การสังหารหมู่ที่พ่ากั่น
การสังหารหมู่ที่พ่ากั่น ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองพม่า (พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน) | |
อะนางปา, รัฐกะชีน | |
ตำแหน่ง | บริเวณอะนางปา, อำเภอพ่ากั่น, รัฐกะชีน ประเทศพม่า 25°49′50″N 96°21′36″E / 25.830581°N 96.36007°E |
เป้าหมาย | องค์การเอกราชกะชีน, กองทัพเอกราชกะชีน |
วันที่ | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ประมาณ 20:40 น. (UTC + 06:30 (MMT)) |
ผู้ลงมือ | กองทัพอากาศพม่า |
ผู้สูญเสีย | พลเรือนประมาณ 80 คน, เจ้าหน้าที่องค์การเอกราชกะชีนและทหารกะชีนไม่ทราบจำนวน[1][2][3] |
25°49′50.092″N 96°21′36.252″E / 25.83058111°N 96.36007000°E ในคืนวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กองทัพอากาศพม่าได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศหลายครั้งในเมืองพ่ากั่น รัฐกะชีน ภาคเหนือของประเทศพม่า เป้าหมายอยู่ในเขตปกครองอะนางปา พื้นที่กองพลที่ 9 ขององค์การเอกราชกะชีน (KIO) โดยเป้าโจมตีเป็นคอนเสิร์ตกลางแจ้งที่ส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 80 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่องค์การเอกราชกะชีน และนักดนตรีในงาน[4]
เหตุการณ์
[แก้]ตามคำให้การของพยาน เครื่องบินขับไล่ 2–3 ลำบินอยู่เหนือคอนเสิร์ตกลางแจ้งในเขตการปกครองอะนางปา เมืองพ่ากั่น เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ของวันที่ 23 ตุลาคม และได้โจมตีด้วยระเบิดสี่ครั้งในสถานที่ดังกล่าว มีรายงานว่าเครื่องบินเจ็ตเหล่านั้นบินจากท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเครื่องบินฝึก/โจมตี ยาโกเลฟ ยัค-130 ซึ่งประจำการในฝูงบินจู่โจมที่ 62[5] การโจมตีครั้งนี้ได้ประโยชน์จากไฟสปอร์ตไลต์ของคอนเสิร์ตที่กำลังทำการแสดงในขณะนั้นใกล้กับพื้นที่เป้าหมายซึ่งจัดงานโดยองค์การเอกราชกะชีน[3][4] คอนเสิร์ตมีขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 62 ปีการก่อตั้งองค์การเอกราชกะชีน โดยยอดผู้เสียชีวิตเบื้องต้นมีกว่า 80 ราย ส่วนใหญ่เป็นพลเรือนที่มาร่วมงาน รวมทั้งนักร้องและบุคคลชาวกะชีนที่มีชื่อเสียง[3] มีเจ้าหน้าที่และทหารระดับสูงขององค์การเอกราชกะชีนได้รับบาดเจ็บจำนวนหนึ่งเช่นกัน ซึ่งผู้ได้รับบาดเจ็บรวมมีมากกว่า 100 ราย[6] รัฐบาลทหารปฏิเสธการโจมตี โดยระบุว่าพวกเขาได้ทิ้งระเบิดฐานทัพกะชีนและปฏิบัติตามกฎการสู้รบตามอนุสัญญาเจนีวาสี่ฉบับ แถลงการณ์ของพวกเขายังระบุด้วยว่ารายงานการเสียชีวิตของพลเรือนและนักแสดงนั้นมาจากข่าวปลอม เป็นความเท็จ และการข่มขู่[4]
ในบรรดาผู้เสียชีวิตหลายสิบรายในการโจมตีรวมถึงนักแสดง ลาตอซอเดง (Lahtaw Zau Ding), นักร้อง ออระลี (Aurali), ยอลวี (Galau Yaw Lwi), นักเปียโน โกกีง (Ko King) ซึ่งได้รับการยืนยันการเสียชีวิต กลุ่มข่าวกะชีน (KNG) กล่าวว่าผู้จัดงานได้เชิญนักร้องและนักแสดง 9 คนมาสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมเพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบขององค์การเอกราชกะชีน การเสียชีวิตมากกว่า 80 คนของผู้ร่วมในงานคอนเสิร์ตทำให้เป็นเหตุโจมตีพลเรือนที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่มีการเริ่มสงครามกลางเมืองครั้งใหม่[1] มีรายงานว่าระเบิดลูกหนึ่งตกลงมาใกล้เวที ฆ่านักแสดงสามคนขณะที่พวกเขากำลังแสดง[7][8][9]
หลังจากการสังหารหมู่ กองกำลังที่ด่านรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านกีนซีได้หยุดรถที่นำผู้บาดเจ็บไปยังเมืองพ่ากั่นและมยิจีนา[10]
ปฏิกิริยา
[แก้]การตอบสนองของนานาชาติ
[แก้]องค์การสหประชาชาติได้ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยและเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อรายงานการใช้กำลังที่รุนแรงและไม่เหมาะสมต่อพลเรือนที่ไม่มีอาวุธ[11]
ปรัก สุคน (ប្រាក់ សុខុន) ประธานที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม โดยแสดงความกังวลอย่างยิ่งหลังการโจมตีทางอากาศ รวมทั้งเหตุการณ์การวางระเบิดเรือนจำอินเส่งในย่างกุ้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาตั้งข้อสังเกตด้วยความวิตกและเรียกร้องให้มีการยับยั้งชั่งใจและยุติความรุนแรง[12]
มัตสึโนะ ฮิโรกาซุ (松野 博一) หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นประณามการโจมตีในแถลงการณ์ที่เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในพม่า ให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังรวมทั้งอองซานซูจี และการฟื้นฟูรัฐบาลประชาธิปไตย[13]
โซอี แดเนียล (Zoe Daniel) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของออสเตรเลียเรียกร้องให้คว่ำบาตรพม่าทันทีหลังจากเหตุสังหารหมู่[14]
การตอบสนองภายในประเทศ
[แก้]กองกำลังติดอาวุธของกองทัพเอกราชกะชีน (KIA) ลดธงครึ่งเสาเพื่อรำลึกถึงเหยื่อของการโจมตีทางอากาศของพม่า[15] พลเอกกูนมอ (Sumlut Gun Maw) ผู้นำของกองทัพเอกราชกะชีน แถลงสรุปข้อความในจดหมายอย่างเป็นทางการที่ส่งไปยังนายพลอาวุโสมี่นอองไลง์ว่า "น้ำตาและเสียงร่ำไห้ของผู้ที่สูญเสียในการโจมตีทางอากาศครั้งนี้ทั้งหมดเป็นรายจ่ายที่ประเมินค่าไม่ได้"[16]
รัฐบาลทหารออกแถลงการณ์ปฏิเสธการสังหารพลเรือนในการโจมตีทางอากาศ โดยอ้างว่าการโจมตีเป็นปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบตามกฎการสู้รบทั้งหมดของอนุสัญญาเจนีวา และการรายงานเกี่ยวกับการเสียชีวิตของพลเรือนเป็นข่าวปลอม[17] หลังการโจมตีทางอากาศ กองทัพพม่าได้จัดตั้งจุดตรวจรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและเจ้าหน้าที่ปฐมพยาบาลเข้าหรือออกจากหมู่บ้านกีนซี ใกล้กับจุดเกิดเหตุ[18]
พันธมิตรสามพี่น้อง หรือที่รู้จักกันในนามพันธมิตรเหนือ ได้ออกจดหมายแสดงความเสียใจต่อองค์กร/กองทัพเอกราชกะชีน จดหมายดังกล่าวประณามการโจมตีทางอากาศอย่างไร้มนุษยธรรมของรัฐบาลเผด็จการทหารที่มุ่งเป้าไปที่พลเรือน และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศดำเนินการอย่างเร่งด่วนต่อระบอบเผด็จการทหารเพื่อป้องกันการนองเลือดต่อไป[19]
กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ (Ethnic Armed Organizations, EAO) อื่น ๆ รวมถึงสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง และพรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเหรี่ยง ประณามการโจมตีทางอากาศ เขตปกครองตนเองว้าออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวังต่อการโจมตีและแสดงความเสียใจต่อเหยื่อการโจมตีทางอากาศ
ณ วันที่ 27 ตุลาคม กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ที่ได้พูดคุยกับรัฐบาลเผด็จการพม่าซึ่งรวมถึงสภาฟื้นฟูรัฐฉาน พรรคปลดปล่อยอาระกัน และกองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยผู้มีใจเมตตา (Democratic Karen Benevolent Army) ยังคงไม่มีแถลงการณ์ใด ๆ[20]
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อของการสังหารหมู่ในประเทศพม่า
- การสังหารหมู่โมโซ
- สงครามกลางเมืองพม่า พ.ศ. 2564–2565
- กองทัพอากาศพม่า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Ethnic group says Myanmar air attack kills 60 at celebration". abcnews.go.com.
- ↑ "Air strike during Myanmar concert kills at least 30 - media, opposition". www.reuters.com.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Mike (24 ตุลาคม 2022). "Myanmar Junta's Deadly Airstrike on Kachin Concert a War Crime: KIA". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Paddock, Richard (25 ตุลาคม 2022). "Airstrike Kills at Least 80 During Outdoor Concert in Myanmar". New York Times.
- ↑ KIA တေးဂီတပွဲကို ဗုံးကြဲခဲ့သူများမှာ ယက္ခနာမည်ဝှက်ရှိသည့် တိုက်လေယာဉ်မှူးများဖြစ်. Myanmar NOW (ภาษาพม่า). สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Singers and soldiers among over 60 killed at celebration in Myanmar military air attack, ethnic group says". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Myanmar airstrike kills dozens at concert, says Kachin separatist group". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 24 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Ethnic group says Myanmar air attack kills 60 at celebration". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Ethnic group says Myanmar air attack kills 60 at celebration". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
- ↑ ဗုံးကျဲတိုက်ခိုက်ခံရမှုကြောင့် ဒဏ်ရာရပြည်သူ ၁၀၀ ကျော်ကို ဆေးကုခွင့်မရအောင် စစ်တပ်က တားမြစ်ထား. Kachin News Group (KNG) (ภาษาพม่า). 2022-10-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-24.
- ↑ Lotha, Lesly (24 ตุลาคม 2022). "Statement by the United Nations in Myanmar on reported airstrikes in Hpakant, Kachin State". United Nations.
- ↑ "ASEAN Chairman's Statement on the Recent Escalation of Violence in Myanmar". Kingdom of Cambodia Ministry of Foreign Affairs and International Cooperation. 25 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Japan's govt. spokesperson condemns Myanmar military's attack in Kachin". NHK. 25 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Australian MP calls for 'immediate' sanctions against Myanmar following junta massacre of Kachin State civilians". Myanmar NOW (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2022.
- ↑ "KIO အုပ်ချုပ်နယ်မြေများ၊ ဗဟိုဌာနချုပ် အစိုးရရုံးများနှင့် ပညာရေးကျောင်းတိုင်းတွင် အလံကို တိုင်တစ်ဝက်ချကာလွင့်ထူရန် KIO ညွန်ကြား". Kachin News Group. 25 ตุลาคม 2022.
- ↑ "KIA တေးဂီတပွဲကို ဗုံးကြဲခဲ့သူများမှာ ယက္ခနာမည်ဝှက်ရှိသည့် တိုက်လေယာဉ်မှူးများဖြစ်". Myanmar NOW (ภาษาพม่า). สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2022.
- ↑ Yeung, Jessie; Sidhu, Sandi (26 ตุลาคม 2022). "Myanmar military airstrikes kill more than 60, Kachin rebels say". CNN.
- ↑ "Myanmar Junta Forces Prevent Air Strike Victims From Going to Hospitals". The Irrawaddy. 25 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Joy at Myanmar concert turns into horror as military air strike kills 60". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 24 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Ethnic Armies Close to Myanmar Junta Fail to Condemn Deadly Kachin Airstrikes". The Irrawaddy. 27 ตุลาคม 2022.