รองประธานาธิบดี | |
---|---|
คณะรัฐมนตรี | คณะรัฐมนตรีบารัก โอบามา |
พรรค | เดโมแครต |
การเลือกตั้ง | |
แต่งตั้งโดย | คณะผู้เลือกตั้ง |
ที่ทำการ | ทำเนียบขาว |
| |
เว็บไซต์ที่เก็บถาวร เว็บไซต์ห้องสมุด |
บารัก โอบามาเริ่มดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากเข้าพิธีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 44 อดีตโอบามาเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐอิลลินอย และเขาเอาชนะสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแอริโซนา จอห์น แมคเคน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2008
ช่วงเปลี่ยนผ่าน
[แก้]ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของโอบามาเริ่มต้นขึ้น หลังจากโอบามาชนะการเลือกตั้งในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 โครงการโอบามา-ไบเดินได้ร่วมมือกับ จอห์น โปรเดสตา, วาเลลีย์ จาร์เร็ตต์ และ พีท เราส์ ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ โอบามาประกาศเป็นตัวแทนที่จะเข้าไปเป็นคณะรัฐมนตรี ในการบริหารชาติบ้านเมือง ในระยะเวลาหลังจกาวันที่ 4 พฤศจิกายนไม่นาน เขาเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐอิลลินอย ราห์ม เอมมานูเอล เป็นหัวหน้าคณะทำเนียบขาว[1]
การเตรียมการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้รวมไปถึงฮิลลารี คลินตันด้วย ผู้ซึ่งเคยเป็นคู่แข่งของโอบามาภายในพรรคเดโมแครต ให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ และบิล ริชาร์ดสัน เป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์[2] ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2008 โอบามาไปทาบทามให้โรเบิร์ต เกตเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมต่อไป ถึงจะอยู่พรรครีพับลิกันก็ตาม[3] โอบามามีแผนจะบรรจุตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติเข้ามาอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีด้วย และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ด้านความสัมพันธ์กับประเทศแอฟริกาซูซาน ไรส์ก็เข้ามาร่วมตำแหน่งอีกเช่นเดียวกัน ตอนที่กำลังเกิดเหตุการวิกฤตการเงินโลกในปี 2008–2009 นั้นโอบามาเสนอชื่อ ทิโมธี เอฟ. จีอีทเทอร์ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง[4]
ระหว่างนี้ โอบามาได้ปรับปรุงเว็บไซต์ Change.gov ใหม่ ภายในเว็ปจะมีบล็อกที่โอบามาเขียนลงแล้วให้คนทั่วไปได้อ่าน และอัปโหลดวิดีโอแถลงการณ์ต่าง ๆ ของรัฐมนตรีแต่ละคน[5]
พิธีเข้ารับตำแหน่ง
[แก้]บารัก โอบามาเข้าพิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 เวลาเที่ยงคืนตามเวลาของประเทศไทย[6] หลังประกอบพิธีเสร็จ ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อประชาชนเรือนล้าน เสร็จแล้วเดินเข้าห้องทำงานของประธานาธิบดี ในอาคารรัฐสภาสหรัฐเพื่อลงนามในเอกสาร 3 ฉบับคือ อนุสรณ์ของคำแถลงการณ์, รายชื่อการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และรายชื่อการแต่งตั้งผู้ช่วยรัฐมนตรี ก่อนที่จะไปรับประทานอาหารมื่อเที่ยงในรัฐสภาและหัวหน้าฝ่ายบริการ และเชิญแขกมาร่วมรับประทานอาหารนั้น[7] ได้มีการจัดงานอนุสรณ์วันคล้ายวันเกิดของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น โอบามาได้ใช้มือวางบนคัมภีร์ไบเบิลเล่มเดี่ยวกับลินคอล์น ในการทำพิธีสาบานตนในครั้งนี้[8]
ในการประกอบพิธีเข้ารับตำแหน่งครั้งนี้ หัวหน้าผู้พิพากษา จอห์น จี. โรเบิร์ต อ่านคำสาบานผิด จากคำว่า President of the United States" เป็น "President to the United States" ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงมีการประกอบพิธีใหม่ภายในอาคารทำเนียบขาว[9] ในวันที่ 21 มกราคม โรเบิรฺ์ตทำพิธีซ้ำอีกรอบในห้อง Map Room ภายในทำเนียบขาว โอบามานับว่าเป็นประธานาธิบดีคนที่ 7 ที่ได้ทำพิธีซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ที่ปรึกษาทำเนียบขาว เกรก เคร็ก กล่าวถึงการทำพิธีซ้ำอีกครั้งว่า "พิธีเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ"[10] การสาบานตนครั้งที่ 2 นี้โอบามาไม้ได้วางมือไว้บนคัมภีร์ไบเบิลเหมือนครั้งแรก[11] ซึ่งเหมือนกับประธานาธิบดีทีโอดอร์ รูสเวลต์ ที่ไม้ได้ใช้มือวางบนคัมภีร์ไบเบิล[12]
100 วันแรก
[แก้]ความคาดหวัง
[แก้]ตั้งแต่แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก 100 วันแรกของการบริหารงานได้กำหนดวัตถุประสงค์ และประสิทธิภาพของคนที่จะมาเป็นประธานาธิบดี โอบามาจะบริหารงานครบ 100 วันในวันที่ 29 เมษายน ภายหลังจากการเลือกตั้งโอบามาให้สัมภาษณ์ทางนิตยสาร 60 Minutes เขาบอกว่าเขาได้ศึกษานโยบาย 100 วันแรกของโรสเวลต์ แต่เขายังกล่าวอีกด้วยว่า "100 วันแรกจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่อาจเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็น 1,000 วันแรกที่จะสร้างความแตกต่าง"
อย่างไรก็ตาม 100 วันแรกของโอบามาได้คาดคะเนอย่างสูงตั้งแต่เขากลายเป็นตัวแทนข้อสันนิษฐาน ทางออกหลายๆข่าวได้สร้างงานเขียนที่ให้ครอบคลุมประเด็น นักวิเคราะห์ให้น้ำหนักในเรื่องของสิ่งที่ท้าทายและการจัดลำดับความสำคัญต่อนโยบายภายในประเทศ ต่างประเทศ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซีเอ็นเอ็นขึ้นบัญชีจำนวนของนโยบายเศรษฐกิจว่า "โอบามาและทีมงานของเขาจะต้องดำเนินการภายใน 100 วันแรกที่พวกเขาเข้ามาทำงาน" แรกสุดท่ามกลางสิ่งที่ผ่านและทำให้เป็นผลสำเร็จในเพ็กเกจฟื้นฟู ที่จะจัดการกับวิกฤ๖เศรษฐกิจ คลิฟ สแตฟฟอร์ด สมิธ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนชาวอังกฤษได้แสดงความหวังว่า ประธานาธิบดีคนใหม่จะปิดเรือนจำกวนตานาโมใน 100 วันแรก หลังจกาผู้ช่วยของประธานาธิบดีประกาสว่าความตั้งใจของเขานั้นจะให้คำกล่าวสุนทรพจน์นโยบายต่างประเทศอย่างยิ่งใหญ่ ในเมืองหลวงของประเทศอิสลาม มีการคาดเดาในจากาตาร์ว่านโยบายของโอบามาอาจย้อนกลับไปยังเมืองที่เคยอยู่อาศัยภายใน 100 วันแรก
เดอะนิวยอร์กไทม์ทุ่มเทในการเขียนเรื่องราว 5 ส่วนซึ่งถูกอ่านอย่างกว้างขวางเกินกว่า 2 สัปดาห์ โดยวิเคราะห์นโยบาย 100 วันแรกของโอบามา แต่ละวันนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญด้านการเมืองถูกติดตามโดยเว็ปบล็อกที่มีการแก้ไขอย่างเสรีทีโพสต์โดยคนทั่วไป ผู้เขียนเปรียบเทียบความเป็นไปได้ของโอบามากับสถานการณ์ของแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ลินดอน บี. จอห์นสัน โรนัลด์ เรแกน และริชาร์ด นิกสัน
การออกกฎหมายและคำสั่งของรัฐบาล
[แก้]ภายในนาทีที่สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม หัวหน้าคณะทำเนียบขาวของโอบามาราห์ม เอมมานูเอล สั่งให้เลื่อนการออกกฎหมายรัฐบาลกลางนาทีสุดท้ายที่ผลักดันโดยประธานาธฺบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช การวางแผนเพื่อทบทวนทุกสิ่งที่ยังคงค้างอยู่ เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ประธานาธิบดี เคยประกาศใช้กฎหมายที่ว่าด้วยการตรึงราคาเงินเดือนสำหรับคณะทำเนียบขาวอาวุโสกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี เช่นเดียวกับการประกาศแนวนโบายพิจารณาพวกที่มีอิธิพลต่อสมาชิกของรัฐสภา เพื่อประโยชน์ของตัวเองในสิ่งที่พยายามเพิ่มมาตรฐานทางจริยธรรมภายในทำเนียขาว เขาขอให้ยกเลิกความเป็นเจ้าของในข้อตกลงใหม่ของเขา การแต่งตั้ง วิลเลียม ลิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม การนำในการวิจารณ์ของเรื่องของผู้หลอกลวง และความรุนแรงของการวางมัดจำของเขาให้กับรัฐบาลอย่างเปิดเผย
ในสัปดาห์แรกที่เขาเข้ามาทำงาน โอบามาลงนามในคำสั่งให้ยับยั้งระเบียบปฏิบัติที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้งหมดของคณะกรรมการกองทัพกวนตานาโม และออกคำสั่งให้ปิดภายในปี 2009 เขาออกคำสั่งให้ซื้อสินค้าที่ Army Field Manuak ต้องการเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องจับเท็จผู้ก่อการร้าย การห้ามไม่ให้มีการทรมานและเทคนิคการข่มขู่ที่ละเมิดกฎหมาย เช่น waterboarding โอบามาลงนามในคำสั่งโดยให้อำนาจมอบหมายงานที่มีจริยธรรมโดยสาชาการบริหารส่วนบุคคล การตั้งขีดจำกัดอย่างเคร่งครัดในเรื่องของสาขาการบริหารของนายจ้าง และการตั้งข้อกำหนดอย่างปลอดภัยในเรื่องของการล็อบบี้ในทำเนียบขาว โอบามาลงนามเกี่ยวกับความเป็นอิสระของพลังงานในบันทึกสรุปของประธานาธิบดี ซึ่งสั่งการให้กรมขนส่งตั้งมาตรฐานประสิทธิภาพเชื้อเพลิงให้สูงขึ้นก่อนที่จะมีแบบจำลองในปี 2011 และประกาศใช้ต่อมาและอนุมัติให้แต่ละรัฐเพิ่มมาตรฐานให้สูงขึ้นกว่ามาตรฐานของประเทศ โอบามายุตินโยบายเม็กซิโกซิตี้ ที่ห้ามไม่ให้กองทุนระหว่างประเทศเตรียมที่จะยุติบริการหรือให้คำแนะนำ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jeff Zeleny and Peter Baker (November 6, 2008). "Rahm Emanuel Accepts Post as White House Chief of Staff". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 6, 2008.
- ↑ change.gov (November 24, 2008). "Geithner, Summers among key economic team members announced today" (Press release). Newsroom. Office of the President-elect. สืบค้นเมื่อ December 6, 2008.
- ↑ Baker, Peter (November 25, 2008). "Defense Secretary Said to Be Staying On". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 6, 2008.
- ↑ Baker, Peter (November 30, 2008). "Obama's Choice for U.N. Is Advocate of Strong Action Against Mass Killings" (Article). U.S. Politics. The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 6, 2008.
- ↑ change.gov. "Official Obama-Biden Transition Website". Office of the President-elect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-08. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.
- ↑ United States Constitution. "20th Amendment to the United States Constitution". สืบค้นเมื่อ January 21, 2009.
- ↑ CNN Political Ticker (January 20, 2009). "Obama Signs First Presidential Proclamation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-02. สืบค้นเมื่อ January 20, 2009.
- ↑ Kelley, Matt (2009-01-19). "Obama to be sworn in on 'Lincoln Bible'" (Article). USA Today. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.
- ↑ "Chief justice fumbles oath". Washington Times. 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
- ↑ Obama takes presidential oath again after stumble (Yahoo)
- ↑ "Barack Obama sworn in again: Taking the Presidential oath - a second time!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25.
- ↑ "The Oath of Office". USInfo.State.gov. 2008-12-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-18. สืบค้นเมื่อ 2009-02-02.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Obama White House archives
- The Obama White House ที่ยูทูบ
- "Obama's People" (photography: Nadav Kander)
- "President Barack Obama's Inaugural Address". The White House.
- "Wrapping Up Open for Questions". The White House.
- "President Obama's State of the Union Address" C-SPAN.
- Statistics comparing the beginning and ending of the Obama presidency