ข้ามไปเนื้อหา

คิวปิดและไซคี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประติมากรรมรูปคิวปิดและไซคี
ไซคีและอมอร์ หรืออีกชื่อ ไซคีขณะรับจูบแรกจากคิวปิด (Psyche Receiving Cupid's First Kiss; ค.ศ. 1798) โดย François Gérard ผีเสื้อเหนือศีรษะของไซคีเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ก่อนการปลุกเร้าทางเพศ[1]

คิวปิดและไซคี (อังกฤษ: Cupid and Psyche) เป็นเรื่องจากนวนิยายละติน Metamorphoses หรืออีกชื่อหนึ่งว่า The Golden Ass เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 โดย แอพยูเลียส[2] เนื้อหาว่าด้วยการเอาชนะอุปสรรคต่อความรักระหว่างไซคี (กรีก: Ψυχή, "วิญญาณ" หรือ "ลมหายใจแห่งชีวิต") และคิวปิด (ละติน: Cupido, "ความปรารถนา") หรืออมอร์ ("ความรัก", ตรงกับอีรอสของกรีก) และอยู่กินร่วมกันหลังสมรสในที่สุด แม้เรื่องเล่าโดยละเอียดของแอพยูเลียสจะเป็นชิ้นเดียวที่เหลือรอดจากยุคโบราณก็ตาม แต่อีรอสและไซคีปรากฏในศิลปะกรีกตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล องค์ประกอบทางลัทธิเพลได้ใหม่ของเนื้อเรื่องและการอ้างอิงถึงศาสนามิสเตอรีส์นำไปสู่การตีความอันหลากหลาย[3] และถูกวิเคราะห์ว่าเป็นอุปมานิทัศน์ในรูปของนิทานพื้นบ้าน เทพนิยาย และตำนาน[4]

ตั้งแต่นวนิยายของแอพยูเลียสถูกค้นพบอีกครั้งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เรื่องราวของคิวปิดและไซคี ถูกเล่าใหม่ในรูปแบบของกวีนิพนธ์ นาฏกรรม และอุปรากร และยังถูกแสดงในภาพวาด ประติมากรรม และแม้แต่กระดาษปิดฝาผนัง[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dorothy Johnson, David to Delacroix: The Rise of Romantic Mythology (University of North Carolina Press, 2011), pp. 81–87.
  2. Lewis, C. S. (1956). Till We Have Faces: A Myth Retold. Harcourt Brace Jovanovich. p. 311. ISBN 0156904365.
  3. Stephen Harrison, entry on "Cupid," The Oxford Encyclopedia of Ancient Greece and Rome (Oxford University Press, 2010), p. 338.
  4. Hendrik Wagenvoort, "Cupid and Psyche," reprinted in Pietas: Selected Studies in Roman Religion (Brill, 1980), pp. 84–92 online.
  5. Harrison, "Cupid and Psyche," in Oxford Encyclopedia of Ancient Greece and Rome, p. 339.