ข้ามไปเนื้อหา

การบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอรุกรานเชโกสโลวาเกีย
ส่วนหนึ่งของ ปรากสปริงและสงครามเย็น

ประชาชนชาวเชโกสโลวาเกียกำลังถือธงชาติเชโกสโลวาเกียผ่านรถถังโซเวียตที่ไฟไหม้ในกรุงปราก
วันที่20 สิงหาคม – 20 กันยายน ค.ศ. 1968
สถานที่
ผล
  • ชัยชนะของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ
  • พิธีสารมอสโก
  • อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการเอกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเชโกสโลวาเกีย
  • กุสตาว ฮูซาก ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการเอกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเชโกสโลวาเกีย และเริ่มต้นสมัยสมัยปรับให้เป็นปกติ (Normalization)
  • กองทัพโซเวียตวางกำลังในเชกโกสโลวาเกียจนถึงปี ค.ศ. 1991
  • แอลเบเนียถอนตัวออกจากสมาชิกกติกาสัญญาวอร์ซอในเดือนกันยายน ค.ศ. 1968
คู่สงคราม
กติกาสัญญาวอร์ซอ
สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
บัลแกเรีย บัลแกเรีย
ฮังการี ฮังการี
โปแลนด์ โปแลนด์
เยอรมนีตะวันออก เยอรมนีตะวันออก[1]
เชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย
แอลเบเนีย
โรมาเนีย[2]
 ยูโกสลาเวีย[3]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ
สหภาพโซเวียต นีโคไล ปอดกอร์นืย
สหภาพโซเวียต อะเลคเซย์ โคซีกิน
สหภาพโซเวียต อันเดรย์ เกรชโค
สหภาพโซเวียต อีวาน ยาคูบอฟสกี
โปแลนด์ ววาดึสวัฟ กอมูว์กา
โปแลนด์ Florian Siwicki
ฮังการี ยาโนช กาดาร์
ฮังการี Lajos Czinege
บัลแกเรีย ตอดอร์ ซีฟกอฟ
การสนับสนุนทางการทูต:
เยอรมนีตะวันออก วัลเทอร์ อุลบริชท์
เชโกสโลวาเกีย อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค
เชโกสโลวาเกีย ลุดวิค สโวโบดา
เชโกสโลวาเกีย มาร์ติน ดิซัว
การสนับสนุนทางการทูต:
จีน เหมา เจ๋อตง
ยอซีป บรอซ ตีโต
เอ็นเวอร์ ฮอกซา
นีกอลาเอ ชาวูเชสกู
กำลัง
ทหาร 500,000 นาย (27 กองพล)
รถถัง 6,300 คัน
อากาศยาน 800 ลำ
และปืนใหญ่ 2,000 กระบอก

ทหาร 200,000-600,000 นาย (30 กองพล) ในช่วงสองถึงสามวันสามารถเรียกระดมพลได้ 2,500,000 นาย[โปรดขยายความ]
อากาศยานมากกว่า 250 ลำ

และรถถัง 2,500-3,000 คัน
ความสูญเสีย
สหภาพโซเวียต เสียชีวิต 96 นาย (จากอุบัติเหตุ 84 นาย) และบาดเจ็บ 87 นาย[4]
โปแลนด์ เสียชีวิต 10 นาย (จากอุบัติเหตุและฆ่าตัวตาย)[5]
ฮังการี เสียชีวิต 4 นาย (จากอุบัติเหตุ)
บัลแกเรีย เสียชีวิต 2 นาย
พลเรือนเสียชีวิต 108 คน และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 500 คน

การบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ เป็นเหตุการณ์ที่สหภาพโซเวียตและพันธมิตรหลักของสหภาพโซเวียตตามกติกาสัญญาวอร์ซอรุกรานเชโกสโลวาเกียเพื่อยับยั้งการปฏิรูปทางการเมืองของอเล็กซานเดอร์ ดุปเชค ในช่วงปรากสปริง

ในคืนวันที่ 20 - 21 สิงหาคม ค.ศ. 1968 สหภาพโซเวียตและพันธมิตรหลักในกติกาสัญญาวอร์ซออันได้แก่บัลแกเรีย ฮังการี เยอรมนีตะวันออก และโปแลนด์ รุกรานสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวาเกีย[6]ในปฏิบัติการดานูบด้วยกองกำลังทหาร 500,000 นาย[7] ทั้งนี้โรมาเนียและแอลเบเนียซึ่งเป็นรัฐสมาชิกของกติกาสัญญาวอร์ซอปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในปฏิบัติการดังกล่าว ในขณะที่ฝ่ายเชโกสโลวาเกียมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 500 คน และเสียชีวิต 108 คน[8][9]

การรุกรานครั้งนี้ประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด ส่งผลให้การปฏิรูปและการเปิดเสรีในเชโกสโลวาเกียหยุดชะงักลง ทั้งยังช่วยเสริมสร้างอำนาจของฝ่ายซ้ายภายในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเชโกสโลวาเกีย (KSČ) ให้เข้มแข็งขึ้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Stolarik, M. Mark (2010). The Prague Spring and the Warsaw Pact Invasion of Czechoslovakia, 1968: Forty Years Later. Bolchazy-Carducci Publishers. pp. 137–164. ISBN 9780865167513.
  2. Conflicted Memories: Europeanizing Contemporary Histories, edited by Konrad H. Jarausch, Thomas Lindenberger, p. 43
  3. "Back to the Business of Reform". Time Magazine. 16 August 1968. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-24. สืบค้นเมื่อ 27 April 2010.
  4. "The Soviet War in Afghanistan: History and Harbinger of Future War". Ciaonet.org. 1978-04-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 2014-02-13.
  5. Skomra, Sławomir. "Brali udział w inwazji na Czechosłowację. Kombatanci?" (ภาษาโปแลนด์). Agora SA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 21 September 2013.
  6. globalsecurity.org (27 April 2005). "Global Security, Soviet occupation of Czechoslovakia". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ 19 January 2007.
  7. Soviet Invasion of Czechoslovakia. Globalsecurity.org. Retrieved on 23 June 2011.
  8. Soviet invasion of 1968 to have its own web page. Aktualne.centrum.cz. Retrieved on 23 June 2011.
  9. August 1968 – Victims of the Occupation – Ústav pro studium totalitních režimů. Ustrcr.cz. Retrieved on 23 June 2011. (เช็ก)