ข้ามไปเนื้อหา

คุรุอรชุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุรุอรชุน
Guru Arjan
เกิด15 เมษายน ค.ศ.1563
Goindval, Taran Taran district, จักรวรรดิโมกุล (ปัจจุบันคือประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต30 พฤษภาคม ค.ศ. 1606(1606-05-30) (43 ปี)[1]
ลาฮอร์, จักรวรรดิโมกุล (ปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน)
สุสานคุรุทวาราเดราซาฮิบ, ในกำแพงเมืองลาฮอร์
ชื่ออื่นคุรุองค์ที่ 5
มีชื่อเสียงจาก
ตำแหน่งคุรุองค์ที่ 5 ของศาสนาซิกข์
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนคุรุรามทาส
ผู้สืบตำแหน่งคุรุหรโคพินท์
คู่สมรสมาตา คงคา
บุตรคุรุหรโคพินท์
บิดามารดาคุรุรามทาส กับ Mata Bhani
ภาพวาดแสดงท่านบาบา บุดะ[2] (Baba Buddha) แต่งตั้งคุรุอรชุน (Guru Arjan) เป็นคุรุศาสดา ท่านคุรุอรชุนคือชายผู้พนมมือทางขวาของภาพ

คุรุอรชุน (อังกฤษ: Guru Arjan[3][4]; ปัญจาบ: ਗੁਰੂ ਅਰਜੁਨ) หรือในบางเอกสารทับศัพท์อิงภาษาอังกฤษว่า คุรุอาร์จัน เป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 5 ของศาสนาซิกข์ ท่านได้รวบรวมบันทึกของซิกข์ขึ้นเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรและจัดเป็นหมวดหมู่ขึ้นครั้งแรก โดยเรียกเอกสารชุดที่ท่านรวบรวมเขียนขึ้นนั้นว่า คัมภีร์ อดิ กรันตะ (Adi Granth) ซึ่งต่อมาได้ถูกต่อยอดเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาซิกข์ "มหาคัมภีร์ คุรุกรันตสาหิบ" (Guru Granth Sahib)

ท่านเกิดในเมืองโคอินทวาล (Goindval) ในแคว้นปัญจาบ ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องของคุรุรามดาส (ซึ่งในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า ภาอี เชฐา; Bhai Jetha) กับ มทา ภานี (Mata Bhani) ธิดาของคุรุอมรทาส[5] อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นคุรุศาสดาองค์แรกที่เป็นซิกข์แต่กำเนิด ต่างจากองค์ก่อน ๆ ที่เปลี่ยนศาสนามาจากศาสนาฮินดูเป็นซิกข์ในภายหลัง[6] ท่านคุรุอรชุนดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำศาสนาและจิตวิญญาณของชาวซิกข์ร่วม 25 ปี นอกจากนี้ท่านยังสืบทอดการก่อสร้างวิหารต่อจากคุรุรามดาสผู้ขุดสระน้ำอมฤตและสร้างเมืองอมฤตสาร์ โดยท่านได้ก่อสร้างดะบาสาหิบจนสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นหริมันทิรสาหิบ แห่งอมฤตสาร์[7][8][9] และท่านคุรุอรชุนยังได้ประมวลเพลงสวดภาวนาของคุรุศาสดาองค์ก่อนหน้าและคำสอนต่าง ๆ เป็นคัมภีร์อดิ กรันตะ และอัญเชิญประดิษฐานในหริมันทิรสาหิบ[7]

ท่านคุรุอรชุนยังพัฒนาระบบ "มสันท์" (Masand) ซึ่งคุรุรามดาสได้วางรากฐานไว้ขึ้นเสียใหม่ โดยเสนอระบบการบริจาคเงินของซิกข์ให้บริจาคทรัพย์สิน สินค้า หรือการบริการเป็นจิตอาสา ให้ได้ 1 ใน 10 ของที่ตนมีถวายแด่องค์กรของซิกข์ หากไม่พร้อมที่จะบริจาคจำนวนเท่านั้นก็มิได้เป็นปัญหาอะไร ให้บริจาคเท่าที่ตนให้ได้และไม่ทรมานตนเอง นอกจากการสร้างกองทุน "ทัศวันธ์" (Dasvand) ที่รับบริจาคแล้ว ท่านคุรุยังริเริ่มระบบการศึกษาศาสนาซิกข์อย่างเป็นระบบขึ้นในมสันต์ เพื่อเผยแผ่ศาสนาไปยังคนรุ่นใหม่ที่สนใจในภูมิภาคปัญจาบ

ในสมัยของท่านนั้น กองทุนทาสวันต์ถือได้ว่ามั่งคั่งเป็นอย่างมาก สามารถนำไปสร้างศาสนสถาน (คุรุทวารา) จำนวนมาก และ "ลังเกอร์" หรือ "ลังกัร" (Lankar) ที่คนไทยเรียกกันว่า โรงครัวพระศาสดา ซึ่งเป็นโรงครัวอาหารแจกจ่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกเช่นกัน[10]

ท่านคุรุอรชุนถูกจับโดยพระราชกระแสของจักรพรรดิชะฮันคีร์ แห่งจักรวรรดิโมกุล และถูกร้องขอให้เปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม[11][12] ซึ่งท่านยืนยันปฏิเสธ จนสุดท้ายถูกทรมานจนถึงแก่ชีวิตในปี ค.ศ. 1606[11][13] นักประวัติศาสตร์ยังเป็นที่ถกเถียงว่าท่านคุรุเสียชีวิตจากการทรมานอย่างหนักหรือจากการถูกสั่งประหารชีวิตด้วยการทำให้จมน้ำหรือกดน้ำ[11][14] การสละชีพเพื่อความเชื่อ (martyrdom) ของท่านนั้นถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ซิกข์[11][15] ปัจจุบันบริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นที่สำเร็จโทษของท่าน ได้สร้างเป็นคุรุทวาราชื่อว่า คุรุทวาราเดราสาหิบ (Gurdwara Dera Sahib) ปัจจุบันตั้งอยู่เยื้องกับมัสยิดบาดชาฮี ในเมืองละฮอร์ ประเทศปากีสถาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Arjan, Sikh Guru". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 5 May 2015.
  2. บนหน้า en:Baba Buddha ระบุการออกเสียงชื่อไว้ว่า "Buddha ในที่นี้ถึงจะสะกดเหมือนกันแต่ออกเสียงไม่เหมือนกันกับ พุทธะ ในพระนามของพระโคตมพุทธเจ้า" (While the English spelling is same, the word Buddha here is different than Gautam Buddha) ในที่นี้มาจากการทับศัพท์ปัญจาบ "dh" ซึ่งออกเสียงใกล้เคียง /ด/ ที่สุด ต่างจากในการทับศัพท์สันสกฤตเป็น /พ/; 4 มีนาคม 2019
  3. Barnes, Michael (2012). Interreligious learning : dialogue, spirituality, and the Christian imagination. Cambridge University Press. pp. 245–246. ISBN 978-1-107-01284-4.
  4. Dehsen, Christian (1999). Philosophers and religious leaders. Routledge. p. 14. ISBN 978-1-57958-182-4.
  5. Mcleod, Hew (1997). Sikhism. London: Penguin Books. p. 28. ISBN 0-14-025260-6.
  6. William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. p. 24. ISBN 978-1-898723-13-4.
  7. 7.0 7.1 Christopher Shackle; Arvind Mandair (2013). Teachings of the Sikh Gurus: Selections from the Sikh Scriptures. Routledge. pp. xv–xvi. ISBN 978-1-136-45101-0.
  8. Pardeep Singh Arshi (1989). The Golden Temple: history, art, and architecture. Harman. pp. 5–7. ISBN 978-81-85151-25-0.
  9. Louis E. Fenech; W. H. McLeod (2014). Historical Dictionary of Sikhism. Rowman & Littlefield Publishers. p. 33. ISBN 978-1-4422-3601-1.
  10. DS Dhillon (1988), Sikhism Origin and Development Atlantic Publishers, pp. 213-215, 204-207
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ps5
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ lkca
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ thackston
  14. Louis E. Fenech, Martyrdom in the Sikh Tradition, Oxford University Press, pp. 118-121
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ whm