ช่วงอายุกรีนแลนเดียน
ช่วงอายุกรีนแลนเดียน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
0.0117 – 0.0082 ล้านปีก่อน | |||||||||||||||
วิทยาการลำดับเวลา | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
นิรุกติศาสตร์ | |||||||||||||||
ความเป็นทางการของชื่อ | ทางการ | ||||||||||||||
อนุมัติชื่อ | 14 มิถุนายน 2561[1][2] | ||||||||||||||
ข้อมูลการใช้ | |||||||||||||||
เทห์วัตถุ | โลก | ||||||||||||||
การใช้ระดับภาค | ทั่วโลก (ICS) | ||||||||||||||
การใช้ช่วงเวลา | ธรณีกาลของ ICS | ||||||||||||||
การนิยาม | |||||||||||||||
หน่วยวิทยาการลำดับเวลา | ช่วงอายุ | ||||||||||||||
หน่วยลำดับชั้นหิน | หินช่วงอายุ | ||||||||||||||
ความเป็นทางการของช่วงกาล | ทางการ | ||||||||||||||
คำนิยามขอบล่าง | จุดสิ้นสุดของธารน้ำแข็งถอยกลับยังเกอร์ดรายแอส | ||||||||||||||
ขอบล่าง GSSP | แกนน้ำแข็งของ NGRIP2 กรีนแลนด์ 75°06′00″N 42°19′12″W / 75.1000°N 42.3200°W | ||||||||||||||
การอนุมัติ GSSP | 14 มิถุนายน 2561 (เป็นฐานของช่วงอายุกรีนแลนเดียน)[1] | ||||||||||||||
คำนิยามขอบบน | เหตุการณ์ 8.2 พันปี | ||||||||||||||
ขอบบน GSSP | แกนน้ำแข็งของ NGRIP1 กรีนแลนด์ 75°06′00″N 42°19′12″W / 75.1000°N 42.3200°W | ||||||||||||||
การอนุมัติ GSSP | 14 มิถุนายน 2561[1] |
ในธรณีกาล ช่วงอายุกรีนแลนเดียน (อังกฤษ: Greenlandian age) เป็นช่วงอายุตอนต้นที่สุดหรือหินช่วงอายุที่อยู่ล่างสุดของสมัยหรือหินสมัยโฮโลซีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคควอเทอร์นารี[3][4] ช่วงอายุนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 9700 ก่อนสากลศักราช (ปี 300 ตามปฏิทินโฮโลซีน (HE)) และสิ้นสุดลงในปี 6236 ก่อนสากลศักราช (ปี 3764 ตามปฏิทินโฮโลซีน (HE))[5] ช่วงอายุนี้เป็นช่วงอายุตอนต้นที่สุดในบรรดาช่วงอายุทั้งสามของสมัยโฮโลซีน และได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากลในเดือนมิถุนายน 2561 พร้อมด้วยช่วงอายุ/หินช่วงอายุนอร์ทกริปเปียนและเมฆาลายัน[4] ขอบล่างของช่วงอายุกรีนแลนเดียน คือ ตัวอย่างของจุดและแหล่งชั้นหินแบบฉบับขอบทั่วโลก (GSSP) จากโครงการแกนน้ำแข็งกรีนแลนด์เหนือในตอนกลางของกรีนแลนด์ (75.1000°N 42.3200°W)[6] ซึ่ง GSSP ของช่วงอายุกรีนแลนเดียนนั้นมีความสัมพันธ์กับการสิ้นสุดของยังเกอร์ดรายแอส (จากใกล้ช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งเป็นช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็ง) และ "การเปลี่ยนแปลงในค่าส่วนเกินของดิวเทอเรียม"[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Walker, Mike; Head, Martin J.; Berkelhammer, Max; Björck, Svante; Cheng, Hai; Cwynar, Les; Fisher, David; Gkinis, Vasilios; Long, Anthony; Lowe, John; Newnham, Rewi; Rasmussen, Sune Olander; Weiss, Harvey (1 December 2018). "Formal ratification of the subdivision of the Holocene Series/ Epoch (Quaternary System/Period): two new Global Boundary Stratotype Sections and Points (GSSPs) and three new stages/subseries" (PDF). Episodes. Subcommission on Quaternary Stratigraphy (SQS). 41 (4): 213–223. doi:10.18814/epiiugs/2018/018016. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020. This proposal on behalf of the SQS has been approved by the International Commission on Stratigraphy (ICS) and formally ratified by the Executive Committee of the International Union of Geological Sciences (IUGS).
- ↑ Head, Martin J. (17 May 2019). "Formal subdivision of the Quaternary System/Period: Present status and future directions". Quaternary International. 500: 32–51. doi:10.1016/j.quaint.2019.05.018. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
- ↑ Cohen, K. M.; Finney, S. C.; Gibbard, P. L.; Fan, J-X. (January 2020). "International Chronostratigraphic Chart" (PDF). International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 8 January 2021.
- ↑ 4.0 4.1 International Commission on Stratigraphy. "ICS chart containing the Quaternary and Cambrian GSSPs and new stages (v 2018/07) is now released!". สืบค้นเมื่อ 15 July 2018.
- ↑ Amos, Jonathan (18 July 2018). "Welcome to the Meghalayan Age – a new phase in history". BBC News. สืบค้นเมื่อ 19 July 2018.
- ↑ 6.0 6.1 International Commission on Stratigraphy. "GSSP Table – All Periods". GSSPs. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018.