ข้ามไปเนื้อหา

ชุมเห็ดเล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุมเห็ดเล็ก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Caesalpinioideae
เผ่า: Cassieae
สกุล: Senna
สปีชีส์: S.  occidentalis
ชื่อทวินาม
Senna occidentalis
(L.) Link, 1829
ชื่อพ้อง

Cassia caroliniana, C. ciliata Raf.
C. falcata L.
C. foetida Pers.
C. laevigata sensu auct. non Prain non Willd.
C. macradenia, C. obliquifolia, C. occidentalis, C. occidentalis L. var. arista sensu Hassk.
C. occidentalis L. var. aristata Collad.
C. planisiliqua
C. torosa Cav.
Ditrimexa occidentalis (L.) Britt.& Rose

ชุมเห็ดเล็ก หรือ ขี้เหล็กผี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna occidentalis) เป็นไม้พุ่มในวงศ์ถั่ว เดิมอยู่ในสกุล Cassia ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ในสกุลขี้เหล็ก ลำต้นเรียบสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล ลำต้นกลวงมีเยื่อสีขาว ลำต้นเหนียว มีกลิ่นเหม็น ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ด้านบนของโคนก้านใบโป่งพอง ดอกช่อ กลีบดอกสีเหลือง ผลเดี่ยวเป็นฝักแบนเล็กน้อย สีเขียวอมม่วง แก่แล้วแห้งเป็นสีน้ำตาล แตกตามตะเข็บ เมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลกลมแบนเล็กน้อย ไม่พบต้นกำเนิดที่แน่นอนแต่ขึ้นกระจายทั่วไปในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มีปลูกในอินโดนีเซีย[1]

การใช้ประโยชน์

[แก้]

รากใช้เป็นยาเย็น ดับพิษร้อนในร่างกาย ใบเป็นส่วนผสมของยาเขียว ใช้ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใบของชุมเห็ดเล็กในภาษามัลดีฟส์เรียก Dhiguthiyara [2] ใช้เป็นอาหารในมัลดีฟส์[3] เช่นเป็นส่วนประกอบของมัสฮูนี และเป็นพืชสมุนไพร[4] ในแอฟริกานำไปทำยาหลายชนิด เช่น รากใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ใบใช้เป็นยาระบาย และรักษาโรคผิวหนัง ใบตำละเอียดแก้ปวดฟันและปวดศีรษะ

เมล็ดของพืชชนิดนี้นำไปคั่วแล้วบด ชงรับประทานแทนเมล็ดกาแฟหรือผสมกับกาแฟ แต่ในเมล็ดไม่มีคาเฟอีน มีแทนนินและอัลคาลอยด์ อนุพันธ์ของแอนโทรควิโนน และน้ำมันหอมระเหย ยอดและฝักอ่อนำไปนึ่งรับประทานเป็นผัก เมล็ดมีพิษรุนแรงต้องทำให้สุกก่อน[5] พืชชนิดนี้เป็นพิษต่อสัตว์เคี้ยวเอื้อง[6]พืชนี้มี anthraquinone ในรากมี emodin[7] ในเมล็ดมี chrysarobin (1,8-dihydroxy-3-methyl-9-anthrone) และ N-methylmorpholine[8]

อ้างอิง

[แก้]
  • มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 50
  1. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 16: พืชให้สารกระตุ้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 147 - 149
  2. Thimaaveshi - Catalogue of Plants
  3. "List of food items in 'Maldives Coding System'" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-10.
  4. Xavier Romero-Frias, The Maldive Islanders, A Study of the Popular Culture of an Ancient Ocean Kingdom.Barcelona 1999, ISBN 84-7254-801-5
  5. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 16: พืชให้สารกระตุ้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 147 - 149
  6. Coffee Senna (Senna occidentalis) poisoning in cattle in Brazil. Barth AT, Kommers GD, Salles MS, Wouters F and de Barros CS, Vet Hum Toxicol. 1994 Dec;36(6):541-5.
  7. Emodin, an antibacterial anthraquinone from the roots of Cassia occidentalis. J.C. Chukwujekwu, P.H. Coombes, D.A. Mulholland and J. van Staden, South African Journal of Botany, Volume 72, Issue 2, May 2006, Pages 295-297, doi:10.1016/j.sajb.2005.08.003
  8. Isolation of N-methylmorpholine from the seeds of Cassia occidentalis (coffee senna). Hyeong L. Kim, Bennie J. Camp, Ronald D. Grigsby, J. Agric. Food Chem., 1971, 19 (1), pp 198–199, doi:10.1021/jf60173a026

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]