การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง
การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ญี่ปุ่น จักรวรรดิเวียดนาม รัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในกัมพูชา รัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในลาว | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Yuichi Tsuchihashi Takeshi Tsukamoto บ่าว ดั่ย |
Jean Decoux Marcel Alessandri โฮจิมินห์ หวอ เงวียน ซ้าป | ||||||
กำลัง | |||||||
กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น: 65,000 คน[2] กองทหารอันนัม |
มีนาคม: ทหารฝรั่งเศส 12,000 คน ทหารอันนัม 12,000 คน[2] หลังจากนั้น : กองกำลังผสมอังกฤษ-ฝรั่งเศสจากกำลัง 136, กองโจรฝรั่งเศส-ลาว, เวียดมินห์ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบ | พลเรือนชาวยุโรปถูกสังหาร 2,129 คน |
การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง หรือรู้จักกันในชื่อ รัฐประหารของญี่ปุ่นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการทางทหารของญี่ปุ่นในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ซึ่งเป็นอาณานิคมในฝรั่งเศส ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่สอง ผลของปฏิบัติการทางทหารในครั้งนี้ทำให้เกิดรัฐที่เป็นเอกราชในช่วงเวลาสั้น ๆ คือ จักรวรรดิเวียดนาม ราชอาณาจักรลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา และยังเป็นการทำลายอำนาจการบริหารของอินโดจีนฝรั่งเศส มีการต่อสู้แบบกองโจรขนาดเล็กตามมา จากทหารฝรั่งเศสที่ต้องการแก้แค้น แต่ญี่ปุ่นสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม เวียดมิญได้อาศัยสุญญากาศทางการเมืองนี้ขึ้นสู่อำนาจ
รัฐประหาร
[แก้]ใน พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นเกรงว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะเข้ายึดครองอินโดจีนฝรั่งเศส แม้ว่ารัฐบาลวิชียังคงอยู่ในยุโรป แต่ก็มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ต้นเดืนมีนาคม พ.ศ. 2488 ทหารญี่ปุ่นเริ่มปลดอาวุธทหารฝรั่งเศสโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ในวันที่ 9 มีนาคมในไซ่ง่อน ได้มีการจับกุมและสังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลวิชี ทหารฝรั่งเศสส่วนหนึ่งหนีไปจีน การปกครองอินโดจีนฝรั่งเศสของฝรั่งเศสจึงสิ้นสุดลง
ญี่ปุ่นได้กดดันให้จักรวรรดิเวียดนาม ราชอาณาจักรลาว และราชอาณาจักรกัมพูชาประกาศเอกราช สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น พระนโรดม สีหนุให้ความร่วมมือเช่นกัน แต่ญี่ปุ่นก็ไม่ไว้วางใจราชวงศ์ที่เคยนิยมฝรั่งเศส เซิง งอกทัญที่เคยลี้ภัยในญี่ปุ่นและได้รับความไว้วางใจมากกว่าพระนโรดม สีหนุ ได้เดินทางกลับสู่กัมพูชาและได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเดือนพฤษภาคมและได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม ส่วนในลาว พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ผู้นิยมฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะประกาศเอกราช ผู้ที่ออกมาประกาศเอกราชเป็นเจ้าเพชรราช รัตนวงศา
เหตุการณ์ต่อมา
[แก้]สาธารณรัฐจีนที่ให้ที่พักพิงแก่ทหารฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาไม่ได้เต็มใจในฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศส ทั้งสองประเทศกล่าวว่าไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ฝรั่งเศส แต่นายพล Claire Lee Chennault ได้ต่อต้านคำสั่งโดยเข้าไปช่วยเหลือทหารฝรั่งเศสในการถอยเข้าสู่จีน กองทหารจากอังกฤษที่เรียกกองกำลัง 136 ได้เข้ามาปฏิบัติการทางทหารในอินโดจีนฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2487 และได้เข้ามาช่วยฝรั่งเศสในการต่อต้านญี่ปุ่น ทหารฝรั่งเศสที่หนีทหารญี่ปุ่นมาจะเข้าร่วมกับกองกำลังผสมอังกฤษ-ฝรั่งเศสเพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น ฐานที่มั่นส่วนใหญ่อยู่ในลาว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ญี่ปุ่นควบคุมได้น้อยที่สุดทางภาคเหนือของเวียดนาม เวียดมิญนำโดยโฮจิมินห์ได้เริ่มการต่อสู้แบบกองโจรต่อต้านญี่ปุ่น และจัดตั้งฐานที่มั่นในเขตชนบท
หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้เมื่อ 16 สิงหาคม กองกำลังของญี่ปุ่นถูกควบคุมโดยสมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยทางเวียดนามเหนือ และพรรคสหภาพทางภาคใต้ ซึ่งเป็นการควบคุมด้วยอำนาจในท้องถิ่น ในช่วงที่เกิดสุญญากาศทางการเมืองนี้ เวียดมิญได้ทำการปฏิวัติเดือนสิงหาคม ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2488 จักรพรรดิบ๋าวได่ถูกบังคับให้มอบอำนาจให้โฮจิมินห์และเวียดมิญ เวียดมิญเข้าควบคุมฮานอย ส่วนในจังหวัดท้ายเหงวียน กองทหารญี่ปุ่นได้ต่อสู้กับเวียดมิญ ระหว่าง 20 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งเวียดมิญเป็นฝ่ายชนะ โฮจิมินห์ได้ประกาศเอกราชของเวียดนามเมื่อ 2 กันยายน
หลังจากนั้น
[แก้]กองทหารอังกฤษและสาธารณรัฐจีนได้เข้าสู่อินโดจีนฝรั่งเศสเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น ทหารฝรั่งเศสมาถึงไซ่ง่อนในเดือนกันยายน ในประเทศลาว ขบวนการลาวอิสระของเจ้าเพชรราชประกาศปลดเจ้ามหาชีวิตในเดือนตุลาคมและประกาศเอกราชของประเทศแต่ก็ต้องลี้ภัยออกจากประเทศไปในเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ในกัมพูชา เซิง งอกทัญถูกฝรั่งเศสจับกุม โฮจิมินห์ยังครองอำนาจในเวียดนามเหนือ และเกิดสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 ขึ้นในที่สุด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bernard Fall, Street Without Joy, Stackpole Books, 1994, p.25
- ↑ 2.0 2.1 Grandjean (2004)
- สงครามโลกครั้งที่สอง
- อินโดจีนของฝรั่งเศส
- รัฐประหาร
- ประวัติศาสตร์การทหารของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
- ประวัติศาสตร์ลาว
- ประวัติศาสตร์เวียดนาม
- ประวัติศาสตร์กัมพูชา
- เขตสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสงครามโลกครั้งที่สอง
- พระราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2488)
- อาณาจักรหลวงพระบาง (พ.ศ. 2488)
- จักรวรรดิเวียดนาม
- เหตุการณ์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488
- เหตุการณ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2488
- เหตุการณ์ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2488