ฉบับร่าง:รัตนา ศิริพานิช
ฉบับร่างถูกปัดตก เมื่อ 28 กันยายน 2024 โดย Timekeepertmk (คุย) หัวเรื่องของฉบับร่างไม่มีความโดดเด่นเพียงพอที่จะอยู่ในวิกิพีเดีย ปัดตกโดย Timekeepertmk 2 เดือนก่อน แก้ไขล่าสุดเมื่อ โดย ChomOSK 2 เดือนก่อน |
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ ChomOSK (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 2 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
รัตนา ศิริพานิช | |
---|---|
รองคณบดีคณะศิลปศาสตร์ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2534 | |
หัวหน้าสาขาวิชาจิตวิทยา | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2531 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2479 |
เสียชีวิต | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2567 (87 ปี) |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.รัตนา ศิริพานิช (23 ธันวาคม 2479 – 5 มิถุนายน 2567) เป็นนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษา วิจัยและการวัดผล-ประเมินผลทางจิตวิทยาและทางการศึกษา และผู้มีบทบาทสำคัญใน "โครงการผ้าป่าช่วยชาติโดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน"
ประวัติส่วนตัว
[แก้]เกิดเมื่อวันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ที่จังหวัดภูเก็ต เป็นบุตรคนโตของ ร.ต.อ.จรูญ และนางเกษม ศิริพานิช มีพี่น้อง 5 คน
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.รัตนา ศิริพานิช
2. อาจารย์จักร ศิริพานิช (ถึงแก่กรรม : อดีตคณบดี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
3. นางสาวสุจิตรา ศิริพานิช
4. นายเจริญ ศิริพานิช
5. นางธัญญดา นิธิบุญปกรณ์
ประวัติการศึกษา
[แก้]- กศ.บ.(เกียรตินิยม) สาขาวิชาการมัธยมศึกษา จาก วิทยาลัยวิชาการศึกษา
- กศ.ม.(จิตวิทยาพัฒนาการ) จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- Ph.D.(Educational Measurement & Statistics) จาก University of Iowa, lowa City, U.S.A. (โดยทุนรัฐบาลไทย)
ประสบการณ์การทำงาน
[แก้]- อาจารย์ด้านวิจัย และวัดผลการศึกษา รวมทั้งจิตวิทยาการศึกษา ที่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา
- ศึกษานิเทศก์ด้านวิจัยและวัดผลการศึกษา ประจำกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2526 - สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษา การวัดผลและวิจัยผลทางจิตวิทยาและทางการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ที่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์พิเศษ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สอนสถิติศึกษาและวิจัยการศึกษา ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก ที่ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- วิทยากรบรรยาย เรื่อง การวัดผล ประเมินผล การวิจัยทางการศึกษา ให้แก่สถาบันราชภัฏต่างๆทั่วประเทศ รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญ กรมการศึกษานอกโรงเรียน และทบวงมหาวิทยาลัย
ประสบการณ์พิเศษ
[แก้]- กรรมการสร้างและพิจารณาข้อสอบของทบวงมหาวิทยาลัย
- กรรมการพิจารณางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
- ผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาผลงานทางวิชาการของสถาบันราชภัฏ
- ผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาผลงานทางวิชาการของทบวงมหาวิทยาลัย
- ที่ปรึกษางานพัฒนาคลังข้อสอบของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
- กรรมการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกี่ยวกับระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สายตรง
งานวิจัยและผลงานทางวิชาการ (บางส่วน)
[แก้]- บทคัดย่องานวิจัย “การสร้างแบบทดสอบวัดความถนัดเชิงวิชาการเพื่อใช้ในโครงการรับนักศึกษาเรียนดีจากชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2530” โดย ผศ.ดร.รัตนา ศิริพานิช ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (ส.ก.ศ.) พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง” การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา” ครั้งที่ 5. 12-16 ตุลาคม 2530, เล่ม 2 หน้า 1082-1087 พิมพ์ที่โรงเพิมพ์ และทำปกเจริญผล กทม. 2530
- บทคัดย่องานวิจัย “การศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพจิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ” โดย รศ.ดร.รัตนา ศิริพานิช ที่สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (ส.ก.ศ.) พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง “การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา” ครั้งที่ 6 ,16-20 ตุลาคม 2532, เล่ม 2 หน้า 1357-1360 . พิมพ์ที่โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล กทม. 2532
- บทคัดย่องานวิจัย “ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการเลี้ยงดู และความพร้อมทางการเรียนของเด็กวัยแรกเข้าเรียนในแหล่งเสื่อมโทรม ” โดย รศ.ดร.รัตนา ศิริพานิช ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (ส.ก.ศ.) พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง “การวิจัยทางการศึกษา และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา” ครั้งที่ 6, 16-20 ตุลาคม 2532, เล่ม 1 หน้า190-194 พิมพ์ที่โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล กทม. 2532
- บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่อง “บทบาทของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในด้านการวัดผล และประเมินผลการศึกษา” โดย รศ.ดร.รัตนา ศิริพานิช ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร พิมพ์เผยแพร่ในการจัดประชุมทางวิชาการ เพื่อเสนอผลงานวิจัย ประจำปี 2533 หน้า 266-276
- บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่อง “การสร้างแบบวัดความซึมเศร้าทางอารมณ์ของเด็กไทย” โดย รศ.ดร.รัตนา ศิริพานิช ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร พิมพ์เผยแพร่ ในการจัดประชุมทางวิชาการเพื่อเสนอผลงานวิจัย ประจำปี 2533 หน้า 89-95
- งานวิจัยเสริมหลักสูตร เรื่อง “ การสร้างแบบทดสอบวัดความถนัดเชิงช่าง” โดย ศ.ดร.รัตนา ศิริพานิช พ.ศ. 2537
ตำรา
[แก้]- ตำราเรียนด้วยตนเอง เรื่อง “สถิติเพื่อการวัดผลการศึกษา” กรุงสยามการพิมพ์ กทม. พ.ศ. 2519 (ดร.รัตนา ศิริพานิช)
- ตำราเรียนด้วยตนเอง เรื่อง “การวิเคราะห์ข้อสอบ” เอกสารประกอบการสอนวิชา “การวัดผลการศึกษา” (จ.266) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2527 (ผศ.ดร.รัตนา ศิริพานิช)
- ตำราเรื่อง “การวัดผลทางจิตวิทยา” เอกสารประกอบการสอนวิชา “การวัดผลทางจิตวิทยา” (จ.373) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2530 (รศ.ดร.รัตนา ศิริพานิช)
งานวิจัยที่ทำร่วมกับ Professor ชาวต่างประเทศ
[แก้]งานวิจัยเรื่อง “Prevalence and Connotative Meaning of Cigarette Smoking Among Thai Adolescents and Yong Adults” ทำในปี 2535 โดยร่วมกับ Visiting Prof.” ของสาขาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชื่อ Prof.Christopher D. Tori & Ratana Siripanich ลงพิมพ์ในวารสารธรรมศาสตร์วิชาการ หน้า 377-387 ตีพิมพ์เนื่องในวาระครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2537) [1]
ข้อความในประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[แก้]ด้วย ศาสตราจารย์ ดร.รัตนา ศิริพานิช ศาสตราจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะวิริยะ เป็นประโยชน์ต่อราชการและประเทศชาติมาเป็นระยะเวลายาวนาน ได้พ้นจากราชการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ นั้น
ตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๑ ท่านเป็น
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๑
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
ประวัติด้านอื่น ๆ
[แก้]ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.รัตนา ศิริพานิช เป็นศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หนึ่งในคณะทำงานโครงการผ้าป่าช่วยชาติโดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่เริ่มโครงการขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยการรับบริจาคทองคำ เงินดอลลาร์สหรัฐ และเงินบาทไทย ได้ทองคำ 14.495 กิโลกรัม และเงินดอลลาร์ 10,457,159.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี 2567)[7] [8]
- พ.ศ. 2552 - ได้รับเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิยาลัยบูรพา[9]
- พ.ศ. 2556 - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.รัตนา ศิริพานิช กับคณะ ร่วมกันเสนอร่างแก้ไข พรบ.วิทยุคมนาคม ต่อประธานรัฐสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์[10] [11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "งานวิจัยที่ทำร่วมกับ Professor ชาวต่างประเทศ | Prevalence and Connotative Meaning of Cigarette Smoking Among Thai Adolescents and Yong Adults".
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๗ ลำดับที่ ๕๐๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐ ลำดับที่ ๖๖๘, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒ ลำดับที่ ๗๕๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๗๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ หน้า ๓๓๔, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
- ↑ "ทองคำหลวงตามหาบัว | จากพลังศรัทธาสู่การเก็บรักษาในคลังหลวง".
- ↑ "โครงการผ้าป่าช่วยชาติ | หลักใจของชาติไทย (ตอนจบ)".
- ↑ "มหาวิทยาลัยบูรพา | ศิษย์เก่าดีเด่น ปี 2552".
- ↑ "เสนอร่างแก้ไข | พรบ.วิทยุคมนาคม".
- ↑ "ประธานสภาผู้แทนราษฎร | รับยื่นหนังสือขอเสนอแก้ไข พรบ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498".