ข้ามไปเนื้อหา

จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 203 วัน)
เขตเลือกตั้งอำเภอหัวหิน
และ อำเภอปราณบุรี (ยกเว้นตำบลปากน้ำปราณ)
คะแนนเสียง42,736 (41.02%)
รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 360 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 101 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม พ.ศ. 2563 – 28 มกราคม พ.ศ. 2563
(0 ปี 12 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 (43 ปี)
อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2562–ปัจจุบัน)
บุตร4
บุพการี
  • วิรัช ปิยพรไพบูลย์ (บิดา)
  • สุนีย์ ปิยพรไพบูลย์ (มารดา)
ความสัมพันธ์
ชื่อเล่นเซ้ม

จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2524) เป็นรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย

ประวัติ

[แก้]

จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ (ชื่อเล่น : เซ้ม)[1] เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2524[2] เป็นบุตรของ นายวิรัช ปิยพรไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับ นางสุนีย์ ปิยพรไพบูลย์ และมีศักดิ์เป็นหลานอาของ เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[3] สำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สมรสและหย่า มีบุตร-ธิดา 4 คน

การทำงาน

[แก้]

จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ ทำธุรกิจเป็นเจ้าของโกวเซ้มฟาร์ม ฟาร์มไก่ชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ประจวบคีรีขันธ์ อำเภอปราณบุรี 2 สมัย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 26 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาเมื่อ กรณ์ จาติกวณิช ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ก็ย้ายไปสังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทย ส่งผลให้เขาได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563[4] แต่ก็ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 28 มกราคมของปีเดียวกัน[5] เนื่องจากการคิดคำนวณคะแนนรวมใหม่[6]แต่เมื่อนายอิสสระ สมชัย พ้นสมาชิกภาพ ส.ส. ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จักพันธ์ จึงได้กลับมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ปีถัดมา[7]

ก่อนหน้านั้นเขาเคยถูกสื่อมวลชนนำเสนอภาพประกอบข่าวการจับกุมผู้ค้ายาเสพติด แต่เขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เลย จนเป็นที่มาของการออกมาขอโทษของสำนักข่าว[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คนตามข่าว : จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ ส.ส.2สมัย ในเทอมสภาเดียว
  2. นายจักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์
  3. ""จักรพันธ์" หลาน "เฉลิมชัย" ขึ้นแท่น ส.ส.แทน "กรณ์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-07. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
  4. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ ๒๖ นายจักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์)
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในลำดับท้ายพ้นจากตำแหน่งและให้ผู้มีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ [ลำดับที่ ๑ พรรคไทรักธรรม นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค
  6. “จักรพันธุ์”หลุดเก้าอี้ หลังเป็นส.ส.11 วัน
  7. เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เลื่อนปาร์ตี้ลิสต์ "ต่อศักดิ์ อัศวเหม" "จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์" จ่อนั่ง ส.ส.
  8. ข่าวเวิร์คพอยท์ ขออภัยต่อการนำเสนอข่าวที่ส่งผลกับนายจักรพันธ์ ปิยพรไพบูลย์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖