ข้ามไปเนื้อหา

กูเกิล โครมโอเอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กูเกิล โครมโอเอส
โลโก้ ณ เดือนมีนาคม 2022
ผู้พัฒนากูเกิล
เขียนด้วยซี, ซี++, แอสเซมบลี, จาวาสคริปต์, เอชทีเอ็มแอล5, ไพทอน, รัสต์
ตระกูลลินุกซ์ (ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์)[1]
สถานะติดตั้งไว้ล่วงหน้า Chromebooks, Chromeboxes, Chromebits, Chromebases
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
กรรมสิทธิ์กับส่วนประกอบโอเพนซอร์ซ
วันที่เปิดตัว15 มิถุนายน 2011; 13 ปีก่อน (2011-06-15)
วิธีการอัปเดตอัปเดตอย่างต่อเนื่อง
ตัวจัดการ
แพกเกจ
Portage[a]
แพลตฟอร์ม
ที่รองรับ
ARM32, ARM64, IA-32, x86-64
ชนิดเคอร์เนลMonolithic (Linux kernel)[3]
ยูเซอร์แลนด์Aura Shell (Ash), Ozone (display manager); X11 apps can be enabled in recent ChromeOS
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยายกูเกิล โครม
สัญญาอนุญาตกรรมสิทธิ์[4]
เว็บไซต์www.google.com/chromebook/chrome-os/ แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

กูเกิล โครมโอเอส (อังกฤษ: Google Chrome OS) เป็นโครงการระบบปฏิบัติการที่ออกแบบและผลิตโดยกูเกิล โดยเป้าหมายสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บเป็นหลัก[5] เปิดตัวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซอฟต์แวร์นี้พัฒนาต่อจากกูเกิล โครเมียมโอเอส (ซึ่งตัวกูเกิล โครเมียมโอเอส นั้นก็พัฒนาต่อมาจากเจนทูลินุกซ์ อีกทอดหนึ่ง โดยตัวเจนทูลินุกซ์นั้นก็ใช้ เคอร์เนิลลินุกซ์อีกทอดหนึ่ง) โดยตัวระบบปฏิบัติการนี้มุ่งเน้นสำหรับคอมพิวเตอร์ในลักษณะของเน็ตบุ๊ก และใช้กูเกิลโครม เป็นuser interfaceตัวหลัก[6] โดยวางแผนจะเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2553[7] ระบบปฏิบัติการจะทำงานกับโพรเซสเซอร์ x86 หรือ ARM architecture [8]

นอกจากนี้กูเกิลได้กล่าวไว้ว่าภายในสิ้นปี 2552 ระบบปฏิบัติการตัวนี้จะเป็นโครงการในลักษณะโอเพนซอร์ซ[9] ระบบปฏิบัติการตัวนี้จะสามารถใช้แทนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ถึงแม้ว่าซอฟต์แวร์นี้จะพัฒนาตามลินุกซ์เคอร์เนิลก็ตาม[10]

บริษัทที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาได้แก่ ควอลคอมม์ เท็กซัสอินสตรูเมนตส์ โตชิบา ฟรีสเกล เลโนโว เอเซอร์ อะโดบี อัสซุส และ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด[11]

คุณสมบัติ

[แก้]

หน้าตา

ลักษณะ interface ของ กูเกิล โครมโอเอส มีลักษณะเหมือน กูเกิล โครม ที่เป็นเบราว์เซอร์ของกูเกิล

โปรแกรม

โปรแกรมที่สามารถทำงานได้ คือ เหล่าเว็บแอปพลิเคชัน หรือก็คือเว็บไซต์ที่สามารถทำงานได้เหมือนโปรแกรมที่ติดตั้งลงคอมพิวเตอร์ ซึ่งมันมีข้อดีตรงที่ตัวเว็บแอปพลิเคชันจะมีการอัปเดตตลอดเวลา และเมื่อมีการแก้ไขข้อผิดพลาดก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งตัวแก้

ความปลอดภัย

ตัวโครม โอเอสมีพื้นฐานของระบบปฏิบัติการยูนิกส์ทำให้มีความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีระบบ sandbox ซึ่งจะแบ่งที่ให้โปรเซสไว้โดยที่แต่ละโปรเซสมิอาจยุ่งกับโปรเซสอื่นได้ และยังมีระบบอัปเดตอัตโนมัติด้วย

หมายเหตุ

[แก้]
  1. While it is possible to run Portage in ChromeOS, this requires enabling development mode which removes integrity checking for the filesystem.[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pichai, Sundar (July 7, 2009). "Introducing the Google Chrome OS". Official Google Blog. Google, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2012. สืบค้นเมื่อ July 11, 2012.
  2. "Dev-Install: Installing Developer and Test packages onto a Chrome OS device - The Chromium Projects". www.chromium.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2019. สืบค้นเมื่อ June 22, 2019.
  3. "Kernel Design: Background, Upgrades". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 7, 2011.
  4. "Google Chrome OS Terms of Service". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2012. สืบค้นเมื่อ September 5, 2012.
  5. Mediati, Nick (2009-07-07). "Google Announces Chrome OS". PC World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-18. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  6. Bobbie Johnson (2009-07-08). "Google targets Microsoft with new operating system". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  7. Ahmed, Murad (2009-07-08), Google takes on Microsoft with Chrome operating system, Times Online, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-02, สืบค้นเมื่อ 2009-07-08
  8. Womack, Brian (2009-07-08). "Google to Challenge Microsoft With Operating System". Bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  9. Shiels, Maggie (2009-07-08). "Google to launch operating system". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  10. Arrington, Michael (2009-07-08). "Google Chrome: Redefining The Operating System". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  11. Google Chrome OS - FAQ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]