ข้ามไปเนื้อหา

ชายฝั่งบาร์บารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การซื้อเชลยคริสเตียนในบาร์บารี

ชายฝั่งบาร์บารี หรือ กลุ่มรัฐบาร์บารี (อังกฤษ: Barbary Coast หรือ Barbary) เป็นคำที่ใช้โดยชาวยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่หมายถึงบริเวณชายฝั่งทางตอนกลางและทางตะวันตกของแอฟริกาเหนือที่ปัจจุบันคือโมร็อกโก, แอลจีเรีย, ตูนิเซีย และ ลิเบีย เป็นคำที่มาจากชนเบอร์เบอร์ของแอฟริกาเหนือ คำว่า “บาร์บารี” ในบริบททางตะวันตกมักจะทำให้นึกถึงโจรสลัดบาร์บารีและการค้าทาส (Barbary Slave Trade) ที่เกิดขึ้นจากการโจมตีเรือตามบริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก และการจับคนเป็นทาสและค้าทาสจากยุโรปและบริเวณภูมิภาคแอฟริกาซับ-ซาฮารา (sub-Saharan Africa)

บาร์บารีมักจะไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่มการเมือง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 บาร์บารีแบ่งเป็นโมร็อกโก, จังหวัดแทนเจียร์ (ออตโตมัน), จังหวัดทูนิส (ออตโตมัน) และ ตริโปลิตาเนีย ประมุขสำคัญของกลุ่มรัฐบาร์บารีในช่วงนี้ก็ได้แก่ปาชา (Pasha) หรือ เดย์ (Dey) แห่งอัลเจียร์ส, เบย์แห่งตูนิส และเบย์แห่งตริโปลี ผู้ต่างก็ต้องการที่จะกำจัดสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันแต่ตามความเป็นจริงแล้วต่างก็เป็นประมุขของรัฐอิสระ

ก่อนหน้านั้นบาร์บารีมักจะแบ่งระหว่างโมร็อกโกและรัฐแอลจีเรียตอนกลางตะวันตกที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ ทเลมเชน (Tlemcen) หรือ ทิอาเรท (Tiaret) ตระกูลบาร์บารีผู้มีอิทธิพลเช่นอัลโมฮัด (Almohad) หรือฮาฟสิด (Hafsids) มักจะรวมบาร์บารีเข้าด้วยกันอยู่ได้ชั่วระยะหนึ่ง ตามทัศนคติของชาวยุโรปเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญของบาร์บารีอยู่ที่ตริโปลีในลีเบียปัจจุบัน แม้ว่ามาราเคช (Marrakesh) ในโมร็อกโกจะเป็นเมืองที่ใหญ่กว่าและมีความสำคัญกว่า บางครั้งก็จะเห็นว่าแอลเจียร์สในแอลจีเรีย และแทนเจียร์สในโมร็อกโกก็ถือว่าเป็นเมืองหลวง

ในปี ค.ศ. 1805 สหรัฐอเมริกาพยายามทำลายโจรสลัดบาร์บารี และปลดปล่อยชาวอเมริกันที่ถูกจับเป็นทาส

อ้างอิง

[แก้]
  • London, Joshua E. (2005), written at New Jersey, Victory in Tripoli: How America's War with the Barbary Pirates Established the U.S. Navy and Shaped a Nation, John Wiley & Sons, Inc., ISBN 0-471-44415-4
  • LAFI (Nora), Une ville du Maghreb entre ancien régime et réformes ottomanes. Genèse des institutions municipales à Tripoli de Barbarie (1795-1911), Paris: L'Harmattan, 2002, 305 p. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]