การเซ็นเซอร์
เสรีภาพ |
แนวความคิดสำคัญ |
อิสรภาพ (เชิงบวก · เชิงลบ) |
จำแนกตามประเภท |
---|
จำแนกตามรูปแบบ |
แสดงออก · ชุมนุม |
ประเด็นทางสังคม |
การปิดกั้นเสรีภาพ (ในไทย) |
การเซ็นเซอร์ (อังกฤษ: censorship) เป็นมาตรการปกปิดหรือทำลายข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง ข้อมูลอักษร หรือข้อมูลใดก็ตามซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าน่ารังเกียจ, สุ่มเสี่ยง, อ่อนไหว หรือไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่หรือปล่อยให้มีการเข้าถึง[2][3][4] การเซ็นเซอร์มักถูกดำเนินการโดยภาครัฐ[5] และมีในภาคเอกชนเช่นเดียวกัน
รัฐบาล[5] และองค์กรเอกชนอาจมีส่วนในการเซ็นเซอร์ ในขณะที่กลุ่มและสถาบันอื่น ๆ อาจเสนอและยืนคำร้องเพื่อการเซ็นเซอร์[6] เมื่อปัจเจกบุคคลเช่นนักแต่งหรือผู้สร้างอื่น ๆ มีส่วนร่วมในการเซ็นเซอร์ผลงานตนเอง สิ่งนี้จึงมีชื่อเรียกว่า การเซ็นเซอร์ตนเอง การเซ็นเซอร์โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นกับสื่อหลายแบบ เช่นคำพูด, หนังสือ, ดนตรี, ภาพยนตร์ และศิลปะอื่น ๆ, หนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ด้วยข้ออ้างหลายประการ เช่นความมั่นคงแห่งชาติ, เพื่อควบคุมสื่อลามกอนาจาร, สื่อลามกเด็ก และประทุษวาจา, เพื่อป้องกันเด็กหรือกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ, เพื่อสนับสนุนและกีดกันมุมมองทางการเมืองหรือศาสนา และเพื่อหยุดยั้งการหมิ่นประมาทและการใส่ร้าย
การเซ็นเซอร์โดยตรงอาจถูกหรือไม่ถูกกฎหมาย ขึ้นอยู่กัยประเภท สถานที่ และเนื้อหา หลายประเทศมีกฎหมายป้องกันการเซ็นเซอร์ที่แข็งแกร่ง แต่ไม่มีอันไหนที่ป้องกันได้ทุกอย่าง และกฎนี้มักใช้เป็นข้ออ้างในการสร้างความสมดุลว่าสิ่งใดควรและไม่ควรถูกเซ็นเซอร์ และที่สำคัญ ยังไม่มีกฎหมายต่อต้านการเซ็นเซอร์ตนเอง
ประวัติ
[แก้]ใน 399 ปีก่อนคริสต์ศักราช โสกราตีส นักปรัชญากรีก ขณะท้าทายความพยายามของรัฐกรีกที่จะเซ็นเซอร์คำสอนเชิงปรัชญาของเขา ถูกกล่าวหาด้วยข้อหาเพิ่มเติมที่เชื่อมถึงความชั่วร้ายของหนุ่มสาวชาวเอเธนส์ และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการดื่มยาพิษเฮมล็อก
รายละเอียดคำพิพากษาลงโทษของโสกราตีสมีดังนี้ ใน 399 ปีก่อนคริสต์ศักราช โสกราตีสถูกนำไปไต่สวน[8] และพบว่ามีความผิดฐานทำลายจิตใจของหนุ่มสาวชาวเอเธนส์และความอกตัญญู (asebeia[9] "ไม่เชื่อในพระเจ้าประจำรัฐ")[10] และถูกตัดสินประหารชีวิตผ่านการดื่มเฮมล็อก[11][12][13][14]
มีการกล่าวว่าเพลโต ลูกศิษย์ของโสกราตีส สนับสนุนการเซ็นเซอร์ในเรียงความเกี่ยวกับอุตมรัฐ ซึ่งต่อต้านการมีอยู่ของประชาธิปไตย ในทางตรงกันข้าม ยูริพิดีส (480–406 ปีก่อนคริสต์ศักราช) นักประพันธ์บทละครชาวกรีก ป้องกันเสรีภาพที่แท้จริงของมนุษย์ที่เป็นอิสระ ซึ่งรวมถึงสิทธิในการพูดอย่างเสรี ใน ค.ศ. 1766 สวีเดนเป็นประเทศแรกที่ยกเลิกการเซ็นเซอร์ตามกฎหมาย[15]
เหตุผล
[แก้]เหตุผลของการเซ็นเซอร์นั้นต่างกันออกไปตามลักษณะข้อมูลที่จะได้รับการเซ็นเซอร์
- การเซ็นเซอร์ทางศีลธรรม: การขจัดไปให้พ้นซึ่งวัตถุอันขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออันเป็นปัญหาอื่น ๆ ทางศีลธรรม เช่น สื่อลามกอนาจารมักได้รับการเซ็นเซอร์อยู่เนือง ๆ ในโลกนี้[16][17]
- การเซ็นเซอร์ทางการยุทธ์: การรักษาข่าวกรองและกลวิธีทางการยุทธ์ให้เป็นความลับและห่างไกลจากศัตรู เพื่อต่อต้านการจารกรรมอันเป็นกระบวนการหนึ่งสำหรับรวบรวมข้อมูลทางการยุทธ์ และบ่อยครั้งที่ฝ่ายยุทธนาการพยายามจะระงับข้อมูลที่ไม่เหมาะสมทางการเมือง แม้ข้อมูลเช่นว่าจะไม่มีคุณค่าที่แท้จริงในเชิงข่าวกรองก็ตาม
- การเซ็นเซอร์ทางการเมือง: การที่รัฐบาลปกปิดข้อมูลข่าวสารบางประกับกับสาธารณชน เพื่อควบคุมพลเมืองและเสรีภาพในการแสดงออก มิให้นำไปสู่การก่อจลาจลหรือการชุมนุมประท้วงที่ผิดกฎหมาย
- การเซ็นเซอร์ทางศาสนา: การขจัดออกซึ่งวัตถุใด ๆ อันไม่พึงประสงค์ต่อลัทธิความเชื่อหนึ่ง ๆ รวมถึงการใช้อิทธิพลของศาสนาหนึ่งครอบงำอีกศาสนาหนึ่งให้ด้อยลง และบางทีศาสนาหนึ่งอาจไม่ร่วมวงศ์ไพบูลย์กับอีกศาสนาเมื่อเห็นว่าลัทธิความเชื่อของทั้งสองขัดกัน
- การเซ็นเซอร์ทางองค์กร: การแทรกแซงของบรรณาธิการในองค์การสื่อสารใด ๆ เพื่อไม่ระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางลบเกี่ยวกับองค์กรหรือภาคีของตน[18][19]หรือแทรกแซงเพื่อไม่ให้ข้อมูลไปถึงการเปิดเผยต่อสาธารณชน[20]
ประเภท
[แก้]การเมือง
[แก้]การเซ็นเซอร์ที่เข้มงวดมีให้เห็นตั้งแต่กลุ่มคนในสมัยประเทศคอมมิวนิสต์ รัฐมนตรีต่างๆ เป็นผู้ควบคุมเหล่านักเขียน ผลผลิตทางวัฒนธรรมเหล่านั้นแสดงให้เห็นถึงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความต้องการของรัฐ ในสมัยนั้นพรรคการเมืองเป็นผู้ตรวจเช็คและควบคุมก่อนที่จะเผยแพร่ ในสมัยของโจเซฟ สตาลิน (Stalinist period) แม้กระทั่งการพยากรณ์อากาศยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ถ้าหากรัฐบาลต้องการบอกว่าพระอาทิตย์จะไม่ส่องสว่างในวันที่ 1 พฤษภาคม ภายใต้การปกครองของ ประธานาธิบดีนีกอลาเอ ชาวูเชสกูแห่งโรมาเนีย การรายงานสภาพอากาศก็ถูกควบคุมอุณหภูมิจะได้ไม่ดูว่าขึ้นลงหรือเปลี่ยนแปลงมากจนถึงจุดที่ต้องออกคำสั่งหยุดงาน ในสหภาพโซเวียตเราไม่สามารถพบนักข่าวอิสระได้จนกระทั่งมิฮาอิล กอร์บาชอฟได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแห่งสหภาพโซเวียต การรายงานข่าวทุกชิ้นจะต้องถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์หรือองค์การที่เกี่ยวข้อง ปราฟดาคือหนังสือพิมพ์มีที่เอกสิทธิ์ผูกขาดและมีบทบาทมากในสหภาพโซเวียต หนังสือพิมพ์ต่างชาตินั้นมีให้เห็นแต่จะต้องเป็นฝ่ายเดียวกับพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น
การครอบครองและการใช้เครื่องทำสำเนาล้วนถูกควบคุมเพื่อยับยั้งการผลิตและการเผยแพร่ของหนังสือต้องห้ามในโซเวียต (samizdat) หนังสือและนิตยสารที่ตีพิมพ์เองจะผิดกฎหมาย การครอบครองแม้กระทั่งหนังสือเพียงเล่มเดียวของ อันเดร ซินยาฟสกี ถือเป็นอาชญากรรมอันร้ายแรงและอาจมีการตรวจค้นจากหน่วยตำรวจลับแห่งสหภาพโซเวียตหรือเคจีบี ผลงานอื่นๆ ที่ไม่ได้สนับสนุนรัฐบาลต่างถูกตีพิมพ์ในต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งยังใช้กฎหมายทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ว่าจ้างตำรวจอินเทอร์เน็ตกว่าสามหมื่นคน เพื่อตรวจสอบการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์เสิร์ชเอนจินที่เป็นที่นิยม เช่น กูเกิล และ ยาฮู! และในประเทศอิรักภายใต้การปกครองของซัดดัม ฮุสเซน มีการเซ็นเซอร์ข่าวสารเช่นเดียวกับในประเทศโรมาเนียภายใต้ประธานาธิบดีนีกอลาเอ ชาวูเชสกูแต่มีความรุนแรงทางการเมืองมากกว่า ส่วนสื่อในประเทศคิวบาดำเนินการภายใต้การตรวจการของพรรคคอมมิวนิสต์ หน่วยงานการกำหนดทิศทางของการปฏิวัติ (Department of Revolutionary Orientation) ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาและประสานงานกลยุทธ์ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ซึ่งการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ความลับของรัฐและการเบี่ยงเบนความสนใจ
[แก้]ในช่วงภาวะสงครามมีการเซ็นเซอร์อย่างเปิดเผย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการปล่อยข้อมูลบางอย่างที่อาจะป็นประโยชน์แก่ศัตรู โดยทั่วไปเป็นการเก็บข้อมูลเรื่องเวลาและสถานที่ หรือถ่วงเวลาการปล่อยข้อมูลจนกระทั่งแน่ใจว่าไม่มีประโยชน์ต่อกองทัพฝ่ายตรงข้าม เช่น จุดประสงค์การปฏิบัติการ ในทางศีลธรรมอาจะเห็นไปในทางต่างกัน ผู้ที่สนับสนุนการกระทำนี้เห็นว่าการปล่อยข้อมูลด้านยุทธวธีก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากมายต่อความตายของผู้คนและมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้สงครามของทั้งหมด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จดหมายซึ่งเขียนโดยทหารอังกฤษจะถูกส่งผ่านกระบวนกองตรวจพิจารณา ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่คอยอ่านจดหมายและใช้ปากกามาร์คเกอร์สีดำขีดข้อความที่ไม่เหมาะสมทิ้งก่อนจะส่งจดหมายออกไป ซึ่งมีวลีหนึ่งที่เป็นที่นิยมในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง “หลุดปาก เรือจม” (Loose lips sink ships) เป็นการกระตุ้นให้แต่ละคนมีความระมัดระวังเมื่อต้องพูดเกี่ยวกับข้อมูลอันเปราะบางทางการเมือง ตัวอย่างของนโยบายเก็บกวาดของสหภาพโซเวียตภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลิน ซึ่งมีปรากฏไว้บนภาพถ่ายและเผยแพร่เป็นการประณามการประหารชีวิตของนโยบายของสตาลิน แม้ภาพถ่ายเก่า ๆ จะถูกเก็บไว้แล้วแต่ภาพเหล่านั้นยังอยู่ในความทรงจำของสาธารณะ และเป็นสัญลักษณ์ของระบบสตาลินและระบอบการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ซึ่งการเซ็นเซอร์ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องผู้มีอำนาจหรือบุคคลบางคนหรือการสนใจของสื่อมวลชนต่อเหยื่อการลักพาตัวเด็กถือเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้
สื่อเพื่อการศึกษา
[แก้]เนื้อหาสาระของหนังสือเรียนในโรงเรียนส่วนมากเป็นการอภิปรายและต่อต้านเพราะกลุ่มเป้าหมายนั้นคือเยาวชน การปกปิดความผิดหรือการเคลือบสีขาว (white washing) เป็นหนึ่งในวิธีการเลือกสรรหรือทำลายหลักฐานที่ต้องการหรือไม่ต้องการปกปิด รายงานของทหารในประวัติศาสตร์นั้นมีข้อโต้แย้งมาก เช่นในกรณีการทิ้งระเบิดเดรสเดนในสงครามโลกครั้งที่สอง หรือการสังหารหมู่นานกิง ซึ่งสามารถพบในหนังสือเรียนของญี่ปุ่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของชาวอเมริกัน และการชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในบริบทของโรงเรียนมัธยมศึกษา วิธีการที่ความจริงและประวัติศาสตร์ถูกนำเสนอนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตีความและความคิดร่วมสมัย ความเห็นหรือการเข้าสังคม การคัดสรรข้อมูลนั้นเลือกจากการตีความว่าสิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน การตีความว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งที่ต้องโต้เถียงกันและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ดนตรีและวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]การเซ็นเซอร์ดนตรีนั้นมีรูปแบบต่างกันออกไปตามแต่ละประเทศ, ศาสนา, ระบบการศึกษา, ครอบครัวและกฎหมาย ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่จะละเมิดสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนนานาชาติ นอกจากการเซ็นเซอร์สื่อลามก ภาษา และความรุนแรง ภาพยนตร์บางเรื่องถูกตรวจพิจารณาเพราะมีเนื้อหาในเชิงเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความถูกต้องทางการเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงการขัดต่อจริยธรรมของคนส่วนใหญ่ในสังคมหรือหลีกเลี่ยงการต่อต้านคุณค่าในเชิงศิลปะและประวัติศาสตร์ ตัวอย่างหนึ่งเช่นภาพยนตร์การ์ตูนชุด Censored Eleven ซึ่งแม้ว่าเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นแต่ถูกตรวจพิจารณาเพราะเห็นว่าไม่ถูกต้อง
ให้ความเห็นชอบในการทำซ้ำ ในภาพ หรือในงานเขียน
[แก้]การให้ความเห็นชอบในการแก้ไขบทความคือสิทธิในการอ่านและแก้ไขบทความก่อนการส่งตีพิมพ์ซึ่งส่วนมากมักเป็นบทสัมภาษณ์ หลายสำนักพิมพ์ปฏิเสธที่จะให้สิทธิ์ในการแก้ไขบทความแต่ปัจจุบันได้กลายเป็นข้อปฏิบัติธรรมดาเมื่อบุคคลมีชื่อเสียงเกิดความกังวลใจอย่างมาก การให้ความเห็นชอบในการแก้ไขรูปภาพคือสิทธิ์ที่จะให้บุคคลนั้นๆ เลือกรูปภาพที่จะถูกนำไปตีพิมพ์หรือไม่ควรถูกตีพิมพ์ด้วยตนเอง โรเบิร์ต เรดฟอร์ด เป็นผู้หนึ่งที่เรียกร้องถึงสิทธิ์ในการเลือกรูปภาพ นักหนังสือพิมพ์ของฮอลลีวูด แพท คิงส์ลี เป็นที่รู้จักการดีว่าเป็นผู้ต่อต้านนักเขียนที่เขียนข่าวแย่ๆ ต่อลูกค้าของเธอจากการสัมภาษณ์
แผนที่
[แก้]การเซ็นเซอร์แผนที่ถูกใช้ทั่วไปในเยอรมนีตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ติดกับชายแดนของเยอรมนีตะวันตก เพื่อให้การหลบหนีออกนอกประเทศเป็นไปได้ยากขึ้น การเซ็นเซอร์แผนที่นั้นยังถูกนำไปประยุกต์ใช้โดยกูเกิลแมปเมื่อพื้นที่นั้นๆ ตั้งใจถูกทิ้งไว้ล้าสมัย
เซ็นเซอร์ภายหลัง
[แก้]การเซ็นเซอร์ภายหลัง คือ การเซ็นเซอร์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการมีอยู่และมูลเหตุทางกฎหมายของการเซ็นเซอร์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้เป็นขั้นเป็นตอน
เซ็นเซอร์ที่สร้างสรรค์
[แก้]เป็นการเซ็นเซอร์โดยการเขียนข้อความใหม่ แล้วส่งข้อความลับเหล่านี้ไปให้นักเขียนร่วมอีกหนึ่งคน รูปแบบนี้ใช้ในบทประพันธ์เรื่องไนน์ทีนเอทตี้โฟร์ ของ จอร์จ ออร์เวล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "David's Fig Leaf". Victoria and Albert Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-03. สืบค้นเมื่อ 29 May 2007.
- ↑ "censorship noun". merriam-webster.com. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
- ↑ "cen·sor·ship". ahdictionary.com. The American Heritage Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2019. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
- ↑ "Definition of censorship in English". oxforddictionaries.com. Oxford Living Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-16. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
- ↑ 5.0 5.1 "censorship, n.", OED Online, Oxford University Press, June 2018, สืบค้นเมื่อ 8 August 2018
- ↑ https://www.aclu.org/other/what-censorship "What Is Censorship", ACLU
- ↑ Sui-Lee Wee; Ben Blanchard (June 4, 2012). "China blocks Tiananmen talk on crackdown anniversary". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.
- ↑ M.F. Burnyeat (1997), The Impiety of Socrates Mathesis publications; Ancient Philosophy 17 Accessed November 23, 2017
- ↑ Debra Nails, A Companion to Greek and Roman Political Thought Chapter 21 – The Trial and Death of Socrates John Wiley & Sons, 2012 ISBN 1-118-55668-2 Accessed November 23, 2017
- ↑ Plato. Apology, 24–27.
- ↑ Warren, J (2001). "Socratic suicide". J Hell Stud. 121: 91–106. doi:10.2307/631830. JSTOR 631830. PMID 19681231. S2CID 24221544.
- ↑ Linder, Doug (2002). "The Trial of Socrates". University of Missouri–Kansas City School of Law. Retrieved September 12, 2013.
- ↑ "Socrates (Greek philosopher)". Encyclopædia Britannica. Retrieved September 12, 2013.
- ↑ R. G. Frey (January 1978).
- ↑ "The Long History of Censorship" เก็บถาวร 2014-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Mette Newth, Beacon for Freedom of Expression (Norway), 2010
- ↑ "Child Pornography: Model Legislation & Global Review" (PDF) (5 ed.). International Centre for Missing & Exploited Children. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-20. สืบค้นเมื่อ 2012-08-25.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "World Congress against CSEC". Csecworldcongress.org. 2002-07-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2012. สืบค้นเมื่อ 2011-10-21.
- ↑ Timothy Jay (2000). Why We Curse: A Neuro-psycho-social Theory of Speech. John Benjamins Publishing Company. pp. 208–209. ISBN 978-1-55619-758-1.
- ↑ David Goldberg; Stefaan G. Verhulst; Tony Prosser (1998). Regulating the Changing Media: A Comparative Study. Oxford University Press. p. 207. ISBN 978-0-19-826781-2.
- ↑ McCullagh, Declan (2003-06-30). "Microsoft's new push in Washington". CNET. สืบค้นเมื่อ 2011-10-21.
ผลงานที่อ้างอิง
[แก้]- Crampton, R.J. (1997), Eastern Europe in the Twentieth Century and After, Routledge, ISBN 978-0-415-16422-1
- Major, Patrick; Mitter, Rana (2004), "East is East and West is West?", ใน Major, Patrick (บ.ก.), Across the Blocs: Exploring Comparative Cold War Cultural and Social History, Taylor & Francis, Inc., ISBN 978-0-7146-8464-2
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Abbott, Randy. "A Critical Analysis of the Library-Related Literature Concerning Censorship in Public Libraries and Public School Libraries in the United States During the 1980s." Project for degree of Education Specialist, University of South Florida, December 1987.
- Birmingham, Kevin, The Most Dangerous Book: The Battle for James Joyce's Ulysses, London (Head of Zeus Ltd), 2014, ISBN 978-1594203367
- Burress, Lee. Battle of the Books. Metuchen, NJ: The Scarecrow Press, 1989.
- Butler, Judith, "Excitable Speech: A Politics of the Performative"(1997).
- Darnton, Robert, Censors at Work: How States Shaped Literature. New York, NY: W. W. Norton. 2014. ISBN 978-0-393-24229-4.
- Demm, Eberhard. Censorship and Propaganda in World War I: A Comprehensive History (Bloomsbury Academic, 2019) online review
- Foucault, Michel, edited by Lawrence D. Kritzman. Philosophy, Culture: Interviews and Other Writings 1977–1984 (New York/London: 1988, Routledge, ISBN 0-415-90082-4) (The text Sexual Morality and the Law is Chapter 16 of the book).
- Gilbert, Nora. Better Left Unsaid: Victorian Novels, Hays Code Films, and the Benefits of Censorship. Stanford, CA: Stanford University Press, 2013.
- Wittern-Keller, Laura. Freedom of the Screen: Legal Challenges to State Film Censorship, 1915–1981. University Press of Kentucky 2008
- Hoffman, Frank. Intellectual Freedom and Censorship. Metuchen, NJ: The Scarecrow Press, 1989.
- Mathiesen, Kay Censorship and Access to Information Handbook of Information and Computer Ethics, Kenneth E. Himma, Herman T. Tavani, eds., John Wiley and Sons, New York, 2008
- National Coalition against Censorship (NCAC). "Books on Trial: A Survey of Recent Cases." January 1985.
- Parker, Alison M. (1997). Purifying America: Women, Cultural Reform, and Pro-Censorship Activism, 1873–1933, University of Illinois Press.
- Biltereyst, Daniel, ed. Silencing Cinema. Palgrave/Macmillan, 2013.
- Ringmar, Erik A Blogger's Manifesto: Free Speech and Censorship in the Age of the Internet (London: Anthem Press, 2007)
- Terry, John David II. "Censorship: Post Pico." In School Law Update, 1986, edited by Thomas N. Jones and Darel P. Semler.
- Silber, Radomír. Partisan Media and Modern Censorship: Media Influence On Czech Political Partisanship and the Media's Creation of Limits to Public Opposition and Control of Exercising Power in the Czech Republic in the 1990s. First edition. Brno: Tribun EU, 2017. 86 stran. Librix.eu. ISBN 978-80-263-1174-4.
- Silber, Radomír. (2018) On Modern Censorship in Public Service Broadcasting. Cultural and Religious Studies, Volume 3, 2018, ISSN 2328-2177.