คนทีเขมา
คนทีเขมา | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Lamiaceae |
สกุล: | Vitex |
สปีชีส์: | V. negundo |
ชื่อทวินาม | |
Vitex negundo L. | |
ชื่อพ้อง | |
|
คนทีเขมา (/คนทีขะเหฺมา/, ชื่อวิทยาศาสตร์: Vitex negundo) เป็นพืชในวงศ์กะเพรา ลักษณะเป็นไม้พุ่มกึ่งผลัดใบสูงประมาณ 3–6 เมตร ลำต้นสีเทาปนน้ำตาล ตามกิ่งก้านมีขนสีขาวสั้น ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือออกเรียงตรงข้าม มีใบย่อย 5 ใบ ขนาด 1–3 × 4–10 เซนติเมตร ใบย่อยลักษณะรูปหอก ปลายใบยาวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยัก ดอกสีขาวแกมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กมีจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน มีเกสรเพศผู้ 4 อัน ออกดอกตลอดปี ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ทรงกลมหรือรูปไข่กลับ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มิลลิเมตร สีน้ำตาล ภายในมี 1 เมล็ด[1][2] ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำหรือตอนกิ่ง[3]
คนทีเขมามีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันออกถึงเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน[4] นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากใบและดอกมีกลิ่นหอม โดยปลูกบนดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ความชื้นพอสมควร[5] ใบมีสรรพคุณแก้หวัดและเจ็บคอ ดอกแก้ท้องเสีย ผลขับเสมหะ รากแก้ลมและขับเหงื่อ[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สมุนไพรไม้เป็นยา: "คนทีเขมา" สมุนไพรเพื่อสตรี ช่วยให้เลือดลมดี ผิวพรรณผุดผ่อง". ผู้จัดการออนไลน์. June 3, 2015. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
- ↑ "คนทีเขมา (Vitex negundo L.)". Klong Phai Botanical Garden. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
- ↑ "คนทีเขมา พืชศักดิ์สิทธิ์พิชิตโรคภัย". มติชนสุดสัปดาห์. June 14, 2017. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
- ↑ "Vitex negundo L. - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
- ↑ "'คนทีเขมา' ไม้ประดับเป็นยา". คมชัดลึกออนไลน์. January 8, 2013. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
- ↑ "คนทีเขมา (Vitex negundo)". ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
- ↑ "สมุนไพรมหิดล: คนทีเขมา". มติชนสุดสัปดาห์. June 24, 2016. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คนทีเขมา
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Vitex negundo ที่วิกิสปีชีส์