ข้ามไปเนื้อหา

ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Pie chart for gender of Wikipedia editors: 90% male, 9% female, and 1% transsexual or transgender
การสำรวจผู้แก้ไขวิกิพีเดียโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย พ.ศ. 2554 พบว่าผู้แก้ไขส่วนใหญ่ (90%) เป็นเพศชาย

ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดีย (อังกฤษ: Gender bias on Wikipedia) หมายถึง บทวิจารณ์ของสารานุกรมออนไลน์ โดยเฉพาะในเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ ว่าเนื้อหาจำนวนมากมีธรรมชาติที่ลำเอียง เป็นเหตุจากการที่อาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย[1] ความที่ผู้แก้ไขวิกิพีเดียเป็นเพศชายเป็นหนึ่งในบทวิจารณ์ของวิกิพีเดียที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่บทวิจารณ์ทั่วไปเกี่ยวกับความลำเอียงอย่างเป็นระบบในวิกิพีเดีย วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับผู้หญิงหรือหัวข้อที่มีความสำคัญต่อผู้หญิงจำนวนน้อยกว่า มูลนิธิวิกิมีเดีย ผู้ดำเนินการวิกิพีเดียเห็นด้วยกับบทวิจารณ์เหล่านี้และมีความพยายามที่จะเพิ่มจำนวนผู้แก้ไขเพศหญิงในวิกิพีเดีย

ผลการวิจัยและประเด็น

[แก้]
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
video icon Research proves gender imbalance on Wikipedia, 2:45, University of Minnesota[2]
video icon Where Are All the Women? Wikipedia’s Gender Gap, 1:12:40, West Virginia University[3]

"ผู้แก้ไข [วิกิพีเดีย] ส่วนใหญ่เป็นชายหนุ่มที่มีการศึกษาระดับวิทยาลัย" นับเป็นกลุ่มประชากรที่ถูกบรรยายว่าเป็น "กลุ่มเนิร์ดชายที่มีเงินพอจะซื้อแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ราคากว่า 60,000 บาทและจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง"[4] ผลสำรวจชี้ว่าผู้แก้ไขวิกิพีเดียที่เป็นผู้หญิงมีจำนวนระหว่างร้อยละ 8.5 – 16 เท่านั้น[5][6][7] สิ่งนี้เป็นผลให้วิกิพีเดียตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์จากนักข่าวและนักวิชาการว่ามีอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย[8][9][10] และว่ามีจำนวนบทความเกี่ยวกับผู้หญิงและบทความที่สำคัญต่อผู้หญิงน้อยกว่ารวมทั้งคุณภาพต่ำกว่า เดอะนิวยอร์กไทมส์ ชี้ว่าอัตราการเข้าร่วมของผู้หญิงในวิกิพีเดียอาจคล้ายกับ "ที่สำหรับอภิปรายทางความคิดและความเป็นผู้นำสาธารณะ" อื่น[8] ใน พ.ศ. 2552 การสำรวจโดยมูลนิธิวิกิมีเดียชี้ว่าเพียงร้อยละ 6 ของผู้แก้ไขที่ทำการแก้ไขมากกว่า 500 ครั้ง เป็นผู้หญิง โดยผู้แก้ไขเพศชายมีจำนวนการแก้ไขเฉลี่ยเป็นสองเท่า[11]

ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษและอีกห้าภาษาอื่นที่ถูกศึกษาโดยนักวิจัย อัตราส่วนของบทความเกี่ยวกับผู้หญิงต่อบทความเกี่ยวกับผู้ชายสูงกว่าเทียบกับฐานข้อมูลอื่นอีกสามที่ อย่างไรก็ตามการวิเคราห์โดยภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์สรุปว่าวิธีที่ผู้หญิงและผู้ชายถูกเอ่ยถึงในบทความนั้นมีความลำเอียง โดยบทความเกี่ยวกับผู้หญิงมักมีการใช้คำเกี่ยวกับเพศสภาพและครอบครัวมากเกินจำเป็น นักวิจัยเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นเครื่องหมายว่าผู้แก้ไขวิกิพีเดียคิดว่าเพศชายเป็น "เพศปกติ" (null gender)[12] อีกบทวิจารณ์เกี่ยวกับแนวทางของวิกิพีเดีย จากบทบรรณาธิการเดอะการ์เดียน พ.ศ. 2557 กล่าวว่า เป็นการยากที่วิกิพีเดียจะตัดสินว่าเรื่องไหนสำคัญ พวกเขายกตัวอย่างว่าบทความรวมรายชื่อนักแสดงหญิงในภาพยนตร์ลามกในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษถูกจัดเรียงได้ดีกว่าบทความรวมรายชื่อนักเขียนหญิง[13]

ใน พ.ศ.​ 2553 มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ และ UNU-MERIT ร่วมกันแสดงภาพรวมของแบบสำรวจโดยรวมของวิกิพีเดีย[14] เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.​ 2554 บทความบน เดอะนิวยอร์กไทมส์ อ้างถึงการร่วมมือกันกับมูลนิธิวิกีมีเดียนี้ ซึ่งชี้ว่าน้อยกว่า 13% ของอาสาสมัครบนวิกิพีเดียเป็นผู้หญิง ซู การ์ดเนอร์ ผู้เป็นผู้อำนวยการบริหารแห่งมูลนิธิวิกิมีเดียในขณะนั้น กล่าวว่าการเพิ่มความหลากหลายเป็นความพยายามที่จะทำให้สารานุกรม "ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้" บทความได้กล่าวถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจขัดขวางการแก้ไขของผู้หญิง ได้แก่ "อาณาจักรที่รักข้อเท็จจริงมากเกินไป" ร่วมกับ "กลุ่มแฮกเกอร์ที่มีความมุ่งมั่นรุนแรง" และความจำเป็นที่จะต้อง "พร้อมรับกับคนที่ยากและมีการขัดแย้งสูงหรือแม้แต่พวกเกลียดชังผู้หญิง"[8] ใน พ.ศ. 2556 ผลการสำรวจได้รับการท้าทายโดยฮิลล์และชาวโดยใช้เทคนิคการประมาณพร้อมการแก้ไขเพื่อเสนอการปรับจำนวนเพิ่มขึ้นของข้อมูลจากการสำรวจ และเพื่อแนะนำการปรับใหม่ของสถิติที่กำลังถูกสำรวจ ให้ผลเป็น 22.7% สำหรับผู้แก้ไขหญิงชาวสหรัฐ และ 16.1% โดยรวม[7]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.​ 2555 เดอะนิวยอร์กไทมส์ เผยแพร่ชุดความเห็นภายใต้พาดหัวข่าว "ผู้หญิงในวิกิพีเดียอยู่ที่ไหน?"[15] ซูซาน เฮร์ริง (Susan Herring) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการสารสนเทศและภาษาศาสตร์ กล่าวว่าเธอไม่รู้สึกประหลาดใจกับช่องว่างระหว่างเพศบนวิกิพีเดีย เธอกล่าวว่า ด้วยธรรมชาติของหน้าพูดคุยซึ่งเป็นที่อภิปรายเนื้อหาบทความที่มักเต็มไปด้วยข้อพิพาท ทำให้ผู้หญิงหลายคนรู้สึกว่าไม่น่าสนใจไม่ก็น่ากลัว[16] Joseph M. Reagle กล่าวในทำนองเดียวกันว่า "วัฒนธรรมอภิชนนิยมแฮกเกอร์ (hacker elitism)" ร่วมกับผลกระทบอันไม่สมส่วนของสมาชิก (ส่วนน้อย) ที่มีความขัดแย้งสูง ต่อบรรยากาศในชุมชน สามารถทำให้มันไม่น่าสนใจ [สำหรับผู้หญิง] เขากล่าวว่า "อุดมการณ์และวาทศิลป์ของอิสรภาะกับเสรีภาพสามารถนำไปใช้ (ก) เพื่อบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับคำพูดที่ไม่เหมาะสมหรือที่ก้าวร้าว และ (ข) เพื่อตัดสินด้วยเหตุผลว่าการมีส่วนร่วมส่วนน้อยของผู้หญิงเป็นผลมาจากความชอบส่วนบุคคลและทางเลือกเท่านั้น"[17] Justine Cassell กล่าวว่าแม้ผู้หญิงจะมีความรู้ไม่ต่างกับผู้ชาย และสามารถป้องกันความคิดของตนเองได้เหมือนกับผู้ชาย "สังคมอเมริกันยังถือว่าการโต้วาแย้ง แข่งขัน และ ป้องกันอย่างแข็งขันในจุดยืนของตน เป็นทีท่าของผู้ชาย และผู้หญิงที่พูดทำนองนี้อาจถูกวิจารณ์ด้านลบ"[18]

วารสาร International Journal of Communication ตีพิมพ์งานวิจัยโดย Reagle และ Lauren Rhue ที่ตรวจสอบการครอบคลุม, การแสดงทางเพศสภาพ, และความยาว ของบทความนับพันเกี่ยวกับชีวประวัติบนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษและสารานุกรมบริตานิกาออนไลน์ พวกเขาสรุปว่า โดยทั่วไปแล้ววิกิพีเดียมีบทความที่ยาวกว่าและครอบคลุมมากกว่า วิกิพีเดียมีจำนวนบทความเกี่ยวกับผู้หญิงมากกว่าเมื่อเทียบกับบริตานิกา ทว่าบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับผู้หญิงมีโอกาสขาดแคลนมากกว่าบทความเกี่ยวกับผู้ชายเมื่อเทียบกับบริตานิกา กล่าวคือ วิกิพีเดียเหนือกว่าบริตานิกาด้านการคลอบคลุมทางชีวประวัติ ความแตกต่างยิ่งมากขึ้นสำหรับบทความเกี่ยวกับผู้ชาย อาจเรียกได้ว่าบริตานิกามีความสมดุลมากกว่าด้านการเลือกคนที่จะไม่กล่าวถึงเมื่อเทียบกับวิกิพีเดีย แหล่งอ้างอิงทั้งสองไม่มีความแตกต่างของความยาวบทความระหว่างสองเพศ[19]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 มูลนิธิวิกิมีเดียเริ่มทำแบบสำรวจครึ่งปีวิกิมีเดีย ผลชี้ว่า 9% ของผู้แก้ไขวิกิพีเดียเป็นผู้หญิง และรายงานว่า "ตรงข้ามกับมุมมองของบางคน ข้อมูลของพวกเราชี้ว่าผู้แก้ไขหญิงเพียงไม่กี่คนรู้สึกว่าพวกเขาถูกคุกคาม และมีเพียงไม่กี่คนที่รู้สึกว่าวิกิพีเดียเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีรูปแบบทางเพศ (sexualized environment)"[20] อย่างไรก็ตามบทความวิจัยใน International Symposium on Wikis and Open Collaboration ของเดือนตุลาคม พ.ศ.​ 2554 พบหลักฐานที่เสนอว่าวิกิพีเดียอาจมี "วัฒนธรรม" ที่อาจต่อต้านการมีส่วนร่วมของผู้หญิง"[21]

งานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2557 พบสิ่งที่เรียกว่า "ช่องว่างระหว่างทักษะอินเทอร์เน็ต" ของผู้แก้ไขวิกิพีเดีย ผู้เขียนพบว่าผู้มีส่วนร่วมในวิกิพีเดียส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่มีทักษะสูง และในหมู่ผู้แก้ไขทักษะต่ำไม่มีช่วงว่างระหว่างเพศ และสรุปว่า "ช่องว่างระหว่างทักษะ" เป็นตัวขยายช่องว่างระหว่างเพศในหมู่ผู้แก้ไข[22] ระหว่าง พ.ศ.​ 2553–2557 ร้อยละ 61 ของผู้เข้าร่วมหลักสูตรในวิทยาลัยจัดทำโดยโครงการ Wiki Education Foundation ที่มีการแก้ไขวิกิพีเดียเป็นสวนหนึ่งของหลักสูตร พบว่าการมีส่วนร่วมของพวกเขาย้ายเนื้อหาบนวิกิพีเดียจากวัฒนธรรมประชานิยมและสะเต็มศึกษา (STEM) ไปสู่สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ [23]

ใน พ.ศ. 2559 แวกเนอร์ และคณะ[24] พบความลำเอียงทางเพศผ่านภาษาที่แฝงอยู่ในครอบครัว เพศสภาพ และหัวข้อเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ที่พบได้มากกว่าในชีวประวัติเกี่ยวกับผู้หญิง และยังพบว่ามีการใช้คำเชิงบวกบ่อยกว่าในชีวิประวัติผู้ชาย และมีการใช้คำเชิงลบบ่อยกว่าในชีวประวัติผู้หญิง ผู้เขียนยังพบความแตกต่างทางโครงสร้าง โยงกับข้อมูลเมทาและไฮเปอร์ลิงก์ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางการหาข้อมูล

งานวิจัย พ.ศ. 2560 พบว่าผู้หญิงที่เข้าร่วมการทดลองโดยการแก้ไขบนเว็บไซต์คล้ายวิกิพีเดียมีแนวโน้มในการมองผู้แก้ไขคนอื่นเป็นผู้ชาย และในการมองการโต้ตอบของพวกเขาว่ามีวิจารณญาณมากกว่าหากผู้แก้ไขคนอื่นไม่ระบุเพศ งานวิจัยสรุปว่า:[25]

...การเห็นผู้แก้ไขเพศหญิบนวิกิพีเดียและการสนับสนุนในวงกว้างขึ้นของการใช้การป้อนกลับเชิงโครงสร้างอาจะเริ่มบรรเทาช่องว่างระหว่างสถานะเพศบนวิกิพีเดีย นอกจากนี้ อัตราส่วนที่สูงของผู้แก้ไขนิรนามอาจทำให้ปัญหาแย่ลง ด้วยที่ความนิรนามมักถูกมองว่าเป็นเพศชาย

งานวิจัยโดยฟอรืดและ Wajcman สังเกตว่า งานวิจัยเกี่ยวกับความลำเอียงทางเพศยังคงมองไปที่ปัญหาขาดแคลนผู้หญิง ในทางตรงข้าม ข้อโต้เถียงหลักของพวกเขาระบุว่างานวิจัยโครงสร้างพื้นฐานในวิทยาศาสตร์เทคโนสตรีนิยมทำให้สามารถวิเคราห์สถานะทางเพศได้ในระดับที่สูงกว่าเดิม สิ่งนี้มองถึงสามประเด็นภายในโครงสร้างพื้นฐาน นั่นคือ นโยบายเนื้อหา กรอบการดำเนินการทางกฎหมายและทางซอร์ฟแวร์ และเสนอว่าการดำเนินการสามารถทำได้ผ่านการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการผลิตความรู้ผ่านการสนับสนุนความรู้ทางเลือก ลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการแก้ไข และการจัดการความซับซ้อนของนโยบายวิกิพีเดีย[26]

สาเหตุ

[แก้]
Sue Gardner street portrait
ซู การ์ดเนอร์ อดีตผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดียให้เก้าเหตุผล "ทำไมผู้หญิงไม่แก้ไขวิกิพีเดีย" อ้างจากผู้แก้ไขหญิงบนวิกิพีเดีย"[27]

หลายสิ่งถูกเสนอว่าเป็นสาเหตุของความแตกต่างทางเพศ งานวิจัย พ.ศ. 2553 เผยว่าการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในวิกิพีเดียมีอัตราเพียงร้อยละ 13 ใกล้เคียงกับอัตราการมีส่วนร่วมของผู้หญิงใน "ที่สำหรับอภิปรายทางความคิดและความเป็นผู้นำสาธารณะ" อื่น ๆ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 15[8][28] นักวิจัยวิกิพีเดีย Sarah Stierch ยอมรับว่าเป็นเรื่อง "ค่อนข้างปกติ" ที่ผู้มีส่วนร่วมในวิกิพีเดียจะไม่เปิดเผยเพศ[29] วัฒนธรรมที่ถูกมองว่าไม่เป็นที่ต้อนรับและความอดทนต่อความรุนแรงและภาษาที่รุนแรงเป็นอีกเหตุผลที่ถูกเสนอว่าอาจเป็นสาเหตุของความแตกต่างระหว่างเพศ[30] งานวิจัย พ.ศ. 2556 เสนอว่า[31] อีกสาเหตุหนึ่งของช่องว่าระหว่างเพศในวิกิพีเดียมาจากความล้มเหลวในการดึงดูดและคงผู้แก้ไขผู้หญิงไว้ ทำให้ส่งผลทางลบต่อการครอบคลุมของวิกิพีเดีย นอกจากนี้ "ผู้แก้ไขที่ระบุตัวว่าเป็นผู้หญิงในสาธารณะถูกคุกคาม" จากผู้แก้ไขวิกิพีเดียคนอื่น[4]

ซู การ์ดเนอร์ อดีตผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดียระบุเก้าเหตุผลที่ผู้หญิงไม่แก้ไขวิกิพีเดีย โดยอ้างจากความคิดเห็นของผู้แก้ไขวิกิพีเดียหญิง:[27]

  1. หน้าการแก้ไขที่ยากต่อการใช้งาน
  2. ไม่มีเวลาว่างเพียงพอ
  3. ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
  4. ต้องการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและไม่ต้องการเข้าร่วมสงครามแก้ไข
  5. เชื่อว่าการมีส่วนร่วมของพวกเขามีโอกาสมากเกินไปที่จะถูกย้อนกลับหรือถูกลบ
  6. บางคนรู้สึกว่าบรรยากาศโดยรวมมีความเกลียดชังผู้หญิง
  7. วัฒนธรรมวิกิพีเดียมีรูปแบบทางเพศในทางที่ทำให้พวกเขาขุ่นเคือง
  8. การถูกกล่าวถึงว่าเป็นเพศชายทำให้ผู้หญิงบางคนขุ่นเคือง
  9. มีโอกาสสำหรับความสัมพันธ์ทางสังคมและการต้อนรับที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่น

ลามและคณะเสนอว่าอาจมีวัฒนธรรมซึ่งไม่ครอบคลุมถึงผู้หญิงบนวิกิพีเดีย ซึ่งอาจเกิดจากความแตกแยกระหว่างเสนอหรือแก้ไขหัวข้อที่มีความแตกต่างเมื่อมองจากมุมมองของผู้หญิงหรือผู้ชาย แนวโน้มที่ผู้ใช้เพศหญิงจะมีส่วนร่วมในมุมมองทางสังคมและชุมชนของวิกิพีเดียมากกว่า และโอกาสที่เพิ่มขึ้นที่การแก้ไขโดยผู้แก้ไขหญิงหน้าใหม่จะถูกย้อนกลับ และ/หรือการที่บทความซึ่งมีอัตราส่วนผู้แก้ไขหญิงสูงมักมีข้อพิพาทเยอะกว่า[21]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาประกาศว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อศักษาความลำเอียงทางเพศอย่างเป็นระบบบนวิกิพีเดีย[32] งานวิจัยโดย Julia Adams และ Hannah Brückner ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนนี้ถูกตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.​ 2558[33]

อีกหนึ่งความกังวลได้แก่การที่บทความเกี่ยวกับผู้หญิงอาจมีโอกาสถูกติดป้ายลบมากกว่า[34][35][36]

ความพยายามเพิ่มการแก้ไขโดยผู้หญิง

[แก้]
Refer to caption
ผู้เข้าร่วมอีดิทอะธอน ผู้หญิงในศิลปะ พ.ศ. 2556 ในรัฐวอชิงตัน ดี. ซี.

มีการจัดอีดิทอะธอนเพื่อเพิ่มการครอบคลุมหัวข้อของผู้หญิงในวิกิพีเดียเพื่อพยายามส่งเสริมให้ผู้หญิงแก้ไขวิกิพีเดียมากขึ้น[37] กิจกรรมเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย ซึ่งบางทีได้ช่วยชัดหาเมนเทอร์และเทคโนโลยีเพื่อช่วยนำทางผู้แก้ไขใหม่ อีดิทอะธอนเมื่อไม่นานมานี้มีการมุ่งไปที่หัวข้อ เช่น นักประสาทวิทยาศาสตร์หญิงชาวออสเตรเลีย และผู้หญิงในประวัติศาสตร์ยิว[38]

VisualEditor โครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย ทำให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขแบบวิซซีวิกบนวิกิพีเดีย มีเป้าหมายในการปิดช่องว่างระหว่างเพศ[39][40]

โครงการ Wikipedia Teahouse เปิดตัวด้วยเป้าหมายในการให้สิ่งแวดล้อมที่เป็นกันเองแก่ผู้แก้ไขใหม่ โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้หญิงบนวิกิพีเดีย[41]

ความคิดริเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2558 ในการสร้างพื้นที่ "เฉพาะผู้หญิง" สำหรับผู้แก้ไขวิกิพีเดียที่ถูกชาววิกิพีเดียต่อต้านอย่างหนัก[42]

อ้างอิง

[แก้]
  1. What Makes Wikipedia's Volunteer Editors Volunteer?
  2. "University of Minnesota researchers reveal Wikipedia gender biases". University of Minnesota. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2016.
  3. "Tackling Wikipedia's Gender Gap". West Virginia University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2016.
  4. 4.0 4.1 Montellaro, Zach (18 พฤศจิกายน 2015). "How Does Political Wikipedia Stay Apolitical?: The seventh-most visited site is one of the first online listings for any elected official—but how does a site that stakes its reputation on neutrality walk that line". www.theatlantic.com. The Atlantic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2017.
  5. Andrew Lih (20 มิถุนายน 2015). "Can Wikipedia Survive?". www.nytimes.com. Washington. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2015. ...the considerable and often-noted gender gap among Wikipedia editors; in 2011, less than 15 percent were women.
  6. Statistics based on Wikimedia Foundation Wikipedia editor surveys 2011 เก็บถาวร 2017-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Nov. 2010-April 2011) and November 2011 เก็บถาวร 5 มิถุนายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (April – October 2011)
  7. 7.0 7.1 Hill, Benjamin Mako; Shaw, Aaron; Sánchez, Angel (26 มิถุนายน 2013). "The Wikipedia Gender Gap Revisited: Characterizing Survey Response Bias with Propensity Score Estimation". PLoS ONE. 8 (6): e65782. Bibcode:2013PLoSO...865782H. doi:10.1371/journal.pone.0065782. PMC 3694126. PMID 23840366. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ธันวาคม 2014.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Cohen, Noam (30 มกราคม 2011). "Define Gender Gap? Look Up Wikipedia's Contributor List". New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2011.
  9. Reagle, Joseph. ""Free as in sexist?": Free culture and the gender gap". First Monday. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2015.
  10. "Joseph Reagle on the gender gap in geek culture". 26 กุมภาพันธ์ 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2015.
  11. "WP:Clubhouse? An Exploration of Wikipedia's Gender Imbalance" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 เมษายน 2015.
  12. arXiv, Emerging Technology from the. "Computational Linguistics Reveals How Wikipedia Articles Are Biased Against Women". MIT Technology Review (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 August 2017.
  13. The Guardian 2014 (London) The Guardian view on Wikipedia: evolving truth เก็บถาวร พฤศจิกายน 12, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. Glott, Ruediger; Schmidt, Philipp; Ghosh, Rishab (March 2010). "Wikipedia Survey: Overview Results" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 April 2010. สืบค้นเมื่อ 11 August 2014.
  15. "Where Are the Women in Wikipedia?". New York Times. 2 กุมภาพันธ์ 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2014.
  16. Herring, Susan C. (4 กุมภาพันธ์ 2011). "Communication Styles Make a Difference". New York Times (opinion). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2014.
  17. Reagle, Joseph M. (4 กุมภาพันธ์ 2011). "'Open' Doesn't Include Everyone". New York Times (opinion). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2014.
  18. Cassell, Justine (4 กุมภาพันธ์ 2011). "Editing Wars Behind the Scenes". New York Times (opinion). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2017.
  19. Reagle, Joseph; Rhue, Lauren (2011). "Gender Bias in Wikipedia and Britannica". International Journal of Communication. Joseph Reagle & Lauren Rhue. 5: 1138–1158. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มีนาคม 2016.
  20. "Wikipedia Editors Study: Results From The Editor Survey, April 2011" (PDF). Wikipedia. เมษายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014.
  21. 21.0 21.1 Lam, Shyong K.; Uduwage, Anuradha; Dong, Zhenhua; Sen, Shilad; Musicant, David R.; Terveen, Loren; Reidl, John (ตุลาคม 2011). WP:Clubhouse? An Exploration of Wikipedia’s Gender Imbalance (PDF). WikiSym'11. ACM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 ตุลาคม 2013.
  22. Hargittai, Eszter; Shaw, Aaron (4 November 2014). "Mind the skills gap: the role of Internet know-how and gender in differentiated contributions to Wikipedia". Information, Communication & Society. 18: 1–19. doi:10.1080/1369118X.2014.957711.
  23. Bruce Maiman (23 กันยายน 2014). "Wikipedia grows up on college campuses". The Sacramento Bee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2014.
  24. Wagner, Claudia; Graells-Garrido, Eduardo; Garcia,, David; Menczer, Filippo (1 March 2016). "Women through the glass ceiling: gender asymmetries in Wikipedia". EPJ Data Science. 5 (5). doi:10.1140/epjds/s13688-016-0066-4.{{cite journal}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  25. Shane-Simpson, Christina; Gillespie-Lynch, Kristen (January 2017). "Examining potential mechanisms underlying the Wikipedia gender gap through a collaborative editing task". Computers in Human Behavior. 66: 312–328. doi:10.1016/j.chb.2016.09.043.
  26. Ford, Heather; Wajcman, Judy (2017). "'Anyone can edit', not everyone does: Wikipedia and the gender gap". Social Studies of Science. 47: 511–527. doi:10.1177/0306312717692172. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2016.
  27. 27.0 27.1 Gardner, Sue (19 February 2011). "Nine Reasons Why Women Don't Edit Wikipedia, In Their Own Words". suegardner.org (blog).
  28. Yasseri, Taha; Liao, Han-Teng; Konieczny, Piotr; Morgan, Jonathan; Bayer, Tilman (31 กรกฎาคม 2013). "Recent research — Napoleon, Michael Jackson and Srebrenica across cultures, 90% of Wikipedia better than Britannica, WikiSym preview". The Signpost. Wikipedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2015.
  29. "The women of Wikipedia: Closing the site's giant gender gap". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กรกฎาคม 2015.
  30. "In UK, rising chorus of outrage over online misogyny". CSMonitor.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015.
  31. Jonathan T. Morgan; Siko Bouterse; Sarah Stierch; Heather Walls. "Tea & Sympathy: Crafting Positive New User Experiences on Wikipedia" (PDF). Wikimedia Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014.
  32. Elizabeth Harrington (30 July 2014). "Government-Funded Study: Why Is Wikipedia Sexist?". Washington Free Beacon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2014.
  33. Adams, Julia; Brückner, Hannah (27 December 2015). "Wikipedia, sociology, and the promise and pitfalls of Big Data". Big Data & Society. 2 (2). doi:10.1177/2053951715614332. ISSN 2053-9517.
  34. "Editors Are Trying To Fix Wikipedia's Gender And Racial Bias Problem". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2016.
  35. "Project Aims to Raise Profile of Women Architects on Wikipedia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2016.
  36. "Does academia have a place on Wikipedia?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2016.
  37. Stoeffel (11 กุมภาพันธ์ 2014). "Closing Wikipedia's Gender Gap — Reluctantly". New York. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2014.
  38. "The Wikipedia wars: does it matter if our biggest source of knowledge is written by men?". newstatesman.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2015.
  39. "Class war! Wikipedia's workers revolt again • The Register". El Reg. 18 สิงหาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2014.
  40. "Kate Middleton's wedding gown and Wikipedia's gender gap". 13 กรกฎาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2014.
  41. "Tea & Sympathy: Crafting Positive New User Experiences on Wikipedia". washington.edu. Proc. CSCW ‘13, 23–27 February 2013, San Antonio, Texas, USA. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015.
  42. Paling, Emma, "How Wikipedia Is Hostile to Women เก็บถาวร 21 ตุลาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Atlantic, 21 October 2015 แม่แบบ:Subscription or advertising

ดูเพิ่ม

[แก้]

การอ้างอิงโดยสื่อ

[แก้]

งารวิจัยและคำแนะนำ

[แก้]