ข้ามไปเนื้อหา

การปันส่วน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สแตมป์ปันส่วนน้ำมันเบนซินซึ่งถูกพิมพ์ออกมา แต่ไม่ได้ใช้ ในช่วงวิกฤตน้ำมัน ค.ศ. 1973

การปันส่วน (อังกฤษ: rationing) คือการกระจายทรัพยากร สินค้า และบริการที่อยู่ในภาวะขาดแคลนโดยมีนโยบายกำกับเพื่อจำกัดหรือควบคุมปริมาณในแต่ละช่วงเวลา[1] ซึ่งมักมีวัตถุประสงค์เพื่อประหยัดทรัพยากรให้มีเหลือเพียงพอในยามที่มีสงครามหรือภัยพิบัติจากธรรมชาติ หรือบางครั้งก็อาจเป็นไปเพื่อควบคุมหรือตรึงราคาของสินค้าหรือบริการในท้องตลาดเพื่อให้อยู่ในราคาที่บุคคลทั่วไปสามารถหาซื้อได้

อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งในสถานการณ์ที่มีการบังคับใช้มาตรการปันส่วน ก็ยังพบว่ามีการนำสินค้าต่าง ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบายปันส่วนออกมาขยายตามตลาดมืดอย่างผิดกฎหมายอยู่ ซึ่งส่งผลให้เจ้าหน้าที่มักจะต้องรับมือกับเรื่องนี้อยู่เป็นประจำ และถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว ระบบการปันส่วนจะจำเป็นสำหรับสังคมที่ขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างรุนแรง แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนทั่วไป เนื่องจากเป็นการจำกัดทรัพยากรที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคของหมู่ประชาชน[2][3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Rationing". The New Encyclopaedia Britannica (15th ed.). 1994. government policy consisting of the planned and restrictive allocation of scarce resources and consumer goods, usually practiced during times of war, famine or some other national emergency.
  2. "Life on the Home Front; Rationing: A Necessary But Hated Sacrifice". Oregon Secretary of State. สืบค้นเมื่อ 2019-09-22.
  3. Charman, Terry (22 March 2018). "How the Ministry of Food managed food rationing in World War Two". Museum Crush. สืบค้นเมื่อ 3 July 2021.
  4. Williams, Zoe (2013-12-24). "Could rationing hold the key to today's food crises?". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-09-22.