ข้ามไปเนื้อหา

คนเลี้ยงผึ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คนเลี้ยงผึ้ง

คนเลี้ยงผึ้ง คือ ผู้ที่จะคอยดูแลผึ้งงาน โดยคาดหวังถึงผลผลิตต่างๆ ที่เกิดจากบรรดาผึ้ง เช่น น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง เกสรดอกไม้ น้ำที่ผึ้งใช้เลี้ยงตัวอ่อน รวมถึงการผสมพันธุ์เกสรที่เกิดจากผึ้งกับพวกพืชผักและผลไม้ โดยพวกเขาจะเพิ่มจำนวนนางพญาผึ้งและบรรดาผึ้งงานเพื่อขายให้เกษตรกรคนอื่น ๆ ต่อไป หรืออาจทำเพื่อการตอบสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้เลี้ยงผึ้ง นั้นอาจจะทำเป็นงานอดิเรกเพื่อหารายได้พิเศษ หรืออาจทำเป็นอาชีพหลัก ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนผึ้งที่เลี้ยงอยู่

ความหมาย

[แก้]

คนเลี้ยงผึ้งนั้นอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เกษตรกรผู้ผลิตน้ำผึ้ง (“apiarists”) ซึ่งมาจากภาษาละติน โดยคำว่า “apis” นั้นมีความหมายว่า “ผึ้ง” โดยคำว่าคนเลี้ยงผึ้งนั้น มักจะกล่าวถึงผู้ที่เลี้ยงผึ้งงาน ไว้ในรังผึ้ง กล่อง หรือภาชนะอื่นๆ

คนเลี้ยงผึ้งนั้นจะไม่ฝึกให้ผึ้งนั้นเชื่องแต่พวกเขาจะควบคุมเพียงรังผึ้งหรือกล่องที่ใช้เลี้ยงและอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องเท่านั้น และพวกผึ้งนั้นสามารถหาอาหารหรืออพยพไปที่อื่นได้อย่างอิสระตามที่พวกมันต้องการ พวกผึ้งทั้งหลายจะกลับสู่รังของคนเลี้ยงผึ้งก็ต่อเมื่อมันสะอาด ทืบแสง และเป็นที่กำบังหลบภัยได้

การจำแนกประเภท

[แก้]
  • คนเลี้ยงผึ้งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเลี้ยงเป็นงานอดิเรก[1] โดยที่พวกเขาจะมีรังผึ้งที่เลี้ยงไว้เพียงไม่กี่รัง เพื่อการศึกษาทางนิเวศวิทยาและธรรมชาติในการใช้ชีวิตของผึ้งและน้ำผึ้งก็เป็นผลพลอยได้ ด้วยราคาของน้ำผึ้งที่มีราคาราวร้อยดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มีฟาร์มเลี้ยงผึ้งเกิดขึ้น รวมถึงการจัดการรังผึ้งทั้งหลายและการใช้เครื่องมือเก็บน้ำผึ้งที่ใช้เวลาหลายต่อหลายชั่วโมง คนเลี้ยงผึ้งที่ทำเป็นงานอดิเรกนั้นแทบจะไม่มีประโยชน์นอกทวีปยุโรป ที่มีผลิตภัณฑ์จากผึ้งตาม ธรรมชาติจำนวนน้อย เพราะความต้องการที่ไม่แน่นอน
  • ผู้ที่เลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพเสริมนั้น พยามที่จะเลี้ยงผึ้งของพวกเขาต่อไปโดยอาศัยรายได้ ส่วนอื่นในการใช้จ่าย พวกเขาจะเลี้ยงผึ้งประมาณ 300 รัง ที่พลิตน้ำผึ้งราว 10-20 ตัน โดยมีมูลค่าประมาณ10,000 ดอลลาร์ต่อปี
  • เกษตรกรที่เลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพหลักนั้น จะมีผึ้งหลายร้อยหรือเป็นพันรัง และมีผู้เลี้ยงผึ้งมากถึง 50,000 รังที่สามารถให้น้ำผึ้งได้เป็นล้านปอนด์ ผู้เลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพหลักคนแรก คาดว่าจะเป็น เปโตร โปรโคโปวิค ชาวยูเครน เขาเลี้ยงผึ้งถึง 6,600 รัง ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19[2] โมเสส ควินบี เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในสหรัฐอเมริการเป็นคนแรก โดยมีผึ้ง 1,200 รัง ราวปี ค.ศ. 1840 หลังจากนั้น ในช่วงปี ค.ศ. 1960-1970 จิม พาวเวอส์ ในไอดาโฮ สหรัฐอเมริกา ก็เลี้ยงผึ้งจำนวน 30,000 รัง[3] มิเอล คาร์โลตา ได้เลี้ยงผึ้งร่วมกับหุ้นส่วนของเขา อาร์ทูโร วูฟราธ์และฮวน สเปคค์ ชาวเม็กซิโก เลี้ยงผึ้งอย่างน้อย 50,000 รัง ในช่วงปี ค.ศ. 1920 ถึง 1960[4] ในปัจจุบัน เอดี ฮันนี่ ฟาร์ม ในเซาท์ดาโกตา สหรัฐอเมริกา เลี้ยงผึ้ง 80,000 รัง และสแกนเดีย ฮันนี่ คอมปานี ในอัลเบอร์ตา แคนาดา เลี้ยงผึ้ง 12,000 รัง ซึ่งทั้ง 2 ฟาร์มนั้นถือเป็นฟาร์มน้ำผึ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยทั่วโลกมีธุรกิจการเลี้ยงผึ้งประมาณ 5% โดยผลิตน้ำผึ้งประมาณ 60% ให้กับโลก

ประเภทของผู้เลี้ยงผึ้ง

[แก้]

ผู้เลี้ยงผึ้งส่วนใหญ่ จะนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากฟาร์ม ออกจำหน่าย น้ำผึ้งถือเป็นผลผลิตที่มีค่ามากที่สุดที่พวกเขานำมาจำหน่าย ผู้เลี้ยงผึ้งจะดูแลฝูงผึ้งของพวกเขาให้สมบูรณ์ที่สุด โดยอาศัยน้ำหวาน จากเกสรดอกไม้จำนวนมาก พวกเขาผลิตและจำหน่ายของเหลวที่ถูกสกัด และในบางครั้งอาจรวมถึงรวงผึ้งด้วย ผู้เลี้ยงผึ้งอาจขายผลผลิตของพวกเขาแบบปลีก ด้วยตัวเองหรือ อาจขายส่งให้พ่อค้าคนกลาง และตัวแทนต่างๆ ขี้ผึ้ง เกสรดอกไม้ น้ำที่ผึ้งใช้เลี้ยงตัวอ่อน และการผสมพันธุ์พืชนั้น ถือเป็นการสร้างรายได้เสริม อีกทางหนึ่ง เช่นผู้เลี้ยงผึ้งชาวไต้หวันนั้นส่งออกน้ำที่ผึ้ง ใช้เลี้ยงตัวอ่อนจำนวน หลายตัน ที่เป็นอาหารชั้นเลิศของนางพญาของเหล่าผึ้งที่ให้น้ำผึ้ง ผู้เลี้ยงผึ้งในปัจจุบันไม่นิยมเลี้ยงผึ้งงานเพื่อผลิต ขี้ผึ้งสักเท่าไหร่ ขี้ผึ้งนั้นจะถูกเก็บพร้อมน้ำผึ้งและนำไปแยกเพื่อจำหน่าย

ผู้เลี้ยงผึ้งบางคน ให้บริการการผสมพันธุ์เกสร แก่ชาวสวนคนอื่นๆ ผู้เลี้ยงผึ้งประเภทนี้อาจไม่ได้ผลิตน้ำผึ้งเพื่อการจำหน่าย การผสมพันธุ์เกสรนั้น ผู้เลี้ยงผึ้งเคลื่อนย้ายรังผึ้งในตอนกลางคืน ไปยังที่ที่มีจำนวนพืชผัก ผลไม้ มากพอในการผสมเกสรดอกไม้ เพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นจำนวนมาก การที่จะทำแบบนี้ได้นั้นจะต้องใช้ฝูงผึ้งที่มีความสมบูรณ์และนำพวกมันไปปล่อยในหมู่พืชผลต่างๆ เช่น อัลมอนด์ แอปเปิ้ล เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ และ แตงชนิดต่างๆ เป็นต้น ซึ่งรายได้เหล่านี้มักจะมาเป็นเงินสด

ผู้เพาะพันธุ์นางพญา คือ ผู้เลี้ยงผึ้งเฉพาะทาง เป็นผู้ที่เพาะเลี้ยง นางพญาผึ้ง เพื่อจำหน่ายแก่ผู้เลี้ยงผึ้งคนอื่นๆ ผู้เพาะพันธุ์จะคัดเลือกผึ้งที่สมบูรณ์และ ดูแลเอาใจใส่ เลี้ยงดู ผึ้งของพวกเขาเป็นอย่างดี ในที่ที่เป็นธรรมชาติ ตอนช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิ ผู้เลี้ยงผึ้งประเภทนี้จะจำหน่ายผึ้งชนิดพิเศษให้กับผู้เลี้ยงผึ้งแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตน้ำผึ้ง ผู้ที่รับผสมพันธุ์เกสรหรือ ผู้เลี้ยงผึ้งเป็นงานอดิเรก ผู้ที่ต้องการเริ่ม หรือขยับขยาย ฟาร์มของพวกเขา ผู้เพาะพันธุ์นางพญาจะใช้ชุด "เจนเตอร์"(ชุดที่ใช้ในการขยายพันธุ์นางพญา) ในการเพาะ พันธุ์นางพญาผึ้งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นจำนวนมาก แบรนดอน วูด คือหนึ่งในผู้เพาะพันธุ์ นางพญาที่โด่งดัง โดยเขาเพาะพันธุ์ผึ้ง ให้แก่ฟาร์มต่างๆในช่วงปลายศตวรรษที่ 20

อ้างอิง

[แก้]
  1. Illustrated Encyclopedia of Beekeeping, Morse and Hooper, 1985, E.P. Dutton, Inc..
  2. http://beekeeping.com.ua/html_en/prokopovych_en.html Biography of Prokopovych
  3. Bad Beekeeping, p 277, Ron Miksha, 2004
  4. Pequena Guia para El Apicultor Principiante, by Wulfrath and Speck, Editora Agricola Mexicana, 1955