ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิอูดะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิอูดะ
宇多天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์17 กันยายน ค.ศ. 887 – 4 สิงหาคม ค.ศ. 897
ญี่ปุ่น5 ธันวาคม ค.ศ. 887
ก่อนหน้าโคโก
ถัดไปไดโงะ
ประสูติ10 มิถุนายน ค.ศ. 866
เฮอังเกียว (เกียวโต)
สวรรคต3 กันยายน ค.ศ. 931(931-09-03) (65 ปี)
วัดพุทธนินนาจิ (ญี่ปุ่น: 仁和寺โรมาจิNinna-ji)
ฝังพระศพโออูจิยามะ โนะ มิซาซางิ (大内山陵; เกียวโต)
พระราชบุตร
และพระองค์อื่น...
จักรพรรดิไดโงะ
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิอูดะ (宇多院 หรือ 宇多天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิโคโก
พระราชมารดาฮันชิ [ja]

จักรพรรดิอูดะ (ญี่ปุ่น: 宇多天皇โรมาจิUda-tennō; 10 มิถุนายน ค.ศ. 866 – 3 กันยายน ค.ศ. 931) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 59[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]

รัชสมัยของอูดะอยู่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 887 ถึง 897[3]

เรื่องเล่าแบบดั้งเดิม

[แก้]

พระนามและสิ่งสืบทอด

[แก้]

ก่อนจะขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ อูดะมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] เป็น ซาดามิ (ญี่ปุ่น: 定省โรมาจิSadami)[5] หรือ โชจิอิง-เทอิ[6]

จักรพรรดิอูดะเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ในจักรพรรดิโคโก พระราชมารดาของพระองค์คือสมเด็จพระจักรพรรดินีพันปีหลวงฮันชิ พระธิดาในเจ้าชายนากาโนะ (ผู้เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิคัมมุ)[7] อูดะมีพระมเหสีรวม 5 พระองค์และพระราชโอรสธิดารวม 20 พระองค์[8] พระราชโอรสองค์สำคัญมีดังนี้:

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

[แก้]

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิอูดะ

[แก้]
  • 17 กันยายน ค.ศ. 887 (26 เดือน 8 ปี นินนะ ที่ 3) : ปีที่ 3 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโคโกองค์จักรพรรดิสวรรคตที่ พระราชวังหลวงเฮอัง เมื่อพระชนมายุได้ 57 พรรษาเจ้าชายซะดะมิพระราชโอรสองค์ที่ 3 ที่รัชทายาทพระชนมายุ 20 พรรษาขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิอูดะ จากนั้นไม่นานจักรพรรดิอูดะจึงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก
  • 9 ธันวาคม ค.ศ. 887 (21 เดือน 11 ปี นินนะ ที่ 3) : ฟุจิวะระ โนะ โมะโตะซุเนะ ซึ่งเป็นคัมปะกุได้ทูลถามพระองค์เรื่องการเกษียณตัวเองจากตำแหน่งแต่พระองค์ตรัสว่าพระองค์ยังเยาว์เกินที่จะบริหารราชการได้ถ้าท่าน (โมะโตะซุเนะ) เกษียณพระองค์จะสละราชบัลลังก์และออกผนวชทำให้โมะโตะซุเนะตัดสินใจรับราชการต่อ
  • 4 สิงหาคม ค.ศ. 897 (3 เดือน 7 ปี คันเพียว ที่ 4) : จักรพรรดิอูดะสละราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสองค์ใหญ่ที่รัชทายาทพระชนมายุ 12 พรรษาคือเจ้าชายอาสึฮิโตะขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิไดโงะ
  • 14 สิงหาคม ค.ศ. 897 (13 เดือน 7 ปีคันเพียว ที่ 4) : จักรพรรดิไดโงะประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก ณ พระราชวังหลวงเฮอัง

รัชสมัยของอูดะ

[แก้]

ปีในรัชสมัยอูดะมีมากกว่าหนึ่งศักราชหรือ เน็งโง[10]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ อนชิ (ญี่ปุ่น: 藤原温子; 872–907) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โมตตสึเนะ

พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ อินชิ (ญี่ปุ่น: 藤原胤子; สวรรคต ค.ศ. 896) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ทากาฟูจิ

พระมเหสี (เนียวโงะ): ทาจิบานะ โนะ โยชิโกะ/กิชิ (ญี่ปุ่น: 橘義子) ธิดาในทาจิบานะ โนะ ฮิโรมิ

พระมเหสี (เนียวโงะ): ซูงาวาระ โนะ ฮิโรโกะ/เอ็นชิ (ญี่ปุ่น: 菅原衍子) ธิดาในซูงาวาระ โนะ มิจิซาเนะ

พระมเหสี (เนียวโงะ): ทาจิบานะ โนะ ฟูซาโกะ (ญี่ปุ่น: 橘房子; สวรรคต ค.ศ. 893)

ชาววัง (โคอูอิ): มินาโมโตะ โนะ ซาดาโกะ (ญี่ปุ่น: 源貞子) ธิดาในมินาโมโตะ โนะ โนโบรุ

ชาววัง (โคอูอิ): เจ้าหญิงโนริฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 徳姫女王) พระธิดาในเจ้าชายโทโยะ

  • เจ้าหญิงฟูชิ (ญี่ปุ่น: 孚子内親王; สวรรคต ค.ศ. 958)

ชาววัง (โคอูอิ): ฟูจิวาระ โนะ ยาซูโกะ (ญี่ปุ่น: 藤原保子) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ อาริซาเนะ

  • เจ้าหญิงไคชิ (ญี่ปุ่น: 誨子内親王; 894–952) สมรสกับเจ้าชายโมโตโยชิ (พระราชโอรสในจักรพรรดิโยเซ)
  • เจ้าหญิงคิชิ (ญี่ปุ่น: 季子内親王; สวรรคต ค.ศ. 979)

ชาววัง (โคอูอิ): มินาโมโตะ โนะ ฮิซาโกะ (ญี่ปุ่น: 源久子)

ชาววัง (โคอูอิ): ฟูจิวาระ โนะ ชิซูโกะ (ญี่ปุ่น: 藤原静子)

นางสนองพระโอษฐ์: ฟูจิวาระ โนะ โฮชิ (ญี่ปุ่น: 藤原褒子) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โทกิฮิระ

นางพระกำนัล: ธิดาในฟูจิวาระ โนะ สึงูกาเงะ, อิเซะ (ญี่ปุ่น: 伊勢; 875/7 – ป. 939)

  • เจ้าชาย (สวรรคตตั้งแต่วัยเยาว์)

(จากสตรีไม่ทราบนาม)

  • เจ้าชายยูกินากะ (ญี่ปุ่น: 行中親王; สวรรคต ค.ศ. 909)
  • เจ้าหญิงเซชิ (ญี่ปุ่น: 成子内親王; สวรรคต ค.ศ. 979)
  • มินาโมโตะ โนะ ชินชิ (ญี่ปุ่น: 源臣子)

พระราชพงศาวลี

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 宇多天皇 (59)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 67–68.
  3. Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 289–290; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, pp. 175–179; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 125–129., p. 125, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. Brown, pp. 264; prior to Emperor Jōmei, the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  5. Titsingh, p. 125; Brown, p. 289; Varley, 175.
  6. Ponsonby-Fane, p. 8.
  7. Varley, p. 175.
  8. Brown, p. 289.
  9. Kitagawa, Hiroshi et al. (1975). The Tale of the Heike, p. 503.
  10. Titsingh, p. 125.
  11. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 3 February 2018.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]