คาร์ทูช
ในอักษรอียิปต์โบราณ คาร์ทูช /kɑːrˈtuːʃ/ มีลักษณะเป็นรูปวงรีที่มีเส้นที่ปลายด้านหนึ่งสัมผัสกัน โดยเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงข้อความอยู่ภายในวงล้อมเป็นพระนามราชวงศ์[1] ตัวอย่างแรกของคาร์ทูชเกี่ยวข้องกับฟาโรห์ปรากฏขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สาม แต่สัญลักษณ์ดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาใช้ทั่วไปจนกระทั่งช่วงต้นสมัยราชวงศ์ที่สี่ในช่วงของการปกครองของฟาโรห์สเนเฟอร์อู ถึงแม้ว่าคาร์ทูชมักจะถูกเขียนเป็นแนวตั้งโดยมีเส้นตัดปลายแนวนอน แต่ถ้าทำให้พระนามดูเหมาะสมยิ่งขึ้น ก็สามารถเขียนเป็นแนวนอนได้โดยมีเส้นแนวตั้งตัดอยู่ท้าย (ในทิศทางของการอ่านพระนาม) คำภาษาอียิปต์โบราณของคำว่าคาร์ทูชคือ เชนู และคาร์ทูชก็พํฒนามาเป็นวงแหวนเชน ในบันทึกอักษรเดโมติกได้ลดการใช้สัญลักษณ์คาร์ทูชลงให้เหลือเหลือเพียงการเขียนวงเล็บและเส้นแนวตั้ง
ในตำแหน่งราชวงศ์ทั้ง 5 พระนามนั้น ได้แก่ พระนามนำหน้า (พระนามครองราชย์) และ "พระนามบุตรแห่งรา"[2] (พระนามที่ตั้งเมื่อประสูติ) จะปิดล้อมด้วยสัญลักษณ์คาร์ทูช[3]
ในบางครั้งเครื่องรางก็เป็นออกเป็นรูปของคาร์ทูชที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์และเก็บไว้ในสุสาน นักโบราณคดีมักพบว่าสิ่งของดังกล่าวนั้นมีความสำคัญต่อการสืบหาสุสานและสิ่งต่าง ๆ ภายในสุสาน[4] โดยก่อนหน้านั้นคาร์ทูชจะใช้ได้แค่เฉพาะฟาโรห์เท่านั้น ซึ่งรูปวงรีที่ล้อมรอบพระนามของพระองค์มีไว้เพื่อปกป้องพระองค์จากวิญญาณชั่วร้ายในพระชนม์ชีพและหลังการสวรรคต คาร์ทูชได้กลายเป็นสัญลักษณ์แทนความโชคดีและการปกป้องจากสิ่งชั่วร้าย[5][ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน]
คำว่า "คาร์ทูช" ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยทหารฝรั่งเศส ซึ่งคิดว่าสัญลักษณ์ดังกล่าวที่พวกเขาเห็นซ้ำๆ บนซากปรักหักพังของฟาโรห์ที่พวกเขาพบนั้นคล้ายกับตลับกระดาษสำหรับบรรจุกระสุนปืนในปากกระบอกปืน (cartouche ในภาษาฝรั่งเศส)[6][ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน][7]
| ||
คาร์ทูช ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์ | ||
---|---|---|
ในรูปแบบที่เป็นสัญลักษณ์อักษรอียิปต์โบราณ คาร์ทูชสามารถใช้แทนคำในภาษาอียิปต์ที่แปลว่า "ชื่อ" โดยถูกปรากฏอยู่ในรายการสัญสัญลักษณ์ของการ์ดิเนอร์รหัสหมายเลข V10 และมีสัญลักษณ์คาร์ทูชครึ่งส่วน ซึ่งมีรหัสหมายเลข การ์ดิเนอร์ หมายเลข V11 (ตามที่ปรากฏด้านล่าง) ซึ่งมีความหมายแยกต่างหากในภาษาอียิปต์ เป็นตัวกำหนดสำหรับการกระทำและคำนามที่เกี่ยวข้องกับชิ้น เช่น "แบ่ง", "ไม่รวม"[8]
|
สัญลักษณ์อักษรอียิปต์โบราณรูปคาร์ทูช ได้ใช้เป็นตัวกำหนดในภาษาอียิปต์ šn-(sh)n สำหรับ "วงจร" หรือ "วงแหวน"- (เช่น วงแหวนเชน หรือ คาร์ทูช) ซึ่งต่อมาคาร์ทูชได้ถูกใช้กับ rn ทีแปลว่า "ชื่อ"[9] คำนี้สามารถสะกดเป็น "r" ด้วย "n" โดยสัญลักษณ์รูปปากจะอยู่เหนือสัญลักษณ์รูประลอกน้ำ
|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]- เชเรค เป็นสัญลักษณที่ใช้ก่อนหน้าสัญลักษณ์คาร์ทูช
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.
- ↑ "Royal Titulary". The Ancient Egypt Site. 2014-10-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-15.
- ↑ Allen, James Peter, Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs, Cambridge University Press 2000, p. 65.
- ↑ Compare Thomas Eric Peet, William Leonard Stevenson Loat, The Cemeteries of Abydos. Part 3. 1912–1913, Adamant Media Corporation, ISBN 1-4021-5715-0, p.23
- ↑ "2. Ancient Egyptian Cartouche". Dcsd.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2013-08-22.
- ↑ White, Jon Manchip, Everyday Life in Ancient Egypt, Courier Dover 2002, p.175
- ↑ Compare: Najovits, Simson R. (May 2003). "The Social Context of the Egyptian Politico-Religious System". Egypt, Trunk of the Tree. Espiritualidad y religion. Vol. 1: The Contexts. New York: Algora Publishing (ตีพิมพ์ 2003). p. 251. ISBN 9780875862347. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
The shenu has come to be known as the 'cartouche' – it was so named after a rifle cartridge, whose shape it resembled, by the French scientific team that accompanied Napoleon's occupying force in Egypt between 1798 and 1801.
- ↑ Betrò, 1995. Hieroglyphics: The Writings of Ancient Egypt, "Cartouche", p. 195.
- ↑ Betrò, 1995, p. 195.
- Betrò, 1995. Hieroglyphics: The Writings of Ancient Egypt, Betrò, Maria Carmela, c. 1995, 1996-(English), Abbeville Press Publishers, New York, London, Paris (hardcover, ISBN 0-7892-0232-8)